ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนธันวาคม 2560 และคาดการณ์เดือนมกราคม 2561

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 9, 2018 15:44 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม ในปัจจุบันยังคงมีแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังปรากฏในภาพที่ 1 ทั้งนี้ข้อมูลล่าสุดเดือนธันวาคม 2560 MPI ขยายตัวที่ร้อยละ 2.35 และในปี 2561 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2560 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 1.58 สำหรับปี 2561 คาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 2.5

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2560

ดัชนีอุตสาหกรรมภาพรวม การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆที่มิใช่ยางรถยนต์ การผลิตเพิ่มขึ้นจากยางแผ่นเป็นหลัก เนื่องจากปีนี้มีน้ำยางออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก (ปีก่อนมีปัญหาน้ำท่วมบางพื้นที่ ทำให้ไม่สามารถกรีดยางได้) ประกอบกับราคายางตกต่ำทำให้จีนเร่งนำเข้ายางแผ่นจากไทย

อุตสาหกรรมรถยนต์ การผลิตเพิ่มขึ้นจากรถปิกอัพและรถยนต์นั่งขนาดไม่เกิน 1800 cc. เป็นหลักจากกำลังซื้อที่เริ่มมีมากขึ้นรวมถึงกำลังซื้อของลูกค้าในกลุ่มรถยนต์คันแรกที่ปลดล็อคแล้ว และผู้ผลิตกระตุ้นตลาดด้วยการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ส่งผลให้ทั้งปริมาณจำหน่ายรถยนต์ในประเทศและปริมาณส่งออกขยายตัว

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ การผลิตเพิ่มขึ้นจากเครื่องยนต์แก๊สโซลีน และเครื่องยนต์ดีเซล ตามการผลิตรถยนต์ในประเทศที่ขยายตัวเพื่อรองรับงาน Motor Expo (30 พ.ย.60-11 ธ.ค.60) โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซลที่ปรับเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณการจำหน่ายในประเทศ ซึ่งยังคงเป็นที่นิยมต่อเนื่องจากการปรับโฉมใหม่ และปริมาณการส่งออกจากลูกค้าในกลุ่มประเทศ AEC และประเทศออสเตรเลีย

คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2561

คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของไทยเดือนมกราคม 2561 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2561 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 115.96 โดยจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 3.5 - 4.0 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนธันวาคม 25 60 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.35 โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่คาดว่าจะขยายตัว อาทิ รถยนต์ (เนื่องจากมีแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก) ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางรถยนต์ และชิ้นส่วนรถยนต์

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ เดือนธันวาคม 2560

  • การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย

การนำเข้าเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนธันวาคม 2560 มีมูลค่า 1,375.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าเครื่องกังหัน ไอพ่นและส่วนประกอบ และเครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบลดลง อย่างไรก็ตาม การนำเข้าเครื่องยนต์ เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในการแปรรูปโลหะ และเครื่องจักรสิ่งทอ ยังคงขยายตัว

การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนธันวาคม 2560 มีมูลค่า 6,443.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการนำเข้าเคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ขยายตัว

  • อัตราการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยเทียบกับประเทศสำคัญในเอเชีย

การผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยในเดือนธันวาคม 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวร้อยละ 2.3 เช่นเดียวกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศไต้หวัน ซึ่งขยายตัว ร้อยละ 0.9 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ขณะที่การผลิตของประเทศจีน ขยายตัวร้อยละ 6.2 ขยายตัวพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน

  • สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม

จำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนธันวาคม 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น 298 โรงงาน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 256 0 ร้อยละ 13.62 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 30.70 (%YoY)

มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการดังกล่าวในเดือนธันวาคม 2560 มีมูลค่ารวม 27,958 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2560 ร้อยละ 32.37 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปี 2 559 ร้อยละ 49.63 (%YoY)

"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนธันวาคม 2560 คือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิบซัม (23 โรงงาน) รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอกกรวด ทรายหรือดิน (18 โรงงาน)"

"อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนธันวาคม 2560 คือ อุตสาหกรรมการทำน้ำตาลทรายดิบ หรือน้ำตาลทรายขาว โดยมีมูลค่าการลงทุน 19,600 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมการทำเครื่องสำอาง หรือสิ่งปรุงแต่งร่างกาย มีมูลค่าการลงทุน 1,258 ล้านบาท"

จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนธันวาคม 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น 62 ราย ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2560 ร้อยละ 44.64 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 37.37 (%YoY)

เงินทุนของการเลิกกิจการมีมูลค่ารวม 654 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2560 ร้อยละ 98.49 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 63.07 (%YoY)

"อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่การเลิกกิจการมากที่สุด ในเดือนธันวาคม 2560 คือ อุตสาหกรรมการสี ฝัด หรือขัดข้าว (6 โรงงาน) และอุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน (5 โรงงาน)

"อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนธันวาคม 2560 คือ อุตสาหกรรมการทำไม้วีเนียร์ หรือไม้อัดทุกชนิด มูลค่าเงินลงทุน 235.8 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการโม่ บด หืรือย่อยหิน ซึ่งมีมูลค่าเงินลงทุน 47.25 ล้านบาท"

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนธันวาคม 2560

1. อุตสาหกรรมอาหาร
  • เนื้อไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง

ภาวะการผลิต และมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งอุตสาหกรรมอาหารยังได้รับแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการส่งออกที่ความต้องการบริโภคขยายตัว และการบริโภคในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น ด้วยภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารเดือนธันวาคม 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 26.2 แบ่งเป็น

1) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดส่งออก คือ กุ้งแช่แข็ง ปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 14.6 เพื่อรองรับคำสั่งซื้อช่วงเทศกาลปีใหม่ มันสำปะหลังปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 4.2 เนื่องจากจีนเริ่มกลับมาเพิ่มคำสั่งซื้อมากขึ้น และไก่ ปรุงรส ปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 1.3 ได้รับผลดีจากนโยบายการส่งเสริมการทำ Compartm ent ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก ช่วยสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีต่ออุตสาหกรรม เป็นผลให้ญี่ปุ่นเพิ่มคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับเทศกาลท่องเที่ยวประกอบกับ สับปะรดกระป๋องปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 0.04 จากการเพิ่มคำสั่งซื้อของกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและรัสเซีย แม้ระดับราคาส่งออกที่ปรับชะลอตัวลงสอดคล้องกับราคาวัตถุดิบ

2) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ คือ น้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ไก่แช่แข็ง และอาหารสัตว์ (ไก่)การผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 122.6 28.7 9 .8และ 5.8 ตามลำดับ ด้วยความต้องการบริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องช่วงปลายปี

การตลาดในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศ เดือนธันวาคม 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 11.5 เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น อีกทั้งยังได้รับอานิสงค์จากนโยบายช็อปช่วยชาติปี 60 ทำให้การบิริโภคเพิ่มขึ้น

ตลาดต่างประเทศภาพรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหาร เดือนธันวาคม 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้น (YoY) ร้อยละ 7.8 ในกลุ่มสินค้าที่สำคัญ เช่น ทูน่ากระป๋อง ผลิตภัณฑ์ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่แปรรูป และไก่แช่ย็นแช่แข็งปรับตัวเพิ่มขึ้น (Yo Y) ร้อยละ 8.8 8.6 7.9 7.7 และ 6.7 ตามลำดับ เนื่องจากการเพิ่มคำสั่งซื้อของประเทศผู้นำเข้าเพื่อรองรับเทศกาลปีใหม่

คาดว่าการผลิต และการส่งออกในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารเดือนมกราคม 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปัจจัยบวกที่ทำให้การผลิตสินค้าสำคัญพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มปศุสัตว์ (ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และไก่แปรรูป) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการระบาดของไข้หวัดนก และเพื่อรองรับเทศกาลในประเทศคู่ค้า (ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ประกอบกับความต้องการสับปะรดกระป๋องปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ผลิตภัณฑ์สับปะรดมีราคาอ่อนตัวลงมากตามราคาวัตถุดิบ อีกทั้ง สินค้าข้าว (ข้าวขาว และข้าวหอมมะลิ) ที่ประเทศคู่ค้ามีความต้องการเพิ่มขึ้น ผนวกกับเศรษฐกิจภายในประเทศมีเสถียรภาพอยู่ในเกณฑ์ดี และยังได้รับ อานิสงค์จากนโยบาย ช็อปช่วยชาติปี 60 อีกทั้งเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง"

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

การผลิต

+ ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอขยายตัว ร้อยละ 5.7(YoY) โดยเฉพาะกลุ่มเส้นใยสังเคราะห์ และเส้นใยสังเคราะห์สมบัติพิเศษ อาทิ เส้นใยคอลาเจน เส้นใยคอมโพสิต ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อรองรับการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัว

  • ผ้าผืน และกลุ่มเครื่องนุ่งห่มลดลง ร้อยละ 10.1 และ 7.4 ตามลำดับ(Y oY) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานตัวเลขในปีก่อนค่อนข้างสูงจากความต้องการเสื้อผ้ผ้าสีดำ และผ้าผืนสีดำ เพื่อใช้ประดับสถานที่ และสวมใส่ในช่วงถวายความอาลัยในหลวงรัชกาลที่ 9 ประกอบกับมีการนำเข้าเสื้อผ้าสุภาพสตรีจากจีน ญี่ปุ่น อิตาลี เวียดนาม เข้ามาในประเทศเพิ่มขึ้น
การจำหน่ายในประเทศ
  • กลุ่มกเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่มลดลง ร้อยละ 1 .4 3.6 และ 1 2.9 ตามลำดับส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคในประเทศยังไม่ขยายตัว แม้ว่าจะมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายช่วงปลายปี เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคฟื้นตัวไม่เต็มที่จากความกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่ยังมีการฟื้นตัวไม่ชัดเจน
การส่งออก

+ กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.9 และ 4.0 โดยเส้นใยสิ่งทอขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ คือ เส้นใยสังเคราะห์ทีที่มีสมบัติพิเศษ และ ผ้าผืนที่ผลิลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ที่มีสมบัติพิเศษ ซึ่งไทยมีศักยภาพทั้งในการผลิตและการส่งออก โดยตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม ตุรกี และบังคลาเทศ

  • กลุ่มเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.0 ในกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากใยประดิษฐ์ และเสื้อผ้าเด็กอ่อน โดยตลาดส่งออกที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เบลเยี่ยมและเยอรมนี เนื่องจากมีแบรนด์ต่างประเทศพิจารณาไทยเป็นแหล่งผลิตและส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวเพิ่มขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่เริ่มขยายตัว
คาดการณ์แนวโน้มเดือนมกราคม 2561

+ แนวโน้มการผลิตกลุ่มเส้นใยสิ่งทอ คาดว่า จะขยายตัวจากการส่งออกเส้นใยสังเคราะห์ และเส้นใยสังเคราะห์สมบัติพิเศษ โดยเฉพาะตลาดในเอเชีย

+ แนวโน้มการผลิตผ้าผืน และกลุ่มเครื่องนุ่งห่มคาดว่า จะขยายตัวเนื่องจากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป และชุดชั้นในไปยังตลาดญี่ปุ่น เกาหลีใต้และสหภาพยุโรป ที่ขยายตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางขยายตัว

3. อุตสาหกรรมยานยนต์
  • อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

การผลิตรถยนต์ในเดือนธันวาคมใ ปี 2560 มีจำนวน 157,207 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 ร้อยละ 17.43 (%Mo M) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.77 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่งและรถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศในเดือนธันวาคม ปี 2560 มีจำนวน 104,302 คัน สูงสุดในรอบ 4 ปี โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 ร้อยละ 33.58 (%M oM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.0 8 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์ PPV รวมกับ SUVเนื่องจากมียอดจองรถยนต์ในงานมหกรรมยานยนต์เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมามากกว่า 39,000 คัน ยอดขายเติบโตเพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจภายในประเทศที่ฟื้นตัวขึ้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่สูงขึ้น รวมถึงการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่จากค่ายรถต่างๆ อย่างต่อเนื่อง การถือครองรถยนต์ครบห้าปีในโครงการรถยนต์คันแรก การส่งออกขยายตัวการท่องเที่ยวมีการเติบโตที่ชัชัดเจน และการฟื้นตัวของการลงทุนภาครัฐและเอกชน

การส่งออกรถยนต์ ในเดือนธันวาคม ปี 2560 มีจำนวน 95,834 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 ร้อยละ 7.00 (%MoM ) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.28(%YoY) เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นเกือบทุกตลาด ยกเว้นตลาดเอเชีย และตลาดอเมริกาเหนือ

"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนมกราคม ปี 2561 จะขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ปี 2560 เนื่องจากมีแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก"

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรม ซึ่งได้มีการรวบรวมข้อมูลไว้ในเบื้องต้น

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนธันวาคม ปี 2560 มีจำนวน 152,315 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ปี 25 60 ร้อยละ 20.86 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.68 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนธันวาคม ปี 25 60 มียอดจำหน่ายจำนวน 131,523 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ปี 25 60 ร้อยละ 14.07 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.50 (%YoY)

การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนธันวาคมปี 256 0 มีจำนวน 35,582คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 256 0 ร้อยละ 5.20 (%MoM)และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.24 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการขยายตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และแคนาดา

"คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนมกราคม ปี 2561จะขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ปี 2560"

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรม ซึ่งได้มีการรวบรวมข้อมูลไว้ ในเบื้องต้น

4. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

  • อุตสาหกรรมปูนเม็ด

การผลิตปูนเม็ด ในเดือนธันวาคม ปี 2560 มีจำนวน 3.22 ล้านตัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 ร้อยละ 4.81 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.33 (%YoY)

การจำหน่ายปูนเม็ดในประเทศ ในเดือนธันวาคม ปี 2560 มีปริมาณการจำหน่าย 0.03 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 ร้อยละ 50.00 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันันของปีก่อนร้อยละ 44.57 (%YoY)

การส่งออกปูนเม็ด ในเดือนธันวาคม ปี 2560 มีจำนวน 0.71 ล้านตัตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 ร้อยละ 61.33 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.44 (%Y oY)

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมปูนเม็ดในเดือนมกราคม ปี 2561 คาดว่าชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากสต็อคยังคงมีปริมาณค่อนข้างสูง

  • อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

การผลิตปูนซีเมนต์ ในเดือนธันวาคม ปี 2560 มีจำนวน 3.40 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 ร้อยละ 13.31 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.99 (%Y oY) เนื่องจากความมั่นใจในความคืบหน้าการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ภาครัฐยังมีไม่มากพอ และยังมีฝนตกหนักเป็นช่วง ๆ ซึ่งผิดฤดูกาลทำให้เป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้าง

การจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ในเดือน ธันวาคม ปี 2560 มียอดจำหน่ายจำนวน 2.87 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 ร้อยละ 5.72 (%MoM) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 7.75 (%YoY) จากภาวะการแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้น

การส่งออกปูนซีเมนต์ ในเดือนธันวาคม ปี 2560 มีจำนวน 0.53 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 ร้อยละ 17.71 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.32 (%YoY) เป็นผลจากตลาดส่งออกเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ในเดือนมกราคม ปี 2 561 จะเริ่มสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยจากความคาดหวังว่าการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะเม็กกะโปรเจ็คต่างๆ จะเดินหน้าได้มากขึ้น และตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวดีขึ้น

5. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

  • อุตสาหกรรมไฟฟ้า

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงทรงตัวโดยดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 5เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนโดยอยู่ที่ระดับ 91.78 สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องซักผ้า และสายไฟฟ้า โดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 47.69 และ 11.04 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้นและประกอบกับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าที่มีการผลิตลดลง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ร์ พัดลม ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว และมอเตอร์ไฟฟ้า โดยลดลงร้อยละ 5.20, 3.65, 5.03, 19.36, 2.74 , 1.78, 10.73 และ 0.39 ตามลำดับเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกเครื่องใช้ช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 2.94 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 1,90 4.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก ได้แก่ จีน อาเซียน สหภาพยุโรป และ สหรัฐอเมริกาจากการส่งออกเครื่องปรับอากาศซึ่งเป็นสินค้าหลักมีมูลค่าการส่งออก 301.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.50 รองลงมาคือแผงวงจรสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้ามีมูลค่าส่งออก 1 45.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.45และเครื่องซักผ้า มีมูลค่าส่งออก 114.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.47 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีก่อน

"คาดการณ์ดัชนีผลผลิตเดือนมกราคม 2561 อุตสาหกรรมไฟฟ้าจะมีดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 8.71 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงชะลอตัวประกอบกับสินค้าหลักมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยังคงทรงตัวมีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.39 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนโดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 10 4.72เนื่องจากกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลัก ได้แก่ Semicond uctor,Monolithi c IC และ HDD เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.44, 21.99 และ 23.23 ตามลำดับ ตามการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลก ในขณะที่ PCBA และ Other IC ลดลงร้อยละ 1.46 และ 3.58 ตามลำดับจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง

การส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.87เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนโดยมีมูลค่าการส่งออก 3,280.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยตลาดหลักทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น อาเซียน สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าส่งออก 1,356.2 9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.99 รองลงมาคือ วงจรรวม (I C) มีมูลค่าส่งออก 709.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.60 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

คาดการณ์การผลิตเดือนมกราคม 2561ดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.31 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์และวงจรรวมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง"

6. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ดัชนีการผลิต ในเดือนธันวาคมปี 2560 มีค่า104.86 ลดลงร้อยละ 24 .46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ลดลงร้อยละ 37.02 โดยเหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลงร้อยละ 40.64 โดยลดลง 3 เดือนติดต่อกันตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2560 เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศอยู่ในช่วงชะลอตัว เหล็กทรงแบน ลดลงร้อยละ 13.41 โดยเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมลดลงร้อยละ 28.67 เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องคือ อาหารทะเลกระป๋องมีดัชนีผลผลิตลดลง สำหรับเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ลดลงร้อยละ 6.75 โดยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ลดลงร้อยละ 10.17

การจำหน่ายในประเทศ ในเดือนธันวาคม ปี 2560 มีปริมาณ 1.30 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 20สำหรับเหล็กทรงยาว มีการบริโภค 0.47 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 25.6 โดยเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณลดลง ร้อยละ 2 8.3 ซึ่งลดลง 4 เดือนติดต่อกันตั้งแต่เดือนกันยายน-ธันวาคม 256 0 เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างค่อนข้างซบเซา สำหรับเหล็กทรงแบนมีการบริโภค 0.83 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 16.5 โดยเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลงร้อยละ 44.4

การนำเข้า การนำเข้ามีปริมาณ 0.88 ล้านตันลดลงร้อยละ 16.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวมีปริมาณ 0.20 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 23.2 และเหล็กทรงแบนมีปริมาณ 0.67 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 14.4

"แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมกราคม 2561 คาดการณ์ว่า การผลิตลดลงร้อยละ 8.83 ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวลดลงร้อยละ 16.87 โดยเหล็กเส้นกลมลดลงร้อยละ 20.52 รองลงมาคือ เหล็กเส้นข้ออ้อยลดลงร้อยละ 18.40 เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างอยู่ในช่วงชะลอตัวและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ลดลงร้อยละ 11.19 โดยเหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อนลดลงร้อยละ 19.07 ขณะที่เหล็กทรงแบนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.02 โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.13 เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น

--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ