ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรครึ่งแรกของปี 2553 และแนวโน้มปี 2553

ข่าวทั่วไป Thursday July 22, 2010 14:57 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ภาพรวมเศรษฐกิจโลก

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวตามที่หลายสานักพยากรณ์ทางเศรษฐกิจคาดการณ์ไว้ โดยแต่ละประเทศมีอัตราการฟื้นตัวที่แตกต่างกัน อาทิ ประเทศเศรษฐกิจหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป มีการฟื้นตัวที่ช้ากว่ากลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะ ในเอเชีย ซึ่งจีนและอินเดียยังคงทาหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกให้มีการเติบโตต่อไป อย่างไรก็ตาม จากปัญหาวิกฤติ หนี้สาธารณะในกรีซเป็นสัญญาณเตือนถึงความอ่อนไหวด้าน การคลังในยุโรปที่มีแนวโน้มที่จะเป็นอุปสรรคในการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้หาแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่ให้ลุกลาม แม้ว่าจะมีหลายประเทศ เช่น อิตาลี โปรตุเกส สเปน และฮังการี ที่เริ่มส่งสัญญาณเตือนถึงปัญหาดังกล่าวบ้างแล้ว แต่สหภาพยุโรปจะต้องหาแนวทางในการปรับปรุงด้านการคลังของประเทศสมาชิกให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น จึงคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อไป

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวม

1. ราคาน้ามันดิบดูไบ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยราคาเฉลี่ยเดือนมกราคม — พฤษภาคม 2553 อยู่ที่ 77.61 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ 47.47 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.5 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 2552 ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ามันดิบของโลกเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ปริมาณการผลิตยังมีอยู่จากัดตามการบริหารจัดการโดยกลุ่มโอเปค และการที่ระดับราคาน้ามันดิบสูงขึ้นย่อมกระทบต่อต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะค่าขนส่ง ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกจากราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น

2. อัตราแลกเปลี่ยน

2.1 เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนมกราคม — มิถุนายน 2553 อยู่ที่ 32.64 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คือ 35.03 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ. หรือแข็งค่าขึ้นร้อยละ 6.8 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ทาให้ความเชื่อมั่นในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐลดลงเมื่อเทียบกับเงินบาท

2.2 เงินบาทต่อยูโร มีแนวโน้มแข็งค่าเช่นเดียวกับดอลลาร์สหรัฐ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเดือนมกราคม — มิถุนายน 2553 อยู่ที่ 43.32 บาท/ยูโร แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คือ 46.60 บาท/ยูโร หรือแข็งค่าขึ้นร้อยละ 7.0 เนื่องจากปัญหาวิกฤติการเงินในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปบางประเทศ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในสกุลเงินยูโรลดลง ประกอบกับการดาเนินนโยบายการเงินที่ไม่เข้มงวดของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเพื่อกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจมีส่วนทาให้ค่าเงินยูโรมีแนวโน้มอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น

อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงติดตามสถานการณ์และหามาตรการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเกินไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกในภาพรวม นอกจากนี้ การประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนยังคงเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับผู้ส่งออกเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต

ภาพรวมเศรษฐกิจของไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 ยังคงขยายตัวได้ แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง แต่ไม่กระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมมากนัก เมื่อพิจารณาถึงอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในเดือนมกราคม - มิถุนายน 2553 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 แสดงถึงเศรษฐกิจของประเทศที่ยังมีเสถียรภาพ ขณะที่การส่งออกในช่วงเดือนมกราคม — พฤษภาคม 2553 คิดเป็นมูลค่า 2.44 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ส่งออกได้ 1.95 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 25.3 เป็นผลจากการที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ทาให้ความต้องการบริโภคสินค้าเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันภาครัฐยังได้ดาเนินมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น มาตรการไทยเข้มแข็ง มาตรการกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ฯลฯ ส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยสานักงานเศรษฐกิจการคลังได้คาดประมาณการว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2553 จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 5.0 — 6.0 (ณ เดือนมิถุนายน 2553)

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 คาดว่ายังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาพืชส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะยางพารา อ้อยโรงงาน และมันสาปะหลัง ในขณะที่ผลผลิตของพืชสาคัญ เช่น ข้าว มันสาปะหลัง อ้อยโรงงาน มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากศัตรูพืช โรคระบาด และสภาพอากาศที่ร้อนจัด เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ทาให้ปริมาณน้า ไม่เพียงพอในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ภาครัฐได้มีมาตรการรองรับโดยการขอให้เลื่อนการปลูกข้าวนาปีในช่วงเดือน มิถุนายน — กรกฎาคม ออกไป เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากภัยแล้ง สาหรับสาขาปศุสัตว์ไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดมากนัก เนื่องจากผู้เลี้ยงปศุสัตว์ส่วนใหญ่ได้ปรับเข้าสู่ระบบการเลี้ยงแบบปิดและไม่พบปัญหาโรคระบาดในปศุสัตว์ ส่วนสาขาประมงยังคงเติบโตได้ดีจากการทาประมงในบริเวณทะเลอ่าวไทย ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนไม่มากเท่าฝั่งอันดามัน ประกอบกับการเร่งจับกุ้งออกสู่ตลาดเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาโรคระบาด ทาให้ผลผลิตประมงเพิ่มขึ้น สาหรับการส่งออกสินค้าเกษตรที่สาคัญ อาทิ ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสาปะหลัง เนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ กุ้งและผลิตภัณฑ์ มีแนวโน้มสดใส สอดคล้องกับทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น ทาให้ความต้องการบริโภคสินค้าเพิ่มขึ้น

เมื่อพิจารณาถึงดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2553 พบว่า อยู่ในระดับสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2552 ขณะที่ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2553 ลดลงเล็กน้อยเมื่อกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ดังนั้น จึงคาดว่าภาพรวมภาคเกษตรในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.4

"... ผลผลิตข้าว อ้อยโรงงาน และ มันสาปะหลัง ลดลงจากปัญหาศัตรูพืช โรคระบาด และภัยแล้ง ..."

"... การส่งออกสินค้าเกษตรมีแนวโน้มสดใส ..."

"... ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ..."

"... ในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 ภาคเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4

"... ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรครึ่งแรกของปี 2553 และแนวโน้มปี 25531 ..."

สาขาพืช

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 ปัญหาความแปรปรวนของสภาพอากาศ ฝนทิ้งช่วง ก่อให้เกิดความแห้งแล้งในพื้นที่เกษตรกรรมที่สาคัญหลายแห่ง รวมถึงปัญหาศัตรูพืชและโรคระบาด ส่งผลให้การผลิตพืชส่วนใหญ่มีทิศทางลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อาทิ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มันสาปะหลัง อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วเหลือง โดยเฉพาะผลผลิตมันสาปะหลังที่ลดลงประมาณร้อยละ 26.0 จากปัญหาการระบาดของเพลี้ยแป้งสีชมพู ทาให้ผลผลิตเสียหายค่อนข้างมาก ขณะที่ผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ามันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ จากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นและแรงจูงใจทางด้านราคา สาหรับการส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า ไม่ว่าจะเป็น มันสาปะหลัง ยางพารา น้ามันปาล์ม และน้าตาล ทั้งนี้จากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว ทาให้ความต้องการสินค้าของตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น จึงทาให้การส่งออกสินค้าในสาขาพืชเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกับราคา ส่งผลให้การผลิตสาขาพืชในครึ่งแรกของปี 2553 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

สาขาปศุสัตว์

ภาวะการผลิตสาขาปศุสัตว์ในครึ่งแรกของปี 2553 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคาที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีและไม่ปรากฏการระบาดของโรคใด ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการผลิตและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทาให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นสอดคล้องตามแผนการผลิตของผู้ผลิต จากการที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวประกอบกับการเปิดตลาดส่งออกใหม่ของภาครัฐและเอกชน ช่วยให้ความต้องการบริโภคสินค้าไม่เปลี่ยนแปลงมาก ส่งผลให้สาขาปศุสัตว์ยังคงขยายตัวได้

สาหรับการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ ปริมาณการส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะไก่และผลิตภัณฑ์ แต่เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออก กลับมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น

ราคายังอยู่ในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความต้องการบริโภคยังไม่เปลี่ยนแปลงมาก ประกอบกับการปรับโครงสร้างราคาของผู้ผลิตให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิต ที่ยังคงสูงอยู่

สาขาประมง

การผลิตสาขาประมงในช่วงครึ่งแรกปี 2553 ขยายตัวค่อนข้างดีที่ร้อยละ 3.3 ทั้งประมงทะเล กุ้งเพาะเลี้ยง และประมงน้าจืด สาหรับประมงทะเล พบว่า ปริมาณสัตว์น้าทะเลที่นาขึ้นท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาทั้งประเทศตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2553 มีจานวนเพิ่มขึ้น จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาเฉลี่ยร้อยละ 13.7 และมีมูลค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 จากราคาภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นตามความต้องการวัตถุดิบแปรรูปเพื่อการส่งออก ส่วนกุ้งเพาะเลี้ยง มีปริมาณผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (มกราคม-พฤษภาคม ) เฉลี่ยร้อยละ 18.7 เนื่องจากกุ้งเพาะเลี้ยงในภาคใต้ซึ่งมีสัดส่วนการเพาะเลี้ยงมากกว่าร้อยละ 60 ของทั้งประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 18.9 ทั้งนี้เป็นผลจากในปี 2552 เกษตรกรลดการผลิตลงประกอบกับการส่งออกกุ้งในช่วงปลายปี 2552 ที่ผ่านมาขยายตัวเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นปี 2553 มีการระบาดของโรคตัวแดงดวงขาวในกุ้ง ทาให้เกษตรกรเร่งการจับกุ้งเร็วกว่ากาหนดเพื่อป้องกันความเสียหาย ส่งผลให้ปริมาณกุ้งออกสู่ตลาดในช่วงครึ่งปีแรกเป็นจานวนมากและส่วนใหญ่เป็นกุ้งขนาดเล็ก ส่วนประมงน้าจืดมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาเช่นกัน (มกราคม-พฤษภาคม) เฉลี่ยร้อยละ 12.4 จากการส่งเสริมการผลิตของหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะ ปลานิล ปลายี่สก และปลานวลจันทร์1

สาขาป่าไม้

การผลิตสาขาป่าไม้ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2553 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 1.2 จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ส่งผลให้ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ไม้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้ ไม้แปรรูป ไม้ก่อสร้าง เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย โดยในส่วนของธุรกิจก่อสร้างเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งหนึ่งจากการใช้จ่ายเงินในโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล ส่งผลให้ความต้องการไม้ก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น ในทานองเดียวกันไม้ยูคาลิปตัสมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมกระดาษและเยื่อกระดาษ สาหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากมาตรการลดภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ส่วนสินค้าจากป่าธรรมชาติ ได้แก่ ไม้ฟืน และถ่านไม้ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสภาวะอากาศที่แห้งแล้ง ทาให้ในป่ามีไม้แห้งและเศษไม้เพิ่มขึ้น

สาขาบริการทางการเกษตร

สาขาบริการทางการเกษตรในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 คาดว่าจะขยายตัวใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เนื่องจากการเลี้ยงปศุสัตว์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาด และการเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตพืช โดยเฉพาะข้าวนาปรังเพื่อให้ผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงที่ราคายังอยู่ในระดับที่ดี

แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2553

ภาพรวมเศรษฐกิจโลกปี 2553 ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพด้านการเงินของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจสาคัญที่ยังคงปรากฏสัญญาณของความอ่อนไหวด้านการเงินและการคลังก็ตาม แต่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต่างติดตามสถานการณ์และนามาตรการต่าง ๆ ที่เหมาะสมมาใช้แก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง ทาให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงน่าจะอยู่ ในวงจากัด

สาหรับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่สาคัญ คือ ราคาน้ามันดิบดูไบ คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่จะไม่รุนแรงเท่ากับช่วงวิกฤติพลังงานในช่วงที่ผ่านมา ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทเทียบสองสกุลเงินหลัก คือ ดอลลาร์สหรัฐและยูโร คาดว่ามีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจของทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ที่ยังคงมีปัญหาเสถียรภาพด้านการเงิน และคาดว่าภาครัฐของคู่ค้าหลักทั้งสองจะหามาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจได้แต่คงต้องใช้เวลาพอสมควร

เศรษฐกิจโดยรวมของไทยปี 2553 คาดว่ายังขยายตัวได้ดี ภายใต้การดาเนินนโยบายของภาครัฐเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟู ผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง การดาเนินมาตรการช่วยเหลือลดภาระค่าครองชีพของภาครัฐ รวมทั้งการสร้างเสริมความเชื่อมั่นทางการเมืองของไทยกลับมาในสายตาประชาคมโลก ในส่วนของการส่งออก คาดว่ามีแนวโน้มที่ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ควรต้องหาตลาดใหม่เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนด้านการเงินในตลาดส่งออกหลักของไทย รวมทั้งกลับมาให้ความสาคัญกับตลาดของประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนให้มากขึ้น

ส่วนเศรษฐกิจการเกษตรปี 2553 คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.2 - 3.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งชะลอตัวจากที่ได้คาดการณ์ไว้ในช่วงต้นปีว่าภาคเกษตรจะขยายตัวร้อยละ 3.1 ทั้งนี้เนื่องจากภาวะภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง และโรคแมลงศัตรูพืชระบาด ทาให้มีการเลื่อนการปลูกข้าวนาปีและปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้พยายามจัดหาน้าเพื่อบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง โดยการสนับสนุนการเพิ่มพื้นที่ทาฝนหลวง รวมทั้งพัฒนาและปรับปรุงระบบชลประทานเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าว ส่วนสถานการณ์ด้านราคา คาดว่าราคาสินค้าเกษตรจะยังอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งเป็นผลจากปริมาณผลผลิตที่มีแนวโน้มลดลง สาหรับการส่งออกสินค้าเกษตรในปี 2553 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ จากเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม สินค้าบางชนิด เช่น ข้าว อาจจะได้รับผลกระทบจากความสามารถในการแข่งขันด้านราคา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนที่จะทาให้การส่งออกชะลอตัว

สาขาพืช

ภาวะการผลิตสาขาพืชในปี 2553 คาดว่าจะขยายตัวได้ในช่วงร้อยละ 2.0 - 3.0 เนื่องจากสถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรหลายชนิดในช่วงครึ่งปีหลังจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ได้แก่ อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา และปาล์มน้ามัน สาหรับผลผลิตที่ลดลง ได้แก่ ถั่วเหลือง มันสาปะหลัง และข้าว โดยผลผลิตมันสาปะหลังส่วนใหญ่จะออกมากในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่ผลผลิตข้าวลดลง จากการปรับเลื่อนการเพาะปลูกข้าวนาปีออกไปในเขตโครงการชลประทานทุกโครงการที่รับน้าจากเขื่อน ภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ในภาคเหนือตอนล่าง รวมถึงในเขตโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ โดยขอให้เกษตรกรเลื่อนการ ทานาปีออกไปเป็นกลางเดือนกรกฎาคม ทาให้ปริมาณข้าวนาปีที่ออกมากในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมไปสะสม มากขึ้นในช่วงเดือนมกราคม 2554 สาหรับด้านราคา พืชที่สาคัญส่วนใหญ่ เช่น มันสาปะหลัง อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา และปาล์มน้ามัน คาดว่าจะยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะยางพาราที่ราคาเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาอย่างมาก เช่นเดียวกับการส่งออกที่มีแนวโน้มดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว และตลาดโลกมีความต้องการเพิ่มขึ้น

สาขาปศุสัตว์

การผลิตสาขาปศุสัตว์ปี 2553 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 เมื่อเทียบกับปี 2552 เป็นผลจากการ วางแผนการผลิตตามการคาดการณ์เกี่ยวกับการบริโภคในภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวของเกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์ อย่างไรก็ตาม การส่งออกอาจมีความผันผวนบ้างจากอัตราแลกเปลี่ยนและปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของตลาดส่งออกที่สาคัญ เช่น ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปบางประเทศ แต่อาจได้รับผลดีจากการที่รัสเซียและจีนพิจารณาหาแหล่งนาเข้าสินค้าไก่และผลิตภัณฑ์เพื่อทดแทนการนาเข้าจากสหรัฐอเมริกา ในขณะเดียวกันญี่ปุ่นและแอฟริกาใต้ได้อนุมัติรับรองโรงงานผลิตเนื้อไก่แช่แข็งของไทย ซึ่งน่าจะช่วยทาให้ไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้น

สาขาประมง

สาหรับการผลิตสาขาประมงปี 2553 มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนอยู่ในช่วงร้อยละ 3.0 - 4.0 ซึ่งสูงกว่าตัวเลขประมาณการเมื่อต้นปีที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.6 - 2.6 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้การส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สาหรับปริมาณการผลิตกุ้งเพาะเลี้ยงยังคงขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นจากการขยายพื้นที่และเพื่อตอบสนองความต้องการกุ้งเพื่อการส่งออก ส่วนประมงทะเลคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการทาประมงในน่านน้าประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย สาหรับสัตว์น้าจืดเพาะเลี้ยงยังคงได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องจากกรมประมง ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตสัตว์น้าจืดขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปลานิล

สาขาป่าไม้

สาหรับแนวโน้มการผลิตสาขาป่าไม้ปี 2553 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 1.0 - 2.0 จากเดิมที่ประมาณการไว้ว่าจะหดตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7-1.7 เนื่องจากการผลิต การบริโภค และการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ เช่น ไม้แปรรูป ไม้ก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ไม้ รวมถึงผลิตภัณฑ์กระดาษในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวเป็นบวกตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มฟื้นตัว ทั้งนี้ ถ้าเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ต่อไป คาดว่าการผลิตและการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้และกระดาษในครึ่งปีหลังจะยังคงขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นสอดคล้องไปกับภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงผลิตภัณฑ์ถ่านไม้และไม้ฟืนด้วยเช่นกัน

สาขาบริการทางการเกษตร

การผลิตสาขาบริการทางการเกษตรปี 2553 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงร้อยละ 0.7 - 1.7 เมื่อเทียบกับปี 2552 เนื่องจากเกษตรกรเร่งเพาะปลูกเพราะราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ในเกณฑ์ดี รวมทั้งยังมีมาตรการจากภาครัฐ เช่น โครงการประกันรายได้ของเกษตรกร ทาให้เกษตรกรยังคงเพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง

ผลกระทบภัยแล้งต่อภาคเกษตร

สถานการณ์

สถานการณ์ภัยแล้งในปี 2553 มีความรุนแรงมากกว่าปี 2552 เนื่องจากเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญตั้งแต่ปลายปี 2552 ต่อเนื่องมาจนถึงกลางปี 2553 ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งผิดปกติเป็นระยะเวลานาน ประกอบกับน้าต้นทุนในอ่าง เก็บน้าขนาดใหญ่เหลือน้อยมาก ทาให้มีน้าสารองไม่เพียงพอที่จะทาการเกษตร โดยมีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยแล้งจานวน 49 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ พะเยา แพร่ กาแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก น่าน ลาปาง สุโขทัย อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ หนองคาย หนองบัวลาภู ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร อุบลราชธานี อานาจเจริญ อุดรธานี สระบุรี ชัยนาท อยุธยา กาญจนบุรี สุพรรณบุรี จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี ชุมพร กระบี่ นครศรีธรรมราช ระนอง พัทลุง สตูล สุราษฎร์ธานี และตรัง ส่งผลกระทบต่อผลผลิตสินค้าเกษตรสาคัญ คือ ข้าว พืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น

สินค้าที่ได้รับผลกระทบ ประกอบด้วย ข้าวนาปรัง สับปะรด ปาล์มน้ามัน และไม้ผล

ข้าวนาปรัง ผลผลิตได้รับความเสียหาย โดยผลผลิตต่อไร่ลดลงจากปกติไร่ละ 650 กก. เหลือไร่ละ 592 กก. และผลผลิตรวมลดลงจาก 10.52 ล้านตัน เหลือ 9.58 ล้านตัน

สับปะรดโรงงาน ภาวะภัยแล้งที่ต่อเนื่องมาจากปลายปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อผลผลิตในช่วงต้นปี คือ หน่อสับปะรดไม่สมบูรณ์และมีขนาดเล็ก ผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก 3,500 กก. เหลือ 3,436 กก. แต่พื้นที่ปลูกไม่เปลี่ยนแปลง มีประมาณ 0.57 ล้านไร่ ดังนั้น ผลผลิตรวมจึงลดลงจาก 2 ล้านตัน เหลือ 1.96 ล้านตัน

ปาล์มน้ามัน ผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก 2,700 กก. เหลือ 2,537 กก. และผลผลิตรวมลดลงจาก 9.82 ล้านตัน เหลือ 9.23 ล้านตัน

ไม้ผล ผลผลิตโดยรวมของไม้ผลลดลง โดยลาไย และทุเรียน ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก เพราะภัยแล้งทาให้การเจริญเติบโตไม่ดี ผลผลิตต่อไร่ลดลงมาก สาหรับลาไย ผลผลิตต่อไร่ลดลงจากไร่ละ 750 กก. เหลือไร่ละ 595 กก. ทุเรียน ผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก 1,100 กก. เหลือ 986 กก. ส่วนผลไม้สาคัญอื่นที่ได้รับผลกระทบ เช่น ลิ้นจี่ มังคุด เงาะ เป็นต้น

สินค้าที่ได้รับผลกระทบไม่มาก ประกอบด้วย ข้าวนาปี มันสาปะหลัง อ้อยโรงงาน ปศุสัตว์ และสินค้าประมง

ข้าวนาปี แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง แต่เกษตรกรได้ปรับเลื่อนระยะเวลาการปลูก โดยมีพื้นที่ปลูก 57.216 ล้านไร่ ผลผลิตต่อไร่ 403 กก. และผลผลิตรวม 23.043 ล้านตัน

มันส้าปะหลัง พื้นที่ปลูกไม่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง เนื่องจากต้นมันสาปะหลังเจริญเติบโตแล้ว ประกอบกับเป็นพืชที่ทนแล้ง แต่ผลผลิตที่ได้รับความเสียหาย เกิดจากการระบาดของเพลี้ยแป้ง อย่างไรก็ตาม ภาวะภัยแล้งส่งผลกระทบทางอ้อม กล่าวคือ ทาให้เพลี้ยแป้งระบาดมากขึ้น โดยมีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.003 ล้านไร่ ผลผลิตต่อไร่ 2,854 กก. ผลผลิต 19.988 ล้านตัน

อ้อยโรงงาน บางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับผลกระทบภาวะภัยแล้งในช่วงต้นฤดูการเพาะปลูก ทาให้พื้นที่ลดลง แต่เกษตรกรทาการปลูกทดแทนเมื่อมีฝน ส่งผลให้พื้นที่ปลูกไม่เปลี่ยนแปลง โดยมีพื้นที่ปลูก 6.834 ล้านไร่ ผลผลิตต่อไร่ 10.78 ตัน ผลผลิตรวม 73.66 ล้านตัน

สินค้าปศุสัตว์ ปัญหาภัยแล้งส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตสินค้าปศุสัตว์ไม่มากนัก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิดและมีการบริหารจัดการที่ดี สามารถบริหารหรือควบคุมปริมาณการผลิตได้ แต่สาขาปศุสัตว์อาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากปัญหาภัยแล้งที่ทาให้วัตถุดิบอาหารสัตว์ขาดแคลนและราคาอาหารสัตว์ปรับตัวเพิ่มขึ้น

สินค้าประมง จากสภาพอากาศที่ร้อนกว่าปกติ ทาให้กุ้งเพาะเลี้ยงโตช้า ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เพาะเลี้ยง โดยเฉพาะในภาคตะวันออก แต่ในภาพรวมไม่ได้รับผลกระทบมากนัก1

สรุปมูลค่าความเสียหายเชิงเศรษฐกิจ

           สินค้า                   ปริมาณ            มูลค่า
                                 (ล้านตัน)        (ล้านบาท)
          ข้าวนาปรัง               -0.939           -7,330
          ปาล์มน้ามัน               -0.591           -2,074
          สับปะรดโรงงาน           -0.036             -148
          ไม้ผล                   -0.334           -4,433
            ลำไย                 -0.149           -2,010
            ทุเรียน                -0.069           -1,035
            อื่นๆ                  -0.116           -1,388
          รวมทั้งหมด               -1.900          -13,986

ที่มา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตรและสานักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเกษตร

สาหรับการเจริญเติบโตของภาคเกษตรในปี 2553 จากสถานการณ์ปกติคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.1 แต่เมื่อประเมินผลกระทบของภัยแล้ง ทาให้การเจริญเติบโตของภาคเกษตรลดลงประมาณร้อยละ 0.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.9 และหากรวมภาวะภัยแล้ง ศัตรูพืช โรคระบาด และสถานการณ์น้าในเขื่อนหลักที่ลดน้อยกว่าปกติ คาดว่าภาคเกษตรจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.7 ในปี 2553

ส่วนรายได้เกษตรกรในภาวะปกติ อยู่ที่ประมาณ 130,000 บาท/ครัวเรือน/ปี จะลดลงอีกประมาณ 2,450 บาท/ครัวเรือน/ปี ซึ่งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมาก คือ ผู้ปลูกข้าวนาปรัง และไม้ผลไม้ยืนต้น

ข้อเสนอแนะ

ระยะสั้น

1) สนับสนุนการเลื่อนปลูกข้าวนาปี

2) ส่งเสริมการทาการเกษตรที่ใช้น้าน้อย

3) รณรงค์และสนับสนุนให้เกษตรกรใช้น้าอย่างประหยัด

4) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือการขาดแคลนน้าของเกษตรกร โดยนาเครื่องสูบน้าและรถบรรทุกน้าไปแจกจ่าย

5) สนับสนุนงบประมาณจ้างงานในชนบทขุดลอกคลอง/แหล่งน้า เพื่อพัฒนาแหล่งน้าในชุมชนและช่วยสร้างรายได้ให้ชาวชนบทด้วย

6) เพิ่มพื้นที่การทาฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือพื้นที่แล้งและเติมน้าในเขื่อน

7) นาแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่มาส่งเสริมให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

8) เร่งรัดการดาเนินการโครงการแก้มลิงของกรมชลประทานให้แล้วเสร็จตามแผน

ระยะยาว

1) ส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อการดูแลและอนุรักษ์แหล่งน้าชุมชนโดยใช้กลุ่มรักน้าที่ประสบผลสาเร็จเป็นตัวอย่าง

2) ส่งเสริมการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อพักและปรับปรุงคุณภาพดินและลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว

3) จัดระบบการบริหารและจัดการน้า รวมถึงการวางแผนผันน้าจากแหล่งน้าหลัก เช่น แม่น้าโขง หรือแหล่งน้าอื่น มาใช้ประโยชน์

4) ปรับปรุงและจัดทาระบบการส่งน้าที่มีประสิทธิภาพโดยอาศัยตัวอย่างระบบการชลประทานในประเทศที่มีน้าน้อย แต่สามารถบริหารจัดการได้ดี

5) ศึกษาหาแนวทางการนาน้าที่ใช้แล้วนากลับมาใช้ประโยชน์ (re-use)

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ