สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 2/2566

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 20, 2023 15:02 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2

สารบัญ

หน้า

บทสรุปผู้บริหาร 3

ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 2/2566 5

ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 2/2566

และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2566 14

2.1 อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า 15

2.2 อุตสาหกรรมไฟฟ้า 16

2.3 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 17

2.4 อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ 18

2.5 อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ 19

2.6 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ 20

2.7 อุตสาหกรรมพลาสติก 21

2.8 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี 22

2.9 อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ 23

2.10 อุตสาหกรรมเซรามิก 24

2.11 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ 25

2.12 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 26

2.13 อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน 27

2.14 อุตสาหกรรมยา 28

2.15 อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง 29

2.16 อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง 30

2.17 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 31

2.18 อุตสาหกรรมอาหาร 32

3

บทสรุปผู้บริหาร

สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 2/2566

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2/2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัว

ร้อยละ 5.6 ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1/2566 ที่หดตัวร้อยละ 3.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการผลิต

เพื่อส่งออกในหลายกลุ่มหดตัว อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหลายอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี

โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในไตรมาสที่ 2/2566 อาทิ Hard Disk Drive

จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง ส่งผลกระทบต่อการลงทุนและกำลังซื้อของผู้บริโภค เหล็กและเหล็กกล้า

จากการลดคำสั่งซื้อของลูกค้าเพื่อรอดูทิศทางราคาเหล็ก รวมถึงความต้องการบริโภคเหล็กปลายน้ำชนิดต่าง ๆ

ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องหดตัวตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางล้อ เนื่องจากการฟื้นตัว

ของภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ชัดเจน ส่งผลให้กำลังซื้อสินค้าของลูกค้าลดลง โดยเฉพาะจากประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้า

รายสำคัญของไทย สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดีในไตรมาสที่ 2/2566 อาทิ รถยนต์ จากตลาดส่งออกที่มี

การขยายตัวในรถยนต์ทุกประเภท อย่างไรก็ตามตลาดในประเทศมีการชะลอตัวเนื่องจากความเข้มงวดในการอนุมัติ

สินเชื่อของสถาบันการเงิน รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น การผลิตน้ำตาล เนื่องจากความต้องการที่มากขึ้นตาม

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงมีปริมาณอ้อยเข้าหีบมากกว่าปีก่อน

แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 3/2566

? เหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาวัตถุดิบ

ในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั่งซื้อเพื่อดูทิศทางราคา และอาจส่งผลต่อความต้องการ

ใช้เหล็ก อย่างไรก็ตาม หากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมของภาครัฐมีความ

ต่อเนื่อง คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ

? อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า คาดว่าดัชนีผลผลิตจะมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 2.5 และมูลค่าการส่งออก

จะมีการขยายตัวร้อยละ 3.0 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และสถานการณ์เงินเฟ้อที่คลี่คลายขึ้น รวมถึงภาวะ

เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในตลาดส่งออกหลักของไทยซึ่งส่งผลบวกต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม

เครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประเด็นที่ต้องจับตาซึ่งอาจส่งผลลบต่อการผลิตและส่งออกได้ เช่น นโยบายที่ให้

ความสำคัญด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นของหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งอาจจะส่งผลกับกระบวนการผลิตในโรงงาน

อุตสาหกรรม

? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวประมาณร้อยละ 5.0 - 10.0 เนื่องจากผู้ประกอบการ

ต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิต การขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ทำให้ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอ อีกทั้งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางประเภท เช่น IC ยังคงมีสินค้าคงคลังที่ยังไม่ได้

ขายสู่ตลาด อย่างไรก็ตาม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังคงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและ

ผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทำให้ยังคงมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง

ในขณะที่มูลค่าการส่งออกจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 1.0 - 3.0 เนื่องจากสินค้าหลักที่สำคัญ เช่น

วงจรรวมยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ต้องจับตาสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่าง

สหรัฐอเมริกา จีน และไต้หวันที่อาจส่งผลต่อ Supply Chain การผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น มาตรการ

ควบคุมการส่งออกเทคโนโลยีชิปของสหรัฐฯ การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และปรับสัดส่วนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์

ในประเทศจีน เป็นต้น

? รถยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 490,000 คัน โดยแบ่งเป็น การผลิตเพื่อ

จำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50

4

? รถจักรยานยนต์ ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 440,000 คัน โดย

แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

? เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่า กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์

จะขยายตัวตามการบริโภคในประเทศ และการใช้งานสำหรับบรรจุสินค้าต่าง ๆ สำหรับการส่งออกเยื่อกระดาษ

จะขยายตัว โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศจีน ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี สำหรับกลุ่มสิ่งพิมพ์ คาดว่า

จะชะลอตัวต่อเนื่อง

? ไม้และเครื่องเรือน ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศจะยังคงชะลอตัว

จากฐานตัวเลขเมื่อปีที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับสูงและอุปสงค์ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศที่ยังทรงตัว ในส่วนของ

การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ คาดว่าจะกลับมาขยายตัวโดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ ที่เริ่มมี

แนวโน้มความต้องการเพิ่มสูงขึ้น

? ยาง และผลิตภัณฑ์ยาง ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) จะยังคง

ชะลอตัวจากอุปสงค์ความต้องการผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในตลาดต่างประเทศที่มีแนวโน้มลดลง แต่ในส่วนของปริมาณการ

ผลิตยางรถยนต์และถุงมือยางคาดการณ์ว่า จะกลับมาขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด

ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ในส่วนของถุงมือยางคาดว่าปริมาณการผลิตจะกลับมาขยายตัวภายหลังจากลดลง

ต่อเนื่อง 4 ไตรมาส

? อัญมณีและเครื่องประดับ การผลิตและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม คาดว่าจะมีแนวโน้ม

ชะลอตัว เนื่องจากการหดตัวทางด้านอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ยังคงได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดย

ได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานในยูโรโซน อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งปัญหาความ

ขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น อาจส่งผลให้การส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง

อย่างไรก็ตาม แม้การบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในตลาดสำคัญทั่วโลกยังมีความไม่แน่นอน แต่

เครื่องประดับที่สวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน และปรับเปลี่ยนเป็นสินค้ารักษ์โลกที่ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญยังเติบโต

ได้ อีกทั้งมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ และค่าเงินบาทที่มี

แนวโน้มอ่อนค่าซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออก อาจเป็นปัจจัยผลักดันให้มีการส่งออกและการ

ผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น

? อาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะหดตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ภาคการท่องเที่ยวยังส่งสัญญาณที่ดี

รวมถึงอุปสงค์การนำเข้าสินค้าจากตลาดต่างประเทศ และความต้องการนำเข้าน้ำตาลยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

5

ส่วนที่ 1 ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 2/2566

6

ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 2 ปี 2566

GDP

ขยายตัวร้อยละ 1.8 (%YoY)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP

ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 1.8

โดยขยายตัว ในอัตราช ล อตัว ล งจากไตรมาส

ที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 และชะลอตัวลง

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ

2.5

ปัจจัยสำคัญของการเติบโตของ GDP

GDP ภาคอุตสาหกรรม

หดตัวร้อยละ 3.3 (%YoY)

GDP ภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566

หดตัวร้อยละ 3.3 ปรับลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา

ที่หดตัวร้อยละ 3.0 และปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน (2565) ที่หดตัวร้อยละ 0.8

ที่มา : สา นักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การผลิตภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 0.5

การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 3.3

การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชน

ขยายตัวร้อยละ 7.8

การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 0.4

การส่งออกสินค้าและบริการ

ขยายตัวร้อยละ 0.7

ภาคบริการขยายตัวร้อยละ 4.1

ที่มา : สา นักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ผลผลิตมวลรวมของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2

ของปี 2566 ลดลงร้อยละ 3.3 เป็นผลจากการผลิต

ที่ลดลง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการ

ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของ

เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น การผลิต

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตเหล็กและ

เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

7

ดัชนีอุตสาหกรรมที่สำคัญ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

หดตัวร้อยละ 5.6

(%YoY)

ดัชนีการส่งสินค้า

หดตัวร้อยละ 4.4

(%YoY)

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

อยู่ที่ระดับ 90.14 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (101.33)

ร้อยล 11.05 แล ล ดล งจากไตรมาส เดียว กัน

ของปี 2565 (95.47) ร้อยละ 5.6

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล

การผลิตยานยนต์ และ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ

เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2565

ได้แก่ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และ การผลิต

ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ

93.37 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (99.80) ร้อยละ

6.45 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2565

(97.65) ร้อยละ 4.4

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลง

จากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์

การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ และ การผลิตน้ำมันปาล์ม

เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้า

ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2565 ได้แก่ การผลิต

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตผลิตภัณฑ์

ยางอื่น ๆ และ การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน

เป็นต้น

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

8

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

ขยายตัวร้อยละ 3.4

(%YoY)

อัตราการใช้กำลังการผลิต

อยู่ที่ร้อยละ 57.64

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

อยู่ที่ระดับ 137.66 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (140.58)

ร้อยละ 2.08 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2565

(133.12) ร้อยละ 3.4

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตคอมพิวเตอร์

และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ และ

การผลิตน้ำมันปาล์ม เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูป

คงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2565 ได้แก่

การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์

น้ำแร่และน้ำดื่มบรรจุขวดประเภทอื่น ๆ และ การผลิต

เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน เป็นต้น

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 อัตราการใช้กำลังการผลิต

อยู่ที่ระดับร้อยละ 57.64 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา

(ร้อยละ 63.81) และลดลงจากไตรมาสเดียวกัน

ของปี 2565 (ร้อยละ 61.20)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิต

ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์

การผลิตน้ำตาล และ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ

เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลัง

การผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2565 ได้แก่

การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิต

ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และ การผลิตเหล็ก

และเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

9

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม

ไตรมาส 2 อยู่ที่ระดับ 93.87

ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 ดัชนีความเชื่อมั่น

ภาคอุตสาหกรรมมีค่า 93.87 ลดลงจากไตรมาส

ที่ผ่านมา (95.97) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี

2565 (85.60) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า

3 เดือน อยู่ที่ระดับ 103.80 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน

ของปี 2565 (96.70)

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวลดลงของความเชื่อมั่น

ภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 2 ปี 2566 มาจาก

ภาคการส่งออกยังคงชะลอตัว จากสภาวะเศรษฐกิจโลก

ที่มีความไม่แน่นอนส่งผลให้อุปสงค์จากประเทศคู่ค้า

ลดลง โดยเฉพาะจีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อาเซียน และยุโรป

รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่สูง นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้

ที่อยู่ในทิศทางขาขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีต้นทุน

การเงินเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยสนับสนุน

จากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว ทำให้ความ

ต้องการสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ขณะที่การฟื้นตัว

ของเศรษฐกิจจีนส่งผลดีต่อภาคการส่งออก

ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

10

การค้าต่างประเทศของไทย

?การค้าต่างประเทศของไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2566 หดตัวลงร้อยละ 6.53 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์

ที่ยังคงยืดเยื้อ รวมทั้งผลกระทบจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของหลายประเทศ อัตราดอกเบี้ยและอัตรา

เงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าจะยังขยายตัวได้ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์โลก และแรง

สนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว?

การค้าระหว่างประเทศของไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่าทั้งสิ้น 145,043.70 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 70,890.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อย 6.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

(YOY) และมูลค่าการนำเข้า 74,153.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

(YOY) ดุลการค้าไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ขาดดุล 3,263.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โครงสร้างการส่งออกสินค้า

การส่งออกสินค้าของไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่า 70,890.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว

ร้อยละ 6.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้า

เกษตรกรรม มีมูลค่าการส่งออก 7,984.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.47 (YOY) สินค้าอุตสาหกรรม

การเกษตร มีมูลค่าการส่งออก 5,815.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.49 (YOY) สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่า

การส่งออก 54,278.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.67 (YOY) สินค้าแร่และเชื้อเพลิงมีมูลค่าการส่งออก

2,811.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 28.16 (YOY)

11

ตลาดส่งออกสินค้า

ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าไปยังตลาดคู่ค้าหลัก

รวม 5 ตลาด ได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป

(27 ประเทศ) คิดเป็นร้อยละ 62.34 และสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาด

อื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 37.66 ของการส่งออกทั้งหมด ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้า

หลักของไทยหดตัวลงทุกตลาดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

(YOY) มีรายละเอียด ดังนี้

? ไทยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกไปอาเซียน สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ร้อยละ

23.2, 16.5, 14.2, 8.5 และ 7.7 ตามลำดับ

? ไทยมีมูลค่าการส่งออก 70,890.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน (YOY) โดย สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) หดตัวสูงที่สุด ร้อยละ 16.34 รองลงมา คือ อาเซียน

หดตัวร้อยละ 15.24 สหรัฐอเมริกา หดตัวร้อยละ 3.28 ญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 2.29 และ จีนหดตัวร้อยละ 0.64

ตามลำดับ

โครงสร้างการนำเข้าสินค้า

การนำเข้าสินค้าของไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่า 74,153.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว ร้อยละ 6.90

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ สินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่าการ

นำเข้า 14,493.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 12.89 (YOY) สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า 17,541.22

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.88 (YOY) สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 29,658.81

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 12.50 (YOY) สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าการนำเข้า 7,841.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

หดตัวร้อยละ 2.66 (YOY) ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 3,675.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ขยายตัวร้อยละ 26.30 (YOY) และสินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 942.75

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.97 (YOY)

12

ตลาดนำเข้าสินค้า

ไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าหลัก รวม 5 ตลาด

ได้แก่ จีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา

คิดเป็นร้อยละ 65.18 และการนำเข้าจากตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ

34.82 ของการนำเข้าทั้งหมด โดยตลาดนำเข้าหลักที่มีการขยายตัว

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) ได้แก่ สหภาพยุโรป

(27 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ 15.13 สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ

11.38 ส่วนตลาดที่มี การนำเข้าหลักหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน (YOY) ได้แก่ อาเซียน ญี่ปุ่น และ จีน หดตัวร้อยละ 14.09

10.82 และ 4.33 ตามลำดับ มีรายละเอียด ดังนี้

? ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าจากจีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วน

ร้อยละ 23.7, 16.3, 11.0, 7.3 และ 6.9 ตามลำดับ

? ไทยมีมูลค่าการนำเข้า 74,153.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน

ของปีก่อน (YOY) โดย อาเซียน หดตัวสูงสุด ร้อยละ 14.09 รองลงมา คือ ญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 10.82 และ

จีน หดตัวร้อยละ 4.33 ขณะที่สหภาพยุโรป (27 ประเทศ ขยายตัวสูงสุดร้อยละ 15.13 รองลงมา คือ

สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 11.38

13

เศรษฐกิจโลก ไตรมาสที่ 2 ปี 2566

เศรษฐกิจโลกไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ขยายตัวต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ และ

การฟื้นตัวของภาคบริการและการท่องเที่ยว แรงกดดันด้านเงินเฟ้อเริ่มชะลอลง และการผ่อนคลายลงของแรงกดดัน

ด้านอุปทาน ส่งผลให้ธนาคารกลางสำคัญ ๆ เริ่มคงและชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไรก็ดี ความขัดแย้ง

ระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่มีความตึงเครียดมากขึ้น ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออกสินค้าของจีน

ชะลอตัวลงตามมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ รวมทั้ง การส่งออกสินค้าของประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ปรับตัว

ลดลงตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ส่งผลให้การฟื้นตัวยังเป็นไปอย่างจำกัด

สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญ ไตรมาสที่ 2 ปี 2566

Quarterly Growth (%YoY)

GDP Inflation MPI Export

Unemp.

Rate

Policy

Rate

สหรัฐฯ ? 2.6 ? 4.1 ? -0.1 ? -6.6 At 3.6 At 5.00-5.25

จีน ? 6.3 ? 0.1 ? 4.5 ? -5.4 At 5.2 At 3.55

ญี่ปุ่น ? 2.0 ? 3.4 ? 1.1 ? -4.0 At 2.6 At -0.10

มาเลเซีย ? 2.9 ? 3.7 ? -0.2 ? -14.6 At 3.5 At 3.0

เวียดนาม ? 4.1 ? 2.4 ? -0.03 ? -12.2 At 2.3 At 3.0

ไทย ? 1.8 ? 1.1 ? -5.6 ? -6.2 At 1.1 At 2.0

ที่มา: ceicdata, https://www.nesdc.go.th, https://tradingeconomics.com

เศรษฐกิจโลกในปี 2566 มีแนวโน้มชะลอตัวลงอันเป็นผลมาจากแรงกดดันด้านราคาสินค้าและการปรับขึ้น

อัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และ

การค้าโลกที่ยังคงมีแนวโน้มที่เผชิญกับข้อจำกัดจากปัญหาความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์โดยเฉพาะความขัดแย้ง

ระหว่างสหรัฐฯ และจีน จีนและไต้หวัน และรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อและมีความไม่แน่นอน ปัญหาเงินเฟ้อ

และผลพวงจากการคุมเข้มนโยบายการเงินของหลายประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังของปี

คาดว่ามีแนวโน้มที่ดีจากการฟื้นตัวของภาคบริการท่องเที่ยวอันเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ

สถานการณ์ทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและจากไตรมาส

ก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจาก (1) ความต้องการใช้น้ำมันในตลาดโลกชะลดตัวลง หลังธนาคารกลางของประเทศ

เศรษฐกิจหลักปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น (2) ปริมาณน้ำมันดิบ

สำรองทางการค้าของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ (3) เศรษฐกิจจีน ซึ่ง

เป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ของโลกมีแนวโน้มจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้

14

ส่วนที่ 2 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยรายสาขาไตรมาสที่ 2/2566

และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2566

15

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ที่มา : สา นักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ปริมาณการบริโภคในประเทศและมูลค่าการนาเข้า

ที่มา : สา นักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

การผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มีค่า

76.9 หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.1 (%YoY) และ

หดตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 14.2 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับ

ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 22.6

ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน

หดตัวร้อยละ 40.9 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบ

ดีบุก หดตัวร้อยละ 22.8 และ 21.1 ตามลำดับ และการผลิตเหล็กทรงยาว

หดตัวร้อยละ 24.7 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กลวด

หดตัวร้อยละ 39.1 รองลงมา คือ เหล็กเส้นกลม และเหล็กโครงสร้าง

รูปพรรณ ชนิดรีดร้อน หดตัวร้อยละ 37.4 และ 36.9 ตามลำดับ

การบริโภคในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2566

มีปริมาณ 4.1 ล้านตัน หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 13.2 (%YoY) และหดตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 9.4

(%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

การบริโภคเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 14.9 จากการบริโภค

เหล็กแผ่นหนารีดร้อน หดตัวร้อยละ 37.5 รองลงมา คือ เหล็ก

แผ่นเคลือบโครเมี่ยม และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน หดตัวร้อยละ

15.0 และ 12.5 ตามลำดับ และการบริโภคเหล็กทรงยาว หดตัว

ร้อยละ 10.5 จากการบริโภคเหล็กลวด รวมถึงเหล็กเส้นและ

เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ หดตัวร้อยละ 10.8 และ 7.3 ตามลำดับ

การนำเข้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่า 2.97

พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 20.3 (%YoY) และหดตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.6

(%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

การนำเข้าเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 24.4 ผลิตภัณฑ์

ที่การนำเข้าหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน ประเภท

Alloy Steel หดตัวร้อยละ 72.7 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า

คือ จีน และญี่ปุ่น) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม

และเหล็กแผ่นบางรีดเย็น ประเภท Carbon Steel หดตัว

ร้อยละ 60.6 และ 39.9 ตามลำดับ และเหล็กทรงยาว หดตัว

ร้อยละ 6.9 ผลิตภัณฑ์ที่การนำเข้าหดตัวมากที่สุด คือ เหล็ก

โครงสร้างรูปพรรณ ประเภท Stainless Steel หดตัวร้อยละ

88.2 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน และมาเลเซีย)

รองลงมา คือ เหล็กลวด ประเภท Stainless Steel และเหล็กเส้น

ประเภท Stainless Steel หดตัวร้อยละ 39.9 และ 37.3 ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ไตรมาสที่ 3 ของปี 2566

ค ด ก ร ณ ว่า จ ห ด ต วเ ล็ก น อย เ มื่อเ ทีย บกับ

ช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาวัตถุดิบในตลาดโลก

มีแนวโน้มปรับตัวลดลง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั่งซื้อเพื่อดู

ทิศทางราคา และอาจส่งผลต่อความต้องการใช้เหล็ก อย่างไรก็ตาม

หากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายสนับสนุน

อุตสาหกรรมของภาครัฐมีความต่อเนื่อง คาดว่าจะเป็นปัจจัย

สนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 2 ปี 2566 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 จากการผลิตผลิตภัณฑ์ทั้งกลุ่มเหล็กทรงยาว

และเหล็กทรงแบน เช่น เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เหล็กลวด เหล็กเส้นกลม เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน และเหล็กแผ่นรีดเย็น เป็นต้น

16

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก

การจำหน่ายในประเทศ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันไฟฟ้าและ

อิเล็กทรอนิกส์

การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 2 ปี 2566 ดัชนีผลผลิต

อยู่ที่ 105.1 โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 4.7

(%QoQ) และลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 2.4 (%YoY) โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลง

ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน สายไฟฟ้า

หม้อหุงข้าว พัดลมตามบ้าน คอมเพรสเซอร์ เตาอบ

ไมโครเวฟ และหม้อแปลงไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 35.2, 17.7,

15.8, 14.1, 11.2, 11.1, 10.0, 9.4 และ 0.8 ตามลำดับ

เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นทั่วโลก และต้นทุนการผลิต

ที่สูงขึ้น ในขณะที่สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่

สายเคเบิ้ล เครื่องซักผ้า และเครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 20.4, 16.5 และ 10.7 ตามลำดับ

การจำหน่ายในประเทศ ไตรมาส 2 ปี 2566 สินค้าที่มี

การปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ได้แก่ กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว คอมเพรสเซอร์ ตู้เย็น และ

เครื่องซักผ้า ลดลงร้อยละ 16.0, 13.3, 7.7, 6.8 และ 6.1

ตามลำดับ ในขณะที่เตาอบไมโครเวฟ เครื่องปรับอากาศ และ

พัดลม เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.4, 12.9 และ 12.1 ตามลำดับ

การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่า

4,408.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 9.5

(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเด ยวก นของป ก อน

ร้อยละ 1.3 (%YoY) โดยสินค้าหลักที่มีการนำเข้าลดลง ได้แก่

เครื่องซักผ้า พัดลม และมอเตอร์ไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 11.7,

10.4 และ 6.3 ตามลำดับ

การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาส 2 ปี 2566 มีมูลค่า

การส่งออก 7,710.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยลดลง

จากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 5.9 (%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจาก

ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.9 (%YoY) โดยส่งออก

เพิ่มขึ้นในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา อาเซียน และญี่ปุ่น

เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.7, 36.9, 3.0 และ 1.1 ตามลำดับ โดยสินค้า

ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องซักผ้า

แผงสวิตซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้าและพัดลม เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 57.9, 17.6, 13.8 และ 2.2 ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 3 ของปี 2566

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 คาดว่าดัชนีผลผลิตจะมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 2.5 และคาดว่ามูลค่า

การส่งออกจะมีการขยายตัวร้อยละ 3.0 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และสถานการณ์เงินเฟ้อที่คลี่คลายขึ้น รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจโลก

ที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในตลาดส่งออกหลักของไทยซึ่งส่งผลบวกต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ยังคงมี

ประเด็นที่ต้องจับตาซึ่งอาจส่งผลลบต่อการผลิตและส่งออกได้ เช่น นโยบายที่ให้ความสำคัญด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นของหลาย

ประเทศทั่วโลก ซึ่งอาจจะส่งผลกับกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม

91.3 98.8

109.3 107.8

98.1 89.8

100.4 105.1

0

20

40

60

80

100

120

140

Q3-2564 Q4-2564 Q1-2565 Q2-2565 Q3-2565 Q4-2565 Q1-2566 Q2-2566

ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

ดัชนีผลผลิต

4,522.7 4,640.1 4,471.7 4,465.9 4,518.9 4,644.4 4,868.9

4,408.3

6,748.8

7,237.2 7,582.3

7,211.4

7,709.7

6,915.3

8,194.4 7,710.9

0

2,000

4,000

6,000

8,000

Q3-2564 Q4-2564 Q1-2565 Q2-2565 Q3-2565 Q4-2565 Q1-2566 Q2-2566

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนาเข้า มูลค่าการส่งออก

การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ลดลงร้อยละ 2.4 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ

ที่พุ่งสูงขึ้นทั่วโลก และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยสินค้าที่มีการผลิตปรับตัวลดลง ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน สายไฟฟ้า หม้อหุงข้าว

พัดลมตามบ้าน คอมเพรสเซอร์ เตาอบไมโครเวฟ และหม้อแปลงไฟฟ้า และมีการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา อาเซียน และญี่ปุ่น

17

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีผลผลิต มูลค่าการนำเข้า และมูลค่าการส่งออก

อิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันไฟฟ้าและ

อิเล็กทรอนิกส์

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566

มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 77.9 โดยลดลงจากไตรมาสที่แล้ว

ร้อยละ 6.1 (%QoQ) และลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส

เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.2 (%YoY) โดยสินค้า

อิเ ล ก ทรอน ก ส์ที่มีก ร ปรับ ตัว ลด ลง ไ ด แ ก่ HDD,

Semiconductor devices transistor, แผงวงจร (PWB),

Printer, วงจรรวม (IC) และ วงจรพิมพ์ (PCBA) โดยปรับตัว

ลดลงร้อยละ 36.9, 25.9, 22.8, 13.6, 7.6 และ 1.9

ตามลำดับ โดยสาเหตุที่มีการปรับตัวลดลงเนื่องจากความ

ต้องการสินค้าในประเทศและต่างประเทศลดลง

การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 2

ปี 2566 มีมูลค่าการนำเข้า 10,809.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ลดลงจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 4.7 (%QoQ) และลดลง

ร้อยละ 6.4 (%YoY) ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

โดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ วงจรพิมพ์

เครื่องพิมพ์ และวงจรรวม ปรับตัวลดลงร้อยละ 25.1, 5.7

และ 4.7 ตามลำดับ

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 2

ปี 2566 มีมูลค่าการส่งออก 10,876.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วเล็กน้อยร้อยละ 0.9 (%QoQ)

และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.7 (%YoY) จากไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน โดยส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียน

เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 โดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น

ได้แก่ วงจรรวม ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0

แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2566

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวประมาณร้อยละ 5.0 - 10.0 เนื่องจาก

ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิต การขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ทำให้ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอ อีกทั้งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางประเภท เช่น IC ยังคงมีสินค้าคงคลังที่ยังไม่ได้ขายสู่ตลาด อย่างไรก็ตาม

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังคงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT

ทำให้ยังคงมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่มูลค่าการส่งออกจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณ

ร้อยละ 1.0 - 3.0 เนื่องจากสินค้าหลักที่สำคัญ เช่น วงจรรวมยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ต้องจับตา

สถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกา จีน และไต้หวันที่อาจส่งผลต่อ Supply Chain การผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

เช่น มาตรการควบคุมการส่งออกเทคโนโลยีชิปของสหรัฐฯ การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และปรับสัดส่วนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์

ในประเทศจีน เป็นต้น

96.0 101.5 100.0 94.0 93.8 88.7 83.0 77.9

0

20

40

60

80

100

120

140

Q3-2564 Q4-2564 Q1-2565 Q2-2565 Q3-2565 Q4-2565 Q1-2566 Q2-2566

ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีผลผลิต

10,691.7

12,217.4 11,754.0 11,552.9

11,923.4

10,732.2

11,347.3 10,809.1

10,177.0

11,364.7

11,017.6 10,796.7

11,684.4 11,358.1

10,776.7 10,876.1

0

2,000

4,000

6,000

8,000

10,000

12,000

14,000

Q3-2564 Q4-2564 Q1-2565 Q2-2565 Q3-2565 Q4-2565 Q1-2566 Q2-2566

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนาเข้า มูลค่าการส่งออก

การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ปรับตัวลดลงร้อยละ 17.2 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

เนื่องจากความต้องการสินค้าในประเทศและต่างประเทศลดลง โดยสินค้าที่มีการผลิตปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD, Semiconductor

devices transistor, แผงวงจร (PWB), Printer, วงจรรวม (IC) และ วงจรพิมพ์ (PCBA) ทั้งนี้มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียน

18

อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2566

จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประมาณการ

ในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 490,000 คัน โดยแบ่งเป็น

การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ

45-50

? การผลิตรถยนต์

? ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีจำนวน 413,725 คัน ลดลง

จากไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ร้อยละ 18.52 (%QoQ) แต่

เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 6.07

(%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็น การผลิตรถยนต์นั่ง

ร้อยละ 34 รถกระบะ 1 ตันและอนุพันธ์ ร้อยละ 64

และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น ๆ ร้อยละ 2

? การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ

? ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีจำนวน 189,058 คัน ลดลง

จากไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ร้อยละ 12.91 (%QoQ)

และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

3.59 (%YoY)

? การส่งออกรถยนต์

? ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีจำนวน 255,124 คัน ลดลง

จากไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ร้อยละ 6.78 (%QoQ) แต่

เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 23.53

(%YoY) โดยมีสัดส่วนแบ่งเป็น การส่งออกรถยนต์นั่ง

ร้อยละ 31 รถกระบะ 1 ตัน ร้อยละ 58 และรถ PPV

ร้อยละ 11

มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์

รถยนต์

? ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่า 2,414.71 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ร้อยละ 1.85

(%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 0.72 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของ

ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา

ญี่ปุ่น และมาเลเซีย

มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์

ยานยนต์

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่า 2,032.32 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ร้อยละ 4.73

(%QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 0.55 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของ

ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน

และสหรัฐอเมริกา

390,033

493,872

519,478 507,787

413,725

196,114 206,391 215,701 217,073

189,058

206,520 256,806

293,812 273,692 255,124

2Q 2565 3Q 2565 4Q 2565 1Q 2566 2Q 2566

การผลิต จาหน่าย และส่งออก รถยนต์ (คัน)

การผลิต การจาหน่าย การส่งออก

2,397.34 2,496.42

2,343.81 2,460.16 2,414.71

2,021.29 2,143.63 2,074.95 2,133.15 2,032.32

2Q 2565 3Q 2565 4Q 2565 1Q 2566 2Q 2566

มูลค่าการส่งออกและนาเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์

รถยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)

มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนาเข้า

ปริมาณการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีปริมาณการผลิตขยายตัว เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยตลาดในประเทศมีการชะลอตัวเนื่องจากความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน รวมทั้งอัตราดอกเบี้ย

ที่ปรับตัวสูงขึ้น ในส่วนของตลาดส่งออกขยายตัวในรถยนต์ทุกประเภท

19

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2566

จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า

440,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85

และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20

? การผลิตรถจักรยานยนต์

? ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีจำนวน 546,926 คัน ลดลง

จากไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ร้อยละ 20.28 (%QoQ)

แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 23.52

(%YoY)

การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศ

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีจำนวน 487,415 คัน ลดลง

จากไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ร้อยละ 3.78 (%QoQ)

แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ร้อยละ 6.31

(%YoY)

? การส่งออกรถจักรยานยนต์

? ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีจำนวน 186,435 คัน (เป็น

การส่งออก CBU 112,751 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.17

และ CKD 73,684 ชุด ลดลงร้อยละ 53.92 เมื่อเทียบกับ

ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) ลดลงจากไตรมาสที่ 1

ปี 2566 ร้อยละ 22.70 (%QoQ) และลดลงจากไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.79 (%YoY)

? มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์

? ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่า 191.36 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ร้อยละ 10.40

(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 11.98 (%YoY) โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของ

ส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ บราซิล ญี่ปุ่น และ

กัมพูชา

? มูลค่าการนำเข้าของส่วนประกอบและอุปกรณ์

รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน

? ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่า 241.90 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ร้อยละ 17.77

(%QoQ) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 17.39 (%YoY) โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญของ

ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่

สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น

445,217

540,327 541,158 686,087 546,926

458,478

455,947 429,444

506,566 487,415

235,355 261,869 272,638

241,199

186,435

2Q 2565 3Q 2565 4Q 2565 1Q 2566 2Q 2566

การผลิต จาหน่าย และส่งออก รถจักรยานยนต์ (คัน)

การผลิต การจาหน่าย การส่งออก

217.40 226.02 222.08 213.57

191.36

292.81

271.77

257.47

294.18

241.90

2Q 2565 3Q 2565 4Q 2565 1Q 2566 2Q 2566

มูลค่าการส่งออกและนาเข้า ส่วนประกอบและอุปกรณ์

รถจักรยานยนต์ (ล้านเหรียญสหรัฐ)

มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนาเข้า

ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศขยายตัว

เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งเป็นสัดส่วนการผลิต รถจักรยานยนต์แบบ Commuter ร้อยละ 80 และ

รถจักรยานยนต์แบบ Sport ร้อยละ 20 อย่างไรก็ตาม การส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลง จากการส่งออกชิ้นส่วน CKD

20

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

การตลาดและการจำหน่าย

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง

พาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 2.83

เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) แต่หดตัวร้อยละ

11.82 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดัชนี

ผลผลิตที่หดตัว เช่น ปุ๋ยเคมี น้ำยาทำความสะอาด และ

แป้งฝุ่น เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ขยายตัวร้อยละ

6.55 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) แต่หดตัว

ร้อยละ 7.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)

ดัชนีการส่งสินค้าที่หดตัว เช่น น้ำยาทำความสะอาด แป้งฝุ่น

และกรดเกลือ เป็นต้น

การส่งออกเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่า

2, 344.40 ล นเหรียญส หรัฐ ฯ หดตัวร้อยละ 16.18

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดย

ผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัว เช่น

เคมีภัณฑ์อินทรีย์ สี และเคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด และเมื่อเทียบกับ

ไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) การส่งออกหดตัวร้อยละ 0.42

การนำเข้าเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่ารวม

4,921.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.18 เมื่อเทียบ

กับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัวร้อยละ 21.46

เมื่อเทียบกับไตรมาส เดียว กันของปีก่อน (%YoY)

โดยผลิตภัณฑ์หลักที่ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าหดตัว เช่น

ปุ๋ยเคมี เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ และเคมีภัณฑ์อินทรีย์ เป็นต้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2566

แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 3 ปี 2566 คาดว่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์มีแนวโน้มหดตัว

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการบริโภคในประเทศลดลง และสภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เช่น สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน

ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เป็นต้น

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าหดตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน

ของปีก่อน เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบที่มีความผันผวน และความกังวลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ผู้ผลิต

ชะลอการผลิตและผลิตตามคำสั่งซื้อเท่านั้น ในส่วนของการส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และ

เคมีภัณฑ์ หดตัวจากตลาดหลัก เช่น อินเดีย เวียดนาม และมาเลเซีย เป็นต้น

มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าเคมีภัณฑ์

(ล้านเหรียญสหรัฐ)

ดัชนีผลผลิตและดัชนีการส่งสินค้า

21

อุตสาหกรรมพลาสติก

?

การผลิต และการตลาด

ดัชนีผลผลิต ? ดัชนีการส่งสินค้า

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 หดตัวร้อยละ 6.10

เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ) และหดตัว

ร้อยละ 8.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

(%YoY) ซึ่งดัชนีผลผลิตที่หดตัวมากที่สุด ได้แก่

พลาสติกแผ่น แผ่นฟิล์มพลาสติก และกระสอบ

พลาสติก เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 หดตัว

ร้อยละ 2.86 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ)

และหดตัวร้อยละ 7.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน

ของปีก่อน (%YoY) ซึ่งดัชนีการส่งสินค้าที่หดตัว

มากที่สุด ได้แก่ พลาสติกแผ่น กระสอบพลาสติก และ

ถุงพลาสติก เป็นต้น

มูลค่าการส่งออก ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่า

984.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 19.34

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)

ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกหดตัวสูงสุด คือ กลุ่ม

ผลิตภัณฑ์ของที่ใช้ลำเลียง บรรจุภัณฑ์สินค้า

มูลค่าการนำเข้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 หดตัวร้อยละ

8.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (%YoY)

ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าหดตัวสูงสุด คือ กลุ่ม

ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ปริมาณการส่งออก ? การนำเข้า (ตัน)

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง

พาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ไตรมาสที่ 3 ของปี 2566

ในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 คาดว่าการผลิตจะชะลอตัว เนื่องจากสถานการณ์ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ

ในตลาดโลกอาจส่งผลกระทบต่อราคาต้นทุนวัตถุดิบ ส่งผลให้การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เกี่ยวข้องลดลงตามความ

ต้องการของผู้บริโภค การส่งออกคาดว่าหดตัวตามตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และจีน เป็นต้น

อุตสาหกรรมพลาสติกไตรมาสที่ 2 ปี 2566 การส่งออกและการนำเข้าหดตัวลดลง เนื่องจากความต้องการ

ผลิตภัณฑ์พลาสติกลดลงในประเทศคู่ค้าหลัก เช่น ญี่ปุ่น จีน และมาเลเซีย เป็นต้น อีกทั้งสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ

ในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การผลิตชะลอตัวลดลงเพื่อรอดูสถานการณ์ต้นทุนวัตถุดิบ

22

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ดัชนีผลผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 104.61 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.94 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนี

ผลผลิตเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน คือ Ethylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย คือ PP และ PE resin ส่วนหนึ่ง

มาจากการกลับมาผลิตหลังหยุดซ่อมบำรุงของโรงงานผลิตปิโตรเคมีขั้นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 96.15 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.07 โดยสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนี

ส่งสินค้าลดลงในไตรมาสนี้ของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน ได้แก่ Ethylene ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ PP และ PE resin

การส่งออกปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่า 2,775.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ

19.88 โดยมีการส่งออกปิโตรเคมีไปยังประเทศที่สำคัญ เช่น จีน, เวียดนาม และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การส่งออกลดลงของ

กลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PP resin และ PE resin และในกลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene, Toluene เป็นต้น

การนำเข้าปิโตรเคมี ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่า 1,506.39 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 17.38

โดยมีการนำเข้าปิโตรเคมีจากประเทศที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น, จีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งสินค้าที่ส่งผลให้การนำเข้าลดลงของ

กลุ่มปิโตรเคมีขั้นพื้นฐาน เช่น Propylene และ Ethylene Glycol เป็นต้น และกลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น PS resin และ PET resin

เป็นต้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 3 ปี 2566

ภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 3 ปี 2566 คาดว่าในภาพรวมของอุตสาหกรรมมีแนวโน้มหดตัวจากสถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลก

ที่ได้รับผลกระทบจากความยืดเยื้อของความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้ราคาพลังงานโลกเพิ่มขึ้น ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ

หลายประเทศ ทั้งนี้ต้องติดตามการประกาศตัวเลขของภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการเปิดประเทศของจีน จะส่งผลต่อแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจ

ทั่วโลก และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2565 คาดว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในไตรมาสนี้มีแนวโน้มหดตัว โดยทั้งการผลิต การส่งสินค้า และการ

ส่งออก จะปรับชะลอตัวลง จากการชะลอคำสั่งซื้อจากระดับราคาที่ชะลอตัวตามความต้องการใช้ที่ปรับตัวลดลง

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.94 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่การส่งสินค้าปรับตัว

ลดลงร้อยละ 6.07 การนำเข้าและการส่งออกปรับตัวลดลง ร้อยละ 19.88 และ 17.38 ตามสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นที่ส่งผลกระทบ

ต่อการค้าและการขนส่งทั่วโลก ประกอบกับค่าเงินสหรัฐที่แข็งค่าขึ้น และสถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลก

23

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์

?

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และกระดาษ

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การส่งออก-นำเข้าเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์

การผลิต

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 การผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ

ในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) ดัชนีฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (+0.75%)

ในกลุ่มเยื่อกระดาษ กระดาษคราฟต์ กระดาษลูกฟูก และกระดาษ

พิมพ์เขียน แต่เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) ดัชนีฯ ลดลง (-6.09%) ในทุก

กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กระดาษแข็ง กระดาษคราฟต์ กระดาษลูกฟูก

และกล่องกระดาษ ยกเว้นเยื่อกระดาษ และกระดาษพิมพ์เขียน ที่การ

ผลิตยังขยายตัวต่อเนื่องทั้งในประเทศและส่งออก ซึ่งมีคำสั่งซื้อหลักจาก

ประเทศจีน และประเทศในอาเซียน

การส่งออก

การส่งออกเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 2

ปี 2566 มีมูลค่ารวม 622.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง (-4.37%) เมื่อ

เปรียบเทียบ (%QoQ) ลดลงในกลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ

หนังสือและสิ่งพิมพ์ (-5.67%) และ (-23.43%) ตามลำดับ แต่เมื่อ

เปรียบเทียบ (%YoY) มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น (+6.07%) จากกลุ่ม

เยื่อกระดาษ (+55.00%) ซึ่งกว่าร้อยละ 95 ของการส่งออกเยื่อกระดาษ

ทั้งหมด มีการส่งออกไปยังประเทศจีน ในขณะที่กลุ่มกระดาษและ

ผลิตภัณฑ์ส่งออกลดลง (-6.99%) มีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ เวียดนาม

อินเดีย และอินโดนีเซีย สำหรับกลุ่มหนังสือและสิ่งพิมพ์ ส่งออกลดลง

เช่นเดียวกัน (-14.01%) มีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ฮ่องกง เมียนมา

และสหรัฐอเมริกา

`

การนำเข้า

การนำเข้าเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่ารวม 859.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเมื่อ

เปรียบเทียบ (%QoQ) ร้อยละ (+2.67%) เนื่องจากการผลิตในประเทศมีการผลิตน้อยลง ทำให้ต้องนำเข้าบางส่วน โดยเฉพาะเยื่อกระดาษ

กระดาษหรือกระดาษแข็งที่นำกลับมาใช้ได้อีก แต่เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) นำเข้าลดลง (-4.01%) ในกลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ

และกลุ่มสิ่งพิมพ์ นำเข้าลดลง (-13.05%) และ (-6.05%) ตามลำดับ ในขณะที่เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ยังมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น

(+7.16%)

แนวโน้มในไตรมาสที่ 3 ปี 2566

แนวโน้มในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 คาดว่า กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์จะขยายตัวตามการบริโภค

ในประเทศ และการใช้งานสำหรับบรรจุสินค้าต่าง ๆ จะขยายตัวได้ทั้ง supply chain สำหรับการส่งออกเยื่อกระดาษจะขยายตัว

โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศจีน ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี สำหรับกลุ่มสิ่งพิมพ์ คาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่อง

55

65

75

85

95

105

115

125

135

145

Q2-65 Q3-65 Q4-65 Q1-66 Q2-66

ลูก ก ครา ต เ อกระดา ม เขี น กระดา แข กล่อ กระดา

895.01

952.04

798.26

836.83 859.14

586.69

654.13

604.14

650.71

622.30

0

100

200

300

400

500

600

700

800

900

1000

Q2-65 Q3-65 Q4-65 Q1-66 Q2-66

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรวม เมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ)

ดัชนีฯ (+0.75%) แต่เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) ดัชนีฯ (-6.09%) สำหรับการส่งออกในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) มีมูลค่าการส่งออก

(-4.37%) แต่เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY) มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น (+6.07%) ในส่วนการนำเข้าในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบ (%QoQ) มีมูลค่า

การนำเข้า (+2.67%) แต่ลดลง (-4.01%) เมื่อเปรียบเทียบ (%YoY)

24

อุตสาหกรรมเซรามิก

การผลิต จำหน่าย และส่งออกเซรามิก

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนี

เศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้อง บุผนัง จำนวน 15 โรงงาน

และ เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 38 โรงงาน

2. มูลค่าการส่งออก : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด

กระทรวงพาณิชย์

การผลิต ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต

31.88 ล้านตารางเมตร หดตัวร้อยละ 7.78 (%YoY) และเครื่องสุขภัณฑ์

มีปริมาณการผลิต 1.45 ล้านชิ้น หดตัวร้อยละ 17.79 (%YoY) เมื่อเทียบกับ

ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของตลาดในประเทศ

ที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบ โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า และ

ค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งคำสั่งซื้อที่ลดลงจากตลาดส่งออก

การจำหน่าย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ

การจำหน่าย 38.20 ล้านตารางเมตร หดตัวร้อยละ 3.75 (%YoY) และเครื่อง

สุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่ายจำนวน 0.77 ล้านชิ้น หดตัวร้อยละ 7.88

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค

ลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย เช่น

การขึ้นราคาของสินค้าทุกชนิด การแข่งขันด้านการตลาดของภาคเอกชน

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

การส่งออก ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีมูลค่าการ

ส่งออก 26.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 27.30 (%YoY) และ

เครื่องสุขภัณฑ์ มีมูลค่า 45.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.72

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากคำสั่งซื้อที่ลดลง

จากประเทศสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และกลุ่ม

ประเทศ CLMV

แนวโน้มอุตสาหกรรมเซรามิก ไตรมาสที่ 3 ของปี 2566

การผลิตและการจำหน่ายเซรามิกภายในประเทศ ไตรมาส 3 ของปี 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวได้เพิ่มขึ้น ตามความ

ต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและการส่งเสริมด้านการตลาดของภาคเอกชน ส่วนการส่งออก

มีแนวโน้มทรงตัวจากความแน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยตลาดหลักในการส่งออก ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศ

อาเซียน แต่ยังมีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ ราคาพลังงาน วัตถุดิบ อัตราเงินเฟ้อ และค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ที่อาจจะส่งผล

ต่อการผลิตและการจำหน่ายภายในประเทศ

ปริมาณการผลิต การจำหน่าย และการส่งออกกระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 หดตัวจากการ

ชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบ และคำสั่งซื้อที่ลดลงจากตลาดคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะประเทศ

สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น

25

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

ที่มา : 1. ปริมาณการผลิตและจำหน่ายภายในประเทศ : กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจ

อุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. มูลค่าการส่งออก-นำเข้า : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566

มีจำนวน 10.59 ล้านตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 2.44 (%YoY)

การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ (ไม่รวมปูนเม็ด)

ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีจำนวน 9.39 ล้านตัน ลดลงจากไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.95 (%YoY) เนื่องจากภาวะ

เศรษฐกิจที่ชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลกและความล่าช้าในการ

จัดตั้งรัฐบาลส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการบริโภคของประชาชน

และนักลงทุน

การส่งออก - นำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาส ที่ 2

ปี 2566 มีมูลค่าจากการส่งออก 40.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน มีมูลค่าส่งออกลดลง

ร้อยละ 27.42 โดยลดลงมากจากตลาดกัมพูชา ร้อยละ 41.97

ส่วนการนำเข้าปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีมูลค่า 16.83

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ร้อยละ 16.83 จากการนำเข้าปูนซีเมนต์ราคาถูกจาก

สปป.ลาว และปูนซีเมนต์คุณภาพสูงจากเนเธอร์แลนด์

แนวโน้มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2566

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณ

การผลิตและการจำหน่ายคาดว่า จะขยายตัวได้เล็กน้อย หากสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จและรัฐบาลใหม่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ให้แก่ผู้บริโภคและภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน แต่อย่างไรก็ดี แนวโน้มอาจมีการ

เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจัยลบภายนอกประเทศที่มีสาเหตุจากความขัดแย้งสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังไม่สิ้นสุดจนมีผลกระทบต่อ

เศรษฐกิจในประเทศ ส่วนปัจจัยลบในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนและมักเกิดภาวะน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี จะเป็น

อุปสรรคทำให้การก่อสร้างชะงักในพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วม

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายปรับตัวลดลง

เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนจากผลกระทบทางเศรษฐกิจจากความขัดแย้งรัสเซีย -ยูเครนที่ยังยืดเยื้อ และความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาล

การส่งออกปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ส่วนการนำเข้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้น

26

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

การผลิต

ดัชนีผลผลิตเส้นใยสิ่งทอหดตัวร้อยละ 7.61 (YoY) จากการเตรียม

และการปั่นเส้นใยสิ่งทอ ทั้งเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยประดิษฐ์

การทอผ้าหดตัวร้อยละ 23.13 (YoY) เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หดตัว

ร้อยละ 29.80 (YoY) จากการผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และ

เครื่องแต่งกายจากผ้าถัก เป็นผลมาจากคำสั่งซื้อที่ลดลงจากประเทศ

คู่ค้าในตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เบลเยียม จึงทำให้

ผู้ประกอบการลดการผลิตวัตถุดิบตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ทั้งนี้ หาก

เปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2566 (QoQ) พบว่าดัชนีการผลิต

เส้นใยสิ่งทอขยายตัวร้อยละ 5.87 ในกลุ่มการผลิตเส้นใยประดิษฐ์

(เส้นใยโพลีเอสเตอร์ และเส้นใยอื่น ๆ) โดยผู้ประกอบการเริ่มปรับตัว

ในการผลิตวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามกระแส

ความต้องการของผู้บริโภค

การจำหน่ายในประเทศ

เส้นใยสิ่งทอหดตัวร้อยละ 11.38 (YoY) จากเส้นด้ายฝ้าย เส้นด้ายจากเส้นใย

ประดิษฐ์ ผ้าผืนหดตัวร้อยละ 22.28 (YoY) จากกลุ่มผ้าทอ (ฝ้าย) ผ้าทอ

(ใยสังเคราะห์) และผ้าขนหนู สำหรับเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายขยายตัวร้อยละ

0.91 (YoY) จากนโยบายการเปิดประเทศหลังการผ่อนคลายมาตรการโควิด -19

ส่งผลให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น

รวมทั้งมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐช่วยหนุนให้เศรษฐกิจภายในประเทศ

ฟื้นตัว

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออก สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม หดตัวตลอดทั้งห่วงโซ่

อุปทาน โดยมีมูลค่า 1,525.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.72

(YoY) หากพิจารณากลุ่มสินค้า พบว่า กลุ่มสิ่งทอมีมูลค่า 1,004.17

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.91 กลุ่มเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่า 521.55

ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.34 เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงของ

ประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เบลเยียม เยอรมนี และอิตาลี

รวมถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว จากการใช้นโยบายการเงิน

เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อในหลาย ๆ ประเทศ ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและ

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของผู้บริโภค

การนำเข้า สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภาพรวม มีมูลค่า 1,244.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 13.14 (YoY) ในกลุ่มด้ายและเส้นใย และผ้าผืน

ส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 305.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 14.30 โดยมีการนำเข้าสินค้าราคาถูกถึงราคาปานกลางจำนวนมาก

จากจีนเข้ามาจำหน่ายของกลุ่มผู้ค้าสินค้าออนไลน์ และการนำเข้าเสื้อผ้าแบรนด์ดังระดับโลกและระดับภูมิภาคมาจำหน่ายตามทิศทางความต้องการ

อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาในเรื่องมาตรฐานสินค้านำเข้าจากจีนซึ่งอาจกระทบด้านสุขอนามัยของผู้บริโภคได้

คาดการณ์แนวโน้มไตรมาสที่ 3 ปี 2566

ภาวะอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามปัญหา

เงินเฟ้อในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อ เป็นปัจจัยกดดันที่ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลก

ชะลอตัว อีกทั้งความผันผวนของค่าพลังงาน และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและความสามารถในการแข่งขันของไทย

ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

เป็นผลมาจากคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าที่ลดลง จึงทำให้ผู้ประกอบการลดการผลิตวัตถุดิบตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ หาก เปรียบเทียบกับ

ไตรมาสก่อน ดัชนีการผลิตเส้นใยสิ่งทอขยายตัว ในกลุ่มการผลิตเส้นใยประดิษฐ์ (เส้นใยโพลีเอสเตอร์ และเส้นใยอื่น ๆ) โดยผู้ประกอบการ

เริ่มปรับตัวในการผลิตวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามกระแสความต้องการของผู้บริโภค

96.40 97.14

87.75 84.13 89.07

50.73

47.93 45.86 44.98 38.99

72.05

70.87

64.56

56.87

50.20

20

30

40

50

60

70

80

90

100

110

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสิ ทอและเคร อ นุ่ ห่ม

ผลิตภัณฑ เส้นใ สิ ทอ

การทอผ้า

การผลิตเส้อผ้าเคร อ แต่ กา ( กเว้นร้านตัดเ บเส้อผ้า)

-

200.00

400.00

600.00

800.00

1,000.00

1,200.00

1,400.00

150

350

550

750

950

1150

ล้านเหรียญฯ

มูลค่าการส่งออก นาเข้า อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ส่งออกลุ่มสิ่งทอ (MUSD) ส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม (MUSD)

นาเข้ากลุ่มสิ่งทอ (MUSD) นาเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม (MUSD)

27

อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ใน

ประเทศ (ล้านชิ้น)

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้

(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีจำนวน 1.19

ล้านชิ้น ขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.48 แต่เมื่อ

เปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 21.71

เป็นผลจากปริมาณคำสั่งซื้อในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง

?

? การจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศ ไตรมาสที่ 2

ปี 2566 มีจำนวน 0.15 ล้านชิ้น ขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ

7.14 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ

11.76 จากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาซึ่งส่งผลให้

ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายซื้อสินค้าในกลุ่มที่ชะลอการซื้อได้

การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่า

รวม 1,063.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.41 และ 1.77

จากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ

แบ่งเป็น เครื่องเรือนและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้ และไม้และ

ผ ล ต ภ ณ ฑ แ ผ น ไ ม้ ม ม ล ค 247.90 38.80 แ ล 776.64

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยหากเปรียบเทียบกับไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกเครื่องเรือนและ

ชิ้นส่วนลดลงร้อยละ 20.14 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ ลดลง

ร้อยละ 5.09 ในขณะที่มูลค่าการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้

เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.22 ในภาพรวมมูลค่าการส่งออกไม้และ

ผลิตภัณฑ์ไม้ปรับลดลงต่อเนื่อง 4 ไตรมาส จากอุปสงค์ความ

ต้องการของประเทศคู่ค้าสำคัญที่ลดลง โดยเฉพาะความต้องการ

เครื่องเรือนไม้ในตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น

แนวโน้มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ไตรมาสที่ 3 ของปี 2566

ไตรมาสที่ 3 ปี 2566 คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ในประเทศจะยังคงชะลอตัว

อย่างต่อเนื่อง จากฐานตัวเลขเมื่อปีที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับสูงและอุปสงค์ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศที่ยังทรงตัว ในส่วนของ

การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้คาดการณ์ได้ว่าจะกลับมาขยายตัวโดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ ที่เริ่มมีแนวโน้มความ

ต้องการเพิ่มสูงขึ้น

1.19

0.15

-

0.05

0.10

0.15

0.20

0.25

-

0.50

1.00

1.50

2.00

2.50

3.00

Q2 2022 Q3 2022 Q4 2022 Q1 2023 Q2 2023

รผลติ รจ ห ยใ ประ ทศ

1,082.48

1,016.39

970.98

1,067.69 1,063.34

0

200

400

600

800

1,000

1,200

1,400

Q2 2022 Q3 2022 Q4 2022 Q1 2023 Q2 2023

เครื่องเรือนและชนิ้ ส่วน ผลิตภัณฑ์ไม

ไมแ ละผลิตภัณฑ์แผ่นไม มูลค่ารวม

เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีปริมาณลดลงจาก

ปริมาณคำสั่งซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง ทางด้านการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ในภาพรวม มีมูลค่าลดลง

จากการชะลอตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์ไม้

28

อุตสาหกรรมยา

ปริมาณการผลิตและจำหน่ายยาในประเทศ (ตัน)

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ: ปรับปรุงกรอบข้อมูลการสำรวจจากปี 2565

มูลค่าการส่งออก-นำเข้ายา (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

หมายเหตุ: ปรับเพิ่มฐานข้อมูลส่งออก-นำเข้า โดยใช้ HS3001 3002 3003 3004

การผลิตยา ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีปริมาณ 10,460.06 ตัน

ลดลง ร้อยละ 10.58 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน

ของปีก่อน จากการหดตัวของการผลิตยาน้ำ ยาผง ยาฉีด และ

ยาเม็ด ซึ่งมีปริมาณลดลง ร้อยละ 22.18 18.79 2.43 และ 0.10

ตามลำดับ ตามคำสั่งซื้อจากร้านขายยาและโรงพยาบาลที่ปรับตัว

ลดลง

การจำหน่ายยา ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีปริมาณ 9,733.46 ตัน

เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.03 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน จากการขยายตัวของการจำหน่ายยาครีม

ยาเม็ด และยาแคปซูล มีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.28 10.67

และ 5.41 ตามลำดับ ในขณะที่การจำหน่ายยาผง ยาฉีด และยา

น้ำ ปรับตัวลดลง ร้อยละ 17.95 17.68 และ 7.56 ตามลำดับ ซึ่ง

เป็นไปตามความต้องการใช้ยาเพื่อรักษาโรค

การส่งออกยา ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่า 119.86 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.18 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน

ของปีก่อน ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดสำคัญ เช่น

ฮ่องกง จีน สหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ฟิลิปปินส์ ลาว

การนำเข้ายา ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่า 765.07 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 13.51 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน

ของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่มี

แนวโน้มความรุนแรงลดลง

แนวโน้มอุตสาหกรรมยา ไตรมาสที่ 3 ของปี 2566

ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศ จะมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้น

เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามความต้องการใช้ยาเพื่อรักษาโรคที่เพิ่มขึ้น และรองรับโรคระบาดในฤดูฝน เช่น โรค

ไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก สำหรับทิศทางการส่งออกคาดว่า จะมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังมีความต้องการของ

ตลาดหลัก โดยเฉพาะตลาดอาเซียน และตลาดเอเชีย อาทิ จีน ฮ่องกง

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยา

กระทรวงพาณิชย์ออกประกาศคณะกรรมการกลาง ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2566 เรื่องการกำหนด

สินค้าและบริการควบคุม เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ซึ่งประกอบด้วยรายการสินค้าควบคุม 46 รายการ และบริการควบคุม 5

รายการ โดยครอบคลุมหมวดยารักษาโรคและเวชภัณฑ์เกี่ยวกับการรักษาโรค เพื่อดูแลป้องกันการกำหนดราคาซื้อ ราคาจำหน่าย

หรือการกำหนดเงื่อนไข และวิธีปฏิบัติทางการค้าอันไม่เป็นธรรม

ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ปริมาณการผลิตยามีแนวโน้มลดลง ในขณะที่การจำหน่ายยาในประเทศยังคงทรงตัว

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามปริมาณคำสั่งซื้อและความต้องการใช้ยาเพื่อรักษาโรค สำหรับ

ภาคการส่งออกมีทิศทางเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

29

อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และ

ถุงมือยาง

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุง

มือยาง (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

? การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง

ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีจำนวน 0.36 ล้านตัน 17.60 ล้านเส้น

และ 6,666.34 ล้านชิ้น ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมมีปริมาณลดลง

ร้อยละ 17.26 จากการลดลงของการผลิตทั้งยางแผ่น ยางแท่ง และ

น้ำยางข้น การผลิตยางรถยนต์ลดลงร้อยละ 2.45 จากการลดลง

ของการผลิตยางรถกระบะ ยางรถบรรทุกและรถโดยสาร และ

ยางรถแทรกเตอร์ และการผลิตถุงมือยางมีปริมาณลดลงร้อยละ

17.40 จากความต้องการถุงมือยางในตลาดโลกที่ลดลง

? การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง

ในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีจำนวน 0.10 ล้านตัน 10.14

ล้านเส้น และ 580.29 ล้านชิ้น ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายยางแปรรูปขั้นปฐมมีปริมาณ

ลดลงร้อยละ 5.58 จากความต้องการยางแผ่น และยางแท่ง

ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ลดลง การจำหน่ายยางรถยนต์

มีปริมาณลดลงร้อยละ 9.11 ตามการชะลอตัวของตลาด

REM (Replacement Equipment Manufacturing) ขณะที่ก ร

จำหน่ายถุงมือยางมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.32 จากความ

ต้องการใช้ถุงมือยางทางการแพทย์ที่อยู่ในระดับสูง

? การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง

ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่า 787.93 1,747.67 และ 323.36

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน

ของปีก่อน การส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือ

ยาง ลดลงร้อยละ 39.88 4.87 และ 24.29 ตามลำดับ จากอุปสงค์

ความต้องการของตลาดโลกที่ปรับลดลง

แนวโน้มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ไตรมาสที่ 3 ของปี 2566

ไตรมาสที่ 3 ปี 2566 คาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม (ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น) จะยังคงชะลอตัว

จากอุปสงค์ความต้องการผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในตลาดต่างประเทศที่มีแนวโน้มลดลง แต่ในส่วนของปริมาณการผลิตยางรถยนต์และ

ถุงมือยางคาดการณ์ว่า จะกลับมาขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ในส่วน

ของถุงมือยางคาดว่าปริมาณการผลิตจะกลับมาขยายตัวภายหลังจากลดลงต่อเนื่อง 4 ไตรมาส

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566 การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) บริษัท ซี ซี ไอ ซี (ประเทศไทย) จำกัด และสมาคมวิสาหกิจ

ขนาดกลางและขนาดย่อมด้านเศรษฐกิจและการค้าอาเซียน (SMEs ASEAN) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านธุรกิจ

ยางพาราและไม้ยางพารา เพื่อพัฒนาระบบมาตรฐานการผลิตและการตรวจรับรองสินค้า ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบัน

เกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยางของไทย สามารถผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพาราได้ตาม

มาตรฐานสากล

17.60

6.67

0.36

-

0.10

0.20

0.30

0.40

0.50

0.60

-

3.00

6.00

9.00

12.00

15.00

18.00

21.00

24.00

Q2 2022 Q3 2022 Q4 2022 Q1 2023 Q2 2023

ยางรถยนต์ (ล้านเส้น) ถุงมือยาง (พันล้านชิ้น)

ยางแปรรูปขั นปฐม (ลา นตนั )

787.93

1,747.67

323.36

0

500

1,000

1,500

2,000

Q2 2022 Q3 2022 Q4 2022 Q1 2023 Q2 2023

ลา นเหรียญสหรัฐฯ

ยางแปรรูปขั นปฐม ยางรถยนต ถุงมือยาง

ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 การผลิตยางแปรรูปขั้นปฐม ยางรถยนต์ และถุงมือยาง มีปริมาณลดลงทั้งสามผลิตภัณฑ์

จากอุปสงค์ความต้องการของตลาดโลกที่ปรับลดลง โดยมูลค่าการส่งออกยางแปรรูปขั้นปฐมลดลงจากการชะลอตัวของตลาด

ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และมาเลเซีย ส่วนมูลค่าการส่งออกยางรถยนต์และถุงมือยางลดลงจากการชะลอตัวของตลาดสหรัฐอเมริกา

เป็นหลัก

30

อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง

การผลิต การส่งออก การนำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต , ดัชนีการส่งสินค้า ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์

การผลิต

ไตรมาส 2 ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกัน

ของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก การผลิตรองเท้า

มีดัชนีการผลิตลดลงร้อยละ 36.12 และ 8.97 จากการจำหน่าย

ภายในประเทศและการส่งออกที่ลดลง ส่วนการผลิตกระเป๋า

เ ด น ท ง เ พ ม ข น ร อ ย ล 1 7 . 0 9 จ ก ก ร จ ห น ย

ในประเทศและการส่งออกที่เพิ่มขึ้น

การส่งออก-นำเข้า

การส่งออก ไตรมาส 2 ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับ

ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออก หนังและผลิตภัณฑ์

หนังฟอกและหนังอัด และรองเท้า ลดลงร้อยละ 22.33 และ

5.15 สำหรับเครื่องใช้สำหรับเดินทาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.27

โดยมีมูลค่าการส่งออก 166.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีตลาด

ส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น

และสิงคโปร์ เนื่องจากหลายประเทศได้ผ่อนคลายและเปิด

ประเทศเข้าสู่ภาวะปกติ ประชาชนมั่นใจในการเดินทาง

ท่องเที่ยวจึงจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น

การนำเข้า ไตรมาส 2 ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับ

ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หนังดิบและหนังฟอกมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 19.21 รองเท้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.91 กระเป๋า

เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.66 ตลาดนำเข้ากระเป๋าที่สำคัญ ได้แก่ อิตาลี

จีน ฝรั่งเศส สเปน และเวียดนาม ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการ

เยียวยาและกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐที่เพิ่มกำลังซื้อให้กับ

ผู้บริโภคในประเทศอย่างต่อเนื่อง

144.86

134.56

97.23

116.43

92.54

59.88

91.59 88.05

81.22

70.11

80.26

88.52 90.84 86.62

73.06

40

60

80

100

120

140

160

Q2/2565 Q3/2565 Q4/2565 Q1/2566 Q2/2566

ดัชนีผลผลิต

รฟ และต แต ห ฟ รผลติ ระ ป๋ ดิ ท รผลติ ร ท

127.70

152.43 152.32 153.7

166.09

171.29 198.66 219.87 228.3 224.66

162.20 174.54

159.30 149.7 153.26

147.61

184.00

171.73

193.5 196.19

204.02

220.52

175.78

188.5

156.45

177.84

222.19

208.79

191.6

212.01

0.00

50.00

100.00

150.00

200.00

250.00

Q2/2565 Q3/2565 Q4/2565 Q1/2566 Q2/2566

มูลค่าการส่งออก การนาเขา

การส่งออก เครื่องใชส้ หรับเดินทาง การนาเขา กระเป๋

การส่งออก รองเทา และชนิ้ ส่วน การนาเขา รองเทา

การส่งออก หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกฯ การนาเขา หนังดิบและหนังฟอก

ไตรมาส 2 ปี 2566 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก และการผลิตรองเท้ามีการผลิตลดลง

จากการส่งออกที่ลดลง สำหรับการผลิตกระเป๋าเดินทางเพิ่มขึ้นจากการส่งออกและการจำหน่ายภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ผลมาจากการ

ปรับและกลับสู่สถานการณ์ปกติ หลายประเทศได้เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายให้เศรษฐกิจกลับสู่สภาวะปกติ

แต่ยังคงต้องรอดูสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไปทั่วโลก

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ไตรมาส 3 ปี 2566

การผลิตเครื่องหนังและรองเท้า ไตรมาส 3 ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน การฟอกและตกแต่งหนังฟอก การ ผลิตกระเป๋า

และรองเท้า คาดว่าจะลดลงทุกผลิตภัณฑ์จากการส่งออกที่ชะลอตัวและลดลง ผลจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ อาทิ

ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน และความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกา-จีน ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน น้ำมัน และก๊าซ ที่มีความผันผวนและ

ปรับราคาสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต รวมทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น กระทบต่อกำลังซื้อ

ของประชาชนและเศรษฐกิจทั่วโลก

31

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

การผลิต การจำหน่าย และการส่งออก

ที่มา : 1. ดัชนีผลผลิต , ดัชนีการส่งสินค้า ? สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

2. มูลค่าการส่งออก การนำเข้า ? กระทรวงพาณิชย์

การผลิต

การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาสที่ 2

ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY)

ลดลงร้อยละ 15.30 จากทุกผลิตภัณฑ์ โดยการผลิตเพชร

เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม ลดลงร้อยละ 3.22

14.36 และ 22.20 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะชะลอตัวของอุปสงค์

ประเทศคู่ค้า และความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลต่อ

การใช้จ่ายของผู้บริโภค

การจำหน่าย

การจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 2

ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY)

ลดลงร้อยละ 15.57 จากทุกผลิตภัณฑ์ โดยการจำหน่ายเพชร

เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม ลดลงร้อยละ 9.95

14.97 และ 21.57 ตามลำดับ เนื่องจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผล

ให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย

การส่งออก

อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ไตรมาสที่ 2

ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY)

มีมูลค่ารวม 2,006.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.93

จากมูลค่าการส่งออกพลอยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 79.78 ส่วนเพชร

เครื่องประดับ และเครื่องประดับเทียม ลดลง ร้อยละ 32.83

2.57 และ 14.37 ตามลำดับ หากพิจารณาการส่งออกอัญมณี

และเครื่องประดับในภาพรวม มีมูลค่ารวม 3,260.10

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.57 ในตลาดสหรัฐอเมริกา

อินเดีย เยอรมนี สหราชอาณาจักร และเบลเยียม สำหรับ

มูลค่าการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูป มีมูลค่า 1,253.88

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.53 ในตลาดสวิตเซอร์แลนด์

สิงคโปร์ ฮ่องกง กัมพูชา และลาว

ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิต และจำหน่ายอัญ มณีและเครื่องประดับ

ภาพรวมปรับลดลง จากภาวะชะลอตัวของอุปสงค์ประเทศคู่ค้า จากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลต่อการใช้จ่ายของ

ผู้บริโภค ทั้งนี้ ยังต้องติดตามผลกระทบจากราคาพลังงานในยูโรโซน อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้ง

ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น อาจส่งผลให้การส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง

แนวโน้มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ไตรมาส 3 ปี 2566

การผลิตและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวม ไตรมาส 3 ปี 2566 คาดว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากการหดตัวทางด้าน

อุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ยังคงได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานในยูโรโซน อัตราเงินเฟ้อ

และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น อาจส่งผลให้การส่งออกสินค้าและ

การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง อย่างไรก็ตาม การบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในตลาดสำคัญทั่วโลกยังมีความไม่แน่นอน

แต่เครื่องประดับที่สวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน และปรับเปลี่ยนเป็นสินค้ารักษ์โลกที่ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญยังเติบโตได้ อีกทั้ง มีปัจจัย

สนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ และค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าซึ่งจะช่วยเพิ่ม

ความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออก อาจเป็นปัจจัยผลักดันให้มีการส่งออกและการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น

90.79

92.66

71.85

77.02 76.90

92.80

96.02

74.17

79.12 78.35

40.00

60.00

80.00

100.00

Q2/65 Q3/65 Q4/65 Q1/66 Q2/66

ดัชนีการผลิต ดัชนีการส่ สินค้า

1,968 2,254

1,899 2,343 2,006

3,242

3,715

2,645

4,252

3,260

1,000

2,000

3,000

4,000

5,000

6,000

Q2/65 Q3/65 Q4/65 Q1/66 Q2/66

มูลค่าการส่ ออก

(หน่ว : ล้านเหรี ญสหรัฐฯ)

ไม่รวมทอ คา รวมทอ คา

32

0

20

40

60

80

100

120

140

0

10,000

20,000

30,000

40,000

50,000

60,000

70,000

80,000

4Q25631Q25642Q25643Q25644Q25641Q25652Q25653Q2565

ดัช นีผ ล ผ ลิต จา ห น่า ส่ ออก แล นา เ ข้า อุต ส ห ก ร ร ม

อา ห ร ไ ต ร ม ส 3 ปี 2 5 6 5

ส่งออก (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ) นา เข้า (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

จา หน่าย (ปริมาณ : พันตัน) ดัชนีผลผลิต (MPI)

ปริมาณจาหน่า ( นตัน)

ดัชนีผลผลิต (MPI)

อุตสาหกรรมอาหาร

ดัชนีผลผลิต จำหน่าย ส่งออก และนำเข้าอุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา : ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและปริมาณจำหน่าย รวบรวมจากสำนักงาน

เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

มูลค่าส่งออกและนำเข้า รวบรวมจากกระทรวงพาณิชย์ โดยการจัดกลุ่มของ สศอ.

ดัชนีผลผลิตอาหาร ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 95.0 ชะลอตัวร้อยละ

3.9 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยผลผลิตสินค้าอาหาร

ที่ชะลอตัว ได้แก่ มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 32.8 จากแป้งมันสำปะหลัง

เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่เพาะปลูก ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังและ

เชื้อแป้งมีคุณภาพลดลง ส่งผลให้มีหัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยลง

รองลงมาคือ ผักและผลไม้แปรรูป หดตัวร้อยละ 16.1 จากสับปะรดกระป๋อง

หดตัวร้อยละ 44.3 เนื่องจากความต้องการบริโภคทั้งในและต่างประเทศของ

สินค้าดังกล่าวลดลง และประมง หดตัวร้อยละ 5.8 จากทูน่ากระป๋อง หดตัว

ร้อยละ 20.0 อย่างไรก็ตามยังมีดัชนีสินค้าบางรายการขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่

น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 3.4 จากน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ

14.8 เนื่องจากความต้องการใช้ที่มากขึ้นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และการที่ผลผลิต

ปาล์มน้ำมันมีปริมาณมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน น้ำตาล ขยายตัว

ร้อยละ 19.2 จากน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ขยายตัว

ร้อยละ 43.8 และ 19.0 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการที่มากขึ้นตามการ

ขยายตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงมีปริมาณอ้อยเข้าหีบมากกว่าปีก่อน และปศุสัตว์

ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากเนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น ขยายตัวร้อยละ 1.4 เนื่องจาก

ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

การจำหน่ายอาหารในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2566

มีปริมาณ 67,962.54 พันตัน ขยายตัวร้อยละ 8.5 (%YoY) เมื่อเทียบกับ

ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น

ได้แก่ น้ำตาลทรายดิบ ขยายตัวร้อยละ 43.6 รองลงมาคือ น้ำมันปาล์ม

บริสุทธิ์ ขยายตัวร้อยละ 17.4 น้ำมันปาล์มดิบ ขยายตัวร้อยละ 16.8

และน้ำอัดลม ขยายตัวร้อยละ 27.8

การส่งออก ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีม ลค 11,054.26

ล้านเหรียญสหรัฐ ชะลอตัวร้อยละ 3.3 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน จากสินค้าสำคัญ อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง

เนื่องจากผลผลิตของมันสำปะหลังที่เข้าโรงงานมีปริมาณน้อยลง น้ำมัน

ปาล์ม เนื่องจากผลผลิตน้ำมันปาล์มโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความ

ต้องการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากไทยลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้า

ที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ น้ำตาล โดยตลาดหลัก คือ อินโดนีเซีย และ

เกาหลีใต้

การนำเข ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 มีมูลค่า 5,238.6

ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.8 (%YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาส

เดียวกันของปีก่อน จากการนำเข้าเมล็ดพืชน้ำมัน เพื่อนำมาใช้เป็น

วัตถุดิบในการผลิตน้ำมัน รองลงมาคือ กากพืชน้ำมัน และธัญพืช

เพื่อรองรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์

แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 คาดว่า

ด ช น ผ ล ผ ล ต ใ น ภ พ ร ว ม แ ล ม ล ค ก ร ส ง อ อ ก จ หด ตัว

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของ

ประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ภาคการท่องเที่ยว

ยังส่งสัญญาณที่ดี รวมถึงอุปสงค์การนำเข้าสินค้าจากตลาดต่างประเทศ

ความต้องการนำเข้าน้ำตาลยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอตัวของภาค

การผลิต และการส่งออก เนื่องจากอุปสงค์ของตลาดโลกที่ปรับลดลง อย่างไรก็ตามความต้องการบริโภคในประเทศ และภาคการท่องเที่ยวยังมี

แนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกลุ่มน้ำมันปาล์มและน้ำตาลที่ยังคงขยายตัว

0

20

40

60

80

100

120

140

0

10,000

20,000

30,000

40,000

50,000

60,000

70,000

80,000

3Q2564 4Q2564 1Q2565 2Q2565 3Q2565 4Q2565 1Q2566 2Q2566

ดัช นีล ผ ลิต จา ห น่า ส่ ออก แล นา เ ข้า อุต ส ห ก ร ร ม

อา ห ร ไ ต ร ม ส 2 ปี 2 5 6 6

ส่งออก (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ) นา เข้า (มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

จา หน่าย (ปริมาณ : พันตัน) ดัชนีผลผลิต (MPI)

ปริมาณจาหน่า ( นตัน)

มูลค่าส่ ออก/นาเข้า (ล้านเหรี ญสหรัฐฯ)

ดัชนีผลผลิต (MPI)

33

รายชื่อผู้รับผิดชอบการจัดทำ

หัวข้อ กองประสานงาน โทรศัพท์

? ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย

ไตรมาสที่ 2/2566 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2566

? อุตสาหกรรมรายสาขา

กว. 0-2430-6806

? อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า กร. 1 0-2430-6804

? อุตสาหกรรมไฟฟ้า กร. 1 0-2430-6804

? อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กร. 1 0-2430-6804

? อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ กร. 1 0-2430-6804

? อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์

? อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

กร. 1

กร. 1

0-2430-6804

0-2430-6804

? อุตสาหกรรมพลาสติก กร. 1 0-2430-6804

? อุตสาหกรรมปิโตรเคมี กร. 1 0-2430-6804

? อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ กร. 2 0-2430-6805

? อุตสาหกรรมเซรามิก กร .2 0-2430-6805

? อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ กร. 2 0-2430-6805

? อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กร. 2 0-2430-6805

? อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน กร. 2 0-2430-6805

? อุตสาหกรรมยา กร. 2 0-2430-6805

? อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง กร. 2 0-2430-6805

? อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง กร. 2 0-2430-6805

? อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ กร. 2 0-2430-6805

? อุตสาหกรรมอาหาร กร. 2 0-2430-6805

กว. : กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

กร.1 : กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1

กร.2 : กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 2

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ