ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Tuesday October 1, 2013 17:04 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56 1) มติ ครม. วันที่ 2 กรกฎาคม 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 (ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน เป็นต้นไป) ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2555/56 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้

(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท

(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรในปริมาณที่ไม่เกินที่ระบุไว้ในใบรับรองเกษตรกร ที่กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกให้ และจำกัดวงเงินรับจำนำรายละไม่เกิน 500,000 บาทต่อรอบ ตามที่ กขช. มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2556

4) ระยะเวลา

(1) ระยะเวลารับจำนำ 1 กุมภาพันธ์ — 15 กันยายน 2556

ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556

(2) ระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ

(3) ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2555 — 31 มกราคม 2557

5) ผลการดำเนินงาน

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส.(ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม — 24 กันยายน 2556)

  • จำนวนสัญญา 2,837,238 สัญญา
  • จำนวนตัน 21,751,303 ตัน
  • จำนวนเงิน 339,969.849 ล้านบาท
โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57

1) มติ ครม. วันที่ 3 กันยายน 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก

ปี 2556/57 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้

  • ครั้งที่ 1

(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(4) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท

(5) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัม

โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท

  • ครั้งที่ 2

(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 13,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 12,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 12,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 12,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 11,800 บาท

(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม — ลดตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ

160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกคุณภาพดี โดยจะไม่รับจำนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน ที่มีคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ตามที่กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ

4) วงเงินการรับจำนำ

  • ครั้งที่ 1 ไม่เกินรายละ 350,000 บาท
  • ครั้งที่ 2 ไม่เกินรายละ 300,000 บาท

5) เป้าหมายการรับจำนำ รวมจำนวน 16.5 ล้านตัน

6) ระยะเวลารับจำนำ

  • ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 — 28 กุมภาพันธ์ 2557

ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2557

  • ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม — 30 กันยายน 2557

ยกเว้น ภาคใต้ระว่างวันที่ 1 สิงหาคม — 30 พฤศจิกายน 2557

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาปรับลดลงทั้งข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิและข้าวเปลือกเจ้า เนื่องจากผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาด และช่วงเก็บเกี่ยวข้าวกระทบฝน ส่งผลให้ข้าวเปลือกมีความชื้นสูง

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,790 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,800 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.06

ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,372 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,465 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.14

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,817 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,110 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.24

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,188 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,803 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,175 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,860 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.11 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 57 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 829 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,681 บาท/ตัน)

ราคาสูงขึ้นจากตันละ 820 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,723 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 42 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 444 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,755 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 449 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,085 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.11 และลดลงในรูปเงินบาท

ตันละ 330 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 427 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,228 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 167 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 461 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,281 บาท/ตัน)

ราคาลดลงจากตันละ 465 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,587 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.86 และลดลงในรูปเงินบาท

ตันละ 306 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.9788 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

อินเดีย

กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา คาดการณ์ล่าสุดว่า ในปี 2557 อินเดียยังคงเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน เนื่องจากมีอุปทานข้าวจำนวนมากและอุปสงค์ข้าวของประเทศอิหร่านยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการปรับเพิ่มตัวเลขปริมาณการส่งออกจาก 9.7 ล้านตันในการคาดการณ์ครั้งที่ผ่านมา เป็น 10 ล้านตัน หรือปรับเพิ่มประมาณร้อยละ 3 ทั้งนี้ ในปี 2555 อินเดียส่งออกข้าวได้ประมาณ 10.25 ล้านตัน มากกว่าไทยที่ส่งออกได้ 6.94 ล้านตัน และเวียดนามที่ส่งออกได้ 7.7 ล้านตัน สำหรับไทยและเวียดนาม กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา คาดการณ์ว่า เวียดนามจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 7.4 ล้านตัน ในปี 2556 และ 7.8 ล้านตัน ในปี 2557 ส่วนไทยจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 7 ล้านตัน ในปี 2556 และ 8 ล้านตัน ในปี 2557 ซึ่งเป็นตัวเลขเดียวกับการคาดการณ์ครั้งที่ผ่านมา และภาพรวม ในปี 2557 การค้าข้าวของโลกจะมีปริมาณประมาณ 39 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณ 700,000 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2556

ที่มา Oryza.com

ฟิลิปปินส์

กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture: DA) เปิดเผยว่า ในปี 2557 รัฐบาลฟิลิปปินส์จะไม่นำเข้าข้าว นอกเหนือจากข้าวที่ต้องนำเข้าตามข้อตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งกำหนดให้ฟิลิปปินส์ต้องนำเข้าข้าวขั้นต่ำปีละ 350,000 ตัน (minimum access volume: MAV) กำหนดอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 40

ในปีนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้กำหนดเป้าหมายพึ่งพาตนเองด้านการผลิตข้าว แต่ได้นำเข้าข้าวไปแล้ว 392,000 ตัน ซึ่งจำแนกเป็น ข้าวที่นำเข้าภายใต้ข้อตกลงกับองค์การการค้าโลก (WTO) จำนวน 205,000 ตัน และข้าวที่นำเข้าจากเวียดนามภายใต้ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล (government-to-government deal) สำหรับมูลภัณฑ์ กันชน (buffer stock) จำนวน 187,000 ตัน

ทั้งนี้ ในปี 2553 ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวประมาณ 2 ล้านตัน ลดลงเหลือ 855,000 ตัน ในปี 2554 และลดลงเหลือ 500,000 ตัน ในปี 2555 ภายใต้เป้าหมายพึ่งพาตนเองด้านการผลิตข้าว รัฐบาลวางแผนที่จะเพิ่มปริมาณ การผลิตจาก 18 ล้านตัน ในปี 2555 เป็น 20 ล้านตัน ในปี 2556 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11

ที่มา Oryza.com

ปากีสถาน

สำนักงานสถิติปากีสถาน (Pakistan Bureau of Statistics: PBS) รายงานว่า ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ปากีสถานส่งออกข้าวได้ 182,805 ตัน ลดลงร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม แต่เพิ่มขึ้นประมาณ 149,146 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

โดยในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ปากีสถานส่งออกข้าวบาสมาติได้ 44,221 ตัน ลดลงร้อยละ 27 จาก 60,455 ตัน เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม และลดลงร้อยละ13 จาก 51,004 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สำหรับข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ปากีสถานส่งออกได้ 138,584 ตัน ลดลงร้อยละ 40 จาก 232,109 ตัน เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 41 จาก 98,142 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ในภาพรวม 2 เดือนแรกของปี 2556/57 (กรกฎาคม 2556 — สิงหาคม 2556) ปากีสถานส่งออกข้าวได้ 475,369 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 37 จาก 345,965 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ในปี 2555/56 ปากีสถานส่งออกข้าวได้รวม 3.1 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 14 จาก 3.62 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ที่มา Oryza.com

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ วันที่ 23-29 กันยายน 2556--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ