ค้นพบนกปรอทหน้าเกลี้ยง สปีชีส์ใหม่ย้ำความพิเศษของหลากหลายทางชีวภาพในภูมิภาคแม่น้ำโขง

ข่าวทั่วไป Thursday October 7, 2010 13:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 ต.ค.--WWF ประเทศไทย พืชกินสัตว์สูง 7 เมตร ปลาแวมไพร์ และกบที่มีเสียงร้องเหมือนจิ้งหรีด คือรายชื่อพืชและสัตว์สายพันธ์ใหม่ ที่ถูกค้นพบร่วมกับ 145 สปีชีส์ที่ได้รับการเปิดเผยเมื่อปีที่ผ่านมาเป็นข้อมูลที่ช่วยยืนยันว่า ภูมิภาคนี้ คือ บริเวณที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่โดดเด่นและล้ำหน้าบนโลก ตามข้อตกลง ภายใต้กรอบอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพแห่งสหประชาชาติ ที่เมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น สายพันธ์ใหม่: สายพันธ์ที่ถูกค้นพบในภูมิภาคแม่น้ำโขงรวมทั้งภูมิภาคเอเชีย โดยนักวิทยาศาสตร์เมื่อปี 2552 มีประมาณ 3 สปีชีส์คือ นกปรอทหน้าเกลี้ยง ปลาซัคเกอร์พันธ์ใหม่ ซึ่งจะใช้ร่างเป็นตัวดูดเกาะติดกับก้อนหินเพื่อเคลื่อนตัวไปข้างหน้า ในบริเวณที่มีกระแสน้ำไหลแรง นายสจ๊วต แชปแมน ผู้อำนวยการด้านงานอนุรักษ์ WWF เกรทเตอร์แม่โขง กล่าว่า ในแต่ละปี สัดส่วนของการค้นพบสปีชี่ใหม่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้ต้องรับผิดชอบมากขึ้นด้วยเช่นกัน เพื่อให้แน่ใจว่า ความหลากหลายทางชีวิภาพในภูมิภาคจะได้รับการอนุรักษ์ ในรายงานกล่าวว่า การค้นพบเหล่านี้ทำให้ ความหลากหลายทางชีวภาพที่มากมาย ในภูมิภาคแม่น้ำโขง ชี้ให้เห็นถึงความเปราะบางที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ชนิดพันธ์ต่างๆ ในภูมิภาคนี้ เช่นเดียวกันกับกรณีที่แรดชวาในเวียดนามตาย เมื่อเร็วๆ นี้ แสดงให้เห็นว่า ความหลากหลายทางชีววิทยาในปัจจุบันลดน้อยลง ชนิดพันธ์ใหม่ที่โดดเด่นซึ่งถูกค้นพบในภูมิภาคนี้ บริเวณ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนามและตอนใต้ของจังหวัดยูนนานประเทศจีน ขณะนี้ มี 5 ชนิดพันธ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ค้างคาว 2 ชนิดและสัตว์กินแมลงลักษณะคล้ายหนูหรือกระรอก 3 ชนิด งูพิษ 1 ชนิด และสัตว์ในตระกูลงู ที่ไม่มีเขี้ยว รายงานการค้นพบดังกล่าว เน้นถึงโอกาสของรัฐบาลในประเทศภูมิภาคแม่น้ำโขง ในการใช้เงินผ่านกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility : GEF) และกลไกของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD) เพื่อยกระดับและขยายขอบเขตการอนุรักษ์ชนิดพันธ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศที่สมบูรณ์ในภูมิภาคนี้ นายสจ๊วต กล่าวว่าด้วยว่า บนโลกใบนี้ แต่ละพื้นที่ มีความหลากหลายทางชีวภาพแตกต่างกัน ชนิดพันธ์ใหม่เหล่านี้ เตือนเราให้ตระหนักถึงความหลากหลายทางชีวิภาพที่พิเศษของภูมิภาคแม่น้ำโขง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการจัดสรรเงินทุนเพื่องานอนุรักษ์เพื่อให้มั่นใจว่า ระบบนิเวศที่มีคุณค่าบริเวณนี้ได้รับการอนุรักษ์ ตามกลไกของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ WWF จะสนับสนุนให้ กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility : GEF) จัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการไร้พรมแดนในภูมิภาคแม่น้ำโขง ที่เห็นถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศที่สมบูรณ์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ