ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 29, 2014 16:48 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด
1) ปีการผลิต 2556/57

มาตรการแก้ไขปัญหา

โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57

ผลการดำเนินงาน จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2556–20 ตุลาคม 2557)

  • จำนวนสัญญา 1,825,410 สัญญา
  • จำนวนตัน 11,650,859 ตัน
  • จำนวนเงิน 191,582.502 ล้านบาท
2) ปีการผลิต 2557/58

มติ ครม.คสช. เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2557 และมติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 เห็นชอบแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2557/58 ดังนี้

2.1) มาตรการหลัก

  • ลดต้นทุนการผลิต โดยการลดราคาปัจจัยการผลิตและบริการ ไร่ละ 432 บาท แบ่งเป็น ปุ๋ยเคมีไร่ละ 40 บาท สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชไร่ละ 20 บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ไร่ละ 122 บาท ค่าบริการรถเกี่ยวข้าวไร่ละ 50 บาท และค่าเช่าที่นาไร่ละ 200 บาท

2.2) มาตรการสนับสนุน

(1) มาตรการเร่งด่วน

(1.1) สนับสนุนแหล่งเงินทุน ได้แก่

  • โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
  • ลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกร

(1.2) ส่งเสริมการตลาด ได้แก่

  • เร่งหาตลาดใหม่
  • เชื่อมโยงการตลาดข้าวในประเทศและต่างประเทศ
  • ช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
  • สินเชื่อเกษตรกรเพื่อชะลอการขายข้าวเปลือก (ประกันยุ้งฉาง)

(1.3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ได้แก่

  • โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2557

(2) มาตรการระยะยาว

(2.1) ส่งเสริมปัจจัยการผลิต ได้แก่

  • การเพิ่มผลผลิตต่อไร่
  • การจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าว
  • การจัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์
  • กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ (Zoning)
  • จัดหาแหล่งน้ำสนับสนุน

(2.2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม

  • การจัดตั้งสถาบันพัฒนาศักยภาพการค้าข้าว

ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 2 กค. 57

  • การจัดตั้งกองทุนข้าวและชาวนาแห่งชาติ

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาที่เกษตรกรขายได้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ และข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาด ขณะที่ตลาดมีความต้องการข้าวอย่างต่อเนื่อง

1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,148 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,156 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.05

ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,991 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,964 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.35

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,525 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,610 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.00 3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,078 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,601 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,070 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,465 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 136 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 578 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,552 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 573 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,456 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 96 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 426 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,674 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 429 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,818 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70 และลดลงในรูปเงินบาท ตันละ 144 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 408 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,096 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 410 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,206 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 110 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 429 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,770 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 48 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.0976 บาท

2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต

ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2557/58 ประจำเดือนตุลาคม 2557 ว่าจะมีผลผลิต 475.477 ล้านตันข้าวสาร (709.0 ล้านตันข้าวเปลือก) ลดลงจาก 476.557 ล้านตันข้าวสาร (710.5 ล้านตันข้าวเปลือก) หรือลดลงร้อยละ 0.23 จากปี 2556/57 2) การค้าข้าวโลก

บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2557/58

ณ เดือนตุลาคม 2557 ว่าผลผลิต ปี 2557/58 จะมี 475.477 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2556/57 ร้อยละ 0.23 การใช้ในประเทศจะมี 481.688 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.17 การส่งออก/นำเข้าจะมี 41.185 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.04 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 104.242 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.62

โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ กัมพูชา จีน อียิปต์ ปารากวัย อุรุกวัย เวียดนาม สหรัฐอเมริกา และไทย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล และอินเดีย สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน ไอเวอรี่โคสต์ อียู กานา อิหร่าน อิรัก เม็กซิโก โมแซมบิค ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน อินเดีย และอินโดนีเซีย

2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

เวียดนาม

สมาคมอาหารของเวียดนาม (The Vietnam Food Association; VFA) รายงานว่า การส่งออกข้าวช่วงวันที่ 1-16 ตุลาคม 2557 มีจำนวน 139,213 ตัน มูลค่า 63.808 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (FOB) โดยปริมาณลดลงร้อยละ 4.6 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2556 ที่ส่งออกได้145,875 ตัน มูลค่า 61.813 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (FOB) สำหรับการสงออกตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม-16 ตุลาคม 2557 มีจำนวน 4.927 ล้านตัน มูลค่า 2.133 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณลดลงร้อยละ 7.8 และมูลค่าลดลงร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2556 ที่ส่งออกได้ 5.344 ล้านตัน มูลค่า 2.294 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (FOB)

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) ไดจัดการหารือที่นครโฮจิมินห์เกี่ยวกับการผลิตข้าว ปี 2557 โดยรองประธานสมาคมอาหารเวียดนาม ระบุว่า ไม่เพียงแต่การแข่งขันจากชาติเอเชียด้วยกันเท่านั้น ในอนาคตเวียดนามยังต้องเผชิญต่อการแข่งขันกับบรรดาผู้ส่งออกข้าวจากแอฟริกาด้วย โดยตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้ไปจนถึงสิ้นปี ราคาส่งออกข้าวในประเทศมีแนวโน้มที่จะยืนอยู่ในระดับปัจจุบัน หรืออาจจะลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการในตลาดลดลง ขณะที่ผู้ประกอบกิจการส่งออกข้าวต่างพยายามที่จะขายข้าวทั้งหมดที่รับซื้อมาจากเกษตรกร ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาสมดุลปริมาณข้าวเพื่อใช้ส่งออกในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้และต้นปีหน้า

รายงานของสมาคมอาหารเวียดนาม ระบุว่า ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2557 เวียดนามส่งออกข้าวไปแล้ว 4.8 ล้านตัน มูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 7.81 และมูลค่าลดลงร้อยละ 7.2 ซึ่งผู้ส่งออกข้าวหวังที่จะส่งออกข้าวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ให้ได้ 1.4 ล้านตัน จึงจะทำให้ยอดรวมการส่งออกข้าวของประเทศอยูที่ 6.3 ล้านตัน ผู้เชี่ยวชาญในวงการข้าวของเวียดนามไดแสดงความคิดเห็นต่อร่างแผนงานยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิตข้าวของเวียดนามปี2563 ว่ากระทรวงเกษตรฯ (The Ministry of Agriculture and Rural Development; MARD) ไดตั้งเป้าหมายสูงเกินไป ทั้งนี้ ร่างแผนงานยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิต ข้าวของเวียดนามในปี2563 นั้น รัฐบาลไดตั้งเป้าว่าเกษตรกรจะต้องมีรายได้ประมาณ 4,640-5,568 ดอลลาร์สหรัฐต่อเฮคตาร์หรือ 742.4-890.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อไร่นอกจากนี้เวียดนามจะมุ่งเน้นการทำตลาดข้าวในภูมิภาคแอฟริกาเหนือและเอเชียตะวันออกมากขึ้น รวมถึงการทำให้ราคาสงออกข้าวขาวเมล็ดยาวเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 600 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน

ข้าวหอมเพิ่มขึ้นเป็น 800 เหรียญสหรัฐต่อตัน ภายในปี2563 รัฐบาลตั้งเป้าที่จะลดพื้นที่เพาะปลูกข้าวลงเหลือประมาณ 43.75 ล้านไรจากปัจจุบันที่มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 48.75 ล้านไร่โดยพื้นที่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (the Mekong River Delta; MRD) จะเน้นไปที่การเพาะปลูกข้าวเพื่อการสงออก สวนพื้นที่ในเขตลุ่มแม่น้ำแดง (the Red River Delta ; RRD) จะเน้นไปที่การเพาะปลูกข้าวเพื่อการบริโภคภายในประเทศ โดยจะมีการใช้เมล็ดพันธุขข้าวที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงและมีคุณภาพดี อย่างไรก็ตาม ผ้เชี่ยวชาญในวงการข้าว ระบุว่า แผนดังกล่าวไม่ค่อยสมจริงนัก เพราะหากรายได้ต่อพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นจริง คงจะไมมีเกษตรกรรายใดที่จะยอมลดพื้นที่เพาะปลูกลง รวมถึงการกำหนดราคาส่งออกข้าว

ทั้งข้าวขาวและข้าวหอมไว้สูงถึง 600 และ 800 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน นั้น ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะแนวโน้มราคาข้าวมีทิศทางที่อ่อนตัวลงไปจนถึงปี2563 นอกจากนี้แผนดังกล่าวยังไม่ได้ตอบโจทย์ของเกษตรกรเท่าใดนัก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในวงการข้าวแนะนำว่ารัฐบาลจะต้องมีการปรับโครงสร้างของห่วงโซ่มูลค่าข้าว ทางด้านรายได้ของเกษตรกรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ

ทั้งนี้ หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านข้าวชั้นนำในเวียดนาม กล่าวว่า ร่างแผนดังกล่าวยังไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างและบทบาทของสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) และบริษัทอื่นๆที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ

ที่มา Oryza.com

เมียนมาร์

มีรายงานว่าในชวง 6 เดือนแรก (เมษายน-กันยายน) ของปีงบประมาณ 2557/58 เมียนมาร์ส่งออกข้าว ไปแล้วประมาณ 630,071 ตัน เพิ่มขึ้นเท่าตัวเมื่อเทียบกับจำนวน 300,000 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าส่งออกประมาณ 238 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยการส่งออกข้าวผ่านทางท่าเรือมีจำนวนประมาณ 120,000 ตัน มูลค่า 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการส่งออกผ่านทางชายแดนมีจำนวน 510,966 ตัน มูลค่า 196 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์(The Ministry of Commerce) ระบุวา การส่งออกที่เพิ่มขึ้นมาจากความต้องการ ข้าวจากประเทศรัสเซีย และประเทศในยุโรปที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนทางแนวชายแดนเริ่มประสบปัญหาตั้งแต่ช่วงต้นปีเนื่องจากติดปัญหาทางด้านขั้นตอนและกฏระเบียบของประเทศจีน ซึ่งทางการของทั้งสองประเทศอยู่ระหว่างการหารือกันในประเด็นนี้ และจะต้องมีการลงนามในข้อตกลงต่างๆ ของสองประเทศก่อนจึงจะทำให้การส่งออกราบรื่นอีกครั้ง

ทั้งนี้ ในปีการตลาด 2555/56 เมียนมาร์ส่งออกข้าวจำนวน 1.33 ล้านตัน และลดลงเหลือ 1 ล้านตันในปี2556/57 โดยรัฐบาลได้ตั้งเป้าที่จะส่งออกข้าวเพิ่มมากขึ้นตามยุทธศาสตร์การสงออกของประเทศในช่วงปี2557-2562 โดยจะมีการขยายตลาดส่งออกให้มากขึ้น

ที่มา Oryza.com

อินเดีย

ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจนานาชาติ (International Business Information Services ;IBIS) รายงาว่า ในปีการตลาด 2556-2557 (ตุลาคม 2556 - กันยายน 2557) อินเดียส่งออกข้าวได้ประมาณ 10.15 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 6.87 จากปีการตลาดก่อนหน้าซึ่งส่งออกได้10.9 ล้านตัน โดยแบ่งเป็นข้าวที่ไม่ใช้บาสมาติ (Non- Basmati Rice) 6.643 ล้านตัน และข้าวบาสมาติ (Basmati Rice) 3.506 ล้านตัน ซึ่งสัดส่วนระหว่างข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติและข้าวบาสมาติอยู่ที่ประมาณร้อยละ 65.45 และร้อยละ 34.55 ตามลำดับทั้งนี้ คาดว่าในปีการตลาด 2557-2558 อินเดียน่าจะส่งออกข้าวได้ในปริมาณประมาณ 10.5-11.0 ล้านตันโดยเป็นข้าวบาสมาติประมาณ 4.0-4.5 ล้านตัน มีรายงานว่า แม้ว่าฤดูมรสุมปีนี้จะมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แลว แต่ปรากฏว่าพื้นที่ปลุกข้าวของอินเดีย ทั่วประเทศในปีนี้สำหรับฤดูร้อน (Kharif Season) กลับเพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปีที่แลว โดยกระทรวงเกษตร (The Indian Agriculture Ministry) รายงานว่า การเพาะปลูกข้าวในฤดูการผลิตหลัก หรือ kharif rice crop (เพาะปลูกเดือนมิถุนายน-ธันวาคม และเริ่มเก็บเกี่ยวเดือนตุลาคมเป็นต้นไป) จนถึงวันที่ 17 ตุลาคม มีพื้นที่ประมาณ 237.5 ล้านไร่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดว่าในปีการผลิต 2557/58 (ตุลาคม 2557-กันยายน 2558) อินเดียจะมีผลผลิตข้าวประมาณ 103 ล้านตันลดลงร้อยละ 3 จากผลผลิตในปี 2556/57 ที่คาดว่าจะมีประมาณ 106.29ล้านตัน เนื่องจากเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงในช่วงฤดูมรสุมเมื่อเดือนมิถุนายน-กันยายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูการเพาะปลูกในพื้นที่สำคัญ โดยคาดว่าในฤดูการผลิตหลัก หรือ kharif crop (มิถุนายน-ธันวาคม) จะมีผลผลิตประมาณ 88.02 ล้านตันลดลงร้อยละ 4 จากปีก่อน สวนฤดูการผลิตรองหรือ rabi crop (พฤศจิกายนมีนาคม) จะมีผลผลิตประมาณ 13 ลดลงร้อยละ 13 จากปีก่อน

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 20 - 26 ต.ค. 2557--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ