รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 17, 2012 15:01 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนมีนาคม 2555

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2555 เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ร้อยละ 11.5แต่ลดลงร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศ อาหารทะเลแช่แข็ง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนมีนาคม 2555 อยู่ที่ระดับร้อยละ 68.07 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 62.45 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555

ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนเมษายน 2555

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

  • การผลิตคาดว่าจะชะลอตัวเล็กน้อย เนื่องจากวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่มรายใหญ่บางส่วนได้มีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อแก้ไขปํญหาการขาดแคลนแรงงาน ค่าจ้างแรงงานที่ปรับสูงขึ้นในไทยและต้องการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ในประเทศเพื่อนบ้าน
  • สำหรับการจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวลง แต่เสื้อผ้าสำเร็จรูปสำหรับนักเรียน คาดว่าจะมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเทอมใหม่
  • ปัจจัยเสี่ยงของการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มยังมีผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในตลาดส่งออกหลักอย่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ที่ยังไม่มีเสถียรภาพ

อุตสาหกรรมรถยนต์

  • ภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีขึ้นตามความต้องการใช้ในประเทศที่เพิ่มขึ้น และคาดว่าจะขยายตัวได้อีก ตลอดไตรมาสที่ 2 ปี 2555 เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติ รวมทั้งจะมีการก่อสร้างโครงข่ายระบบขนส่งสู่ชานเมือง
  • การส่งออกคาดว่ายังขยายตัวได้ดีเนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังมีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน และประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ
ดัชนีอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ปี 2555

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 174.3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ ผ่านมา (124.9) ร้อยละ 39.5 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 (187.7) ร้อยละ 7.1อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ น้ำตาล ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 ได้แก่ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศ เส้นใยสิ่งทอ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 63.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 46.3) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 (ร้อยละ 62.6)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2554 ได้แก่ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อาหารสัตว์สำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน เป็นต้น

แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2555

ภาพรวมภาคอุตสาหกรรมปี 2555 นั้น คาดว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 6-7 ปัจจัยบวกที่สำคัญ ได้แก่ 1.การทยอยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคอุตสาหกรรมที่จะเร่งตัวกลับมาเพื่อชดเชยในช่วงน้ำท่วม 2.นโยบายเพิ่มรายได้ของรัฐบาล อาทิ โครงการรับจำนำสินค้าเกษตรที่สำคัญ การปรับเงินเดือนข้าราชการ และการยกระดับค่าจ้างขั้นต่ำแบบก้าวกระโดดในภาคเอกชน จะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนกำลังซื้อของประชาชนในระยะข้างหน้า 3. เม็ดเงินเพิ่มเติมจาก พรก.กู้เงินเพื่อใช้จ่ายในการบริหารจัดการน้ำจำนวน 3.5 แสนล้านบาท และ 4. ปัจจัยฐานในการคำนวณที่ต่ำในปีที่ผ่านมา

ปัจจัยเสี่ยงที่ควรจะให้ความสำคัญ ได้แก่ 1.ความเปราะบางของแนวโน้มเศรษฐกิจโลก จากปัญหาเรื้อรังของวิกฤตหนี้ยูโรโซนและระดับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน 2.ทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกที่กลับมาพุ่งสูงขึ้นจากปัญหา ความตึงเครียดระหว่างอิหร่านกับชาติตะวันตก ซึ่งอาจจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตรวมถึงการส่งออกของไทยไปยังอิหร่านและประเทศใกล้เคียงอาทิ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เนื่องจาก สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป(อียู)ได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรเพื่อกดดันให้อิหร่านยุติโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ และเพิ่มมาตรการที่เข้มข้นมากขึ้น และล่าสุดองค์กร Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication หรือ SWIFT (เป็นองค์กรที่รับผิดชอบในการลงทะเบียนรหัสสำหรับการโอนเงินระหว่างธนาคารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ทั่วโลก) ได้ประกาศตัดขาดสถาบันการเงิน 30 แห่งของอิหร่านออกจากระบบธุรกรรมการเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ มีผลให้การโอนเงินสดเพื่อชำระค่าสินค้าผ่านประเทศที่สามทำได้ยากลำบาก และ 3. ปัจจัยไม่แน่นอนภายในประเทศ โดยเฉพาะประเด็นทางการเมืองและปัญหาอุทกภัย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อบรรยายกาศการลงทุนในไทยภาวะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ก.พ. 55 = 172.18

มี.ค. 55 = 191.96

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • ยานยนต์
  • เบียร์
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

ก.พ. 55 = 62.45

มี.ค. 55 = 68.07

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • ยานยนต์
  • Hard Disk Drive
  • ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมีนาคม 2555 มีค่า 191.96 เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2555(172.18) ร้อยละ 11.5 แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนมีนาคม 2554 (198.24) ร้อยละ 3.2

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์2555 ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ เบียร์ เครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศ อาหารทะเลแช่แข็ง เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนมีนาคม 2555 อยู่ที่ระดับร้อยละ 68.07 เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2555 (ร้อยละ 62.45) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนมีนาคม 2554 (ร้อยละ66.08)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2555ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เส้นใยสิ่งทอ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของ ปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อาหารสัตว์สำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2555

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 354 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 322 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 9.9 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 7,039.61 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งมีการลงทุน21,106.38 ล้านบาท ร้อยละ 66.7 และมีการจ้างงานจำนวน 6,914 คน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,392 คน ร้อยละ 6.5

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 334 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 6.0 แต่มียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งมีการลงทุน 22,138.15 ล้านบาท ร้อยละ 68.2 และมีการจ้างงานรวมลดลงจากเดือนมีนาคม 2554 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 8,935 คน ร้อยละ 22.6

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมีนาคม 2555 คืออุตสาหกรรมขุดดิน สำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 37 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำมันเส้น และเก็บรักษาพืชหรือเมล็ดพืชในโกดัง จำนวน 36 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมีนาคม 2555 คืออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนโลหะรถยนต์ในถุงลมนิรภัยและโลหะรถยนต์ในเข็มขัดนิรภัยจำนวน 1,387.12 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 694.0 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมีนาคม 2555 คืออุตสาหกรรมผลิต ประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า โคมไฟฟ้า และส่วนประกอบ จำนวนคนงาน 863คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้าหนังสัตว์ จำนวนคนงาน 752 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 106 ราย น้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 122 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.1 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 697.76 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,356.44 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานจำนวน 4,123 คน น้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 4,234 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 111 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 4.50 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนมีนาคม2554 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,673.56 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนมีนาคม 2554 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,385 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมีนาคม 2555 คือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 17 โรงงาน รองลงมาคืออุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ จำนวน 16โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมีนาคม 2555 คืออุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ เงินทุน150.10 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ เงินทุน 106.86 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำ นวนคนงานสูงสุดในเดือนมีนาคม 2555คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์จำนวนคนงาน 2,347 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ จำนวนคนงาน 502 คน

ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม -

มีนาคม 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 514 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 405 โครงการ ร้อยละ26.91 และมีเงินลงทุน 182,900 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 102,300 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 78.79

  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม - มีนาคม 2555
            การร่วมทุน               จำนวน(โครงการ)       มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%           254                     43,100
          2.โครงการต่างชาติ 100%          164                     55,300
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ     96                     84,500
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม — มีนาคม2555 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 90,000 ล้านบาทรองลงมา คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 28,100 ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ชะลอตัวลง ส่วนการจำหน่ายภายในประเทศ จะปรับตัวลดลง จากสถานการณ์ราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอย

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล)เดือนมีนาคม 2555 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ17.7 และ 5.6 แบ่งเป็น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และแป้งมันสำปะหลัง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.0 และ 22.4เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบเพิ่มขึ้น และความต้องการเนื้อไก่จากสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น อาหารไก่ มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ41.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามการขยายตัวของการผลิตและเลี้ยงไก่ สำหรับผลกระทบจากอุทกภัยในช่วงปลายปีก่อนอุตสาหกรรมนมพร้อมดื่มและเบียร์ได้รับผลกระทบมากที่สุดทั้งนี้ โรงงานดังกล่าวขณะนี้ได้เริ่มกลับมาทำการผลิตแล้ว

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนมีนาคม 2555 ปริมาณการส่งสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 15.4 และ 10.8 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลสงกรานต์

2) ตลาดต่างประเทศ ภาพรวมมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนมีนาคม ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 6.4 และ 5.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากคำสั่งซื้อที่ชะลอตัวลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปที่ซบเซา ประกอบกับแนวโน้มราคาน้ำมันยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนในประเทศผู้นำเข้าลดลง

3. แนวโน้ม

การผลิตและส่งออก คาดว่า ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน จากคำสั่งซื้อที่ชะลอตัวลง ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในกลุ่มสหภาพยุโรปและสถานการณ์เศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ชะลอตัวลง สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน จากสถานการณ์ราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

1. การผลิต

เดือนมีนาคม 2555 ภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอเมื่อเทียบกับเดือนก่อนส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน เครื่องนอนและผ้าขนหนู และผ้ายางยืด เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.94, 8.40, 8.15, และ11.15 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงในผลิตภัณฑ์เดียวกัน ร้อยละ 35.80, 21.99, 5.14, และ16.73 ตามลำดับส่วนการผลิตผ้าลูกไม้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.32 และ 11.07 ตามลำดับ

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เดือนมีนาคม 2555 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอฯ เครื่องนอนและผ้าขนหนู ผ้ายางยืดเสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าทัก และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.28 1.42 18.11 7.90 และ 6.60 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายในประเทศลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์

การส่งออกโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 9.60สอดคล้องกับการผลิตที่เพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องยกทรงฯผ้าผืน ด้ายฝ้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอ และเส้นใยประดิษฐ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.60, 7.92, 16.96, 1.20, 16.73 และ 15.13 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการส่งออกลดลงโดยรวมร้อยละ16.57 สำหรับตลาดส่งออก การส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนในตลาดอาเซียนร้อยละ 30.95 และญี่ปุ่นร้อยละ 21.06 โดยส่งออกลดลงในตลาดสหรัฐอเมริการ้อยละ 1.71 และสหภาพยุโรปร้อยละ 3.46 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการส่งออกลดลงทุกตลาด ได้แก่อาเซียนร้อยละ 2.50 ญีปุ่นร้อยละ 6.96 สหรัฐอเมริการ้อยละ 16.56 และสหภาพยุโรปร้อยละ 32.78

3. แนวโน้ม

การผลิตคาดว่าจะชะลอตัวเล็กน้อย เนื่องจากวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่มรายใหญ่บางส่วนได้มีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อแก้ไขปํญหาการขาดแคลนแรงงาน ค่าจ้างแรงงานที่ปรับสูงขึ้นในไทยและต้องการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ในประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับการจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวลง แต่เสื้อผ้าสำเร็จรูปสำหรับนักเรียนคาดว่าจะมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเทอมใหม่ งนี้ปัจจัยเสี่ยงของการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มยังมีผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในตลาดส่งออกหลักอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ที่ยังไม่มีเสถียรภาพ

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

นักวิจัยได้คาดการณ์ปริมาณการใช้เหล็กของอินเดียในช่วงเดือน เมษายน 2012- มีนาคม 2013 จะขยายตัวประมาณ ร้อยละ 4-5 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอันเนื่องมาจากการลดลงของการลงทุนในโครงการเกี่ยวกับอุตสาหกรรม จึงส่งผลให้คาดการณ์ปริมาณความต้องการใช้เหล็กลดลงไปด้วย

1.การผลิต

สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมีนาคม 2555 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 146.17 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ0.14 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กทรงยาวพบว่ามีการผลิตที่หดตัวลง ร้อยละ 2.98 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้นข้ออ้อยลดลง ร้อยละ 14.32 เนื่องจากผู้ผลิตมีการปรับลดยอดการผลิตลงโดยมีสาเหตุมาจากการที่มีคำสั่งซื้อเป็นจำนวนมากในช่วงเดือนก่อนหน้านี้ สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน มีการผลิตที่ทรงตัว ร้อยละ 0.68 โดยผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.86 เนื่องจากผู้ใช้ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์มีคำสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.85 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.04

ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.38 โดยเหล็กทรงยาวมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 6.08 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 16.27 และลวดเหล็ก ลดลง ร้อยละ 10.68ในขณะเดียวกันเหล็กทรงแบนมีการผลิตลดลง ร้อยละ 2.06 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ลดลง ร้อยละ 22.96 เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลง ร้อยละ 10.08

2.ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนเมษายน 2555 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก138.29 เป็น 139.36 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.77 เหล็กแท่งเล็ก Billet เพิ่มขึ้นจาก 143.08เป็น 143.71 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.44 ผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กทรงตัว คือ เหล็กแท่งแบน มีดัชนีราคาเหล็ก 134.88 สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน คือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 132.30 เป็น 129.23 ลดลงร้อยละ 2.32 และเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 146.07 เป็น 141.49 ลดลง ร้อยละ 3.14สำหรับแนวโน้มราคาเหล็กคาดการณ์ว่าจะยังคงทรงตัวเนื่องจากความต้องการเหล็กโลกยังคงทรงตัวอยู่ โดยในส่วนของเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าราคาคงไม่ปรับลดไปกว่านี้แล้วเนื่องจากราคาได้ปรับตัวต่ำแล้ว แต่สำหรับเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าราคาน่าจะปรับลงได้อีก

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนพฤษภาคม 2555 คาดว่าในส่วนของเหล็กทรงยาวจะยังคงทรงตัวอยู่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่เหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าจะมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการใช้เหล็กของอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมากจากการขยายตัวในการผลิตของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง 2 อุตสาหกรรมดังกล่าวเพื่อชดเชยการผลิตที่ลดลงในช่วงน้ำท่วม

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2555 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 เนื่องจากมีการเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการรถยนต์ภายในและภายนอกประเทศประกอบกับภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ฟื้นตัวจากเหตุการณ์น้ำท่วมภายในประเทศ นอกจากนี้มีการจัดงานแสดงรถยนต์ รถจักรยานยนต์นานาชาติ บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ เพื่อกระตุ้นตลาดในประเทศอีกด้วย โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมีนาคม ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 190,935 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม2554 ซึ่งมีการผลิต 172,004 คัน ร้อยละ 11.01 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ร้อยละ 13.50 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 110,928 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม2554 ซึ่งมีการจำหน่าย 93,008 คัน ร้อยละ 19.27 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์ PPV รวมกับSUV และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ร้อยละ 22.63 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์ PPVรวมกับ SUV และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 89,815 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม2554 ซึ่งมีการส่งออก 85,626 คัน ร้อยละ 4.89 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย ตะวันออกกลาง อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ร้อยละ16.17 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนีย แอฟริกา และยุโรป
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนเมษายน 2555 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2555 เนื่องจากโดยปกติในเดือนเมษายนของทุกปี โรงงานประกอบรถยนต์จะหยุดการผลิตเพราะมีเทศกาลวันหยุดยาวหลายวัน สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนเมษายน 2555 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 54 และส่งออกร้อยละ 46

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมีนาคม 2555 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 เนื่องจากช่วงปลายเดือนมีการจัดงานแสดงรถยนต์ รถจักรยานยนต์ นานาชาติ บางกอกอินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ประกอบกับผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์สามารถกลับมาทำการผลิตได้เป็นปกติ โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เดือนมีนาคม ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 243,203 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งมีการผลิต 221,037 คัน ร้อยละ 10.03 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต และมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ร้อยละ 8.11 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 190,944 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งมีการจำหน่าย 192,124 คัน ร้อยละ 0.61โดยเป็นการปรับลดลงของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์ แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ร้อยละ 6.90 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์ และแบบสปอร์ต
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 27,592คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งมีการส่งออก 19,184 คันร้อยละ 43.83 แต่มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ร้อยละ 24.65
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน2555 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์2555 เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดยาวจากเทศกาลสงกรานต์สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนมีนาคม 2555 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ร้อยละ 86 และส่งออกร้อยละ 14
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวได้ดี เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาลก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติ รวมทั้งการก่อสร้างโครงข่ายระบบขนส่งสู่ชานเมือง สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ตามความต้องการใช้ของตลาดส่งออกหลักที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนมีนาคม 2555 ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.12 และ 6.69 ตามลำดับเมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.74 และ 2.50 ตามลำดับ ทั้งนี้ การผลิต และการจำหน่ายในประเทศที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากอยู่ในช่วงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ระบบขนส่ง รวมทั้งพื้นที่ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ประกอบกับความต้องการใช้เพิ่มเติมจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และรองรับโครงการขนาดใหญ่ ตามนโยบายภาครัฐ

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนมีนาคม 2555เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.05 และ 43.32 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังมีความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับตลาดส่งออกที่สำ คัญของไทย คือ กัมพูชา บังคลาเทศเมียนมาร์ อินโดนีเซีย ลาว และเวียดนาม ตามลำดับ

3.แนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีขึ้นตามความต้องการใช้ในประเทศที่เพิ่มขึ้น และคาดว่าจะขยายตัวได้อีก ตลอดไตรมาสที่ 2 ปี 2555 เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติ รวมทั้งจะมีการก่อสร้างโครงข่ายระบบขนส่งสู่ชานเมือง สำหรับการส่งออกคาดว่ายังขยายตัวได้ดีเนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังมีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียนและประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาห กรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมีนาคม 2555 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ321.05 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 13.22 จากปัญหาอุทกภัยส่งผลให้อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต้องหยุดการผลิต หรือชะลอการผลิตออกไป รวมถึงได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนและวัตถุดิบในการผลิต อย่างไรก็ตามหลายบริษัทได้เริ่มกลับมาผลิตบ้างแล้ว ทำให้การผลิตในเดือนมีนาคมปรับตัวดีขึ้น

ตารางที่ 1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน มี.ค. 2555
          เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์   มูลค่า(ล้านเหรียญฯ)        %MoM            %YoY
อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์          2,043.31           45.29            22.76
วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี                 835.68           74.89            -2.57
เครื่องปรับอากาศ                           328.05           13.05           -18.15
กล้องถ่าย TV , VDO                        171.41           28.21           -14.48
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์           5,301.91           32.98             1.02

ที่มา กรมศุลกากร

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมีนาคม 2555 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 321.05 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.43เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน จากการที่มีบางบริษัทสามารถเริ่มกลับมาผลิตได้บ้างแล้วตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ13.22 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยส่งผลให้อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต้องฟื้นฟูกิจการ ทำให้ต้องหยุดการผลิต หรือชะลอการผลิตออกไป เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.81 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 9.50 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.29 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนแต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 13.85

2. การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนมีนาคม 2555มีมูลค่า 5,301.91ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 32.98 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.02โดยมูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนมีนาคม 2555 มูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 1,967.50 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 14.29 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 7.19 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุด ได้แก่เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออก 328.05 ล้านเหรียญสหรัฐ และ กล้องถ่าย TVและ VDO มีมูลค่าส่งออก 171.41 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 3,334.41 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.17เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.59 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สูงที่สุดได้แก่อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี โดยมีมูลค่าส่งออกคือ 2,043.31 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 835.68 ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ

3. แนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนเมษายน2555 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวลดลงร้อยละ 7.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 18.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ