สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนธันวาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 21, 2013 14:36 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เดือนพฤศจิกายน 2555 อยู่ที่ระดับ 189.11 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 83.3 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ได้รับแรงส่งจากโครงการรถคันแรกของภาครัฐ รวมทั้งฐานเปรียบเทียบที่ต่ำในช่วงปลายปี 2554 ที่ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่สาม โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 31.7 และเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งขยายตัวร้อยละ 41.8

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งวัดจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(1) หรือ MPI เดือนพฤศจิกายน 2555 อยู่ที่ระดับ 189.11 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 83.3สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ได้รับแรงส่งจากโครงการรถคันแรกของภาครัฐ รวมทั้งฐานเปรียบเทียบที่ต่ำ ในช่วงปลายปี 2554 ที่ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ที่ส่งผลให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2554 ลดลงร้อยละ 45.89 ส่วนการผลิตสินค้าในกลุ่มฮาร์ดดิสก์และอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอตัว ตั้งแต่ต้นปี 2555 เพิ่มสูงขึ้นจากฐานเปรียบเทียบที่ต่ำ แต่ระดับการผลิตยังไม่กลับสู่ระดับปกติ

สำหรับอัตราการใช้กำ ลังการผลิต(2) เดือนพฤศจิกายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 68.56 จากร้อยละ 67.73 ในเดือนตุลาคม 2555 และร้อยละ 41.84 ในเดือนพฤศจิกายน2554

เมื่อพิจารณาในด้านของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่สาม โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 31.7 และเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งขยายตัวร้อยละ 41.8

หมายเหตุ

(1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เป็นดัชนีที่แสดงทิศทางการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งในภาพรวม รายสาขาอุตสาหกรรม และรายผลิตภัณฑ์

(2) อัตราการใช้กำลังการผลิต หมายถึง ค่าร้อยละของการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเทียบกับความสามารถในการผลิตสูงสุดเต็มศักยภาพ หรือเต็มกำลังการผลิต (capacity)

อุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญ(พฤศจิกายน2555)

อุตสาหกรรมอาหาร การผลิต (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนพฤศจิกายน 2555 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.0 กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออก เช่น กุ้ง มีปริมาณการผลิตชะลอตัวลงร้อยละ 2.1 เป็นผลจากคำสั่งซื้อชะลอตัวลงจากภาวะซบเซาของเศรษฐกิจประเทศผู้นำเข้า เช่นสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปตาม

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่ประสบปัญหาอุทกภัย ส่งผลให้การผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ55.9 ในกลุ่มเส้นใยสิ่งทอฯ ร้อยละ 11.9 ในกลุ่มผ้าผืน และร้อยละ 11.6 ในกลุ่มยางยืด

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.01 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.25 เหล็กทรงยาว มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.02 ในส่วนของดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก(FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนธันวาคม 2555 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กแท่งแบน เหล็กแผ่นรีดร้อน และเหล็กแผ่นรีดเย็น สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กที่ลดลง ได้แก่ เหล็กแท่งเล็ก Billetเหล็กเส้น โดยจะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่มีดัชนีราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้นจะเป็นในส่วนของเหล็กทรงแบนแต่ในส่วนของเหล็กทรงยาวจะมีราคาที่ลดลง

อุตสาหกรรมรถยนต์ มีการผลิตจำนวนจำนวน 256,581 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน2554 ซึ่งมีการผลิต 23,695 คัน ร้อยละ 982.85 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม2555 ร้อยละ 1.75 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ สำ หรับการส่งออก มีจำ นวนจำนวน 100,225 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน2554 ซึ่งมีการส่งออก 6,258 คัน ร้อยละ 1,501.55ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนียตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การผลิต เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 190.84 โดยมาจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 211.31 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในกลุ่ม HDD เนื่องจากบริษัทแม่เริ่มเพิ่มยอดผลิตให้กับฐานการผลิตในไทย แต่อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่กลับมาผลิตได้เท่าเดิมก่อนเกิดปัญหาอุทกภัย สำ หรับอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 109.51

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ