สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2555 และแนวโน้มปี 2556 (เศรษฐกิจโลก)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 15, 2013 15:55 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

เศรษฐกิจโลก(3)

ภาพรวมเศรษฐกิจโลก

เศรษฐกิจโลกในปี 2555 IMF คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.3 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรปที่รุนแรงมากขึ้น ปัญหาการว่างงานในหลาย ๆ ประเทศที่อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง เช่น สเปน กรีซ อิตาลี สหรัฐฯ และญี่ปุ่น

สถานการณ์การเงินโลกธนาคารกลางหลาย ๆ ประเทศ มีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับต่ำ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการสร้างงาน

สถานการณ์ราคาน้ำมันโลกยังคงผันผวนเนื่องมาจากความวิตกด้านอุปทาน และจากการคาดการณ์เกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นนโยบายการเงินซึ่งอาจทำให้แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจดีขึ้น อุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 ปี 2555 โดยราคาน้ำมันดิบ(Dubai) เฉลี่ย 11 เดือน อยู่ที่ 109.2 USD:Barrel และราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนมกราคม (ณ วันที่ 13 ธันวาคม 2555) มีราคาอยู่ที่ 86.77 USD:Barrel สำหรับราคาน้ำมันดิบในปี 2556 กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) มีมติคงเป้าหมายการผลิตน้ำมันของปี 2556 อยู่ที่30 ล้านบาร์เรล ต่อวัน ในการประชุมที่กรุงเวียนนา (ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2555) เนื่องจากความผันผวนและความซบเซาของเศรษฐกิจโลกในปี 2556

เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา(4)

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2556 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.1 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2555 ที่คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.2

ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปี 2555 IMF คาดว่า GDP ขยายตัวร้อยละ 2.2 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 2.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัว ร้อยละ 1.8 เนื่องจากเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤตทางการเงิน การบริโภคในช่วง 3ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2555ขยายตัวร้อยละ 1.8 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 การลงทุนในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2555ขยายตัวร้อยละ 12.0เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปี 2555 อยู่ที่ระดับ 67.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 57.5 โดยในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 73.7

หมายเหตุ

(3) - ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2555

  • ที่มา www.eia.doe.gov www.thaioil.co.th

(4) - ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.ceicdata.com

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 94.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งขยายตัวอยู่ที่ระดับ 90.1 โดยในเดือนตุลาคม 2555 อยู่ที่ระดับ 93.0

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 4.9 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.9 การนำเข้าในช่วง 9เดือนที่ผ่านมาของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 4.0 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 14.8

อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2555 อยูที่ร้อยละ 2.1 ลงลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.2 อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อลดลงเนื่องจากราคาพลังงานลดลง อัตราการว่างงานในช่วง 10เดือนที่ผ่านมาปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 8.2 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.1 อัตราการว่างงานในเดือนตุลาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 7.5

สถานการณ์การด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25และประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 4 (QE4) โดยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รอบใหม่ในวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการสร้างงาน

เศรษฐกิจจีน(5)

เศรษฐกิจจีน ในปี 2556 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 8.2 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี2555 ที่คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 7.8

ภาวะเศรษฐกิจของจีน ในปี 2555 IMF คาดว่า GDP ขยายตัวร้อยละ 7.8 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 7.7 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 อันเป็นผลมาจากปัจจัยภายในประเทศ วิกฤตหนี้ยุโรป และภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ชะลอตัว มูลค่าการค้าปลีกในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ14.1 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 17.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2555 อยู่ที่ระดับ 102.0 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 104.2 โดยในเดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 106.1

หมายเหตุ

(5) - ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.ceicdata.com

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 10.9 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 14.0 ในเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 9.6

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ7.8 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 21.3 อันเป็นผลมาจากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรป และภาวะเศรษฐกิจซบเซาของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของจีน การนำเข้าในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.2 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 26.7

อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.5 โดยในเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 1.7 อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงอันเนื่องมาจากราคาพลังงานที่ลดลง สำหรับอัตราการว่างงานใน 3 ไตรมาสที่ผ่านมาปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี จากร้อยละ 6.56 เป็นร้อยละ 6.00 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2555 นอกจากนี้ธนาคารกลางจีนได้อนุมัติเงินอุดหนุนมูลค่า 2,500 ล้าน ให้บริษัทนำเข้าในประเทศ เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่จำเป็น รวมทั้งกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและสร้างเสถียรภาพทางการค้าของประเทศ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการของจีนในภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น(6)

เศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2556 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 1.2 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี2555 ที่คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.2

ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในปี 2555 IMF คาดว่า GDP ขยายตัวร้อยละ 2.2 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.7 การบริโภคภาคเอกชนในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 2.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 0.8 การลงทุนในภาคก่อสร้างในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 0.6 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 40.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ระดับ 37.5

หมายเหตุ

(6) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 3 ปี 2555

  • www.cao.go.jp www.boj.or.jp www.stat.go.jp www.ceicdata.com

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 92.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 92.1

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 7.8 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 21.3 การนำเข้าในช่วง11 เดือนที่ผ่านมาของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.2 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 26.7

อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 0.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -0.3 โดยในเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ -0.4อัตราการว่างงานในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.6 โดยในเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ -0.4

สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 (เมื่อวันที่ 20พฤศจิกายน 2555) และยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป(7)

เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในปี 2556 IMF คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 0.2 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2555 ที่คาดว่าจะหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.4

ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ในปี 2555 IMF คาดว่า GDP หดตัวร้อยละ 0.4 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาเศรษฐกิจสหภาพยุโรปหดตัวร้อยละ 0.2 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.8 การบริโภคภาคเอกชนในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาหดตัวร้อยละ 0.5 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.2

หมายเหตุ

(7) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 3 ปี 2555

  • ที่มา eurostat, www.ecb.int www.ceicdata.com

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 98.2 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 100.4 โดยในเดือนกันยายนอยู่ที่ระดับ 96.1

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 9.7 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 17.3 การนำเข้าในช่วง 9เดือนที่ผ่านมาของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 4.4 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.5

อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.7 โดยในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ร้อยละ 2.2อัตราการว่างงานในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 10.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.6 โดยในเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 11.0

สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.75 (เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2555) พร้อมทั้งใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ

เศรษฐกิจเอเชีย(8)

เศรษฐกิจเอเชียในปี 2555 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปีเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 5.4 ชะลอตัวลงจากในปี 2554 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.8 เศรษฐกิจเอเชียยังขยายตัวได้ในระดับปานกลาง โดยความต้องการจากภายนอกยังคงอ่อนแอตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอน ขณะที่เศรษฐกิจของจีนซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในภูมิภาคขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง

ทั้งนี้ IMF คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2556 ของภูมิภาคเอเชียจะขยายตัวร้อยละ 5.8 และมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ร้อยละ 3.8

เศรษฐกิจฮ่องกง(9)

เศรษฐกิจฮ่องกงในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 1.1 ทั้งนี้ในไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัว

หมายเหตุ

(8) - ที่มา www.imf.org

(9) - ที่มา www.censtatd.gov.hk www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในปี 2555 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 1.8 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2555 เศรษฐกิจฮ่องกงขยายตัวร้อยละ 1.1 ทั้งนี้เศรษฐกิจฮ่องกงใน ไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคของภาคเอกชนที่ขยายตัว รวมถึงการลงทุนที่ขยายตัวจากการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร โครงสร้างพื้นฐาน และการกระตุ้นการลงทุนในภาคเอกชน ขณะที่ภาคการส่งออกยังต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 10 แรกของปี 2555 มีมูลค่า 401,515 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.6 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 13.8 โดยการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 57.1 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮ่องกง) ขยายตัวร้อยละ 13.4 ด้านการนำเข้าในช่วง 10เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่า 451,856 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.3 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.8

อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.2 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 อยู่ในระดับที่ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า จากราคาอาหาร และราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.3ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.5 อัตราการว่างงานในเดือนตุลาคม2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.4

แนวโน้มภาพรวมปี 2556 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจฮ่องกงจะขยายตัวร้อยละ 3.5 เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2555 โดยมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ร้อยละ 3.0

เศรษฐกิจเกาหลีใต้(10)

เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 2.2 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.8

ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในปี 2555 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.7 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2555 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 2.2 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.8

หมายเหตุ

(10) - ที่มา ecos.bok.or.kr www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ระดับ 151.5 ขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตฯ ในเดือนตุลาคม 2555 หดตัวร้อยละ 0.8

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่า 455,377 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกไปตลาดสำคัญหดตัวในหลายตลาดทั้งตลาดจีน ตลาดสหภาพยุโรป และตลาดญี่ปุ่น ที่หดตัวร้อยละ 1.2 11.5 และ 1.0 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่า 433,052 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 อัตรา การว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.5 โดยอัตราการว่างงานในเดือนตุลาคม2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.8

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.75 เนื่องจากธนาคารกลางเห็นว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ยังมีความอ่อนแอ แม้ว่าภาคการส่งออกจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การบริโภคและการลงทุนก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นแล้วก็ตาม

แนวโน้มภาพรวมปี 2556 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะขยายตัวร้อยละ 3.6เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2555 โดยมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ร้อยละ 2.7

เศรษฐกิจสิงคโปร์(11)

เศรษฐกิจสิงคโปร์ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 1.4 ทั้งนี้ในไตรมาสสุดท้ายที่เหลืออยู่ ภาคการผลิตและภาคการค้าปลีกจะยังขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังคงอ่อนแอ

ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ในปี 2555 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 2.1 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2555 เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 1.4 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.4 ทั้งนี้ในไตรมาสสุดท้ายที่เหลืออยู่เศรษฐกิจสิงคโปร์ยังต้องเผชิญกับเศรษฐกิจโลกที่ยังคงอ่อนแอ ทำให้ภาคการผลิต และภาคการค้าปลีกขยายตัวชะลอลง อย่างไรก็ตามภาคเศรษฐกิจจะถูกกระตุ้นจากภาควิศวกรรมการขนส่ง และภาคการก่อสร้างที่ขยายตัว

หมายเหตุ

(11) - ที่มา www.singstat.gov.sg www.bot.or.th www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในช่วง 10 เดือนแรกของปี2555 อยู่ที่ระดับ 100.7 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ดัชนีผลผลิตฯ ในเดือนตุลาคม 2555 หดตัวร้อยละ 2.1 อย่างไรก็ตามถ้าไม่รวมการผลิตสินค้าในกลุ่มไบโอเมดิคอล ดัชนีผลผลิตฯ ขยายตัวร้อยละ 0.6

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่า 342,996 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย และจีนขยายตัวชะลอลง ขณะที่การส่งออกไปยังฮ่องกงหดตัวร้อยละ 0.7 ด้านการนำเข้าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่า 317,515 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.2 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 จากราคาที่อยู่อาศัย และต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 คงที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า การว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำสะท้อนความต้องการแรงงานที่ยังคงเข้มแข็ง

แนวโน้มภาพรวมปี 2556 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 2.9เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2555 โดยมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ร้อยละ 4.3

เศรษฐกิจอินโดนีเซีย(12)

เศรษฐกิจอินโดนีเซียในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 6.3 จากการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัว

ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในปี 2555 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.0 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2555 เศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัวร้อยละ 6.3เศรษฐกิจอินโดนีเซียได้รับแรงสนับสนุนจากความต้องการภายในประเทศ ทั้งการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัว อย่างไรก็ตามการส่งออกยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง

หมายเหตุ

(12) - ที่มา www.bi.go.id www.ceicdata.com

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555อยู่ที่ระดับ 106.7 ขยายตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีในเดือนกันยายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 9.0

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่า 141,465 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกของอินโดนีเซียหดตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2555 ด้านการนำเข้า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่า 141,693 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.6 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 จากราคาค่าเช่า และค่าใช้จ่ายการทำสัญญาเกี่ยวกับที่พักอาศัยเพิ่มขึ้น

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.75 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมายที่กำหนดไว้ ขณะที่เศรษฐกิจยังคงขยายตัวได้ดี แม้จะชะลอตัวลงบ้างจากภาคการส่งออกที่ชะลอตัว

ภาพรวมปี 2556 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซียจะขยายตัวร้อยละ 6.3 เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2555 โดยมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ร้อยละ5.1

เศรษฐกิจมาเลเซีย(13)

เศรษฐกิจมาเลเซียในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.3 ทั้งนี้ในไตรมาส 3 ปี2555 ขยายตัวร้อยละ 5.2 จากการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัว

ภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซีย ในปี 2555 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 4.4 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2555 เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 5.3 ทั้งนี้เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากภาคการบริการ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวเป็นสำคัญ ขณะที่ทางด้านอุปสงค์มีการลงทุนรวมและการบริโภคของภาคเอกชนเป็นตัวสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ

หมายเหตุ

(13) - ที่มา www.statistics.gov.my www.bnm.gov.my www.ceicdata.com

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2555 อยู่ที่ระดับ 121.9 ขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีในเดือนกันยายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.2 จากการผลิตสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะและโลหะมูลฐาน กลุ่มปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก รวมถึงกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่ขยายตัว

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่า 169,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามการส่งออกในเดือนกันยายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 2.7 ด้านการนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555มีมูลค่า 147,515 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว ร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.2 โดยอัตราเงินเฟ้อในช่วง 10 แรกนี้มาจากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ อัตราการว่างงานในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.1

แนวโน้มภาพรวมปี 2556 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจมาเลเซียจะขยายตัวร้อยละ 4.7 เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2555 และมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ร้อยละ 2.4

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์(14)

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 6.5 ทั้งนี้ในไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 7.1 จากการบริโภคของภาคเอกชนและภาครัฐ รวมถึงการลงทุนที่ขยายตัวขณะที่ภาคการส่งออกกลับมาฟ้นื ตัว

ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ในปี 2555 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ 4.8 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2555 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ 6.5 ทั้งนี้เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการบริโภคของภาคเอกชนและภาครัฐ การลงทุนในภาคการก่อสร้างที่ขยายตัว รวมถึงภาคการส่งออกที่กลับมาฟื้นตัว

หมายเหตุ

(14) - ที่มา www.nscb.gov.ph www.bsp.gov.ph www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในช่วง 9 เดือนแรกของปี2555 อยู่ที่ระดับ 98.2 ขยายตัวร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีในเดือนกันยายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 8.0

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่า 40,067 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ และจีน ขยายตัวร้อยละ 15.2 7.3 และ 4.6 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่า 46,035 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.8 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.1

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2555 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Reverse Repurchase) มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.50 จากเดิมร้อยละ 3.75 เพื่อสนับสนุนการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมายที่กำหนด

แนวโน้มภาพรวมปี 2556 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะขยายตัวร้อยละ 4.8 ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับปี 2555 โดยมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ร้อยละ 4.5

เศรษฐกิจอินเดีย(15)

เศรษฐกิจอินเดียในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.4 ทั้งนี้ในไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.3

ภาวะเศรษฐกิจของอินเดีย ในปี 2555 IMF คาดการณ์ว่าทั้งปี GDP จะขยายตัวร้อยละ4.9 โดยในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2555 เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวร้อยละ 5.4 ทั้งนี้เศรษฐกิจอินเดียในไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ระดับ 181.3 หดตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีในเดือนกันยายน 2555 หดตัวร้อยละ 1.5

หมายเหตุ

(15)- ที่มา commerce.nic.in www.bot.or.th www.ceicdata.com

อัตราเงินเฟ้อ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 9.6 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 9.8

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2555 ธนาคารกลางอินเดียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทั้ง Repo Rate และ Reverse Repo Rate ไว้ที่ร้อยละ 8.0 และร้อยละ 7.0 ตามลำดับ

แนวโน้มภาพรวมปี 2556 IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจอินเดียจะขยายตัวร้อยละ 6.0 เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากในปี 2555 โดยมีอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ร้อยละ 9.6

สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศที่สำคัญ

                              ------- 2554 -----    ---------2555----------
                 2553  2554                                                    2555f
                               Q1      Q2     Q3    Q4     Q1     Q2     Q3
GDP (%YoY)
  สหรัฐอเมริกา      2.4   1.8    1.8    1.9    1.6    2.0    2.4    2.1    2.3    2.2
  สหภาพยุโรป       2.0   1.6    2.4    1.7    1.4    0.8    0.1   -0.3   -0.4   -0.4
  ญี่ปุ่น             4.6  -0.7    0.1   -1.7   -0.7   -0.6    2.8    3.3    0.5    2.2
  จีน             10.4   9.3    9.8    9.5    9.1    8.9    8.1    7.6    7.4    7.8
  ฮ่องกง           7.1   5.1    7.6    5.4    4.4    3.0    0.7    1.2    1.3    5.0
  เกาหลีใต้         6.4   3.7    4.2    3.5    3.6    3.3    2.8    2.3    1.5    3.6
  สิงคโปร์         14.9   5.0    9.1    1.2    6.0    3.6    1.6    2.5    0.3    4.9
  อินโดนีเซีย        6.2   6.5    6.4    6.5    6.5    6.5    6.3    6.4    6.2    6.5
  มาเลเซีย         7.3   5.1    5.2    4.3    5.7    5.2    5.1    5.6    5.2    5.1
  ฟิลิปปินส์          7.7   3.9    4.9    3.6    3.2    4.0    6.3    6.0    7.1    3.9
  อินเดีย           8.9   7.5    9.2    8.0    6.7    6.1    5.3    5.5    5.3    6.8
  ไทย             7.8   0.1    3.2    2.7    3.7   -8.9    0.4    4.4    3.1    5.6
                               ------- 2554 -----    ---------2555----------
                 2553  2554
                               Q1      Q2     Q3    Q4     Q1     Q2     Q3
MPI (%YoY)
  สหรัฐอเมริกา      5.8   4.4   6.2     3.5    3.5   4.2    5.1    5.3    3.8
  สหภาพยุโรป       7.0   4.4   7.9     5.0    4.0   0.7   -1.4   -2.7   -2.3
  ญี่ปุ่น            17.2  -2.3  -1.9    -6.7   -0.6   0.0    3.4    5.4   -4.6
  จีน             14.5  13.7  14.9    13.9   13.8  12.8   16.6    9.5    9.1
  ฮ่องกง           3.4   0.9   3.6     1.9    0.2  -2.2   -1.6   -3.0    n.a.
  เกาหลีใต้        17.3   7.1  10.6     7.3    5.3   5.3    4.2    1.6    0.4
  สิงคโปร์         30.5   8.4  19.0    -3.8    8.9   9.3   -0.8    4.7   -0.9
  อินโดนีเซีย              4.0   3.3     2.4    7.6   2.8    1.7    2.0    3.6
  มาเลเซีย        11.3   4.6   5.9     2.1    5.4   5.0    4.7    5.8    3.5
  ฟิลิปปินส์         23.9   1.7  11.9     1.8    2.0  -8.9    7.5    3.9    5.4
  อินเดีย          10.6   5.3   8.9     7.7    3.4   1.1    0.3   -0.8    0.2
  ไทย            14.1  -9.2  -2.1    -2.7    1.8 -34.6   -6.8   -1.4  -10.0

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ