ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 18, 2022 14:35 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2564

สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรม

Indicators 2562 2563 2563 2564

%YoY Year Year พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย.

MPI -3.4 -9.3 -0.6 -2.8 -2.0 -1.4 5.9 18.0 25.7 18.3 3.9 -4.7 0.3 3.0 4.8

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)

ขยายตัวร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการซื้อในประเทศและต่างประเทศที่เริ่มขยายตัว

ในหลายสินค้า หลังจากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว

เมื่อพิจารณาข้อมูล MPI ย้อนหลัง 3 เดือน เทียบกับปีก่อน (%YoY) เดือนสิงหาคม การผลิตหดตัวร้อยละ 4.7

เดือนกันยายน ขยายตัวร้อยละ 0.3 และเดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 3.0

สำหรับ 3 เดือนที่ผ่านมา เดือนสิงหาคม เดือนกันยายน และเดือนตุลาคม 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

หรือ MPI (%MoM) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดังนี้ กล่าวคือ ในเดือนสิงหาคม หดตัวร้อยละ 3.5 เดือนกันยายน

ขยายตัวร้อยละ 9.2 และเดือนตุลาคม ขยายตัวร้อยละ 3.0

อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนพฤศจิกายน 2564 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ

? การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 11.88 จากการคลายมาตรการล็อกดาวน์ และการเปิดประเทศ

รับนักท่องเที่ยว หลังประชาชนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนแล้ว ทำให้มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นปกติได้มากกว่า

ปีก่อน

? ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 21.16 เพิ่มขึ้นตามความต้องการในตลาดโลกที่ขยายตัว

ต่อเนื่องหลังการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563

? เม็ดพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 20.0 จากการหยุดซ่อมบำรุงต่อเนื่องหลายวันของผู้ผลิตบางรายในปีก่อน

? น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 55.92 จากผลผลิตปาล์มน้ำมันที่มีมากกว่าปีก่อน เนื่องจากต้นปาล์ม

มีความสมบูรณ์เต็มที่ และจากปริมาณส่งออกน้ำมันปาล์มดิบที่เพิ่มขึ้น หลังอินโดนีเซียและมาเลเซีย ประสบปัญหา

ขาดแคลนแรงงานในช่วงการแพร่ระบาด ทำให้ปริมาณสินค้าในตลาดโลกลดลง

? เภสัชภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 24.88 ตามความต้องการใช้ในโรงพยาบาลจากสถานการณ์โควิด-19

ที่มีการแพร่ระบาดอยู่เป็นระลอก ส่งผลให้อุตสาหกรรมยายังคงเติบโตต่อเนื่อง รวมถึงต้องปฏิบัติตามนโยบาย

จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่กำหนดให้ผู้ผลิตต้องมีสินค้าเพียงพอห้ามขาดตลาด

Indicators 2563 2564

%MoM พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย.

MPI 1.6 -0.7 6.9 -3.1 10.2 -16.5 9.7 -2.1 -8.1 --3.5 9.2 3.0 3.4

2

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2564

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ

เดือนพฤศจิกายน 2564

3

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2564

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอื่น ๆ เดือนพฤศจิกายน 2564

? การนำเข้าของภาคอุตสาหกรรมไทย

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมและส่วนประกอบ ในเดือนพฤศจิกายน 2564 มีมูลค่า 1,510.8

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากเครื่องจักร

ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ และส่วนประกอบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการแปรรูปยาง หรือพลาสติก เครื่องยนต์

เพลาส่งกำลังและส่วนประกอบอื่น ๆ เครื่องสูบลม เครื่องสูบของเหลว และเครื่องจักรใช้ในการก่อสร้างและ

ส่วนประกอบ เป็นต้น

การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนพฤศจิกายน 2564 มีมูลค่า 9,250.5

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 39.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากอุปกรณ์ ส่วนประกอบ

เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทแผงวงจรไฟฟ้าและวงจรพิมพ์ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์อินทรีย์ อลูมิเนียม

และผลิตภัณฑ์ ทองแดงและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

4

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2564

? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

โรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนพฤศจิกายน 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 209 โรงงาน เพิ่มขึ้น

จากเดือนตุลาคม 2564 ร้อยละ 20.11 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 5.03 (%YoY)

มูลค่าเงินลงทุนรวมจากโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการในเดือนพฤศจิกายน 2564 มีมูลค่ารวม

10,295 ล้านบาท ลดลงจากเดือนตุลาคม 2564 ร้อยละ 4.88 (%MoM) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 60.63 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนพฤศจิกายน 2564 คือ อุตสาหกรรม

การทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 31 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม

การขุดหรือลอก กรวด ทราย หรือดิน จำนวน 12 โรงงาน?

?อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2564 คือ อุตสาหกรรมการทำนมสดให้ไร้เชื้อ หรือ

ฆ่าเชื้อ โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง จำนวนเงินทุน 1,334 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการฆ่าสัตว์ จำนวน

เงินทุน 560 ล้านบาท

5

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2564

? สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรม (ต่อ)

ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม

จำนวนโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการในเดือนพฤศจิกายน 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 57 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือน

ตุลาคม 2564 ร้อยละ 35.71 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 29.55 (%YoY)

เงินทุนของการเลิกกิจการในเดือนพฤศจิกายน 2564 มีมูลค่ารวม 2,497 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน

ตุลาคม 2564 ร้อยละ 52.68 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 124.91 (%YoY)

?อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานที่มีการเลิกประกอบกิจการมากที่สุด ในเดือนพฤศจิกายน 2564 คือ

อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต ผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิปซัม จำนวน 6 โรงงาน และ

อุตสาหกรรมการซ่อมแซมยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ จำนวน 6 โรงงานเท่ากัน

?อุตสาหกรรมที่มีการเลิกประกอบกิจการโดยมีเงินลงทุนสูงสุด ในเดือนพฤศจิกายน 2564 คือ อุตสาหกรรม

การทำผลิตภัณฑ์ยาง จากยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ มูลค่าเงินลงทุน 1,700 ล้านบาท รองลงมาคือ

อุตสาหกรรมการทำเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องเรือน พลาสติก มูลค่าเงินลงทุน 155 ล้านบาท?

6

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2564

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมรายสาขา เดือนพฤศจิกายน 2564

1. อุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต เดือนพฤศจิกายน 2564 ขยายตัว

(%YoY) ร้อยละ 5.7 เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการของภาครัฐ

และความต้องการสินค้าบางรายการอย่างเนื่อง โดยกลุ่มสินค้า

อาหารที่มีดัชนีผลผลิตขยายตัว มีดังนี้ 1) น้ำมันปาล์ม ขยายตัว

ร้อยละ 55.9 จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันปาล์มดิบ และน้ำมัน

ปาล์มบริสุทธิ์ เนื่องจากอินโดนีเซียและมาเลเซียซึ่งเป็นผู้ผลิต

รายใหญ่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้

ปริมาณผลผลิตปาล์มที่ออกสู่ตลาดโลกลดลง ทำให้ประเทศไทย

มีคำสั่งซื้อและส่งออกน้ำมันปาล์มดิบได้มากขึ้น 2) ปศุสัตว์

ขยายตัวร้อยละ 11.7 จากสินค้า ไส้กรอก เบคอน เนื่องจากมีการ

ผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ทำให้สินค้าดังกล่าวเป็นที่ต้องการของ

ตลาดในประเทศ และเนื้อไก่สุกปรุงรส เนื่องจากความต้องการ

บริโภคของตลาดในและต่างประเทศ ประกอบกับในช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น และอียู ได้รับ

ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 รวมทั้งมีการใช้มาตรการ

ล็อกดาวน์และการคุมเข้มปิดร้านอาหาร ทำให้กลุ่มประเทศ

ดังกล่าวลดการนำเข้า 3) มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 11.5

จากสินค้าสำคัญคือ แป้งมันสำปะหลัง เนื่องจากความต้องการ

บริโภคของตลาดในและต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นตลาด

ส่งออกหลัก ได้นำเข้าแป้งมันสำปะหลังเพื่อใช้เป็นสินค้าทดแทน

ในช่วงที่ราคาแป้งข้าวโพดยังคงอยู่ในระดับที่สูง และ 4) ผักผลไม้

แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากสินค้าผักผลไม้แช่แข็ง เนื่องจาก

ความต้องการบริโภคทั้งตลาดในและต่างประเทศ โดยตลาด

ส่งออกที่สำคัญคือ จีน ญี่ปุ่น อเมริกา และผลไม้กระป๋องอื่น ๆ

เนื่องจากการผลิตสำรองเป็นสินค้าคงคลัง

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การจำหน่ายในประเทศ ปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้า

อาหารในประเทศเดือนพฤศจิกายน 2564 ขยายตัว (%YoY) ร้อยละ 15.3

โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่ขยายตัว มีดังนี้ 1) เครื่องปรุงอาหารประจำโต๊ะ

และเครื่องประกอบอาหาร ขยายตัวร้อยละ 29.5 จากสินค้าสำคัญคือ

เครื่องปรุงรสประจำโต๊ะอาหาร 2) การผลิตมะกะโรนี เส้นก๋วยเตี๋ยว

และผลิตภัณฑ์อาหารจำพวกแป้ง ขยายตัวร้อยละ 15.4 จากสินค้าสำคัญ

คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 3) มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 15.0 จากสินค้า

สำคัญคือ แป้งมันสำปะหลัง และ 4) น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 14.2

จากสินค้าสำคัญคือ น้ำมันปาล์มดิบ

ต ล ด ส่ง อ อ ก ภ พ ร ว ม ก ร ส่ง อ อ ก สิน ค้า อ ห ร

เดือนพฤศจิกายน 2564 มีมูลค่า 2,722.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว

ร้อยละ 17.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสินค้าดังนี้ 1) ข้าว

และธัญพืช จากสินค้าสำคัญ คือ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากจีน

ซึ่งเป็นตลาดหลัก ได้นำเข้ามันเส้นเพื่อใช้ในการผลิตเอทานอล และแป้ง

มันสำปะหลังเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ทดแทนการใช้แป้งข้าวโพดที่มี

ราคาสูง 2) ผักผลไม้ จากสินค้าสำคัญคือ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง

และแห้ง กระป๋องและแปรรูป เนื่องจากสินค้ามีคุณภาพเป็นที่ยอมรับใน

มาตรฐานระดับโลก โดยตลาดส่งออกที่ขยายตัวได้ดีคือ จีน อเมริกา

มาเลเซีย 3) อาหารสัตว์เลี้ยง เนื่องจากแนวโน้มการเลี้ยงสัตว์ที่เติบโตขึ้น

ทั่วโลก ซึ่งส่งผลบวกธุรกิจต่ออาหารสัตว์เลี้ยงของไทยที่มีศักยภาพในการ

รับจ้างผลิต และ 4) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ จากสินค้าสำคัญคือ

น้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลือง โดยตลาดส่งออกน้ำมันปาล์มที่สำคัญคือ

ตลาดอินเดีย มาเลเซีย ขณะที่ตลาดส่งออกน้ำมันถั่วเหลืองที่สำคัญคือ

เวียดนาม ฟิลิปปินส์

คาดการณ์แนวโน้ม คาดว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร

เดือนธันวาคม 2564 ในภาพรวมจะขยายตัวเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการของภาครัฐ ส่งผลให้ประชาชน

กลับมาดำเนินกิจกรรมเป็นปกติมากขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออก มีแนวโน้ม

ขยายตัวต่อเนื่องตามทิศทางเศรษฐกิจโลกและการอ่อนค่าของเงินบาท

0

50

100

150

200

250

300

350

ดชั นีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เดอื นพฤศจิกายน 2564

อุตสาหกรรมอาหาร เนื??อไก่แช่แข็งและแช่เย็น

ทูน่ากระป๋ อง การผลิตนำ?? ตาล

0

500

1,000

1,500

2,000

2,500

3,000

3,500

ล้านเหรียญ

สหรฐั ฯ

มูลคา การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร เดอื นพฤศจิกายน 2564

อุตสาหกรรมอาหาร เน??อไก่แช่แข็งและแขเ ย็น

ทูน่ากระป๋ อง การผลิตนา ?? ตาล

7

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2564

2. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

? อุตสาหกรรมไฟฟ้า

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบ

กับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 103.3 โดยสินค้า

ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น มอเตอร์ไฟฟ้า สายเคเบิ้ล คอมเพรสเซอร์ หม้อแปลงไฟฟ้า

พัดลมตามบ้าน และเครื่องปรับอากาศ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4, 32.8, 19.6,

10.6, 9.5 และ 5.4 ตามลำดับเนื่องจากมีการจำหน่ายในประเทศ และ

คำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ กระติก

น้ำร้อน หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ และสายไฟฟ้า

โดยลดลงร้อยละ 46.5, 21.3, 14.0, 7.8, 7.8 และ 4.0 ตามลำดับ เนื่องจาก

ความต้องการสินค้าในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 2,260.4 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้า

ที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ เตาอบไมโครเวฟ มีมูลค่า 19.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ในตลาดอาเซียน จีน และยุโรป มอเตอร์ไฟฟ้า มีมูลค่า

80.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 ในตลาดยุโรป จีน และ

สหรัฐอเมริกา เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่า 463.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 9.8 ในตลาดอาเซียน จีน และยุโรป ตู้เย็น มีมูลค่า 167.2 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 ตลาดอาเซียน และยุโรป พัดลม มีมูลค่า 7.7

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 จากตลาดญี่ปุ่น และยุโรป สายไฟฟ้า

ชุดสายไฟ มีมูลค่า 91.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ในตลาด

อาเซียน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เครื่องซักผ้า มีมูลค่า 86.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ในตลาดยุโรป และอาเซียน และ หม้อแปลงไฟฟ้า มีมูลค่า

4.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน

?คาดการณ์การผลิตเดือนธันวาคม 2564 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่า

จะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.0 - 8.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19

รวมทั้งค่าเงินบาทยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่าซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถ

ของสินค้าไทยในการแข่งขันด้านราคา?

? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และกระทรวงพาณิชย์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3

เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีผลผลิต อยู่ที่ 98.1

โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ PWB, IC, Semiconductor devices

Transistors และ PCBA โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8, 17.0, 15.0 และ 4.5

ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการสินค้าของตลาดในประเทศและ

ต่างประเทศเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ Printer และ

HDD โดยลดลงร้อยละ 15.6 และ 26.1 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจำหน่าย

ในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 3,517.9

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน สินค้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ HDD มีมูลค่า 623.4 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 ในตลาดสหรัฐอเมริกา วงจรรวม มีมูลค่า 785.8

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป

วงจรพิมพ์ มีมูลค่า 139.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ในตลาดยุโรป

สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น และ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด

มีมูลค่า 171.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 ในตลาดสหรัฐอเมริกา

ยุโรป และอาเซียน

?คาดการณ์การผลิตเดือนธันวาคม 2564 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

คาดว่าจะยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.0 - 6.0 เมื่อเทียบกับ

เดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีความต้องการใช้ชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์

ในการผลิตสินค้าสมัยใหม่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากการใช้

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นในภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มมากขึ้น?

8

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2564

3. อุตสาหกรรมยานยนต์

? อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

180,000

200,000

พ.ย.

63

ธ.ค.

63

ม.ค.

64

ก.พ.

64

ม. ค.

64

เม.ย.

64

พ.ค.

64

ม. ย.

64

ก.ค.

64

ส.ค.

64

ก.ย.

64

ต.ค.

64

พ.ย.

64

คนั ขอ้ มลู รายเดอื นอุตสาหกรรมรถยนต์

ปรมิ ณการจำหนา ย ปรมิ ณการสง่ ออก

ปรมิ ณการผลติ

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถยนต์ ในเดือน พฤศจิกายน ปี 2564

มีจำนวน 165,353 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2564 ร้อยละ

7.35 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.12

(%YoY) จากการปรับลดลงของรถยนต์นั่ง

การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน

ปี 2564 มีจำนวน 71,716 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2564

ร้อยละ 11.25 (%MoM) เนื่องจากรัฐบาลได้ผ่อนคลายการล็อกดาวน์

และมีมาตรการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศตั้งแต่วันที่

1 พฤศจิกายน 2564 ทำให้ประชาชนมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 9.42 (%YoY) จากการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง

รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์ PPV และ SUV

การส่งออกรถยนต์ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2564

มีจำนวน 98,829 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2564 ร้อยละ

21.15 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

32.60 (%YoY) เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า

ขยายตัวมากขึ้น โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกตลาด ได้แก่ เอเชีย

โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือ และ

อเมริกากลางและใต้

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์

ในเดือนธันวาคม ปี 2564 ทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ

เดือนธันวาคม ปี 2563 เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุม

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19?

? อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

0

20,000

40,000

60,000

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

180,000

200,000

พ.ย.63 ธ.ค.63 ม.ค.64 ก.พ. 64 มี.ค. 64 เม.ย. 64 พ.ค. 64 มิ.ย. 64 ก.ค. 64 ส.ค. 64 ก.ย. 64 ต.ค. 64 พ.ย. 64

คนั ขอ้ มูลรายเดอื นอุตสาหกรรมรถจกั รยานยนต์

ปรมิ ณการจำหน่าย

ปรมิ ณการส่งออก

ปรมิ ณการผลิต

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2564

มีจำนวน 188,493 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2564

ร้อยละ 30.14 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 7.36 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์

แบบอเนกประสงค์ และแบบสปอร์ต

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือนพฤศจิกายน

ปี 2564 มียอดจำหน่ายจำนวน 144,648 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือน

ตุลาคม ปี 2564 ร้อยละ 26.57 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือน

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.48 (%YoY) จากการเพิ่มขึ้นของ

ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 51-110 ซีซี, 111-125 ซีซี,

126-250 ซีซี และ 251-399 ซีซี

การส่งออกรถจักรยานยนต์ ในเดือนพฤศจิกายน

ปี 2 56 4 มีจำน วน 37,890 คัน เพิ่ม ขึ้น จากเดือน ตุล ค ม

ปี 2564 ร้อยละ 22.27 (%MoM) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 31.48 (%YoY) โดยตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์

สำเร็จรูป มีการเพิ่มขึ้นในป ระเท ศจีน สหรัฐอเมริกา และ

สหราชอาณาจักร

?คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์

ในเดือนธันวาคม ปี 2564 ทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ

เดือนธันวาคม ปี 2563 เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุม

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19?

9

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2564

4. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางพารา

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) ลดลงร้อยละ 15.65 จากการชะลอตัวของการผลิต

ยางแผ่นรมควันและน้ำยางข้น เนื่องจากฐานตัวเลขของปีก่อน

ค่อนข้างสูง

ยางรถยนต์ ลดลงร้อยละ 0.93 เนื่องจากเป็นช่วง

ปลายปี ซึ่งผู้ประกอบการผลิตสินค้าเป็นสต็อกน้อยลง

ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.51 ตามการขยายตัวที่ดี

ของตลาดในประเทศ

การจำหน่ายในประเทศ

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.97 จากการจำหน่ายน้ำยางข้น

ที่เพิ่มขึ้น ตามความต้องการใช้ที่ปรับตัวสูงขึ้น

ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.43 เนื่องจากเป็นช่วง

ปลายปี ซึ่งผู้ประกอบการมีรายการส่งเสริมการขายเป็นพิเศษ

เพื่อระบายสต็อก

ถุงมือยาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.88 ตามความต้องการ

ใช้ทางการแพทย์ที่ปรับตัวสูงขึ้น

การส่งออก

ยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.45 จากการขยายตัวของ

การส่งออกยางแท่งไปยังจีนและสหรัฐอเมริกา และการขยายตัว

ของการส่งออกน้ำยางข้นไปยังจีน

ยางรถยนต์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.58 ตามการ

ขยายตัวที่ดีของตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก

ถุงมือยาง มีมูลค่าลดลงร้อยละ 39.77 ตามการชะลอตัว

ของตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2564

การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน

ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะขยายตัวตามแนวโน้ม

ความต้องการใช้ของตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะจีนและ

สหรัฐอเมริกาที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ส ห รับ ก รผ ลิต ย งรถ ย น ต์ค ด ว่าจ ข ย ย ตัว

จากเดือนก่อนตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาด

ส่งออก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ในขณะที่การจำหน่ายยาง

รถยนต์ใน ประเท ศคาดว่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อย

ตามแนวโน้มการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์

ในประเทศ ในส่วนของการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะขยายตัว

จากเดือนก่อน ตามคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อในประเทศที่ปรับ

เพิ่มขึ้น

การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่นรมควัน

ยางแท่ง และน้ำยางข้น) คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

โดยเฉพาะในตลาดจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เนื่องจาก

อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางในประเทศต่าง ๆ

ดังกล่าวมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี สำหรับการส่งออก

ยางรถยนต์คาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้นจากแนวโน้มการขยายตัว

ที่ดีของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย

ในส่วนของการส่งออกถุงมือยาง คาดว่าจะมีมูลค่าลดลง

ต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามแนวโน้มการชะลอของตลาด

ส่งออกที่เริ่มส่งสัญ ญ นตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564

เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาจีนมีการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต

ถุงมือยางทางการแพทย์ในประเทศ ทำให้กลายเป็นผู้ผลิต

และส่งออกถุงมือยางทางการแพทย์รายใหญ่อีกแห่งหนึ่ง

ของโลก โดยจีนมีความสามารถในการแข่งขันด้านราคาสูง

กว่าไทย ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องพยายามปรับตัว เพื่อให้มี

ยอดคำสั่งซื้อที่สม่ำเสมอและคุ้มต้นทุนในการผลิตมากขึ้น

10

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2564

5. อุตสาหกรรมพลาสติก

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัชนีผลผลิต เดือนพฤศจิกายน 2564 ค่าดัชนีผลผลิต

อยู่ที่ระดับ 93.28 ขยายตัวร้อยละ 0.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตขยายตัวในหลาย ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เช่น

บรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 14.83 เครื่องใช้ประจำ

โต๊ะอาหาร ครัว และห้องน้ำ ขยายตัวร้อยละ 13.72 และกระสอบ

พลาสติก 5.39

ดัช นีก รส่งสิน ค้า เดือ น พ ฤ ศ จิก ย น 2564

ค่าดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 95.33 ขยายตัวร้อยละ 0.47 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัว เช่น แผ่นฟิล์ม

พลาสติก ขยายตัวร้อยละ 22.81 และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ ขยายตัว

ร้อยละ 12.98 และกระสอบพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 5.56

การส่งออก เดือนพฤศจิกายนปี 2564 มีมูลค่า 378.67

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 10.52 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัว เช่น

กลุ่มผลิตภัณฑ์แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่น ๆ ที่ไม่เป็น

แบบเซลลูลาร์ (HS 3920) ขยายตัวร้อยละ 41.74 กลุ่มผลิตภัณฑ์

เครื่องใช้ในครัวเรือน (HS 3924) ขยายตัวร้อยละ 32.01 และกลุ่ม

ผลิตภัณฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916) ขยายตัวร้อยละ 26.44 เมื่อเทียบ

กับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกขยายตัวในตลาดหลัก เช่น

ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และจีน

การนำเข้า เดือนพฤศจิกายน 2564 มีมูลค่า 441.54

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 8.85 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้การนำเข้า

ขยายตัว เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์หลอดหรือท่อ (HS 3917) ขยายตัว

ร้อยละ 35.60 และกลุ่มผลิตภัณ ฑ์ใยยาวเดี่ยว (HS 3916)

ขยายตัวร้อยละ 24.97 และกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบ

ของอาคาร (HS 3925) ขยายตัวร้อยละ 15.96 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก เดือนธันวาคม 2564

คาดการณ์ว่าการส่งออกยังคงขยายตัว สถานการณ์การระบาด

ของโควิด-19 ภายในประเทศมีการผ่อนคลายมาตรการในการทำ

กิจกรรมต่าง ๆ ทำให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตดำเนินกิจกรรม

ในรูปแบบปกติ ความต้องการในการบริโภคสินค้าต่าง ๆ

เพิ่มมากขึ้น ผลิตภัณ ฑ์พลาสติกที่ใช้ในการป้องโควิด-19

ยังเป็นที่ต้องการในการใช้งานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุตสาหกรรม

พลาสติกที่เกี่ยวข้องขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน

ดัชนีผลผลิต-ดัชนีการส่งสินค้า ปริมาณและมูลค่าการส่งออก-นำเข้า

11

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2564

6. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

ที??มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที??มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ดัช นีผ ล ผ ลิต เดือ น พ ฤ ศ จิก ย น ปี 2564

อยู่ที่ระดับ 87.19 หดตัวร้อยละ 2.43 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐาน หดตัวร้อยละ

31.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มี

การผลิตหดตัว ได้แก่ คลอรีน หดตัวร้อยละ 41.12 โซดาไฟ

หดตัวร้อยละ 35.61 เอทานอล หดตัวร้อยละ 24.89 สำหรับ

กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย ขยายตัวร้อยละ 6.79 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวสูงสุด

ได้แก่ แป้งฝุ่น ขยายตัวร้อยละ 40.04 ปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ

37.02 และยาสระผม ขยายตัวร้อยละ 15.56

ดัช นีก รส่งสิน ค้า เดือ น พ ฤ ศ จิก ย น 2564

อยู่ที่ระดับ 84.66 หดตัวร้อยละ 4.41 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเคมีภัณฑ์

พื้นฐาน หดตัวร้อยละ 26.92 โดยหดตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์

คลอรีน หดตัวร้อยละ 43.52 โซดาไฟ หดตัวร้อยละ 29.33

และเอทานอล หดตัวร้อยละ 22.77 กลุ่มเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย

ขยายตัวร้อยละ 2.35 ผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัว คือ แป้งฝุ่น

ขยายตัวร้อยละ 41.70 ปุ๋ยเคมี ขยายตัวร้อยละ 18.24 และ

ยาสระผม ขยายตัวร้อยละ 17.73

การส่งออก เดือนพฤศจิกายน 2564 มีมูลค่า

การส่งออกรวม 926.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 33.65

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเคมีภัณฑ์พื้นฐาน

มีมูลค่าการส่งออก 586.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯขยายตัวร้อยละ

54.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออก

เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย มีมูลค่าการส่งออก 339.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ขยายตัวร้อยละ 8.30 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออก

ขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ขยายตัวร้อยละ 64.07 ปุ๋ยเคมี

ขยายตัวร้อยละ 51.88 และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ขยายตัวร้อยละ

49.60 การส่งออกขยายตัวในหลาย ๆ ตลาด เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย

และเวียดนาม

การนำเข้า เดือนพฤศจิกายน 2564 มีมูลค่า

การนำเข้ารวม 1,715 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัว

ร้อ ย ล 47.28 เมื่อ เทีย บ กับ ช่วงเดียวกัน ข องปีก่อ น

โดยกลุ่มเคมีภัณ ฑ์พื้นฐานมีมูลค่าการนำเข้า 1,190.84

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 54.74 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเคมีภัณฑ์ขั้นปลายมีมูลค่า

การนำเข้า 524.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 32.76

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เดือนธันวาคม 2564

คาดการณ์ว่า ค่าเงินบาทมียังมีแนวโน้มอ่อนค่า ช่วยเพิ่มโอกาส

ทางการแข่งขันด้านราคาให้กับสินค้าไทย การส่งออกเคมีภัณฑ์

ไปคู่ค้าหลัก อาทิเช่น ญี่ปุ่น CLMV อินเดีย ยังคงส่งออกได้อย่าง

ต่อเนื่อง ส่งผลให้เคมีภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่ม

มากขึ้น

12

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2564

7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิต การผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

เดือนพฤศจิกายน ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 110.84 หรือขยายตัว

ร้อยละ 20.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัว

ลดลงร้อยละ 2.90 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมี

ขั้นพื้น ฐาน ได้แก่ Propylene ขยายตัวร้อยละ 49.33

เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย

ได้แก่ PP resin และ PE resin ขยายตัวร้อยละ 22.72 และ

18.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีการส่งสินค้า เดือนพฤศจิกายน ปี 2564

อยู่ที่ระดับ 107.91 ขยายตัวร้อยละ 17.78 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน แต่หดตัวร้อยละ 8.70 เมื่อเทียบกับ

เดือนก่อน โดยเป็นปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Propylene

และ Ethylene ขยายตัวร้อยละ 84.14 และ 78.66 เมื่อเทียบ

กับเดือนเดียวกันของปีก่อน และปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่

PP resin และ PE resin ขยายตัวร้อยละ 12.10 และ 4.03

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก เดือนพฤศจิกายน ปี 2564 มีมูลค่า

1,225.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 53.36

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หดตัวร้อยละ 0.57

เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมี

ขั้น พื้น ฐ น เช่น Propylene แ ล Terephthalic Acid

เป็นต้น ร้อยละ 102.43 และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมี

ขั้นปลาย เช่น PP resin และ PE resin เป็นต้น ขยายตัว

ร้อยละ 32.37

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การนำเข้า เดือนพฤศจิกายน ปี 2564 มีมูลค่า

593.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 28.26

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หดตัวร้อยละ 29.23

เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมี

ขั้นพื้นฐาน เช่น Terephthalic Acid เป็นต้น ร้อยละ 11.09

และขยายตัวในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PE resin และ

PP resin เป็นต้น ขยายตัวร้อยละ 17.78 ส่วนหนึ่งมาจาก

ระดับราคาที่เริ่มมีทิศทางเพิ่มขึ้นตามระดับราคาน้ำมันดิบ

คาดการณ์แนวโน้ม เดือนธันวาคม ปี 2564

คาดว่า ภ พรวมของอุตสาหกรรมจะขยายตัวดีขึ้น

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการกลับมาผลิต

เพิ่มขึ้นในหลายผลิตภัณฑ์ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของระดับ

ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก จากการขาดแคลนพลังงาน

ในการผลิตไฟฟ้าในจีนและสหภาพยุโรปที่ต้องลดการใช้

ถ่านหินและใช้น้ำมันดิบทดแทน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

หลังสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ทำให้การผลิตและส่งออก

มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

13

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2564

8. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ที่ม : ส นักงานเศ รษ ฐกิจ อุต สาห ก รรม แล สถ บัน เห ล็ก

และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนพฤศจิกายน

2564 มีค่า 101.9 ขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรม

ต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและ

อิเล็กท รอนิกส์ ซึ่งผู้ผลิตผลิตตามคำสั่งซื้อของผู้ใช้

เมื่อพิจารณาตามผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็ก

ทรงยาวและเหล็กทรงแบน พบว่าดัชนีผลผลิตขยายตัวทั้งสอง

ผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมมีค่า 98.8 ขยายตัวร้อยละ 5.8 ผลิตภัณฑ์

ที่การผลิตขยายตัว ได้แก่ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ

ชนิดรีดร้อน ขยายตัวร้อยละ 21.2 รองลงมาคือ เหล็กเส้น

ข้ออ้อย ขยายตัวร้อยละ 14.2 และ ลวดเหล็ก ขยายตัว

ร้อ ย ล 6.6 ต ม ล ดับ ส ห รับ ผ ลิต ภัณ ฑ์ใน ก ลุ่ม

เหล็กทรงแบน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 111.5 ขยายตัว

ร้อยละ 14.2 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตขยายตัว ได้แก่ เหล็กแผ่น

เคลือบดีบุก ขยายตัวร้อยละ 101.3 รองลงมาคือ เหล็กแผ่น

เคลือบสังกะสี ขยายตัวร้อยละ 25.7 และเหล็กแผ่นรีดเย็น

ขยายตัวร้อยละ 12.4

การบริโภคในประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน 2564

มีปริมาณการบริโภค 1.4 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 0.9

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเหล็กทรงยาว

มีปริมาณการบริโภค 0.5 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 7.4

จากการบริโภคเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน ขยายตัว

ร้อยละ 12.9 สำหรับเหล็กทรงแบนมีปริมาณการบริโภค

0.8 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 2.7 จากการบริโภคเหล็กแผ่น

ไม่ได้เคลือบดีบุก หดตัวร้อยละ 47.0 รองลงมาคือ เหล็กแผ่น

รีดร้อน หดตัวร้อยละ 46.4 และเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ

หดตัวร้อยละ 20.1

การนำเข้า ในเดือนพฤศจิกายน 2564 มีปริมาณ

การนำเข้า 0.8 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงแบนมีปริมาณนำเข้า 0.7

ล้านตัน หดตัวร้อยละ 6.5 เหล็กทรงแบนที่การนำเข้าหดตัว

ได้แก่ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิด Alloy steel หดตัวร้อยละ

20.2 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี)

รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิด Carbon หดตัว

ร้อยละ 20.0 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น) และเหล็ก

แผ่นเคลือบ ชนิดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 14.2 (ประเทศหลักที่ไทย

นำเข้า คือ จีน) สำหรับเหล็กทรงยาวมีปริมาณการนำเข้า 0.2

ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากการนำเข้าเหล็กเส้น

ชนิด Carbon steel ขยายตัวร้อยละ 73.8 (ประเทศหลัก

ที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน) รองลงมา คือ เหล็ก

ลวดชนิด Carbon steel ขยายตัวร้อยละ 28.7 (ประเทศหลัก

ที่ไทยนำเข้า คือ เวียดนาม มาเลเซีย และญี่ปุ่น)

?แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนธันวาคม

2564 คาดการณ์ว่า การผลิตใกล้เคียงกับช่วงเดียวกัน

ขอ งปีก่อน โด ย มีปัจ จัย ส นับ ส นุน จาก การขย ย ตัว

ของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่ควรติดตาม

เช่น ราคาสินค้าเหล็กต่างประเทศ เพราะจะส่งผลต่อปริมาณ

การผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ?

14

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2564

9. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิต

กลุ่มเส้นใยและผ้าผืน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8

ซึ่งขยายตัว ร้อยละ 7.89 และ 1.98 ปัจจัยหลักเพื่อรองรับ

การส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง ในตลาดหลัก อย่างญี่ปุ่น จีน และ

เวียดนาม ในขณะที่กลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวเป็นเดือนที่ 2

ขยายตัวอย่างมากร้อยละ 42.34 รองรับการฟื้นตัวในตลาดหลัก

อย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรป ฮ่องกง สหราชอาณาจักร และจีน

โดยเฉพาะเสื้อผ้ากีฬา และเสื้อผ้าเด็กสำเร็จรูป ที่ขยายตัวในตลาด

สหรัฐอเมริกาและยุโรป ประกอบกับฐานที่ต่ำในปีก่อน จากการ

ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับปี 2562 พบว่า

การผลิตยังไม่ฟื้นตัวตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน

และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ยังคงหดตัว ร้อยละ 5.71 20.86 และ 11.28

การจำหน่ายในประเทศ

กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว

ร้อยละ 1.41 0.90 และ 5.85 เนื่องจากฐานที่ต่ำในปีก่อน

ประกอบกับความต้องการวัตถุดิบเพื่อการส่งออกที่ขยายตัว

ในตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ในขณะที่

กำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง

และนักท่องเที่ยวหลักอย่างจีนที่ยังไม่กลับมา แม้จะมีการคลาย

ล็อกดาวน์

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์

การส่งออก

กลุ่มเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัว

ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานเป็นเดือนที่ 8 เนื่องจากประเทศคู่ค้า

สำคัญฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มเส้นใยสิ่งทอ เพิ่มขึ้น ร้อยละ

50.83 ในตลาดญี่ปุ่น จีน เวียดนาม บังกลาเทศ ปากีสถาน

และอินเดีย กลุ่มผ้าผืนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.02 ในตลาดเวียดนาม

กัมพูชา บังกลาเทศ เมียนมา จีน และญี่ปุ่น และกลุ่มเสื้อผ้า

สำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.07 ในตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรป

ฮ่องกง สหราชอาณาจักร และจีน

คาดการณ์ภาวะอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2564

คาดว่า ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ขยายตัวต่อเนื่อง ด้วยฐานที่ต่ำในปีก่อน ประกอบกับคำสั่งซื้อ

จากต่างประเทศที่มีอย่างต่อเนื่องตลอดโซ่อุปทาน ประกอบกับ

มาตรการคลายล็อกดาวน์ น่าจะกระตุ้นความต้องการสินค้า

เพื่อฉลองในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบ อาทิ

ค่าระวางเรือที่ยังคงแพ ง แล ผ ล กระทบ จากปัญ ห

การขาดแคลนแรงงาน ซึ่งอาจส่งผลต่อต้นทุนการผลิต

ของอุตสาหกรรม

15

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายน 2564

10. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์

การผลิตปูนซีเมนต์รวม ในเดือนพฤศจิกายน

ปี 2564 มีจำนวน 5.87 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม

ปี 2564 ร้อยละ 2.65 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 16.51 (%YoY)

การจำหน่ายปูนซีเมนต์รวมในประเทศ ในเดือน

พฤศจิกายน ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.06 ล้านตัน

เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2564 ร้อยละ 1.99 (%MoM)

แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.01 (%YoY)

การส่งออกปูนซีเมนต์รวม ในเดือนพฤศจิกายน

ปี 2564 มีจำนวน 1.06 ล้านตัน ลดลงจากเดือนตุลาคม

ปี 2564 ร้อยละ 15.35 (%MoM) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน

ของปีก่อน ร้อยละ 9.72 (%YoY) เป็นผลจากการปรับเพิ่ม

คำสั่งซื้อจากตลาดบังกลาเทศ ร้อยละ 89.66 และได้รับ

คำสั่งซื้อจากศรีลังกากลับมาอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์

ในภาพรวมเดือนธันวาคม ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน คาดว่าจะปรับตัวได้ดีขึ้นเล็กน้อย จากการเดินหน้า

ก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐ ทั้งโครงการเก่า

และโครงการใหม่ และการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังภาวะน้ำท่วม

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. ปริมาณการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์

การผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนพฤศจิกายน

ปี 2564 มีจำนวน 3.10 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม

ปี 2564 ร้อยละ 0.91 (%MoM) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของ

ปีก่อน ร้อยละ 9.67 (%YoY)

การจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)

ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2564 มีปริมาณการจำหน่าย 3.04 ล้านตัน

เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม ปี 2564 ร้อยละ 1.36 (%MoM)

แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.61 (%YoY)

การส่งออกซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือน

พฤศจิกายน ปี 2564 มีจำนวน 0.27 ล้านตัน ปรับตัวลดลงจาก

เดือนตุลาคม ปี 2564 ร้อยละ 59.68 (%MoM) และลดลงจาก

เดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.58 (%YoY) เป็นผลจากการ

ปรับลดคำสั่งซื้อจากประเทศเมียนมา และฟิลิปปินส์

ร้อยละ 43.12 และ 28.57 ตามลำดับ

คาดการณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์

(ไม่รวมปูนเม็ด) ในเดือนธันวาคม ปี 2564 เมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน คาดว่าจะสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้น

ได้อีกเล็กน้อย ตามความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นหลังจาก

หมดช่วงฤดูฝน รวมถึงการเร่งกระตุ้นยอดขายอสังหาริมทรัพย์

ของภาคเอกชนในช่วงปลายปีเพื่อเตรียมลงทุนในโครงการใหม่

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ