สรุปสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม และภาพรวมปี 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 22, 2022 14:07 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญในเดือนธันวาคม 2564

? สาขาอุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่

การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมน้ำตาล อัตราการใช้กำลัง การผลิตในเดือนธันวาคม 2564 อยู่ที่ร้อยละ 66.3

การผลิตภาคอุตสาหกรรมภาพรวมปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน อัตราการใช้กำลังการผลิตปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 63.7

สรุปสถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม และภาพรวมปี 2564

อุตสาหกรรมยานยนต์ ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 9.2เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากรถบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดกลาง เครื่องยนต์ดีเซล และรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ เป็นหลัก เนื่องจากความต้องการรถยนต์มากขึ้นของประเทศคู่ค้าตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 7.5เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันเบนซินออกเทน 91เป็นหลัก เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว ท้าให้มีการด้าเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมันขนส่งและเดินทางมากขึ้น

อุตสาหกรรมน้ำตาล ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 31.5เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากน้ำตาลทรายดิบจากอ้อยเป็นหลัก เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออ้านวยต่อการเพาะปลูกมากกว่าปีก่อน ส่งผลให้มีปริมาณอ้อยเข้าหีบมากขึ้น จึงผลิตน้ำตาลได้เพิ่มขึ้น

? สาขาอุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว ได้แก่

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 11.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน และท่อเหล็กกล้า เป็นหลัก เนื่องจากความต้องการสินค้าชะลอตัวตามค้าสั่งซื้อของลูกค้าที่ลดลง รวมถึงมีการหยุดผลิตเพื่อซ่อมบ้ารุงเครื่องจักรของผู้ผลิตบางราย ส่งผลให้ผลิตได้ลดลง

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 42.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากบุหรี่เป็นหลัก เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีใหม่ (1ตุลาคม 2564) ส่งผลให้มีการปรับตัวด้านราคาและแข่งขันกันมากขึ้น และเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ท้าให้ผู้บริโภคส่วนหนึ่งลดหรือเลิกสูบบุหรี่

อุตสาหกรรมจักรยานยนต์ ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากลูกค้าหลักจากประเทศคู่ค้าส้าคัญปรับลดค้าสั่งซื้อลง ส่งผลให้ผลิตลดลง

อัตราการใช้ก้าลังการผลิตในเดือนธันวาคม 2564

อยู่ที่ระดับร้อยละ

อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนธันวาคม 2563 อยู่ที่ระดับร้อยละ 63.16

อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนธันวาคม 2562 อยู่ที่ระดับร้อยละ 63.18

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญในปี 2564

? สาขาอุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่

? สาขาอุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว ได้แก่

อัตราการใช้ก้าลังการผลิตปี 2564

อยู่ที่ระดับร้อยละ

ข้อมูลเพิ่มเติม : : อรศุภา เชาวนปรีชากองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โทร. 0 2430 6806 ต่อ 680614

การผลิตภาคอุตสาหกรรมภาพรวมปี 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นผลมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับอุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว อาทิ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง อัตราการใช้กำลังการผลิต ในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 63.7

อุตสาหกรรมยานยนต์ ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 199.11เมื่อเทียบกับปีก่อน จากรถบรรทุกปิคอัพน้ำหนักบรรทุก 1 ตันและรถยนต์นั่งความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,800 ccccเป็นหลัก เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ค้าสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ท้าให้ผลิตเพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 15.4เมื่อเทียบกับปีก่อน จากแผงวงจรรวม (IntegratedIntegratedcircuit:circuit:IC)IC)และแผงวงจรพิมพ์ (PrintedPrintedCircuit Circuit BoardBoardAssembly:Assembly:PCBA)PCBA)เนื่องจากความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่ยังเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง เพื่อน้าไปใช้ร่วมกับกลุ่มสินค้าต่าง ๆ เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 2.3เมื่อเทียบกับปีก่อน จากน้ำมันเครื่องบิน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เป็นหลัก เนื่องจากมาตรการเพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 ในช่วงต้นปี ส่งผลให้มีการจ้ากัดการเดินทาง ขนส่ง และด้าเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ลดลง

อุตสาหกรรมสัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 13.7เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นการลดลงทั้งจากปลาทูน่าและปลาซาร์ดีนกระป๋อง เนื่องจากมาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศและต่างประเทศ สร้างความกังวลต่อการวางแผนการสั่งซื้อของลูกค้าและชะลอค้าสั่งซื้อ รวมถึงปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น ท้าให้ผลิตลดลง

อัตราการใช้กำลังการผลิตปี 2563 อยู่ที่ระดับร้อยละ 61.0

อัตราการใช้กำลังการผลิตปี 2562 อยู่ที่ระดับร้อยละ 66.3

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ