อก. เผย MPI เดือนเมษายน 65 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 เศรษฐกิจภาคอุตฯ ยังคงขยายตัว ความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้น สอดรับการบริโภคภายในประเทศ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 30, 2022 14:44 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อก. เผย MPI เดือนเมษายน 65 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8

เศรษฐกิจภาคอุตฯ ยังคงขยายตัว ความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้น สอดรับการบริโภคภายในประเทศ

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ส่งผลให้ MPI 4 เดือนแรกปี 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.37 ด้านสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาดเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการส่งออกที่เติบโตต่อเนื่อง สอดรับตลาดภายในประเทศฟื้นตัวหลังการเปิดประเทศ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน ส่งผลให้ MPI ช่วง 4 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 1.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่อัตราการใช้กาลังการผลิต 4 เดือนแรกอยู่ที่ระดับ 64.63 หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศคลี่คลายลงจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ ตามลาดับ ส่งผลให้การบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่เติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมทางการเกษตร

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อานวยการสานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศมีแนวโน้มคลี่คลาย ประชาชนสามารถออกมาใช้ชีวิตประจาวันและบริโภคได้ตามปกติมากขึ้น ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว สะท้อนได้จากอุตสาหกรรมน้ามันปิโตรเลียมที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อ ภาคการส่งออกทาให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคา อาวุธ รถถังและอากาศยาน) เดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 4.98 ในขณะที่สถานการณ์ความไม่สงบของรัสเซียและยูเครนได้ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาพลังงานและค่าขนส่ง ด้านภาพรวมสถานการณ์เงินเฟ้อเริ่มส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม สะท้อนได้จากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเดือนเมษายนขยายตัวที่ร้อยละ 11.4 เร่งตัวขึ้นจากเดือนมีนาคมขยายตัวที่ร้อยละ 10.4 ขณะเดียวกันสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทยยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดย สศอ. ได้ใช้เครื่องมือระบบเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย (The Early Warning System Industry

Economics : EWS-IE) ในการคานวณ สะท้อนให้เห็นว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะขยายตัวใน 1-2 เดือนข้างหน้า อุปสงค์ในประเทศและการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว ความเชื่อมั่นทางภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นจากการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ทาให้มีความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ด้านปัจจัยต่างประเทศยังคงส่งสัญญาณปกติจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายประเทศที่ยังเติบโตได้ สาหรับอุตสาหกรรมหลักที่ดัชนีผลผลิตส่งผลบวกในเดือนเมษายน 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.82 จากผลิตภัณฑ์รถบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดกลาง เครื่องยนต์ดีเซล เป็นหลัก โดยขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศและประเทศคู่ค้า รวมถึงราคาพืชผลเกษตรสาคัญหลายรายการปรับตัวสูงขึ้น น้ามันปิโตรเลียม ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.53 จากผลิตภัณฑ์น้ามันดีเซลหมุนเร็ว น้ามันเครื่องบิน เป็นหลัก เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศมีแนวโน้มคลี่คลาย เศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ทาให้การขนส่งเดินทางในประเทศเพิ่มขึ้น ประชาชนสามารถการเดินทางกลับภูมิลาเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ได้ ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.41 จากผลิตภัณฑ์ยางแท่ง เป็นหลัก เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของแรงงานในปีก่อน ส่งผลให้มีการผลิตได้ เป็นจานวนน้อย ประกอบกับในปีนี้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าฟื้นตัวจึงมีคาสั่งซื้อกลับเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เครื่องประดับ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 35.95 เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ในหลายประเทศมีการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ และทยอยเปิดเมือง ส่งผลให้เกิดการท่องเที่ยวและบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มมากขึ้น ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.22 จากผลิตภัณฑ์ PCBA และ IC เป็นหลัก เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กาลังการผลิต (รายเดือน)

Index

2564

2565

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค. เม.ย.

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

91.27

100.17

98.12

89.98

86.70

94.72

97.51

100.75

102.26

104.46

101.70

109.93 91.79

อัตราการเปลี่ยนแปลง (MOM) %

-16.60

9.75

-2.05

-8.30

-3.65

9.25

2.94

3.33

1.50

2.15

-2.64

8.09 -16.51

อัตราการเปลี่ยนแปลง (YOY) %

18.22

26.03

18.64

3.75

-4.95

0.35

2.74

4.59

6.66

2.02

2.45

0.44 0.56

อัตราการใช้กาลังการผลิต

59.30

64.91

63.75

58.10

56.28

61.14

63.12

65.17

65.24

65.69

64.58

69.33 58.91

ที่มา : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2565

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ