สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 4/2562

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 9, 2020 16:03 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

บทสรุปผู้บริหาร
สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 4/2562

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4/2562 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)หดตัวร้อยละ 6.9 โดยปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในไตรมาสที่ 4/2562 อาทิ การผลิตรถยนต์ จากกำลังซื้อในประเทศที่ชะลอตัวลง ทำให้ปริมาณจำหน่ายในประเทศหดตัว รวมไปถึงคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ลดลงจากเศรษฐกิจโลกและการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้ปริมาณส่งออกลดลงเช่นเดียวกัน การกลั่นปิโตรเลียม การผลิตลดลง เนื่องจากการหยุดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นบางโรง การผลิตน้ำตาล ภาวะการผลิตลดลง เนื่องจากปีนี้เปิดหีบช้ากว่าปีก่อนรวมถึงชาวไร่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ส่งผลให้ปริมาณอ้อยเข้าหีบน้อยกว่าปีก่อน สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดีในไตรมาสที่ 4/2562 อาทิ เครื่องปรับอากาศ จากปริมาณการจำหน่ายในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากสินค้าเครื่องปรับอากาศประเภทอินเวอร์เตอร์ รวมถึงสภาพอากาศที่ร้อนต่อเนื่องทั่วประเทศแม้ว่าจะเข้าสู่ฤดูหนาว เช่นเดียวกับปริมาณการส่งออกที่ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากกลุ่มประเทศอาเซียนและอินเดียจากการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ Hard Disk Drive การผลิตเพิ่มขึ้นจากที่ผู้ผลิตรายใหญ่ปิดฐานการผลิตที่ประเทศมาเลเซียตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 ทำให้มีการย้ายฐานมาผลิตในประเทศไทยเพิ่มขึ้น รวมถึงการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้ Hard Disk Drive เพิ่มมากขึ้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 1/2563

เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่า ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่น่าติดตาม เช่น การลงทุนโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของภาครัฐ ซึ่งจะส่งผลให้การผลิต และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น

ไฟฟ้า คาดว่า จะมีการผลิตและมูลค่าการส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 และ 5.0 ตามลำดับ เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว รวมถึงผู้ประกอบการมีการปรับตัวในการหาตลาดใหม่ในการส่งออกเพิ่มมากขึ้น

อิเล็กทรอนิกส์ คาดว่า จะมีการผลิตและการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.7 และ 1.8 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากคาดว่าจะเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้นของอุตสาหกรรม รวมถึงสินค้าหลัก เช่น HDD ผู้ประกอบการผลิต HDD มีการย้ายฐานการผลิตจากประเทศมาเลเซียมายังประเทศไทยทำให้คำสั่งซื้อจากตลาดหลักปรับตัวเพิ่มขึ้น

รถยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 500,000 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50

รถจักรยานยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 490,000 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ แนวโน้มอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ คาดว่า จะขยายตัวได้ไม่มากนักอันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจโลก โดยตลาดส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และกลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์ แต่สำหรับกลุ่มเยื่อกระดาษ คาดว่า การส่งออกจะหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2562

เซรามิก การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้เพิ่มขึ้น จากการลงทุนของภาคอสังหาริมทรัพย์ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล ประกอบกับการผลิตเพื่อรองรับตลาดส่งออกที่ขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น และจีน โดยเฉพาะการส่งออกเครื่องสุขภัณฑ์ไปยังประเทศญี่ปุ่น ที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และการส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดีขึ้นในกลุ่มประเทศ CLMV สำหรับมูลค่าการนำเข้าคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวด้วยเช่นกัน จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกจากจีน

ปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิต และการจำหน่ายคาดว่าอาจจะทรงตัวหรือดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากได้ปัจจัยบวกจากความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐต่าง ๆ มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ที่รัฐทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง

สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตเส้นใยประดิษฐ์ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่า จะขยายตัวเล็กน้อยตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ในส่วนผ้าผืน คาดว่า จะลดลงตามทิศทางตลาดส่งออกและความต้องการของผู้บริโภคในประเทศที่ค่อนข้างชะลอตัว ด้านการส่งออก คาดว่า เส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป จะขยายตัวได้จากสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนมีท่าทีผ่อนคลายลง สำหรับการนำเข้าเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่า จะลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกำลังซื้อในประเทศที่ชะลอตัว

ไม้และเครื่องเรือน การผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในส่วนของการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากการปรับเพิ่มขึ้นของการส่งออกในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์

ยา การผลิตและจำหน่ายยาในประเทศ คาดว่าจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.42 และ 0.33 ตามลำดับ ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สำหรับตลาดส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ดีในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนาม สิงคโปร์ และกัมพูชา

ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางรถยนต์และถุงมือยาง คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.30 และ 1.20 ตามลำดับ ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม คาดว่าจะปรับลดลงร้อยละ 5.0 เนื่องจากจีนและญี่ปุ่นมีแนวโน้มความต้องการใช้ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

รองเท้าและเครื่องหนัง การผลิตรองเท้าและเครื่องหนัง คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอกจะมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากฐานของไตรมาส 1 ปี 2562 อยู่ในระดับสูง และการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์กลุ่มรองเท้า มีแนวโน้มการผลิตชะลอตัว เนื่องจากผู้ประกอบการที่มีแบรนด์ของตัวเองหันไปจ้างประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เมียนมา กัมพูชา และเวียดนาม ผลิตแทน เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าประเทศไทย อีกทั้งปัจจัยค่าเงินบาทที่แข็งค่าทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าแบรนด์เนมขยายตัว ส่งผลให้มีสัดส่วนการนำเข้าสินค้ากลุ่มดังกล่าวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม เช่น การผลิตเพื่อการส่งออกตามความต้องการของกลุ่มประเทศ CLMV ช่วงเทศกาลสำคัญ สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มกระเป๋าเดินทางมีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้น จากความต่อเนื่องของคำสั่งซื้อทั้งในและต่างประเทศ

อัญมณีและเครื่องประดับ คาดว่า การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมมีทิศทางทรงตัวหรือปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ซึ่งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกถึง ร้อยละ 80 อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม จากการที่ผู้ประกอบการเน้นการผลิตสินค้าใหม่ที่มีดีไซน์ตรงตามความต้องการของตลาดผู้บริโภคยุคใหม่เพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับกิจกรรมส่งเสริมการซื้อในช่วงเทศกาลสำคัญต้นปี

อาหาร ดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหาร จะทรงตัวหรือหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยปัจจัยลบอย่างภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และผลกระทบจากค่าเงินบาทส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของไทยลดลง ประกอบกับปริมาณวัตถุดิบสินค้าเกษตรลดลงจากปัญหาภัยแล้ง รวมทั้งผลกระทบจากโรคไวรัสโควิด-19 ระบาดในจีน อาจส่งผลให้กลุ่มอาหารสด ชะลอตัวเนื่องจากอายุการเก็บรักษาสั้น ไม่สามารถสต๊อกได้นาน อย่างไรก็ตามไทยน่าจะได้รับอานิสงค์จากภาวะโรคระบาดดังกล่าวส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่ม และอาหารกระป๋องต่าง ๆ อาจจะมีการเพิ่มคำสั่งซื้อหรืออาจเร่งการส่งมอบสินค้าให้เร็วขึ้นเพื่อสต๊อกสินค้า นอกจากนี้ อาจจะได้รับปัจจัยบวกจากภาวะโรคไข้หวัดนกที่กำลังระบาดในจีน และโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ที่ระบาดในหลายประเทศ ทำให้ความต้องการไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และไก่แปรรูป เพิ่มขึ้น

ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2562

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 1.6 โดยชะลอตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 และชะลอตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีการขยายตัวร้อยละ 2.6

ปัจจัยสำคัญของการเติบโตของ GDP ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2562 การผลิตภาคเกษตรหดตัวร้อยละ 1.6 การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 2.3 ภาคบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 การลงทุนรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 การส่งออกสินค้าและบริการหดตัวร้อยละ 3.6

GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ของปี 2562 หดตัวร้อยละ 2.3 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ผ่านมา มีการหดตัวร้อยละ 0.8 และชะลอตัวลงมากจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 โดยชะลอตัวลงตามการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกและเพื่อบริโภคในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำตาล เหล็ก เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 97.34 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (99.24) ร้อยละ 1.9 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 (104.52) ร้อยละ 6.9

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตยางนอกและยางใน การหล่อดอกยาง และการซ่อมสร้างยาง เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตน้ำตาล เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า

ในไตรมาสที่ 4ปี 2562 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 99.26 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (101.42) ร้อยละ 2.1 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 (105.37) ร้อยละ 5.8

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำตาล และการผลิตปุ๋ยเคมีและสารประกอบไนโตรเจน เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 132.89 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (133.22) ร้อยละ 0.25 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 (127.03) ร้อยละ 4.6

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และการผลิตน้ำมันปาล์ม เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตของที่ทำจากลวด โซ่ สปริง สลักเกลียว ตะปูควง และการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต

ในไตรมาสที่ 4 ปี2562 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 63.42 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 64.96) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 (ร้อยละ 69.28)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม

ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2562 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมมีค่า 91.73 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (92.80) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 (93.23) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 101.43 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2561 (106.67)

ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อการปรับตัวลดลงของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 4 ปี 2562 ยังเป็นผลต่อเนื่องมาจากการใช้จ่ายและการบริโภคภายในประเทศชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า และมีความกังวลเกี่ยวกับความล่าช้าของการลงมติเห็นชอบผ่านร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งส่งผลให้การใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐชะลอตัว ตลอดจนการแข็งค่าของเงินบาทที่ส่งผลต่อการลดลงของขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาส่งออก รวมทั้งความกังวลจากปัจจัยภายนอกด้านเศรษฐกิจ ความไม่แน่นอนของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ส่งผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอีกด้วย

การค้าต่างประเทศ
"มูลค่าการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ชะลอตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามมูลค่าการส่งออกและการนำเข้าที่ปรับตัวลดลง ขณะที่ภาพรวมดุลการค้าไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ยังคงเกินดุล 1,651.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ"

การค้าต่างประเทศของไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่ารวม 117,486.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยการส่งออกและนำเข้ามีมูลค่า 59,568.8 และ 57,917.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกและนำเข้า หดตัวร้อยละ 4.5 และ 6.8 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ดุลการค้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ยังคงเกินดุลมูลค่า 1,651.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โครงสร้างการส่งออก

การส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่า 59,568.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเมื่อพิจารณาแยกรายหมวดสินค้า พบว่ามีเพียงสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ที่ขยายตัว ซึ่งขยายตัวร้อยละ 9.8 มีมูลค่า 4,855.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่สินค้าประเภทอื่น ๆ ยังคงชะลอตัว อาทิ สินค้าเกษตรกรรมมีมูลค่า 5,044.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.6 สินค้าอุตสาหกรรมมีมูลค่า 47,438.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.4 สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่า 2,230.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 26.0

สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ที่ชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่า 6,260.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว ร้อยละ 10.7) อัญมณีและเครื่องประดับ (มูลค่า 2,651.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.7) เม็ดพลาสติก (มูลค่า 2,195.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 11.9) แผงวงจรไฟฟ้า (มูลค่า 1,994.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวลงร้อยละ 17.3) เคมีภัณฑ์ (มูลค่า 1,795.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวลงร้อยละ 25.5) ขณะที่สินค้าที่มีการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (มูลค่า 4,835.8 ขยายตัวร้อยละ 4.6) ผลิตภัณฑ์ยาง (มูลค่า 3,001.7 ขยายตัวร้อยละ 3.7) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (มูลค่า 1,182.9 ขยายตัวร้อยละ 8.7)

ตลาดส่งออก

ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 การส่งออกไปยังตลาดหลัก ได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออก ร้อยละ 26.8 13.0 13.1 10.2 และ 9.4 ตามลำดับ เมื่อรวมสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดหลัก คิดเป็นร้อยละ 72.4 และส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 27.6 ของการส่งออกทั้งหมด โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกไปยังตลาดหลักมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกาและจีน ที่ขยายตัวร้อยละ 5.4 และ 1.6 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปยังอาเซียน (9 ประเทศ) สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และญี่ปุ่น หดตัวลงร้อยละ 8.2 5.9 และ 5.1 ตามลำดับ

โครงสร้างการนำเข้า

การนำเข้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่า 57,917.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาแยกรายหมวดสินค้า พบว่า สินค้าเชื้อเพลิงมีมูลค่าการนำเข้า 8,034.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 27.6 สินค้าทุนมีมูลค่าการนำเข้า 15,778.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.0 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมีมูลค่า 22,320.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.5 สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่า 7,798.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.2 ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งมีมูลค่า 3,760.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.63 และสินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่า 226.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 76.9

แหล่งนำเข้า

ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2562 แหล่งนำเข้าที่สำคัญของไทย ได้แก่ จีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 23.6 19.0 14.1 9.2 และ 6.9 ตามลำดับ เมื่อรวมสัดส่วนการนำเข้าไปยังตลาดสำคัญ คิดเป็นร้อยละ 72.8 และนำเข้าจากตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 27.2 ของการนำเข้าทั้งหมด โดยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า แหล่งนำเข้าสำคัญของไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด โดยนำเข้าจากจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 26.6 รองลงมา ได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา มีมูลค่านำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 14.1 และ 6.9 ตามลำดับ

เศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 4 ปี 2562
"โดยภาพรวมเศรษฐกิจโลกปรับตัวลดลง เนื่องจากผลกระทบต่อเนื่องในประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และอัตราการว่างงานคงอยู่ในระดับต่ำ"

เศรษฐกิจโลกหดตัวลง สะท้อนได้จากภาคการผลิตและการค้าระหว่างประเทศในตลาดหลักที่ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ดี เริ่มมีสัญญาณเชิงบวกจากสงครามการค้าเพิ่มขึ้น ภายหลังจากที่สหรัฐฯ และจีนบรรลุข้อตกลงทางการค้าเฟสแรกร่วมกัน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และอัตราการว่างงานยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ

ธนาคารกลางสหรัฐฯ คงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในกรอบ 1.50-1.75% เพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทย ในไตรมาสที่ 4 อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงอยู่ที่ระดับ 1.25% ซึ่งคาดว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายจะช่วยหนุนสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจและครัวเรือนได้

ด้านราคาน้ำมันในตลาดโลกมีทิศทางปรับตัวลง ตามความกดดันของอุปทานน้ำมันโลกที่นำโดยสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับเพิ่มกำลังการผลิตขึ้น ขณะที่ผู้ผลิตกลุ่มโอเปคและประเทศพันธมิตรปรับลดกำลังการผลิตลง เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมัน โดยราคาน้ำมันดิบดูไบไตรมาส 4 ปี 2562 เฉลี่ยอยู่ที่ 62.1 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล หดตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2561เฉลี่ยอยู่ที่ 67.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล สำหรับราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบช่วงเดือนธันวาคม อยู่ที่ 59.8 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังคงต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง เช่น ความไม่แน่นอนของทิศทางการค้าและแนวโน้มการลงทุนโลก ปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลางอาจเป็นเหตุให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้ง ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเติบโตได้ไม่เต็มศักยภาพ

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 โดยลดลงทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวที่ลดลง เช่น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน และลวดเหล็ก ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนที่ลดลง เช่น เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม

ดัชนีการผลิต

การผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 88.4 ลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.2 (%YoY) (ลดลง 5 ไตรมาสติดต่อกันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) และลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 5.1 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเหล็กทรงยาวลดลงร้อยละ 6.2 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลง คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน ลดลงร้อยละ 23.9 (ลดลง 4 ไตรมาสติดต่อกัน) รองลงมา คือ ลวดเหล็ก และลวดเหล็กแรงดึงสูง ลดลงร้อยละ 14.9 และ 13.7 ตามลำดับ การผลิตเหล็กทรงแบน ลดลงร้อยละ 17.4 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลง คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลงร้อยละ 48.9 (ลดลง 7 ไตรมาสติดต่อกัน) เนื่องจากความต้องการบริโภคในประเทศลดลง ตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์ผลไม้กระป๋อง รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม และเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงร้อยละ 47.4 และ 24.1 ตามลำดับ

การจำหน่าย ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีปริมาณ 4.5 ล้านตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.4 (%YoY) (ลดลง 2 ไตรมาสติดต่อกันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน) และลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 3.2 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายลดลงในกลุ่มเหล็กทรงแบน โดย การจำหน่ายเหล็กทรงแบน ลดลงร้อยละ 4.1 ผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายลดลง คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลงร้อยละ 29.4 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 14.7 และ 12.0 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.3 ผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น คือ เหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3

การนำเข้าไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่า 2.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.7 (%YoY) (ลดลง 3 ไตรมาสติดต่อกันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) และลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 10.0 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน การนำเข้าเหล็กทรงยาว ลดลงร้อยละ18.7 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าลดลง คือ คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน ประเภท Stainless Steel (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน และญี่ปุ่น) รองลงมา คือ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ และเหล็กเส้น ประเภท Alloy Steel ลดลงร้อยละ 29.6 และ 29.1 การนำเข้าเหล็กทรงแบน ลดลงร้อยละ 14.5 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าลดลง คือ ท่อเหล็กมีตะเข็บ ลดลงร้อยละ 50.7 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ เวียดนาม และไต้หวัน) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ประเภท Stainless Steel และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลงร้อยละ 28.1 และ 27.9 ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 1 ของปี 2563

คาดการณ์ว่า ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่น่าติดตาม เช่น การลงทุนโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของภาครัฐ ซึ่งจะส่งผลให้การผลิต และการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ทยอยปรับตัวดีขึ้น รวมถึงความต้องการในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ สายไฟฟ้า ตู้เย็น พัดลม มอเตอร์ไฟฟ้า และสายเคเบิ้ล ในขณะที่สินค้าที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ กระติกน้ำร้อน เครื่องซักผ้า หม้อแปลงไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ คอมเพรสเซอร์ และหม้อหุงข้าว ส่วนการส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อาเซียน ญี่ปุ่น และจีน

การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่า 4,075.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 2.9 (%QoQ) ในขณะที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.3 (%YoY) โดยสินค้าหลักที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุปกรณ์สำหรับป้องกันวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 ในขณะที่แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้าลดลงร้อยละ 19.0

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 4 ปี 2562 ดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 88.2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 4.3 (%QoQ) และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 (%YoY) เนื่องจากตลาดภายในประเทศและต่างประเทศมีคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ สายไฟฟ้า ตู้เย็น พัดลม มอเตอร์ไฟฟ้า และสายเคเบิ้ล เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4, 11.4, 4.9, 2.4, 1.3 และ 1.1 ตามลำดับ ในขณะที่กระติกน้ำร้อน เครื่องซักผ้า หม้อแปลงไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ คอมเพรสเซอร์ และหม้อหุงข้าว ปรับตัวลดลงร้อยละ 33.6, 20.6, 13.8, 13.5, 8.9 และ 1.1 ตามลำดับ

การจำหน่ายในประเทศ ไตรมาส 4 ปี 2562 สินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เตาไมโครเวฟ สายเคเบิ้ล มอเตอร์ไฟฟ้า หม้อหุงข้าว ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และสายไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.7, 27.8, 18.1,17.7,15.1, 5.8 และ 1.3 ตามลำดับ ในขณะที่กระติกน้ำร้อน พัดลม เครื่องซักผ้า และคอมเพรสเซอร์ ลดลงร้อยละ 31.9, 22.5, 16.3 และ 16.1 ตามลำดับ

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 4 ปี 2562 มีมูลค่าการส่งออก 5,860.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 1.9 (%QoQ) ในขณะที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.9 (%YoY) จากการส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกา อาเซียน ญี่ปุ่น และจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3, 4.7, 2.0 และ 1.0 ตามลำดับ โดยสินค้ากระติกน้ำร้อน ตู้เย็น แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.5, 13.9, 8.9, 8.6 และ 8.2 ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าเตาอบไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า พัดลม และเครื่องอุปกรณ์สำหรับป้องกันวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.3, 11.4, 9.0, 5.1 และ 1.8

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2563

คาดว่า จะมีการผลิตและมูลค่าการส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.4 และ 5.0 ตามลำดับ เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว รวมถึงผู้ประกอบการมีการปรับตัวในการหาตลาดใหม่ในการส่งออกเพิ่มมากขึ้น

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิต HDD จากประเทศมาเลเซียมาที่ไทย

การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่าการนำเข้า 9,448.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 7.3 (%QoQ) และปรับตัวลดลงร้อยละ 3.9 (%YoY) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ลดลงร้อยละ 17.5 วงจรรวม (IC) ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.6 ในขณะที่เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 97.1 ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 1.3 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ HDD เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เนื่องจาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิต HDD จากประเทศมาเลเซียมาที่ไทย ในขณะที่การผลิต PWB, Semiconductor devices transistors, PCBA และ IC ลดลงร้อยละ 19.1, 8.2, 3.6, 1.7 และ 0.3 ตามลำดับ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกลดลง รวมถึงสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตและการส่งออกของไทย

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่าการส่งออก 9,367.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 2.3 (%QoQ) และร้อยละ 1.3 (%YoY) จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3, และ 2.0 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 โดย HDD ยังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและนอกประเทศ ทำให้ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกเพิ่มขึ้น ส่วน IC ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.6 และเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ปรับตัวลดลงร้อยละ 38.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2563

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 คาดว่า จะมีการผลิตและการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.7 และ 1.8 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกลดความรุนแรงและคาดว่าจะเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้นของอุตสาหกรรม รวมถึงสินค้าหลัก เช่น HDD ผู้ประกอบการผลิต HDD มีการย้ายฐานการผลิตจากประเทศมาเลเซียมายังประเทศไทยทำให้คำสั่งซื้อจากตลาดหลักปรับตัวเพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์

ปริมาณการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 4ปี 2562มีปริมาณการผลิตลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกที่หดตัวลง และการจำหน่ายในประเทศที่เริ่มชะลอตัว จากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ประกอบกับการแข็งตัวของค่าเงินบาท

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2563

ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 500,000คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50

การผลิตรถยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีจำนวน 441,083 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 12.95 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 21.74 (%YoY) โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง ร้อยละ 39 รถกระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ ร้อยละ 59 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 2

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีจำนวน 245,705 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 3.20 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.74 (%YoY) แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ร้อยละ 38 รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 44 รถ PPV และ SUV ร้อยละ 8 และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 10

การส่งออกรถยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีจำนวน 233,002 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 10.81 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 17.33 (%YoY) โดยแบ่งเป็นการส่งออกรถยนต์นั่ง ร้อยละ 35 รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 55 และรถ PPV ร้อยละ 10

มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่า 2,352.81 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 3.72 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.79 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่า 2,709.06 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 11.26 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.26 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์

ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562มีปริมาณการผลิตขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งตลาดส่งออกมีการขยายตัว อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายในประเทศชะลอตัว

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2563

ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 490,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

การผลิตรถจักรยานยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีจำนวน 491,956 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 2.25 (%QoQ) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 2.74 (%YoY)

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศ

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีจำนวน 391,507 คัน ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 9.63 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 7.27 (%YoY)

การส่งออกรถจักรยานยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีจำนวน 275,380 คัน (เป็นการส่งออก CBU 94,614 คัน และ CKD 180,766 ชุด) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 22.60 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.08 (%YoY)

มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบ

รถจักรยานยนต์

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่า 244.93 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 22.49 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 17.15 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ กัมพูชา ญี่ปุ่น และบราซิลมูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์

รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่า 195.63 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 24.25 (%QoQ) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 26.86 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ดัชนีผลผลิตและดัชนีการส่งสินค้าขยายตัว มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าหดตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การส่งออกและการนำเข้าหดตัว เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยชะลอตัว ทำให้ความต้องการทั้งตลาดต่างประเทศและตลาดในประเทศชะลอตัว รวมทั้งค่าเงินบาทที่แข็งค่าส่งผลให้การส่งออกหดตัว

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 หดตัวร้อยละ 7.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัวร้อยละ 2.47 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดัชนีผลผลิตที่ขยายตัว เช่น ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน และเอทานอล

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 หดตัวร้อยละ 14.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัว ร้อยละ 0.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดัชนีการส่งสินค้าที่ขยายตัว เช่น ผงซักฟอก และน้ำยา ล้างจาน

การส่งออกเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่า 2,045 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 3.75 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ปุ๋ย และเคมีภัณฑ์อนินทรีย์

การนำเข้าเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่ารวม 3,958 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 9.59 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 7.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ส่งผลให้มีการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น เคมีภัณฑ์อินทรีย์ และเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ หดตัว

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2563

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 คาดว่าดัชนีการผลิต และการส่งออกเคมีภัณฑ์จะขยายตัว สำหรับการนำเข้าเคมีภัณฑ์ยังคงหดตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลต่อการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เช่น การแข็งค่าของเงินบาท และการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน

อุตสาหกรรมพลาสติก

อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ดัชนีผลผลิต ดัชนีการส่งสินค้า และปริมาณการส่งออกหดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการผลิตและดัชนีการส่งสินค้า หดตัวตามอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมอาหาร ปริมาณการส่งออกหดตัวตามความต้องการของตลาดประเทศคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม สำหรับปริมาณการนำเข้าขยายตัว

การผลิต และการตลาด

ดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 4 ปี 2562 หดตัวร้อยละ 3.38 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัว ร้อยละ 5.33 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน(%YoY) ซึ่งดัชนีผลผลิตที่หดตัวมากที่สุด ได้แก่ แผ่นฟิล์มพลาสติก

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 หดตัวร้อยละ 1.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และ หดตัวร้อยละ 7.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อน (%YoY) ซึ่งดัชนีการส่งสินค้าที่หดตัวมากที่สุด ได้แก่ เครื่องใช้ประจำโต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ

ปริมาณการส่งออก ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีปริมาณ 294,612 ตัน หดตัวตัวร้อยละ 4.63 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 0.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกหดตัวสูงสุด ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916)

ปริมาณการนำเข้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีปริมาณ 229,467 ตัน ขยายตัวร้อยละ 2.25 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และขยายตัวร้อยละ 4.94 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าขยายตัวสูงสุด ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916)

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ไตรมาสที่ 1 ของปี 2563

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 คาดว่าดัชนีผลผลิต ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณการส่งออกจะยังคงหดตัว เนื่องจาก กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อการผลิตพลาสติกประเภท single use บางประเภทหดตัว รวมทั้งความต้องการผลิตภัณฑ์พลาสติกในต่างประเทศยังคงหดตัว อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมพลาสติก จากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีความผันผวนอาจส่งผลต่อการนำเข้าเม็ดพลาสติกที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ส่งผลต่อการผลิตและการส่งออกมีความไม่แน่นอน จากภาวะดังกล่าวจะส่งผลให้การนำเข้ายังคงขยายตัว

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย ตามการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก และผลกระทบต่อเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยมีมูลค่าการส่งออกและการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแถวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย ประกอบกับค่าเงินบาทไทยที่แข็งค่าขึ้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาส 1 ปี 2563

ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 1 ปี 2563 คาดว่าดัชนีผลผลิตจะขยายตัวประมาณ ร้อยละ 2 - 4 เมื่อเทียบไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ สำหรับการส่งออกและการนำเข้าอาจจะยังคงลดลงจากความผันผวนของน้ำมันดิบในตลาดโลก ทั้งนี้อาจจะมีปัจจัยอื่นภายในประเทศจากกระแสรักษ์โลก หรือมาตรการลดและเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว และปัจจัยภายนอกประเทศจากสงครามในตะวันออกกลางระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน และโรคระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่าในจีนที่อาจแพร่ไปยังประเทศอื่น ๆ เพิ่มขึ้น

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 อยู่ที่ระดับ 108.73 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.14 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตลดลงในไตรมาสนี้ของกลุ่มขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Benzene (-9.56%), Propylene (-6.33%) และ Ethylene (-1.92%) ส่วนกลุ่มขั้นปลาย ได้แก่ SAN resin (-6.47%), ABS resin (-4.44%), EPS resin (-3.17%) และ PP resin (-1.75%)

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 อยู่ที่ระดับ 109.32 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.49 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนี ส่งสินค้าเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ของกลุ่มขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene (0.36%) ส่วนกลุ่มขั้นปลาย ได้แก่ SAN resin (21.47%), ABS resin (15.43%), PS resin (14.40%) และ PET resin (13.83%)

การส่งออกปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่า 2,759.45 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 21.40 โดยมีการส่งออกปิโตรเคมีไปยังประเทศที่สำคัญ ได้แก่ จีน (38.94%), อินโดนีเซีย (10.25%), เวียดนาม (8.45%), อินเดีย (7.39%) และญี่ปุ่น (7.31%) เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การส่งออกลดลงของกลุ่มขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Terephthalic Acid (-42.97%), P-Xylene (-60.36%), Benzene (-31.56%), Toluene (15.18%) และ Acrylonitrile (-16.45%) และกลุ่มขั้นปลาย ได้แก่ PE resin (-15.36%), PP resin (-1.71%), PC resin (-11.39%), PEG resin (-0.70%) และ PVC resin (-8.23%) เป็นต้น การนำเข้าปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่า 1,215.12 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 23.88 โดยมีการนำเข้าปิโตรเคมีจากประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น (16.43%) เกาหลีใต้ (13.90%) จีน (13.01%) สหรัฐอเมริกา (11.24%) และสิงคโปร์ (10.72%) เป็นต้น ซึ่งกลุ่มขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Vinyl Chloride (-32.20%), Styrene (-27.68%), P-Xylene (-82.23%) และ Ethylene Glycol (-68.08%) และกลุ่มขั้นพื้นปลายที่มีการนำเข้าลดลง ได้แก่ PE resin (-8.15%), PP resin (-23.46%), Nylon resin (-26.87%), PMMA resin (-8.04%) และ SR Rubber (-20.68%) เป็นต้น

สาเหตุสำคัญที่ทำให้การผลิต มูลค่าการส่งออก และ การนำเข้าลดลง เกิดจากความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงภาวะของเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักที่มีแนวโน้ม ค่อนข้างชะลอตัวลง

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ดัชนีผลผลิตฯ ลดลง (%QoQ) ในทุกสินค้า ทั้งเยื่อกระดาษ และกระดาษ แต่ดัชนีผลผลิตฯ เพิ่มขึ้น (%YoY) ในสินค้าเดียวกัน ยกเว้นกล่องบรรจุภัณฑ์กระดาษที่ขยายตัวต่อเนื่องทั้ง (%QoQ) และ (%YoY) ในขณะที่การส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้น (%QoQ) ในกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และบรรจุภัณฑ์กระดาษ แต่ลดลง (%YoY) ในสินค้าเดียวกัน สำหรับหนังสือและสิ่งพิมพ์ มีการส่งออกลดลงทั้ง (%QoQ) และ (%YoY)

การผลิต ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) ดัชนีผลผลิตลดลงในทุกสินค้า ได้แก่ เยื่อกระดาษ กระดาษแข็ง กระดาษคราฟต์ กระดาษลูกฟูก และกระดาษพิมพ์เขียน ร้อยละ 15.69 1.86 3.08 9.54 และ 3.14 ตามลำดับ แต่เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) ดัชนีฯ เพิ่มขึ้นในสินค้าชนิดเดียวกันและทุกสินค้า ร้อยละ 19.32 26.46 35.37 27.15 และ 23.72 ตามลำดับ ส่งผลให้มีการผลิตกล่องกระดาษเพื่อการบรรจุและสนองความต้องการของตลาดตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง รวมถึงความต้องการกล่องกระดาษเพื่อการบรรจุสำหรับหีบห่อ โดยเฉพาะการค้าในระบบออนไลน์ที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง

การส่งออกเยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษหนังสือและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่ารวม 507.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.45 (%QoQ) จากกลุ่มเยื่อกระดาษที่เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 22.94 มีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีน เวียดนาม เกาหลีใต้ เป็นต้น สำหรับกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.26 จากกระดาษคราฟต์ กระดาษชำระและกระดาษเช็ดหน้า มีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ เวียดนาม จีน และอินโดนีเซีย แต่ในขณะที่หนังสือและสิ่งพิมพ์ ส่งออกลดลงร้อยละ 18.68 แต่เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) ลดลงทุกกลุ่มสินค้าข้างต้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์ ยังส่งออกได้เพิ่มขึ้นในตลาดฮ่องกง

การนำเข้าเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่ารวม 610.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.88 (%QoQ) ในกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ ลดลงร้อยละ 8.32 8.99 และ 1.99 ตามลำดับ และนำเข้าลดลงร้อยละ 9.13 (%YoY) ในกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษโดยเฉพาะชนิดที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ แต่สำหรับหนังสือและสิ่งพิมพ์นำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.08 (%QoQ) และร้อยละ 8.30 (%YoY) ส่วนใหญ่นำเข้าหลักจากสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น

แนวโน้มในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 แนวโน้มอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ คาดว่า จะขยายตัวได้ไม่มากนักอันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจโลก โดยตลาดส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และกลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์ แต่สำหรับกลุ่มเยื่อกระดาษ คาดว่า การส่งออกจะหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2562 (%YoY) แม้ว่าการผลิตเยื่อกระดาษที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 1 ซึ่งอาจจะยังไม่เพียงพอต่อการใช้ในประเทศ

อุตสาหกรรมเซรามิก

ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเซรามิกในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณการจำหน่ายและมูลค่าการส่งออกลดลง ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์ มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายลดลง จากสถานการณ์ตลาดในประเทศชะลอตัว

การผลิต ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 30.54 ล้านตารางเมตร ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 8.39 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.11 (%YoY) ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 1.71 ล้านชิ้น ลดลงจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 13.86 และไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 10.38 เนื่องจากการจำหน่ายในประเทศและการส่งออกไปยังตลาดหลักชะลอตัว

การจำหน่าย ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 กระเบื้องบุพื้น บุผนัง มีปริมาณการจำหน่าย 37.52 ล้านตารางเมตร ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 5.88 (%QoQ) และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.46 (%YoY) ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์มีจำนวน 0.89 ล้านชิ้น ลดลงจาก ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 10.70 และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.50 เป็นผลจากสถานการณ์ตลาดในประเทศชะลอตัวและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นตัว

การส่งออก ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีมูลค่า 22.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 7.11 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.76 ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว จากผลกระทบ ที่ยืดเยื้อของสงครามการค้า และการแข็งค่าของเงินบาท ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์มีมูลค่า 57.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 10.23 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.11

แนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิก ไตรมาส 1 ของปี 2563

การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาส 1 ของปี 2563 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้เพิ่มขึ้น จากการลงทุนของภาคอสังหาริมทรัพย์ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล ประกอบกับการผลิตเพื่อรองรับ ตลาดส่งออกที่ขยายตัวได้ดีในตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น และจีน โดยเฉพาะการส่งออกเครื่องสุขภัณฑ์ไปยังประเทศญี่ปุ่น ที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และการส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดีขึ้นในกลุ่มประเทศ CLMV สำหรับมูลค่าการนำเข้าคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวด้วยเช่นกัน จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกจากจีน

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน มีการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยโดยได้ปัจจัยบวกจากความคืบหน้าของการก่อสร้างสาธารณูปโภคภาครัฐ การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อของประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ในช่วงพัฒนาประเทศ

การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีจำนวน 9.90 ล้านตัน ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 2.54 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 4.96 (%YoY) เพื่อรองรับการดำเนินโครงการ ขนาดใหญ่ของภาครัฐและคำสั่งซื้อจากตลาดในกลุ่มของ CLMV ที่อยู่ในช่วงพัฒนาประเทศ

การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีจำนวน 8.41 ล้านตัน ลดลงจาก ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 1.62 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.33 (%YoY)

การส่งออก - นำเข้าปูนซีเมนต์ ( ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่าจากการส่งออก 85.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.91 (%QoQ) เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2562 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.88 (%YoY) จากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นจากประเทศกัมพูชา ร้อยละ67.27 และเมียนมา ร้อยละ 49.56 ส่วนการนำเข้า ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีมูลค่า 18.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 15.40 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.31 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจาก สปป.ลาว ร้อยละ 10.73

แนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2563

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิต และการจำหน่าย คาดว่าอาจจะทรงตัวหรือดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากได้ปัจจัยบวกจากความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐต่างๆ มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ที่รัฐทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันการขยายตัวของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ก็อาจถูกกระทบจากปัจจัยลบที่มีผลต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เช่น ภาวะการว่างงาน หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง การแพร่ระบาดของโรคติดต่อของ "ไวรัสโคโรนา" จากเมืองอู่ฮั่นของจีนที่จะส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศไทยไปด้วย

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 การผลิตและส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ และผ้าผืน ชะลอตัวตามทิศทางภาวะเศรษฐกิจโลกในภาพรวม อย่างไรก็ตามการส่งออกเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายไปยังตลาดยุโรป และญี่ปุ่น ขยายตัวจากการผลิตในรูปแบบการรับจ้างออกแบบและผลิต

การผลิตและจำหน่ายในประเทศ

เส้นใยประดิษฐ์ผ้าผืน และเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย มีดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 3.21 9.61 และ 11.87 (YoY) ) เป็นผล มาจากแนวโน้มคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าที่ลดลง รวมถึง ความต้องการบริโภคในประเทศที่ลดลง จึงทำให้ผู้ประกอบการลดการผลิตวัตถุดิบต้นน้ำที่จะเป็นสต๊อกสินค้าลง ส่วนดัชนีการจำหน่ายในประเทศ ลดลง ร้อยละ 2.08 7.41 และ 9.72 เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบ เพื่อผลิตเสื้อผ้ารองรับตลาดในประเทศลดลง

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,703.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.11 (YoY) ซึ่งหากพิจารณากลุ่มสินค้า พบว่า

กลุ่มสิ่งทอ พบว่า มีมูลค่า 1,060.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 4.78 โดยตลาดส่งออกเส้นใยสิ่งทอ สำคัญที่หดตัว ได้แก่ จีน และเวียดนาม ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ส่งผลให้คำสั่งซื้อวัตถุดิบของไทยไปยังจีนเพื่อนำไปผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งออกไปยังตลาดโลกชะลอตัว

กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 642.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว ร้อยละ 8.70 ในกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปบุรุษและสตรี รวมถึงชุดชั้นใน ที่ไทยได้รับพิจารณาจากแบรนด์ต่างประเทศให้เป็นแหล่งผลิตในรูปแบบการรับจ้างออกแบบและผลิต โดยตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน

การนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,266.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 8.95 (YoY) ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการผลิตเสื้อผ้าเพื่อการบริโภคในประเทศ และการส่งออกบางส่วนลดลง ส่งผลให้การนำเข้าวัตถุดิบบางส่วนจากต่างประเทศลดลง

คาดการณ์แนวโน้มไตรมาสที่ 1 ปี 2563

การผลิตเส้นใยประดิษฐ์ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่า จะขยายตัวเล็กน้อยตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ในส่วนผ้าผืน คาดว่า จะลดลงตามทิศทางตลาดส่งออกและความต้องการของผู้บริโภคในประเทศที่ค่อนข้างชะลอตัว

การส่งออก คาดว่า เส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป จะขยายตัวได้จากสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนมีท่าทีผ่อนคลายลง สำหรับการนำเข้าเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่า จะลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกำลังซื้อในประเทศที่ชะลอตัว

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมศักยภาพเป้าหมาย (S-curve) ซึ่งผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มควรใช้โอกาสนี้เร่งพัฒนาในส่วนอุตสาหกรรมต้นน้ำ และกลางน้ำ โดยวิจัยพัฒนาเส้นใยสมบัติพิเศษให้มีคุณภาพ และมีความหลากหลายสูง เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางและโอกาสทางการตลาดสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่องสาขาอื่น ๆ ได้แก่ Meditech, Protech และ Mobitech เป็นต้น

อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามปริมาณคำสั่งซื้อในประเทศที่ลดลง ในขณะที่การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วน และไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้

การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ไตรมาส 4ปี 2562 มีจำนวน 2.55 ล้านชิ้น ลดลงร้อยละ 7.61 และ 7.27 จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ จากการชะลอตัวของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ไตรมาส 4 ปี 2562 มีจำนวน 0.39 ล้านชิ้น ปรับลดลงร้อยละ 4.88 และ 2.50 จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ เป็นผลจากปริมาณคำสั่งซื้อของร้านค้าปลีกที่ลดลง โดยเป็นการปรับลดลงครั้งแรกหลังจากที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 4 ไตรมาส ที่ผ่านมา

การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ไตรมาส 4 ปี 2562 มีมูลค่ารวม 817.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.70 จากไตรมาสที่ผ่านมา แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.63 แบ่งเป็น มูลค่าการส่งออกเครื่องเรือนและชิ้นส่วน 248.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.39 และ 3.80 จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ 34.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 8.09 และ 11.90 จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ และมูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ 534.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.19 จากไตรมาสที่ผ่านมา แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.18 ในภาพรวมการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้เริ่มมีการขยายตัว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วน

แนวโน้มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ไตรมาสที่ 1 ของปี 2563

การผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในส่วนของการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากการปรับเพิ่มขึ้นของการส่งออกในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์

อุตสาหกรรมยา

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศ ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามการชะลอตัวของตลาดยาทั้งในและต่างประเทศ สำหรับการส่งออกชะลอตัวลงในตลาดเวียดนาม อินโดนีเซีย เมียนมา กัมพูชา และจีน ตามลำดับ ตามคำสั่งซื้อที่ปรับลดลง

การผลิตยา ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีจำนวน 17,028.15 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.46 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตยาเม็ดร้อยละ 2.74 ยาน้ำร้อยละ 17.25 และยาผงร้อยละ 10.25

การจำหน่ายยา ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีจำนวน 15,240.15 ตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.68 โดยเป็นการชะลอตัวของการจำหน่ายยาน้ำ ยาแคปซูล และยาผง โดยมีปริมาณการจำหน่ายลดลงร้อยละ 6.09 30.80 และ 13.02 ตามลำดับ ตามคำสั่งซื้อที่ปรับลดลง

การส่งออกยาไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่า 103.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.80 ในภาพรวมการส่งออกยาชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของตลาดเวียดนาม อินโดนีเซีย เมียนมา กัมพูชา และจีน ตามลำดับ

การนำเข้ายาไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่า 434.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.27 โดยเป็นการนำเข้ายาจากเปอร์โตริโก อิตาลี อินเดีย ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของเปอร์โตริโกที่มีมูลค่าการส่งออกยามาไทยในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 48.26 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมยา ไตรมาสที่ 1 ของปี 2563

สำหรับการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 คาดว่าจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.42 และ 0.33 ตามลำดับ ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สำหรับตลาดส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ดีในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนาม สิงคโปร์ และกัมพูชา

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยา

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในฐานะหน่วยตรวจสอบ (National OECD GLP Compliance Monitoring Authority: CMA) ของไทย ได้รับการยอมรับทั้งในส่วนของคณะผู้ตรวจประเมินและการยอมรับร่วมของข้อมูลจากคณะผู้ตรวจประเมินในประเทศสมาชิกภาคีเครือข่าย OECD GLP แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีลงนามเพื่อให้มีผลอย่างเป็นทางการ โดยเมื่อมีการยอมรับร่วมของข้อมูลแล้ว ผลิตภัณฑ์ยาของไทยจะไม่ต้องทำการทดสอบซ้ำที่ประเทศปลายทางอีก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการในประเทศสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการทดสอบและส่งออกผลิตภัณฑ์ยาได้สะดวกมากขึ้น

อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยางในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ลดลงตามปริมาณการเข้าสู่ตลาดที่ลดลงของยางธรรมชาติ การชะลอตัวของการส่งออก การชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ และภาระต้นทุนที่สูงขึ้นจากการแข็งตัวของค่าเงินบาท

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีจำนวน 0.52 ล้านตัน 15.44 ล้านเส้น และ 5,579.88 ล้านชิ้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมมีปริมาณลดลงร้อยละ5.23 ตามปริมาณการเข้าสู่ตลาดของยางธรรมชาติที่ลดลง เนื่องจากปัญหาโรคระบาดทำให้มีการกรีดยางลดลง การผลิตยางรถยนต์ลดลงร้อยละ 14.27 ตามการชะลอตัวของตลาด Replacement และการผลิตรถยนต์ในประเทศ และการผลิต ถุงมือยางลดลงร้อยละ 18.87 เนื่องจากภาระต้นทุนที่สูงขึ้นทำให้ผู้ประกอบการไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้

การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีจำนวน 0.12 ล้านตัน 10.32 ล้านเส้น และ 754.83 ล้านชิ้น ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นต้นมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.76 ในขณะที่การจำหน่ายยางรถยนต์และถุงมือยางในประเทศมีปริมาณลดลงร้อยละ 10.37 และ 5.30 ตามลำดับ

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยางไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่า 922.68 1,456.92 และ 309.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน การส่งออกยางรถยนต์และถุงมือยางเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.54 และ 0.40 ตามลำดับ ตามการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา ในขณะที่การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมลดลง ร้อยละ 15.19 จากการชะลอตัวของตลาดจีนและญี่ปุ่น

แนวโน้มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 1 ของปี 2563

การผลิตยางรถยนต์และถุงมือยางในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.30 และ 1.20 ตามลำดับ ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกา สำหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม คาดว่าจะปรับลดลงร้อยละ 5.0 เนื่องจากจีนและญี่ปุ่นมีแนวโน้มความต้องการใช้ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง

ไตรมาส 4 ปี 2562 การฟอกและตกแต่งหนังฟอกมีการผลิตลดลง ร้อยละ9.14เนื่องจากความต้องการใช้หนังในการผลิตเบาะรถยนต์ลดลงตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์กลุ่มรองเท้า ชะลอตัว ร้อยละ 4.73 เนื่องจากคำสั่งซื้อในประเทศลดลง สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มกระเป๋าเดินทาง* มีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.76 จากความต่อเนื่องของคำสั่งซื้อสะสมทั้งในและต่างประเทศ

การผลิต

การฟอกและตกแต่งหนังฟอก มีดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ 9.14 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้หนัง ในการผลิตเบาะรถยนต์ลดลงตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์กลุ่มรองเท้า ชะลอตัว ร้อยละ 4.73 เนื่องจากคำสั่งซื้อในประเทศลดลง

ผลิตภัณฑ์กลุ่มกระเป๋าเดินทาง* มีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.76 จากความต่อเนื่องของคำสั่งซื้อสะสมทั้งในและต่างประเทศ

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออกมีมูลค่ารวม 477.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.82 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้สำหรับเดินทาง และรองเท้าและชิ้นส่วนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 35.11 และ 4.03 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเดนมาร์ก

การนำเข้ามีมูลค่ารวม 461.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลง ร้อยละ 5.21 โดยวัตถุดิบหนังดิบและหนังฟอกปรับตัวลดลง ร้อยละ 18.69 เป็นไปในทิศทางเดียวกับการฟอกและตกแต่งหนังฟอกที่มีการผลิตลดลง สำหรับสินค้าสำเร็จรูป ได้แก่ กระเป๋า และรองเท้า ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.07 และ 3.75 ตามลำดับ จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าทำให้ความต้องการสินค้าแบรนด์เนมขยายตัว

แนวโน้มอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาส 1 ปี 2563

การผลิตรองเท้าและเครื่องหนัง ไตรมาส 1 ปี 2563 คาดว่า การฟอกและตกแต่งหนังฟอกจะมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากฐานของไตรมาส 1 ปี 2562 อยู่ในระดับสูง และการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์กลุ่มรองเท้า มีแนวโน้มการผลิตชะลอตัว เนื่องจากผู้ประกอบการที่มีแบรนด์ของตัวเองหันไปจ้างประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เมียนมา กัมพูชา และเวียดนามผลิตแทน เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าประเทศไทย อีกทั้งปัจจัยค่าเงินบาทที่แข็งค่าทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าแบรนด์เนมขยายตัว ส่งผลให้มีสัดส่วนการนำเข้าสินค้ากลุ่มดังกล่าวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม เช่น การผลิตเพื่อการส่งออกตามความต้องการของกลุ่มประเทศ CLMV ช่วงเทศกาลสำคัญ สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มกระเป๋าเดินทางมีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้น จากความต่อเนื่องของคำสั่งซื้อทั้งในและต่างประเทศ

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

การผลิตและจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 4 ปี 2562 ปรับตัวลดลง ร้อยละ 1.27 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่เน้นการส่งออกสินค้าในสต็อกทดแทนการผลิตสินค้าใหม่ ประกอบกับการปรับโมเดลธุรกิจของผู้ประกอบการจากการผลิตจำนวนมาก มาเป็นการผลิตแบบ Customization ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น

การผลิต การจำหน่าย และการส่งออก

การผลิต อัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 4 ปี 2562 ลดลง ร้อยละ 1.27 ในเชิงปริมาณ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่เน้นการส่งออกสินค้าในสต็อกทดแทนการผลิตสินค้าใหม่ ประกอบกับการปรับโมเดลธุรกิจของผู้ประกอบการจากการผลิต จำนวนมาก มาเป็นการผลิตแบบ Customization ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นการจำหน่าย อัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 4 ปี 2562 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.77 ในเชิงปริมาณ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ ที่หันมานิยมสวมใส่สินค้าเครื่องประดับแบบน้อยชิ้น แต่มีมูลค่าสูง

การส่งออก อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ไตรมาส 4 ปี 2562 ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.26 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากมูลค่าการส่งออกพลอย และเครื่องประดับแท้ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.08 และ 8.35 ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสิงคโปร์ ประกอบกับการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคช่วงปลายปี แต่หากพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ในภาพรวมมีทิศทางลดลง ร้อยละ 6.66 ตามราคาทองคำเฉลี่ยในตลาดโลกที่มีทิศทางลดลง ส่งผลให้ผู้ประกอบการบางรายชะลอการส่งออกเพื่อรอจำหน่ายในช่วงเวลาที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 1 ปี 2563
          ไตรมาส 1 ปี 2563 คาดว่า การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมมีทิศทางทรงตัวหรือปรับตัวลดลงเล็กน้อย           เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัส      โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ซึ่งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกถึง ร้อยละ 80 อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวก ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม จากการที่ผู้ประกอบการเน้นการผลิตสินค้าใหม่ที่มีดีไซน์ตรงตามความต้องการของตลาดผู้บริโภคยุคใหม่เพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับกิจกรรมส่งเสริมการซื้อในช่วงเทศกาลสำคัญต้นปี

สำหรับแนวโน้มการส่งออก (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) คาดว่า จะมีทิศทางเพิ่มขึ้น เนื่องจากฐานของไตรมาสที่ 1 ปี 2562 อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ด้านการนำเข้า (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) คาดว่า จะมีแนวโน้มขยายตัว โดยจะมีการนำเข้าเพชร และเครื่องประดับแท้เพิ่มขึ้น จากทิศทางของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ในระดับดี และความต้องการบริโภคสินค้าหรูเพื่อแสดงฐานะทางสังคมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อีกทั้งค่าเงินบาทแข็งค่าทำให้ความต้องการสินค้าแบรนด์เนมขยายตัว

อุตสาหกรรมอาหาร
          ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปรับลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 หลังจากขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 เป็นผลจากวัตถุดิบที่ลดลงด้วยผลกระทบจากภัยแล้ง ราคาไม่จูงใจ กอปรกับฐานที่ค่อนข้างสูงในปีก่อน อาทิ น้ำตาลทราย แป้งมันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม สับปะรดกระป๋อง และข้าวโพดหวานกระป๋อง อีกทั้งตลาดต่างประเทศชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก แม้ดัชนีผลผลิตไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง  บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์สำเร็จรูปสำหรับปศุสัตว์ รวมทั้งเครื่องดื่ม ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สำหรับมูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยเฉพาะญี่ป่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเวียดนาม จากการส่งออกที่ลดลงของสินค้าสำคัญ อาทิ ข้าว  ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง(มันเส้นและแป้งมันสำปะหลัง) กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูป ทูน่ากระป๋อง ซาร์ดีนกระป๋อง และข้าวโพดหวานกระป๋อง เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบลดลง ประกอบกับปัจจัยลบอย่างเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และค่าเงินบาทที่แข็งค่าส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันทางด้านราคาของผู้ส่งออกไทยลดลง อย่างไรก็ตามกำลังซื้อในประ                            เทศเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งดัชนีรายได้เกษตรกรและดัชนีราคาสินค้าเกษตรไตรมาส 4 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ดัชนีผลผลิตอาหาร ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 อยู่ที่ระดับ 100.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 5.5 (%QoQ) เนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลออกผลผลิตสินค้าสำคัญ เช่น การเปิดหีบอ้อยของสินค้าน้ำตาล ต้นฤดูกาลของสับปะรด และปาล์มน้ำมัน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 5.3 (%YoY) เนื่องจากวัตถุดิบที่ลดลงและฐานที่ค่อนข้างสูงในปีก่อนโดยเฉพาะน้ำตาล เปิดหีบอ้อยฤดูการผลิตปี 2562/63 (1 ธันวาคม 62) ช้ากว่าฤดูการผลิตปี 2561/62 (20 พฤศจิกายน 61) และผลกระทบจากภัยแล้ง รวมทั้ง สับปะรด และมันสำปะหลัง ได้รับผลกระทบจาก ภัยแล้ง และราคาไม่จูงใจในปีก่อน ประกอบกับ ปาล์มน้ำมันได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ส่งผลให้ดัชนีผลผลิต น้ำตาลทราย สับปะรดกระป๋อง แป้งมันสำปะหลัง และน้ำมันปาล์ม ลดลง แม้ดัชนีผลผลิตไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์สำเร็จรูปสำหรับปศุสัตว์ รวมทั้งเครื่องดื่ม ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

การจำหน่ายอาหาร ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีปริมาณ 64,873.5 พันตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 3.5 (%QoQ) และเมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 (%YoY) เนื่องจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ "ชิมช้อปใช้" ทำให้เกิดการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น รวมทั้งดัชนีรายได้เกษตรกร และดัชนีราคาสินค้าเกษตร ไตรมาส 4 ปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การจำหน่ายอาหารเพิ่มขึ้น เช่น ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง น้ำมันถั่วเหลือง ซาร์ดีนกระป๋อง นมพร้อมดื่ม น้ำมันถั่วเหลือง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป

การส่งออกไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่า 7,563.0 ล้านเหรียญ ลดลงจาก ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 2.5 (%QoQ) จากการส่งออกสินค้าสำคัญที่ลดลง อาทิ ซาร์ดีนกระป๋อง กุ้งสด แช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูป และทุเรียนสด และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 2.1 (%YoY) โดยเฉพาะตลาดญี่ป่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเวียดนาม จากการส่งออกที่ลดลงของสินค้าสำคัญ อาทิ ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (มันเส้นและแป้งมันสำปะหลัง) กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูป ทูน่ากระป๋อง ซาร์ดีนกระป๋อง และข้าวโพดหวานกระป๋อง เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบลดลง ประกอบกับปัจจัยลบอย่างเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และค่าเงินบาทที่แข็งค่า ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันทางด้านราคาของผู้ส่งออกไทยลดลง

การนำเข้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 มีมูลค่า 3,813.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ร้อยละ 11.4 (%QoQ) และเมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 (%YoY) จากการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป อาทิ ปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง เมล็ดพืชน้ำมัน และกากพืชน้ำมัน และสินค้าสินค้าอุปโภคบริโภค ข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้ง และผักผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้ เพื่อรองรับการขยายตัวของการผลิตและบริโภคที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมทูน่ากระป๋อง น้ำมันถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์สำเร็จรูปสำหรับปศุสัตว์ทั้งในและต่างประเทศ

แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 1 ของปี 2563

คาดว่าดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 จะทรงตัวหรือหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยปัจจัยลบอย่างภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และผลกระทบจากค่าเงินบาทส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของไทยลดลง ประกอบกับปริมาณวัตถุดิบสินค้าเกษตรลดลงจากปัญหาภัยแล้ง รวมทั้งผลกระทบจากโรคไวรัสโคโรนาระบาดในจีน อาจส่งผลให้กลุ่มอาหารสด ชะลอตัวเนื่องจากอายุการเก็บรักษาสั้น ไม่สามารถสต็อกได้นาน อย่างไรก็ตามไทยน่าจะได้รับอานิสงค์จากภาวะโรคระบาดดังกล่าวส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่ม และอาหารกระป๋องต่างๆ อาจจะมีการเพิ่มคำสั่งซื้อหรืออาจเร่งการส่งมอบสินค้าให้เร็วขึ้นเพื่อสต็อกสินค้า นอกจากนี้ อาจจะได้รับปัจจัยบวกจากภาวะโรคไข้หวัดนกที่กำลังระบาดในจีน และโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ที่ระบาดในหลายประเทศ ทำให้ความต้องการไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และไก่แปรรูป เพิ่มขึ้น

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ