ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนเมษายน 2562

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 4, 2019 16:11 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2562 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) กลับมาขยายตัวร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากบริโภคภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 3.4

เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) จะเห็นได้ว่าแนวโน้มการผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มชะลอตัวลง กล่าวคือ ในเดือนมกราคม 2562 มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เดือนกุมภาพันธ์ ลดลงร้อยละ 1.3 และเดือนมีนาคม ลดลงร้อยละ 2.7

สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และเดือนมีนาคม 2562 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนมกราคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เดือนกุมภาพันธ์ลดลง ร้อยละ 2.6 และเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาลปกติที่ในเดือนเดือนกุมภาพันธ์การผลิตจะชะลอตัวลงเนื่องจากมีวันทำงานน้อย

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนเมษายน 2562 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ

  • รถยนต์ และเครื่องยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.60 จากรถกระบะ 1 ตัน รถยนต์นั่งขนาดกลาง และรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ตามความต้องการของตลาดในประเทศหลังจากผ่านพ้นกำหนดเวลาตามเงื่อนไขโครงการรถยนต์คันแรก และการกระตุ้นตลาดด้วยการส่งเสริมการขายและการออกรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ
  • เครื่องปรับอากาศ และชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.57 จากตลาดในประเทศ จากสภาพอากาศร้อนจัด ทำให้มีความต้องการเพิ่มขึ้น ด้านตลาดส่งออกมีลูกค้าใหม่จากประเทศอินเดีย และมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากลูกค้าในทวีปยุโรปรวมถึงกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่มีความต้องการเพิ่มจากสภาพอากาศร้อนจัดเช่นกัน
  • ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.25 ดัชนีในกลุ่มมีการขยายตัวเกือบทุกผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่ใช้ในงานก่อสร้างและคอนกรีตผสมเสร็จ ทั้งจากความต้องการใช้ในโครงการภาครัฐ และความต้องการใช้ในงานก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ในภาคเอกชน
  • เบียร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.14 จากการพัฒนาสินค้าโดยปรับขนาดบรรจุและปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัยเพื่อจูงใจผู้บริโภคเพิ่มขึ้น
  • เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และน้ำดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.88 จากน้ำอัดลม เครื่องดื่มให้พลังงานและน้ำโซดา จากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย รวมถึงผู้ผลิตบางรายเปิดสำนักงานขายต่างประเทศในเวียดนามตั้งแต่ปลายปีก่อน ส่งผลให้ยอดขายในปีนี้เพิ่มขึ้น

ในปี 2562 คาดการณ์ว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม จะขยายตัวเป็นบวกอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 2.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนทั้งจากการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากการลงทุนในโครงการร่วมลงทุนภาครัฐและภาคเอกชน (public private partnership: PPP) และการลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของภาครัฐทั้งรถไฟทางคู่และรถไฟฟ้า รวมถึงการดำเนินงานภายใต้แผนงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) อย่างไรก็ตาม แรงส่งจากอุปสงค์ต่างประเทศหรือการส่งออก อาจจะชะลอลงตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและปริมาณการค้าโลกที่ชะลอตัวจากปัจจัยเฉพาะของบางประเทศ อาทิ ความยืดเยื้อของปัญหาทางการเมืองในยุโรปที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น รวมทั้งความไม่แน่นอนของนโยบายกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และ จีน

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ เดือนเมษายน 2562

การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย

+ การนำเข้าเครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนเมษายน 2562 มีมูลค่า 1,535.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขยายตัวจากการนำเข้าเครื่องสูบลมเครื่องสูบของเหลว เครื่องจักรในอุตสาหกรรมการพิมพ์ เครื่องจักรใช้ในการแปรรูปโลหะ และส่วนประกอบเครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและส่วนประกอบ เป็นต้น

  • การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนเมษายน 2562 มีมูลค่า 7,315.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสินค้าที่มีการนำเข้าหดตัว เช่น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามยังคงมีสินค้าบางรายการมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น ผ้าผืน ลวดและสายเคเบิล ด้ายและเส้นใย กระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม
  • จำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนเมษายน 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 247 โรงงาน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2562 ร้อยละ 8.5 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.6 (%YoY)
  • มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนเมษายน 2562 มีมูลค่ารวม 12,269 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมีนาคม 2562 ร้อยละ 56.5 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 17.5 (%YoY)

“อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนเมษายน 2562 คือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสมยิปซัม ปูนปลาสเตอร์ (20 โรงงาน) รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการซ่อมแซมยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ (18 โรงงาน)”

“อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนเมษายน 2562 คือ อุตสาหกรรมการทำอาหารผสมหรืออาหารสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงสัตว์ จำนวนเงินทุน 2,091 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมโรงฆ่าสัตว์ จำนวนเงินทุน 1,439 ล้านบาท”

  • จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนเมษายน 2562 มีจำนวนทั้งสิ้น 213 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2562 ร้อยละ 34.0 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 213.2 (%YoY)
  • เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนเมษายน 2562 มีมูลค่ารวม 17,397 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2562 ร้อยละ 949 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 683.6 (%YoY)

“อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่การเลิกกิจการมากที่สุด ในเดือนเมษายน 2562 คือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน (42 โรงงาน) รองลงมาคืออุตสาหกรรมการซ่อมแซมยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ (15 โรงงาน)

“อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนเมษายน 2562 คือ อุตสาหกรรมประกอบกิจการเกี่ยวกับถลุง ผสม โลหะในขั้นต้น ซึ่งมิใช่เหล็กหรือเหล็กกล้า มูลค่าเงินลงทุน 13,675 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน มูลค่าเงินลงทุน 409 ล้านบาท”

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนเมษายน 2562

1. อุตสาหกรรมอาหาร
  • การผลิต กลุ่มสินค้าอาหารเดือนเมษายน 2562 ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.6 (%YoY) แบ่งเป็น

1) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดส่งออก คือ กลุ่มน้ำ ตาล อาทิ น้ำตาลทรายดิบ ดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 40.6 (%YoY) เนื่องจากการเร่งปิด หีบ เร็วก ว่าปีก่อ น แ ล โรงงาน น้ำ ต ล ทยอยปิดหีบไปบางส่วนแล้ว ในส่วนของน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 19.2 (%YoY) เนื่องจากการนำเข้าชะลอตัวในประเทศพม่าและไต้หวัน สำหรับสับปะรดกระป๋อง ดัชนีปรับตัวลดลง ร้อยละ 29.3 (%YoY) เนื่องจากวัตถุดิบลดลง ร้อยละ 7.1จากภัยแล้ง และฐานที่ค่อนข้างสูงในปีก่อน ด้วยผลผลิตที่ล้นตลาด ทำให้ในปีนี้เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกลง ประกอบกับตลาดต่างประเทศยังคงหดตัวต่อเนื่อง สต็อกผู้นำเข้าหลักอย่างสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ดัชนีการผลิตทูน่ากระป๋อง ไก่แปรรูป และแป้งมันสำปะหลัง ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของตลาด

2) กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ คือ ดัชนีการผลิตอาหารสำเร็จรูปสำหรับปศุสัตว์ปรับตัวลดลง ร้อยละ 2.9 (%YoY)เนื่องจากการผลิตอาหารสุกร ไก่ และปลา ลดลง อย่างไรก็ตาม ดัชนีการผลิตไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง น้ำมันปาล์ม และผลิตภัณฑ์นม ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามความต้องการบริโภค

  • การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารในประเทศ เดือนเมษายน 2562 ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.2 (%YoY)เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่มองภาวะเศรษฐกิจยังไม่ดีเท่าที่ควร ด้วยราคาพืชผลทางการเกษตรไม่สูงนักทำให้กำลังซื้อในภูมิภาคยังไม่โดดเด่น และการเมืองที่ไม่ชัดเจน

+ ตลาดส่งออก ภาพรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหาร เดือนเมษายน 2562 เป็นบวกเดือนที่ 2 ร้อยละ 9.8 (%YoY) หลังจากปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 4 เดือน โดยสินค้าสำคัญ เช่น ซาร์ดีนกระป๋อง ไก่แปรรูปไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง สิ่งปรุงรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แป้งมันสำปะหลังและทูน่ากระป๋อง ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.4 15.1 10.0 9.7 7.8 5.3 และ 4.7 ตามลำดับ รวมทั้งผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งอย่าง ทุเรียน มังคุด และลำไย แม้เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และความไม่แน่นอนของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน แต่ความต้องการบริโภคมีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก้ตามสินค้าสำคัญ อาทิ ข้าวขาว ข้าวหอมมะลิ มันเส้น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง สับปะรดกระป๋อง น้ำตาลทราย และข้าวโพดหวานกระป๋อง ยังคงปรับตัวลดลง

คาดการณ์แนวโน้ม ดัชนีการผลิตในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารเดือนพฤษภาคม น่าจะหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนและช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยปัจจัยลบอย่างการปิดหีบอ้อยที่เร็วกว่าปีก่อน ประกอบกับ ผลผลิตทางการเกษตรปรับตัวลดลงจากภัยแล้งและความต้องการชะลอตัว อาทิ กุ้ง และสับปะรด สำหรับมูลค่าการส่งออกภาพรวมน่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องจากเดือนก่อน จากปัจจัยบวกอย่างสหภาพยุโรปจัดสรรปริมาณโควตาส่งออกเนื้อไก่และสัตว์ใหม่ให้ไทย (เพิ่มจากโควต้าปัจจุบันร้อยละ 3.2) และจีนน่าจะนำเข้าไก่เพิ่มจากไทยเพื่อทดแทนเนื้อหมู เนื่องจากเกิดภาวะโรคอหิวาต์ในหมูประกอบกับ EU ปลดล็อคใบเหลือง IUU Fishing หนุนภาพลักษณ์ประมงไทย น่าจะทำให้มูลค่าส่งออกสินค้าประมงกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ รวมทั้งได้รับอานิสงส์จากสงครามการค้าน่าจะช่วยให้สินค้าเกษตรส่งออกได้เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีปัจจัยลบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

+ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 102.3 สินค้าปรับตัวที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ พัดลมตามบ้านตู้เย็น กระติกน้ำร้อน หม้อแปลงไฟฟ้า และสายเคเบิ้ล เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2, 3.0, 11.9, 13.4, 16.0, 25.9 และ 31.7 ตามลำ ดับ โดยเครื่องปรับอากาศ กระติกน้ำร้อน หม้อแปลงไฟฟ้า พัดลมมีการจำหน่ายในประเทศและส่งออกเพิ่มขึ้น ส่วนตู้เย็นมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น และคอมเพรสเซอร์มีการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว มอเตอร์ไฟฟ้า และสายไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 15.0, 7.5, 1.2, 3.1 และ 13.4 ตามลำดับ โดยหม้อหุงข้าวและสายไฟฟ้ามีการผลิตลดลงเนื่องจากการจำหน่ายในประเทศลดลง ส่วนเครื่องซักผ้าและมอเตอร์ไฟฟ้ามีการผลิตที่ลดลงเนื่องจากจำหน่ายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกา และเตาไมโครเวฟมีคำสั่งซื้อจากตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาลดลง

+ การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าการส่งออก 1,901.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากตลาดหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน โดยสินค้าที่ป รับ ตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบมีมูลค่าส่งออก 508.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 โดยเพิ่มขึ้นในตลาดเวียดนามร้อยละ 17.7 สหรัฐอเมริการ้อยละ 60.4 ออสเตรเลียร้อยละ 9.6 ส่วนตู้เย็นมีมูลค่าส่งออก 124.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้ามีมูลค่าส่งออก 127.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ในขณะที่สินค้าเครื่องซักผ้ามีมูลค่า 82.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 15.8

“คาดการณ์การผลิตเดือนพฤษภาคม 2562 อุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนจากสินค้าเครื่องปรับอากาศมีคำสั่งซื้อจากอาเซียนและสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น”

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลง 7.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 84.5 สินค้าอิเล็กท รอนิกส์ที่ป รับ ตัวลดลง ได้แก่ Semiconductor devices transistor, HDD, PWB และ IC โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 25.1, 11.9, 0.2 และ 5.3 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อจากตลาดหลักปรับตัวลดลงส่วน PCBA ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เนื่องจากมีการผลิตเพื่อทดแทนสินค้าคงคลังที่ลดลง
  • การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 2,537.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนจากตลาดหลักปรับตัวลดลง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง จีน สหภาพยุโรปโดยสินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าส่งออก 969.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.9 HDD มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 15.9 เนื่องจาก supply โลกของ SSD ส่วนเกินทำให้ราคาลดลงและแย่งตลาด HDD มากขึ้น ส่วนแผงวงจรไฟฟ้า (IC) มีมูลค่าส่งออก 577.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.7 เนื่องจากมาตรการตอบโต้ทางการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตและการส่งออกของไทย

“คาดการณ์การผลิตเดือนพฤษภาคม 2562 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนจากการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ชะลอตัว โดย HDD ชะลอตัวลงเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี SSD ที่เข้ามาแทนที่ตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลประกอบกับราคาที่ลดลง”

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

+ การผลิตรถยนต์ ในเดือนเมษายน ปี 2562 มีจำนวน 150,242 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2562 ร้อยละ 24.43 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.47 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และอนุพันธ์ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

+ การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนเมษายน ปี 2562 มีจำนวน 86,076 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2562 ร้อยละ 16.56 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.67 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถยนต์กระบะ 1 ตัน เนื่องจากมีรถรุ่นใหม่ออกสู่ตลาดมากขึ้น

  • การส่งออกรถยนต์ ในเดือนเมษายน ปี 2562 มีจำนวน 67,114 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2562 ร้อยละ 42.98(%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.52(%YoY) โดยการส่งออกรถยนต์ลดลงในประเทศแถบเอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกากลางและอเมริกาใต้

“คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม ปี 2562 จะขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม ปี 2561 เนื่องจากตลาดในประเทศที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง”

อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

+ การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนเมษายน ปี 2562 มีจำนวน 135,386 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2562 ร้อยละ 26.19 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.91 (%YoY) จากการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต

  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนเมษายน ปี 2562 มียอดจำหน่ายจำนวน 120,405 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2562 ร้อยละ 28.24 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.98 (%YoY) จากการปรับลดลงของยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาดน้อยกว่า 50 ซีซี, 51-110 ซีซี และ 111-125 ซีซี

+ การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนเมษายน ปี 2562 มีจำนวน 25,091 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2562 ร้อยละ 42.57 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.67 (%YoY) โดยตลาดส่งออกมีการขยายตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน

“คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม ปี 2562 จะขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม ปี 2561”

4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา

การผลิต
  • ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 6.45 ตามปริมาณยางที่เข้าสู่ตลาดลดลง เนื่องจากเป็นฤดูปิดกรีด และมีคำสั่งซื้อจากจีนลดลง

+ ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.51 ตามการขยายตัวของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

  • ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 4.74 ตามการชะลอตัวของตลาดทั้งในประเทศ
การจำหน่ายในประเทศ

+ ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.03 ตามความต้องการใช้ในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเป็นการเพิ่มขึ้นเฉพาะในส่วนของการจำหน่ายน้ำยางข้น เนื่องจากฐานตัวเลขของปีก่อนค่อนข้างต่ำ

+ ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.17 ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์

  • ถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 30.58 เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ของไทยบางรายปรับแผนการตลาดไปส่งออกมากขึ้น
การส่งออก
  • ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) มีมูลค่าลดลงร้อยละ 32.05 เนื่องจากจีนซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยสั่งซื้อยางแท่งจากไทยลดลงจาก 213.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีก่อน เหลือเพียง 104.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนนี้ หรือคิดเป็นการนำเข้ายางแท่งจากไทยลดลงร้อยละ 51.25

+ ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.46 ตามการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งขยายตัวร้อยละ 31.97

+ ถุงมือยาง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.77 จากการขยายตัวของตลาดหลักของไทย โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา จีน และเยอรมนี

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2562

การผลิตและจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่งและน้ำยางข้น) คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามปริมาณการเข้าสู่ตลาดของยางที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นฤดูเปิดกรีด สำหรับการผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ในประเทศคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ในส่วนของการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะขยายตัวตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดต่างประเทศ ในขณะที่การจำหน่ายถุงมือยางในประเทศคาดว่าจะยังคงชะลอตัวจากการที่ผู้ผลิตรายใหญ่บางรายปรับแผนการตลาดไปเป็นส่งออกมากขึ้น

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าลดลงเนื่องจากจีนมีแนวโน้มชะลอการสั่งซื้อยางจากไทยลง และไทยจะเริ่มใช้มาตรการจำกัดปริมาณส่งออก Agreed Export Tonnage Scheme: AETS ครั้งที่ 6 ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 นี้ ไปเป็นระยะเวลา 4 เดือน ในขณะที่การส่งออกยางรถยนต์และถุงมือยางคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป

5. อุตสาหกรรมพลาสติก

การผลิตและการจำหน่าย

+ ดัชนีผลผลิต เดือนเมษายน 2562 ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยค่าดัชนีผลผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก กลุ่มถุงพลาสติกเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ร้อยละ 12.62

+ ดัชนีการส่งสินค้า เดือนเมษายน 2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยค่าดัชนีส่งสินค้าบรรจุภัณฑ์พลาสติก กลุ่มผลิตภัณฑ์กระสอบพลาสติกเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ร้อยละ 6.99

การตลาด

+ การส่งออก เดือนเมษายน ปี 2562 มีมูลค่า 333.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีผลทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นหลัก ๆ คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ (3923) กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่นแผ่นบาง ฟิล์ม แบบเซลลูลาร์ (3921) และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (3924) ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกโดยรวมเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้า เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และในกลุ่ม ASEAN กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์

+ การนำเข้า เดือนเมษายน ปี 2562 มีมูลค่า 398.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 3 อันดับ แรก ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (3917) และกลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม แบบเซลลูลาร์ (3921) และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (3924) เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.24 7.87 และ 28.18 ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนพฤษภาคม 2562 คาดการณ์ว่าการผลิตและการตลาดจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศคู่ค้าสำคัญมีการสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง เช่น จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามผลจากสงครามการค้าที่อาจส่งผลลบต่อตลาดรวมถึงราคาน้ำมันและค่าเงินบาท ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการผลิต

6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

+ ดัชนีผลผลิต ในเดือนเมษายนปี 2562 มีค่า 98.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ โซดาไฟ และเอสเทอร์

  • การจำหน่ายเดือนเมษายน ปี 2562 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มีค่าดัชนีการส่งสินค้า 90.90 ลดลงร้อยละ 3.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากกลุ่มเคมีภัณฑ์-ขั้นปลาย ซึ่งดัชนีการส่งสินค้าลดลง ร้อยละ 4.72 ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ปุ๋ย
  • การส่งออก เดือนเมษายนปี 2562 มีมูลค่ารวม 688 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการส่งออก 355 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่มีผลให้มูลค่าการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ ปุ๋ย และสารลดแรงตึงผิว ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่ารวม 333 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักที่มีผลให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสำอาง สี และสารลดแรงตึงผิวตลาดหลักในการส่งออก คือ ญี่ปุ่น จีน และประเทศในกลุ่มอาเซียน
  • การนำเข้า ในช่วงเดือนเมษายน 2562 มีมูลค่า รวม 1,363 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 825 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่มีผลให้มูลค่าการนำเข้าลดลงได้แก่ เคมีภัณฑ์อินทรีย์ และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ตามลำดับ โดยตลาดหลักที่นำเข้า ได้แก่ จีน อินเดีย และญี่ปุ่น ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่ารวม 538 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเคมีภัณฑ์ขั้นปลายลดลง ได้แก่ ปุ๋ย และสารลดแรงตึงผิวตามลำดับ โดยนำเข้าจากประเทศหลัก ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย รัสเซีย และจีน

คาดการณ์แนวโน้มในเดือนพฤษภาคม ปี 2562อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์คาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยที่ต้องติดตาม คือแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว จากความไม่แน่นอนของนโยบายกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ที่อาจส่งผลกระทบให้การส่งออกเคมีภัณฑ์ของไทยชะลอตัวลงตามภาวะตลาดส่งออกหลักที่สำคัญ เช่น จีน ญี่ปุ่น รวมทั้ง ความไม่แน่นอนทางการเมืองอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนภายในประเทศที่กำลังเริ่มต้น

7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

+ ดัชนีผลผลิต การผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเดือนเมษายนปี 2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีการผลิตเพิ่มขึ้นในกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อใช้เป็น วัสดุบรรจุภัณ ฑ์ ได้แก่ Expandable polystyrene (EPS), Polyvinylchloride (PVC), Polyethylene terephthalate(PET), และ Polystyrene (PS) คิดเป็นร้อยละ 19.97 9.36 8.31 และ 7.61 ตามลำดับ

+ การจำหน่าย ในเดือนเมษายน ปี 2562 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์สำ คัญที่มีการจำ หน่ายเพิ่มขึ้น ประกอบด้วยสารละลายและผลิตภัณฑ์เพื่อใช้เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ Benzene, PVC resin, Expandable polystyrene (EPS), และ PET resin คิดเป็นร้อยละ 16.52 29.18 12.45 และ 9.75 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

  • การส่งออก ในเดือนเมษายน ปี 2562 มีมูลค่า 1,059.54 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการ
ส่งออกลดลง ได้แก่ PP resin, PC resin, PET resin และ PS resin ลดลงร้อยละ 7.75 22.89 13.26 และ 23.72 ตามลำดับจากความต้องการที่ลดลงของตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม อินเดีย สหรัฐ และมาเลเซีย

+ การนำเข้า ในเดือนเมษายน ปี 2562 มีมูลค่า 498.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยส่วนมากนำ เข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มยางสังเคราะห์ ได้แก่ SR rubber และ BR rubber เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.38, 10.67 และกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการผลิตเส้นใยโพลีเมอร์ ได้แก่ Acetic Acid และ PET resin เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.24 และ 3.46 เป็นการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากประเทศอินเดียเป็นหลัก

คาดการณ์แนวโน้มในเดือนพฤษภาคม ปี 2562 คาดว่าจะยังคงดีขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากประเทศที่เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญขยายตัวได้ดี ได้แก่ สหรัฐฯ เวียดนาม กัมพูชา อินเดียและตลาด CLMV เป็นต้น โดยมีปัจจัยที่กระทบต่อความเชื่อมั่นและกดดันเศรษฐกิจ ซึ่งต้องติดตามเกี่ยวกับนโยบายปกป้องทางการค้าของสหรัฐฯ ร่วมถึงข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน

8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
  • ดัชนีผลผลิต ในเดือนเมษายนปี 2562 มีค่า 90.1 ลดลงร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561- เมษายน 2562 และเมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนและเหล็กทรงยาว พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับลดลงในผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน โดยการผลิตเหล็กทรงแบน ลดลงร้อยละ 16.3 จากการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลงร้อยละ 44.2 โดยลดลง 13 เดือน ติดต่อกันตั้งแต่เดือนเมษายน 2561-เมษายน 2562 เนื่องจากการบริโภคเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกในประเทศลดลง โดยลดลง ร้อยละ 26.8 ตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์ผลไม้กระป๋อง รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลงร้อยละ 31.0 โดยลดลง 6 เดือน
ติดต่อกันตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561-เมษายน 2562 เนื่องจาก (1) มีโรงงานผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนบางโรงงานหยุดการผลิตชั่วคราวจากสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทส่งผลให้ยอดการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนลดลง และ (2) ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่อเนื่องมีการนำเข้าสินค้าทดแทนเหล็กแผ่นรีดร้อนจากต่างประเทศ เช่น เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน โดยในเดือนเมษายน 2562 มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 ส่งผลให้การผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนในประเทศลดลง และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ลดลงร้อยละ 14.5 เนื่องจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่อเนื่องมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเดือนเมษายน 2562 มีปริมาณนำเข้า 17,351 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.9 ประเทศหลักที่นำเข้า คือ เกาหลีใต้ จีน และญี่ปุ่น แต่การผลิตเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.1 จากการผลิตเหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.25 รองลงมา คือ เหล็กเส้นข้ออ้อย และเหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.5 และ 27.2 ตามลำดับ จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างภาครัฐ

+ การจำหน่ายในประเทศ ในเดือนเมษายนปี 2562 มีปริมาณการจำหน่าย 1.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว มีปริมาณการจำหน่าย 0.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 จากการจำหน่ายเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน และเหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.0 และ 1.8ตามลำดับ แต่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน มีปริมาณการจำหน่าย 1.0 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 6.0 จากการจำหน่ายเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ลดลงร้อยละ 26.8 และ 17.3 ตามลำดับ

+ การนำเข้า ในเดือนเมษายน ปี 2562 มีปริมาณนำ เข้า 1.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวมีปริมาณนำเข้า 0.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 จากการนำเข้าเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ประเภท Carbon Steel เพิ่มขึ้นร้อยละ 446.3 (ประเทศหลักที่นำเข้า คือ ญี่ปุ่น)รองลงมา คือ เหล็กเส้น ประเภท Alloy Steel และท่อเหล็กไร้ตะเข็บ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.6 และ 29.4 ตามลำ ดับ แต่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนมีปริมาณนำเข้า 0.8 ล้านตันลดลงร้อยละ 2.8 จากการนำเข้าเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Alloy Steel ลดลงร้อยละ 25.7 (ประเทศหลักที่นำเข้าลดลง คือ ญี่ปุ่น) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Carbon Steel และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลงร้อยละ 22.3 และ 16.5 ตามลำดับ

“แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนพฤษภาคม 2562 คาดการณ์ว่า การผลิตทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่นอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องโลหะ อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมก่อสร้าง”

9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

การผลิต
  • ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอ ลดลง ร้อยละ 2.59 (%YoY)เป็นผลจากคำสั่งซื้อของประเทศคู่ค้าลดลง ประกอบกับมีการนำเข้าวัตถุดิบราคาถูกบางส่วนจากต่างประเทศมาใช้ทดแทน

+ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว ร้อยละ 6.67 และ 5.48 (%YoY) โดยเป็นการผลิตเพื่อรองรับการบริโภคภายในประเทศและผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ขยายตัว ได้แก่ เสื้อผ้าบุรุษและสตรี และชุดชั้นใน

การจำหน่ายในประเทศ

+ เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.45 13.96 และ 5.49 (%YoY) เนื่องจากรัฐบาลเชิญชวนประชาชนสวมใส่เสื้อเหลืองประดับตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 10 ในช่วงพระราชพิธีฯ 4 เดือน ระหว่างเดือนเมษายน-กรกฎาคม 2562

การส่งออก
  • เส้นใยสิ่งทอ มีมูลค่าลดลง ร้อยละ 5.29 โดยลดลงในกลุ่ม Yarn (ด้ายฝ้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์) ที่ส่งออกไปตลาดตุรกี ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะการค้าและ
เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวทำให้ประเทศผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดคำสั่งซื้อวัตถุดิบ อย่างไรก็ตาม การส่งออก Fiber(เส้นใยประดิษฐ์) ขยายตัวเล็กน้อย ร้อยละ 0.06 โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ตั้งแต่มกราคม 2561 และมีมูลค่าการส่งออกใกล้เคียงกับที่ไทยส่งออกไปจีน

+ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวเล็กน้อย ร้อยละ 0.22 และ 0.08 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไปยังตลาดในภูมิภาคเอเชีย อาทิ ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง

คาดการณ์แนวโน้มเดือนพฤษภาคม 2562

ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าการผลิตเส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน จะชะลอตัวตามแนวโน้มการส่งออกที่คาดว่าจะลดลง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา และจีน ส่งผลให้การค้าการลงทุนในตลาดดังกล่าวชะลอตัวมีผลต่อผู้ผลิตซึ่งจะทำให้มีความต้องการวัตถุดิบจากไทยลดลงอย่างไรก็ตาม ในส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องในกลุ่มที่สามารถยกระดับไปรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างประเทศ

10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์รวม

+ การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนเมษายน ปี 2562 มีจำนวน 6.87 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2562 ร้อยละ 12.14 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.08 (%YoY)

+ การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศในเดือนเมษายน ปี 2562 มีปริมาณการจำ หน่าย 2.62ล้านตัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2562 ร้อยละ 21.44(%MoM) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.46 (%YoY)

  • การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนเมษายน ปี 2562 มีจำนวน 1.00 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมีนาคมปี 2562 ร้อยละ 28.66 (%MoM) และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณลดลง ร้อยละ 4.48 (%YoY)เนื่องจากตลาดส่งออกหลักปรับลดคำสั่งซื้อจากบังคลาเทศเมียนมา และ สปป.ลาว ร้อยละ 38.82 13.92 และ 11.27 ตามลำดับ

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมเดือนพฤษภาคม ปี 2562 ยังสามารถขยายตัวได้เล็กน้อย

อุตสาหกรรมซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด)

+ การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนเมษายน ปี 2562 มีจำนวน 3.20 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2562 ร้อยละ 19.21 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.72 (%YoY)

+ การจำหน่ายซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ภายในประเทศ ในเดือนเมษายน ปี 2562 มียอดจำหน่ายจำนวน 2.62 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2562ร้อยละ 21.44 (%MoM) แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.46 (%YoY)

+ การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนเมษายน ปี 2562 มีจำนวน 0.47 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมีนาคม ปี 2562 ร้อยละ 9.44 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.93 (%YoY) ซึ่งเป็นผลจากกัมพูชา และฟิลิปปินส์ปรับเพิ่มคำสั่งซื้อ ร้อยละ 22.56 และ 13.90 ตามลำดับ

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาห กรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนพฤษภาคม ปี 2562 คาดว่าจะสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกเล็กน้อย

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ