ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวทั่วไป Wednesday November 18, 2009 14:56 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การผลิต

ข้าวนาปี ปี 2552/53 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้คาดการณ์ ณ เดือน ก.ย. 52 ว่ามีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี ปี 2552/53 (ณ เดือน ก.ย. 52) ว่าจะมีพื้นที่ปลูก 57.256 ล้านไร่ได้ผลผลิต 23.245 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 406 กิโลกรัม พื้นที่การผลิต ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.29 แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.04 และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น 1 กิโลกรัม/ไร่ ผลผลิตดังกล่าว แยกเป็นรายภาคและชนิดข้าว ดังนี้

                                   ประเทศ     ภาคเหนือ     ภาคคะวัน    ภาคกลาง      ภาคใต้

ออกเฉียงเหนือ

          ข้าวรวม                    23.25        6.65      10.291      5.562      0.742
          * ข้าวเจ้า : -              16.94       4.957       5.696       5.54      0.742
          - ข้าวหอมมะลิ               6.650       1.027       5.200      0.417      0.005
          - ข้าวปทุมธานี 1             1.250       0.215       0.003      1.002      0.030
          - ข้าวเจ้าอื่นๆ               9.036       3.715       0.493      4.121      0.707
          * ข้าวเหนียว                6.309       1.693       4.595      0.022     0.0003

โดยผลผลิตข้าวจะเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือน ส.ค. 52 และจะเก็บเกี่ยวมากสุดในเดือน พ.ย. — ธ.ค. 52 ร้อยละ 47.99 และ 27.22 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ดังตาราง

สำหรับผลผลิตข้าวที่เก็บเกี่ยวในเดือนพฤศจิกายน 2552 มีปริมาณ 11.164 ล้านตัน (47.99% ของผลผลิตทั้งหมด) แยกเป็นการเก็บ เกี่ยวผลผลิตมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 3.289 ล้านตัน รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้จำนวน 3.269, 1.559 และ 0.003 ล้านตันข้าวเปลือก ตามลำดับ

ปริมาณและร้อยละการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ปี 2552 /53 รายเดือน

หน่วย : ตันข้าวเปลือก

  รายการ                                        ปริมาณผลผลิตข้าวนาปี ปี 2552/53 รายเดือน                             รวม
               สค. 52         กย.         ตค.        พย.         ธค.    มค.53      กพ.      มีค.     เมย.
รวมทั้งประเทศ  779 ,603   1,177,692   1,997,645  11,164,465  6,327,757  976,177  477,998  269,667   74,407  23,245,411
(ร้อยละ)          3.37        5.08         8.6       47.99      27.22      4.2      2.06     1.16     0.32        100

หมายเหตุ : ประมาณการ ณ เดือน ก.ย.52

1.2 การตลาด

1) การดำเนินโครงการการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2552/53

ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 กันยายน 2552 เห็นชอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ตั้งแต่ กรกฎาคม - ตุลาคม 2552 สำหรับ พื้นที่ปลูกข้าวใน ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับพื้นที่ภาคใต้ ให้ขยายเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกรถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553

แนวทางปฏิบัติ (1) กรณีเกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตรและต้องผ่านการประชาคมรับรองการผลิตแล้ว หรือขึ้นทะเบียนเกษตรกรแล้ว แต่ยังไม่ผ่านประชาคมรับรองการผลิต ต่อมามีการขายผลผลิตไป จะไม่ได้รับสิทธิในการทำสัญญาประกันรายได้กับ ธ.ก. ส. (2) กรณีเกษตรกรได้ทำสัญญาประกันรายได้กับ ธ.ก.ส. แล้ว ต่อมาภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อยกว่าปริมาณที่ทำสัญญาประกันรายได้ไว้ หรือไม่ ได้รับผลผลิตเลยเนื่องจากประสบภัยพิบัติหรือภัยธรรมชาติ สามารถได้รับเงินชดเชยตามเกณฑ์กลางอ้างอิงตามปริมาณผลผลิตที่ได้ทำสัญญาประกันรายได้ ไว้แล้ว

ทั้งนี้ที่ประชุม กขช. ครั้งที่ 9/2552 เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 52 มีมติอนุโลมให้เกษตรกรที่ผ่านการประชาคมแล้ว และได้ขายข้าวไปก่อนทำ สัญญาใช้สิทธิในช่วงวันที่ 1-15 ต.ค. 52 ซึ่ง ธ.ก.ส. ยังไม่สามารถดำเนินการทำสัญญาขอใช้สิทธิ์ย้อนหลังได้ แต่หลังจากวันที่ 15 ต.ค. 52 จะต้อง ดำเนินการตามระเบียบไม่มีการยกเว้นดังกล่าว

2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2552/53

ระยะเวลาการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ข้าวเปลือกนาปี เดือนกรกฎาคม — 31 ตุลาคม 2552 สำหรับภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้ขยายเวลาถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553

เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร และทำประชาคมรับรองการผลิต

เกษตรกรที่ได้ใบรับรองการผลิตหลังจากทำประชาคมแล้ว สามารถนำไปทำสัญญาประกันรายได้กับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม — 30 พฤศจิกายน 2552 ยกเว้นภาคใต้ ถึงเดือน พฤษภาคม 2553 )และสามารถใช้สิทธิขอรับผลต่างระหว่างราคาประกันกับราคาอ้างอิงหลังจากทำสัญญา กับ ธ.ก.ส. 15 วัน

ผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร การประชาคม และจัดทำสัญญาประกันรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2552/53

(ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2552)

ประเด็น                                           จำนวนจังหวัด     ครัวเรือนเกษตรกร    พื้นที่ (ไร่)
ฐานข้อมูล                                              76           3,715,326      56,596,069
การขึ้นทะเบียนเกษตรกร (ราย)                                          3,248,669      57,336,578
ผ่านการประชาคม (ราย)                                               2,980,865      53,468,560
ผ่านการประชาคม (ราย) ณ วันที่ 12 พ.ย.52 (ข้อมูล ธ.ก.ส.)                 2,581,257           -
ผ่านการอนุมัติทำสัญญากับ ธ.ก.ส. (ราย)                                     267,883           -

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมาณและราคาประกันรายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,300 บาท ไม่เกิน 14 ตัน / ครัวเรือน

ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 14,300 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน

ข้าวเปลือกเจ้าตันละ ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน

ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ไม่เกิน 25 ตัน / ครัวเรือน

ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท ไม่เกิน 16 ตัน / ครัวเรือน

ประกาศราคาอ้างอิง โดยประกาศราคาอ้างอิงทุก 15 วัน (ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน) สำหรับราคาอ้างอิงประจำวันที่ 1 พ. ย. 52 ดังตาราง

ระยะเวลาโครงการ เดือนกรกฎาคม 2552 — กรกฎาคม 2553

3) โครงการแทรกแซงตลาดรับซื้อข้าวเปลือกปี 2552/53

ตามมติ กขช. วันที่ 19 ต.ค. 52 และ มติครม. เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 52 เห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ดำเนินโครงการเพื่อ ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือนร้อนจากการจำหน่ายข้าวเปลือกได้ในราคาต่ำ

เป้าหมาย 2 ล้านตันข้าวเปลือก โดยให้โรงสีเอกชนและสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการกับ อคส. และ อตก. รับซื้อข้าวจากเกษตรกรตาม ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง

ดำเนินการแทรกแซงรับซื้อในวันที่ 2 พ.ย. 52 มีโรงสีที่สมัครเข้าร่วมโครงการที่พร้อมเปิดจุดรับซื้อ ณ วันที่ 2 พ.ย. 52 นี้จำนวน 18 โรงสี ใน 10 จังหวัด ได้แก่ จ.พิษณุโลก (3โรง) จ.กำแพงเพชร (2โรง)

จ.นนทบุรี (1โรง) จ.สิงห์บุรี (3โรง) จ.อยุธยา (1โรง) จ.สุพรรณบุรี (1โรง) จ.ชัยนาท (4โรง) จ.สุโขทัย (1โรง)

จ.เชียงใหม่ (1โรง) จ.ปทุมธานี (1โรง)

สำหรับข้าวเปลือกเจ้า ที่มีอายุการเพาะปลูก (น้อยกว่า 100 วัน) ตาม มติ ครม. เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 52 ไม่ให้เข้าร่วมโครงการ ประกันรายได้ แต่ให้ พณ. หามาตรการช่วยเหลือโดยให้ข้าวดังกล่าวสามารถนำมาจำหน่ายโรงสีที่เข้าร่วมโครงการแทรกแซงตลาดรับซื้อข้าวเปลือก นาปี ปี 2552/53 ได้ ตามราคาอ้างอิงราคาข้าวเปลือก 10 % และ 25% ดังตาราง

อนึ่ง สำหรับข้าวอายุต่ำดังกล่าวที่ประชุม ครม. 2552 มีมติอนุโลมให้เข้าร่วมโครงการแทรกแซงรับซื้อข้าวเปลือกของ พณ. ได้เฉพาะใน ปีนี้เท่านั้นปีต่อๆ ไปจะไม่ให้เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เกษตรกรปรับปรุงเพื่อปลูกข้าวคุณภาพดี

ตารางเกณฑ์กลางอ้างอิงข้าวเปลือกนาปี 2552/53 และผลต่างที่เกษตรกรจะได้รับจากรัฐบาล

(บาท /ตัน)

   ชนิดพืช                 ราคาประกัน    ประจำวันที่ 16 ต.ค.52               ประจำวันที่ 1 พ.ย.52
                         ณ ความชื้น   (ช่วงวันที่ 16 - 31 ต.ค.52)         (ช่วงวันที่ 1 - 15 พ.ย.52)
   ข้าวนาปี               ไม่เกิน 15 %  ราคาอ้างอิง  ผลต่างราคาประกัน     ราคาอ้างอิง     ผลต่างราคาประกัน
1) ขาวดอกมะลิ 105+กข 15   15 ,300      14,940        -360            14,840           -460
2) ข้าวหอมจังหวัด            14,300      13,860        -440            13,729           -571
3) ปทุมธานี 1               10,000       8,940      -1,060             9,175           -825
4) ข้าวขาว                 10,000       8,466      -1,534             8,389         -1,611
5) ข้าวเหนียว                9,500       7,470      -2,030             7,680         -1,820
ราคารับซื้อข้าวที่อายุต่ำกว่า 100 วัน                                   ความชื้นไม่เกิน 15 %   ความชื้นไม่เกิน 25 %
1) ราคาข้าว 10 %                                                      8,189          6 ,961
2) ราคาข้าว 25 %                                                      7 ,789         6 ,621

3) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552

การรับจำนำสิ้นสุดแล้วในวันที่ 30 ก.ย.52 โดย ผลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค.- 4 พ.ย.52 มี ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำ 5,317,684 ตัน คิดเป็นร้อยละ 88.63 ของเป้าหมายที่รับจำนำ (6 ล้านตัน)โดยมีรายละเอียด ดัง นี้

     จำนวนจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการ                         ปริมาณข้าวเปลือกที่รับจำนำสะสม (ตัน)

ข้าวเจ้า ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมข้าวทุกชนิด

ภาคเหนือ                   14 จังหวัด            2,055,752     28,232    47,317    2,131,301
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ        11 จังหวัด              154,930    -           9,293      164,223
ภาคกลาง                   20 จังหวัด            2,275,704    614,042    -         2,889,746
ภาคใต้                     3 จังหวัด               132,414    -          -           132,414
รวม                       4 8 จังหวัด           4,618,800    642,274    56,610    5,317,684

ที่มา : กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

ภาวการณ์ซื้อขาย ข้าวในสัปดาห์นี้ ราคายังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนในทุกตลาดทั้งนี้เนื่องจากผู้ส่งออกเริ่มออกมารับซื้อข้าวเพื่อ เตรียมส่งมอบให้ลูกค้า เพราะขณะนี้มีเรือเข้ามารับข้าวจาก ไนจีเรีย อิรัก และฟิลิปปินส์ อีกทั้งสัญญาของอินเดียที่ผลผลิตเสียหาย และไม่ส่งออกข้าว ขาว คาดว่าจะมีการนำเข้าข้าวเพื่อสำรองให้ประชากรในประเทศ ส่งผลให้พ่อค้าต่างเกรงว่าจะไม่มีข้าวส่ง และราคาอาจสูงขึ้นจึงทยอยออกมารับซื้อ ข้าวจากโรงสีเพื่อเก็บสต็อก ขณะเดียวกันโรงสีข้าวนึ่งก็เริ่มออกมาซื้อข้าวเปลือกเจ้าไว้ทำข้าวนึ่ง จึงส่งผลให้ราคาข้าวขาวขยับสูง ยกเว้นข้าวหอมมะลิ ที่ราคายังอ่อนตัวลง เนื่องจากผลิตได้ออกสู่ตลาดมากและข้าวมีความชื้นสูงเนื่องจากเกษตรกรใช้รถเกี่ยวนวด

การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 26 ตุลาคม 2552 ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 7,065,663 ตันข้าวสาร ลดลงจาก 8,907,097 ตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.67 (ที่มา : กรมการค้าภายใน)

1.3 ราคา

ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,515 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,850 บาท ของสัปดาห์ ก่อนร้อยละ 2.42

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5 % ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,751 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,470 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.32

ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,442 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,863 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 7.36

ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี ความชื้น 14-15 % ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,751 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,470 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.32

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% ( ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

ราคาส่งออก เอฟ . โอ. บี

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,062 ดอลลาร์สหรัฐ ฯ (35,137 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจาก ตันละ 1,043 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,623 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.82 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 514 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 764 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,277 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 762 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (25,295 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 18 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5 % (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 511 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,907 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 510 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,930 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 23 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25 % (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 431 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,260 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 429 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,241 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 19 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5 % ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 584 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,322 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 583 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (19,353 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 31 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.0855 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

จีนเร่งขยายน้ำมันรำข้าวเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันที่ใช้ในการบริโภค

จากทศวรรษที่ผ่านมา จีนมีความต้องการน้ำมันที่ใช้ในการบริโภคเพิ่มเป็น 2 เท่า และจะเพิ่มอีก 10 ล้านตันใน 10 ปีข้างหน้า แต่เนื่อง จากยังมีข้อจำกัดในพื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะในปักกิ่งที่สงวนพื้นที่ไว้สำหรับการเพาะปลูกธัญพืชอื่นๆ แทนถั่วเหลือง และจากสถิติปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ ว่า จีนเป็นผู้นำเข้าถั่วเหลืองอันดับ 1 ของโลก โดยมีการนำเข้ามากกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณการค้าในตลาด นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าเมล็ดเรพ (rapeseed) น้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง ด้วย โดยต้องอาศัยการนำเข้าถึงร้อยละ 66 ของปริมาณความต้องการน้ำมันที่ใช้ในการบริโภค แม้ว่า จีนจะมีการผลิตข้าวและโรงสีจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานขนาดเล็กและไม่ค่อยมีการใช้เทคโนโลยีเท่าไรนัก รำข้าวส่วนใหญ่จึงไม่ถูกนำมาใช้ ประโยชน์อย่างเต็มที่

เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์การผลิตข้าวของจีนซึ่งในแต่ละปีจะผลิตได้ประมาณ 185 ล้านตัน ถ้ามีการนำรำข้าวเพียงครึ่งหนึ่งมาใช้ในการ ผลิตน้ำมันรำข้าว จะสามารถสร้างน้ำมันที่ใช้ในการบริโภคได้ถึง 1.1 ล้านตัน ซึ่งเท่ากับการผลิตจากถั่วเหลือง 5.8 ล้านตัน ซึ่งจากสถานการณ์ ปัจจุบัน จีนมีการนำรำข้าวเพียง 10 % มาผลิตน้ำมันที่ใช้ในการบริโภค และส่วนที่เหลือใช้ในการเลี้ยงสัตว์ นายตู๋ ชางหมิง ผู้อำนวยการด้านการค้า ของ บริษัท วิลมาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเฮลองเจียง กล่าวว่า บริษัทมีโรงสีข้าวที่มีกำลังในการผลิต 1,000 ตันต่อวัน และสามารถผลิตน้ำมันที่ใช้ในการบริโภคได้ 12 ตัน/วัน จะเห็นได้ว่า การผลิตน้ำมันรำข้าวจะเป็นก้าวแห่งการพัฒนาที่สำคัญในอนาคตของจีน แต่โรงสีข้าวขนาดเล็กจำนวนมากยังมีความรู้สึกว่าวัตถุดิบที่เป็นรำข้าวที่ได้อาจยังไม่เพียงพอ

การเจรจาลดภาษีนำเข้าข้าวระหว่างไทยและฟิลิปปินส์ในเวทีเอเปค ณ ประเทศสิงคโปร์

กรณีฟิลิปปินส์ต้องลดภาษีนำเข้าข้าวให้ลดลงอยู่ระหว่าง 0-5 % ในปี 2553 ภายใต้พันธะสัญญาเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ฟิลิปปินส์ ขอให้จัดข้าวอยู่ในร่างพิธีสารพิเศษเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมข้าวในประเทศ และเสนอซื้อข้าว 50,000 ตันจากไทยในอัตราภาษี 0% แต่ไทยต้องการให้ ฟิลิปปินส์ซื้อในจำนวนที่มากกว่านั้นและขู่ว่าจะไม่ให้สัตยาบันในความตกลงสินค้าในการค้าอาเซียน (ATIGA: ASEAN Trade in Goods Agreement)

อินเดียเร่งส่งเสริมข้าวบาสมาติในตลาดกลุ่มเฉพาะ (Niche Market)

ผู้ส่งออกข้าวของอินเดียไม่สนับสนุนรัฐบาลในการแทรกแซงการส่งออกข้าวบาสมาติแต่ให้ส่งเสริมในตลาดกลุ่มเฉพาะ (Niche Market) แทน ซึ่งก่อนหน้านี้ รัฐบาลวางแผนที่จะเพิ่มระดับราคาการส่งออกขั้นต่ำ (Mininum Export Price: MEP) ของข้าวบาสมาติ เนื่องจากมีการคาด การณ์ผลผลิตข้าวว่าจะมีประมาณ 69.45 ล้านตันในฤดูคารีฟนี้ (Kharif Season) หรือประมาณ 15 ล้านตันน้อยกว่าฤดูที่ผ่านมา ซึ่งราคาส่งออกขั้น ต่ำ (MEP) ของข้าวบาสมาติในปัจจุบันเท่ากับ 29,776.95 บาท/ตัน (900 USD/ ตัน, 45,000 Rs./ ตัน) ในขณะที่ราคาส่งออกในจีนอยู่ระหว่าง 19,851.30-23,159.85 บาท/ตัน (600-700 USD/ ตัน) โดยในครึ่งปีแรกของปี 2553 อินเดียได้ส่งออกข้าวบาสมาติไปแล้ว 1.6 ล้านตัน ถ้า รัฐบาลเพิ่มราคาส่งออกขั้นต่ำ (MEP) หรือมีการเรียกเก็บภาษีการส่งออกอัตราใหม่ จะทำให้ส่งผลกระทบต่อการส่งออก จากข้อมูลพบว่า ราคาส่งออก ของข้าวบาสมาติได้เพิ่มสูงขึ้น 50% ในปี 2552-2553 จากปริมาณอุปทานที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

FAO พยากรณ์ปริมาณการผลิตธัญพืชที่เพิ่มขึ้นยกเว้นข้าว

องค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้คาดการณ์การผลิตธัญพืช (cereal) ของโลกในปีนี้ว่าจะมปริมาณ 2.234 พัน ล้านตัน ซึ่งต่ำกว่าการผลิตในปีที่ผ่านมาประมาณ 2% แต่มากกว่าที่ประมาณการไว้ 26 ล้านตัน จำแนกเป็นการผลิตข้าวสาลีจะเพิ่มสูงถึง 678 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ของ FAO ในเดือนกรกฎาคมที่พยากรณ์ไว้ 655.2 ล้านตัน ปริมาณผลผลิตธัญพืช (coarse grains) เพิ่มสูงขึ้น 15 ล้านตัน เป็น 1.108 พันล้านตัน ซึ่งสูงกว่าปริมาณคาดการณ์การเก็บเกี่ยวในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังมีการประมาณการข้าวเปลือกว่าจะได้ผลผลิตประมาณ 672 ล้านตัน ลดลง 2.3% จากปี 2551 (688 ล้านตัน) เนื่องจากเกิดวิกฤตภัยธรรมชาติ พายุ และน้ำท่วม ซึ่งส่งผลกระทบในหลายประเทศ โดย เฉพาะอินเดียที่เกิดทั้งแผ่นดินไหว และพายุไซโคลน

จากการฟื้นตัวของปริมาณการผลิตธัญพืชส่งผลให้ราคาลดต่ำลง ทำให้ปริมาณการใช้ในปี2552/53 จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ ไว้ เกษตรกรในยุโรปและสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มในการเพาะปลูกข้าวสาลีในปีถัดไปลดลง (2553) การขยายตัวของธัญพืชจะทำให้การเพิ่มขึ้นของ ปริมาณธัญพืชคงเหลือในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยในปลายฤดูการเพาะปลูกปี 2553 การฟื้นตัวของตลาดธัญพืชเข้าสู่สภาวะปกตินี้ ( ยกเว้นข้าว) ทำให้ ราคาในตลาดต่างประเทศในฤดูกาลนี้ลดลง 30% เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา

ในประเทศที่ยากจนที่มีการนำเข้าอาหาร ปริมาณการนำเข้าโดยรวมปี 2552/53 คาดว่าจะลดลงประมาณ 13 % ส่งผลต่อหนี้สิน จากรายการการนำเข้าธัญพืชจะลดลงประมาณ 27% หรือ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแม้ว่าราคาในตลาดต่างประเทศจะลดลงแต่ราคาผลผลิตในกลุ่ม ประเทศยากจนยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในแอฟริกาตะวันออกที่ยังมีคนอีก 20 ล้านคน ต้องการความช่วยเหลือด้านอาหาร

เวียดนามกักตุนข้าว 4 ล้านตัน

เวียดนามได้จัดสร้างโกดังเก็บข้าว 4 ล้านตันในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (Mekong Delta) เนื่องจากในแต่ละปีเวียดนามสามารถผลิต ข้าวได้ 38 ล้านตัน มีปริมาณในการส่งออก 4-5 ล้านตัน แต่ระบบคลังเก็บข้าวในปัจจุบันสามารถเก็บผลผลิตได้เพียง 2 ล้านตัน และเป็นสถานที่เก็บชั่ว คราวเท่านั้น เนื่องจากเวียดนามมีระบบการจัดเก็บสินค้าที่ยังไม่ค่อยดีเท่าไรนัก ทำให้สูญเสียผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ไปประมาณ 11-12% ซึ่งเทียบเท่า ความสูญเสียประมาณหลายพันพันล้านด่อง

ภายใต้โครงการนี้ ผู้ลงทุนจะสามารถขอกู้เงินได้ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษที่ 6.5 % ต่อปี และสามารถขอกู้เงินเพื่อนำเข้าอุปกรณ์ในการ จัดการทางด้านการเกษตรที่ทันสมัยที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศด้วยอัตราดอกเบี้ย 0% นอกจากนี้ ผู้ลงทุนคลังสินค้าเก็บข้าวจะได้รับการยกเว้นค่า ธรรมเนียมที่ดินเป็นเวลา 5 ปี หลังจากที่โครงการเริ่ม โดยรัฐบาลจะช่วยเหลือ/สนับสนุน 20% ของค่าใช้จ่ายในการเคลียร์พื้นที่ และ 30% ที่ใช้ใน การปรับปรุงถนนด้านนอกคลังสินค้า ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ลงทุนยังได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี หลังจากเริ่มดำเนินการ และได้รับการ ลดหย่อนภาษีอากร 50% ใน 2 ปีถัดไป ซึ่งการสร้างคลังสินค้าดังกล่าว ควรให้ความสำคัญในเรื่องของการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ด้วย

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 9 - 15 พฤศจิกายน 2552--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ