สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ปี 2556 (มกราคม — มีนาคม 2556)(เศรษฐกิจโลก)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 22, 2013 17:22 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ภาพรวมเศรษฐกิจโลก

ในไตรมาส 1 ปี 2556 เศรษฐกิจหลาย ๆ ประเทศยังคงขยายตัว ปัญหาเศรษฐกิจถดถอยของยุโรปยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราการว่างงานของสหภาพยุโรปยังคงอยู่ในระดับสูง

ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ 108.36 USD/Barrel ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ 116.00 USD/Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันยังคงผันผวน โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนมิถุนายน (ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2556) อยู่ที่ 96.62 USD/Barrel ราคาน้ำมันดิบยังคงผันผวนต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากเหตุการณ์ ความไม่สงบในประเทศแถบตะวันออกกลางซึ่งส่งผลต่อความไม่แน่นอนของอุปทานน้ำมันดิบโลก

เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา(2)

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 ปี 2556 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า อันเนื่องมาจากการบริโภคภายในประเทศที่แข็งแกร่ง และการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์

ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 ปี 2556 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 1 ปี 2556ขยายตัวร้อยละ 2.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 5.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 14.1 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 62.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 67.5

การผลิตภาคอุตสาหกรรม อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 76.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 75.9 ดัชนีการผลิต

หมายเหตุ

(1) - ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2555

  • ที่มา www.eia.doe.gov www.thaioil.co.th

(2) - ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.ceicdata.com

ภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 95.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 93.5

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 2.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ที่ขยายตัว ร้อยละ 6.8 การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2556 หดตัวร้อยละ1.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 16.3

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.8 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง อัตราการว่างงานไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 8.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 8.6 อัตราการว่างงานมีการฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 อีกทั้งมีโครงการซื้อสินทรัพย์วงเงิน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือนจนกว่าอัตราการว่างงานจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ 6.5

เศรษฐกิจจีน(3)

เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 1 ปี 2556 ยังคงขยายตัว อันเป็นผลมาจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้ว่าการบริโภคและการลงทุนในประเทศชะลอตัว

ภาวะเศรษฐกิจของจีน ในไตรมาส 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 7.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.1 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 12.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 15.2 การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรใน ไตรมาส 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 21.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 21.3 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 105.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 103.0

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 9.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.9

หมายเหตุ

(3) - ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.ceicdata.com

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 18.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 9.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.2

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.8 เป็นผลมาจากราคาพลังงานที่ปรับตัวลดลง อัตราการว่างงานไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 เท่ากับไตรมาส 1 ของปี 2555

สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี อยู่ที่ร้อยละ 6.00 นอกจากนี้ธนาคารกลางจีนยังคงใช้การจัดการสภาพคล่องในตลาดต่อไปผ่านทาง open market operation

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น(4)

เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวเล็กน้อย และในไตรมาส 1 ปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงขยายตัวต่อเนื่อง

ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในไตรมาส 4 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 0.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่หดตัวร้อยละ 0.1 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 0.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.6 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 44.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 40.0

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ 89.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.3

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 1.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1 ปี 2555 ที่หดตัวร้อยละ 2.0 การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 8.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.9

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2556 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.2 เนื่องจากราคาพลังงานที่ลดลง อัตราการว่างงานไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.5

สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 (เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2556) พร้อมทั้งดำเนินโครงการเพิ่มฐานเงินที่อัตรา 60 -70 ล้านเยนต่อปี เพื่อเพิ่มปริมาณเงินที่ธนาคารกลางจะอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในระยะ 2 ปี

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป(5)

เศรษฐกิจสหภาพยุโรปไตรมาส 4 ปี 2555 หดตัว และในไตรมาส 1 ปี 2556 คาดว่ายังคงหดตัวต่อเนื่อง เนื่องจากภาคการผลิตที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ และอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ในไตรมาส 4 ปี 2555 GDP หดตัวร้อยละ 0.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 การบริโภคไตรมาส 4 ปี 2555 หดตัวร้อยละ 0.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่หดตัวร้อยละ 0.7

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 95.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 99.3

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 4.58 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.6 สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ ขยายตัวร้อยละ 6.6 และ 1.0 ตามลำดับ การนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 2.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.0 สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ ขยายตัวร้อยละ 0.02 และ หดตัวร้อยละ 9.2 ตามลำดับ

อัตราเงินเฟ้อ ในไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.7 อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงเป็นผลจากราคาพลังงานที่ลดลง อัตราการว่างงาน ในไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 11.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ10.7 เป็นการว่างงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หมายเหตุ

(5) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 4 ปี 2555

  • ที่มา eurostat, www.ecb.int www.ceicdata.com

สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากเดิมร้อยละ 0.75 เหลือร้อยละ 0.50 (เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2556) เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหภาพยุโรปเนื่องจากเศรษฐกิจในหลาย ๆ ประเทศ ยังคงอยู่ในภาวะถดถอย บางประเทศเศรษฐกิจยังคงชะลอตัว และอัตราการว่างงานที่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญในเอเชีย

เศรษฐกิจฮ่องกง(6)

ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในไตรมาส 4 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 99.5 ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีฯ กลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังจากหดตัวต่อเนื่องนานสี่ไตรมาส

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2556 มีมูลค่า 125,935 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 61.1 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของ ฮ่องกง) ขยายตัวร้อยละ 25.5 ด้านการนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2556 มีมูลค่า 142,065 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 16.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 ลดลงจากในไตรมาส 4 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 จากราคาค่าเช่าบ้าน เศรษฐกิจฮ่องกงในไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในเดือนมีนาคม2556 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.4

หมายเหตุ

(6) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2555

  • ที่มา www.censtatd.gov.hk www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

เศรษฐกิจเกาหลีใต้(7)

เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาส 1 ปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญยังอ่อนแรง ขณะที่ภาคการลงทุนยังคงหดตัว

ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในไตรมาส 1 ปี 2556 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญยังอ่อนแรง ขณะที่ภาคการลงทุนยังคงหดตัว

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2556 มีมูลค่า 135,465 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลับมาขยายตัวเล็กน้อยหลังจากหดตัวต่อเนื่องนานสามไตรมาส จากการส่งออกไปตลาดอันดับหนึ่งอย่างจีน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.7 ของการส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้) ขยายตัวร้อยละ 7.0 อย่างไรก็ตามการส่งออกไปตลาดสำคัญอื่นอย่างสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 4.6 9.3 และ 9.5 ตามลำดับด้านการนำเข้า ในไตรมาส 1 ปี 2556 มีมูลค่า 129,684 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.0 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหดตัวต่อเนื่อง

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 ลดลงจากในไตรมาส 4 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.7 อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ1.3 อัตราเงินเฟ้อต่ำสุดในรอบเจ็ดเดือน จากราคาอาหารและค่าขนส่งที่ลดลง อัตราการว่างงานในเดือนมีนาคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ลดลงจากในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.0

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2556 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 2.50 จากเดิมร้อยละ 2.75

หมายเหตุ

(7) - ที่มา ecos.bok.or.kr www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

(8) - ที่มา www.singstat.gov.sg www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

เศรษฐกิจสิงคโปร์(8)

เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาส 1 ปี 2556 GDP หดตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่หดตัว

ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ในไตรมาส 1 ปี 2556 GDP หดตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่หดตัวถึงร้อยละ 6.5 อย่างไรก็ตามภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง และภาคบริการยังคงขยายตัวได้ การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ระดับ

93.3 หดตัวร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ดัชนีในเดือนมีนาคม 2556 หดตัวร้อยละ 4.1 จากการผลิตสินค้าหดตัวในหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มการผลิตเคมีภัณฑ์ กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าทั่วไป กลุ่มวิศวกรรมขนส่ง วิศวกรรมเครื่องมือวัด ขณะที่การผลิตกลุ่มผลิต อิเล็กทรอนิกส์หดตัวร้อยละ 7.2 จากฐานเปรียบเทียบที่สูงในปีก่อนซึ่งมีการเร่งการผลิตเพื่อชดเชยส่วนที่หายไปจากการที่ประเทศไทยประสบเหตุการณ์อุทกภัย

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2555 มีมูลค่า 101,657 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดสำคัญอย่างมาเลเซีย และอินโดนีเซียหดตัวร้อยละ 3.6 และ 4.2 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 6.3 อย่างไรก็ตามการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 หดตัวร้อยละ 18.6 ด้านการนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2555 มีมูลค่า 95,569 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคม 2556 ขยายตัว ร้อยละ 4.7 อย่างไรก็ตามการนำเข้าในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 หดตัวร้อยละ 13.7

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 คงที่จากในไตรมาส 4 ปี 2555 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 จากต้นทุนค่าขนส่ง รวมถึงราคาที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ ร้อยละ 1.9 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 4 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.8

เศรษฐกิจอินโดนีเซีย(9)

เศรษฐกิจอินโดนีเซีย ในไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัวเป็นสำคัญ

ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในไตรมาส 1 ปี 2556 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัว

หมายเหตุ

(9) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2555

  • ที่มา www.bi.go.id www.bot.or.th www.ceicdata.com

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 115.6 ขยายตัวร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2556 ขยายตัวร้อยละ 11.2 และ 5.6 ตามลำดับ

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2556 มีมูลค่า 45,394 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สี่ ด้านการนำเข้าในไตรมาส 1 ปี 2556 มีมูลค่า 45,462 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 4 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ 5.9 จากราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากมาตรการจำกัดปริมาณการนำเข้าสินค้าเกษตรบางชนิดของรัฐบาล

เศรษฐกิจมาเลเซีย(10)

เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 4 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซีย ในไตรมาส 4 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 4 ปี2555 อยู่ที่ระดับ 126.6 ขยายตัวร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีในเดือนมกราคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 5.9 อย่างไรก็ตามดัชนีในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 หดตัวร้อยละ 5.2

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2555 มีมูลค่า 57,857 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 5.7 อย่างไรก็ตามการส่งออกไปตลาดสำคัญอย่างจีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป(27)หดตัวร้อยละ 1.9 11.5 และ 13.1 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 5.8 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2555 มีมูลค่า 49,157 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคม 2556 ขยายตัวร้อย ละ 18.6

หมายเหตุ

(10) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2555

  • ที่มา www.statistics.gov.my www.bnm.gov.my www.mier.org.my www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 4 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากราคาพลังงานและค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ลดลงจากในเดือนมกราคม 2556 ซึ่งอยูที่ร้อยละ 3.3

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2556 ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.0 เนื่องจากอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมายที่กำหนดไว้

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์(11)

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในไตรมาส 4 ปี 2555 GDP ขยายตัวดีที่ร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคของภาคเอกชนและภาครัฐ รวมถึงการลงทุนที่ขยายตัวขณะที่ภาคการส่งออกปรับตัวดีขึ้น

ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 4 ปี 2555 GDP ขยายตัวดีที่ร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการบริโภคของภาคเอกชน การใช้จ่ายภาครัฐ การลงทุนที่ฟื้นตัว และการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 105.7 ขยายตัวร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2556 ขยายตัวร้อยละ 16.7 และ 8.7 ตามลำดับ

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2555 มีมูลค่า 11,928 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2556 การส่งออกหดตัวร้อยละ 2.7 และ 15.6 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2555 มีมูลค่า 15,679 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2556 การนำเข้าหดตัวร้อยละ 7.9 และ 5.8 ตามลำดับ

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ 3.2

หมายเหตุ

(11) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2555

  • ที่มา www.nscb.gov.ph www.bsp.gov.ph www.neda.gov.ph www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

เศรษฐกิจอินเดีย(12)

เศรษฐกิจอินเดีย ในไตรมาส 4 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง

ภาวะเศรษฐกิจของอินเดีย ในไตรมาส 4 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 4 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 183.3 ขยายตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2556 ขยายตัวร้อยละ 2.5 และ 2.2 ตามลำดับ

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2555 มีมูลค่า 72,543 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรสต์ และสิงคโปร์ หดตัวร้อยละ 2.0 1.0 และ 8.2 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการส่งออกไปตลาดอื่นๆ อย่างเนเธอร์แลนด์ และซาอุดิอาระเบียยังขยายตัวได้สำหรับในเดือนมกราคม 2556 การส่งออกหดตัวร้อยละ 0.5 ขณะที่การส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ขยายตัวร้อยละ 2.2 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2555 มีมูลค่า 129,214 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2556 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 5.8 และ 2.8 ตามลำดับ

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 10.7 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 4 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 10.1 ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2556 อยู่ที่ร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2556 ธนาคารกลางอินเดียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Repo Rate) มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.50 จากเดิมร้อยละ 7.75

หมายเหตุ

(12) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2555

  • ที่มา www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศที่สำคัญ

                                                       2555                   2556
                       2554       2555       Q1      Q2       Q3       Q4       Q1
GDP (%YoY)
สหรัฐอเมริกา              1.8        2.2      2.4      2.1      2.6     1.7      1.8
สหภาพยุโรป               1.6       -0.3      0.1     -0.3     -0.4    -0.6      n.a.
ญี่ปุ่น                    -0.5        2.0      3.3      4.0      0.4     0.4      n.a.
จีน                      9.3        7.7      8.1      7.6      7.4     7.9      8.1
ฮ่องกง                   4.9        1.4      0.8      1.0      1.4     2.5      2.5
เกาหลีใต้                 3.7        2.1      2.8      2.4      1.6     1.5      1.5
สิงคโปร์                  5.3        1.3      1.5      2.3    -0.03     1.5     -0.6
อินโดนีเซีย                6.5        6.2      6.3      6.4      6.2     6.1      6.0
มาเลเซีย                 5.1        5.6      5.1      5.6      5.3     6.4      n.a.
ฟิลิปปินส์                  3.9        6.6      6.3      6.0      7.2     6.8      n.a.
อินเดีย                   7.5        5.1      5.1      5.5      5.3     4.5      n.a.
ไทย                     0.1        6.4      0.4      4.4      3.1    18.9      n.a.

MPI (%YoY)
สหรัฐอเมริกา              3.4        3.9      4.4      4.9      3.5     2.8      2.2
สหภาพยุโรป               4.4       -2.5     -1.4     -2.7     -2.4    -3.4      n.a.
ญี่ปุ่น                    -2.3       -0.7      3.4      5.4     -4.6    -6.8     -6.1
จีน                     13.7       10.8     16.6      9.5      9.1    10.0      9.4
ฮ่องกง                   0.9       -0.8     -1.6     -3.0     -0.1     1.3      n.a.
เกาหลีใต้                 6.0        0.9      3.6      1.1     -1.0    -0.1     -1.7
สิงคโปร์                  8.4        0.3     -1.1      4.1     -1.4    -0.2     -6.8
อินโดนีเซีย                4.1        4.1      1.7      2.0      1.6    11.1      8.9
มาเลเซีย                 4.6        5.0      4.7      5.8      3.6     6.0      n.a.
ฟิลิปปินส์                  1.7        7.7      7.5      4.0      5.3    13.9      n.a.
อินเดีย                   5.3        0.6      0.3     -0.8      0.2     2.6      n.a.
ไทย                    -9.1        2.5     -6.8     -1.6    -11.0    43.8      2.9

ที่มา : CEIC

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ