ปภ. สรุปสถาณการณ์อุทกภัยวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๓

ข่าวทั่วไป Tuesday October 19, 2010 17:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ต.ค.--ปภ. กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัยในช่วงวันที่ ๑๐ — ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๑๗ จังหวัด ๔๒ อำเภอ ๒๖๗ ตำบล ๗๘๕ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๒๑,๗๙๑ ครัวเรือน ๕๔,๘๔๑ คน ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ๑๒ จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ ๕ จังหวัด และครั้งล่าสุดในช่วงวันที่ ๑๐ — ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๑๓ จังหวัด ๖๗ อำเภอ ๓๘๑ ตำบล ได้แก่ ระยอง ตราด สระแก้ว นครราชสีมา ปราจีนบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ ชัยภูมิ สระบุรี เพชรบูรณ์ นครนายก สุพรรณบุรี และ ศรีสะเกษ ผู้เสียชีวิต ๗ ราย ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ในปี ๒๕๕๓ ประเทศไทยได้เกิดสถานการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ รวม ๕ ครั้ง โดยสถานการณ์อุทกภัยครั้งที่รุนแรงสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่ามาก ได้แก่ ครั้งที่ ๔ ช่วงระหว่างวันที่ ๑๐ กันยายน — ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ พื้นที่ประสบอุทกภัยรวม ๑๗ จังหวัด ๔๒ อำเภอ ๒๖๗ ตำบล ๗๘๕ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๒๑,๗๖๑ ครัวเรือน ๕๔,๘๔๑ คน พื้นที่การเกษตรเสียหายประมาณ ๓๒,๔๒๘ ไร่ ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ๑๒ จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ ๕ จังหวัด ได้แก่ พิจิตร น้ำในแม่น้ำยมเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมฝั่งใน ๔ อำเภอ ๑๔ ตำบล ได้แก่ อำเภอสามง่าม โพธิ์ประทับช้าง บึงนางราง และโพทะเลชัยนาท น้ำท่ว,พื้นที่ ๓ อำเภอ ๑๗ ตำบล ๑๗๕ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน๑๑,๓๒๑ ครัวเรือน ๓๒,๔๖๙ คน ได้แก่ อำเภอเนินขาม หันคา และสรรพยา อ่างทองน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่อำเภอป่าโมก ๒ ตำบล ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มบางพื้นที่ พระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำน้อย เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มการเกษตรใน ๕ อำเภอ ๕๔ ตำบล ๒๙๗ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๔,๔๙๔ ครัวเรือน ๑๓,๙๗๗ คน ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา บางไทร มหาราช ผักไห่ และบางบาล เพชรบุรี น้ำท่วมพื้นที่ ๘ อำเภอ ๗๙ ตำบล ๒๙๗ หมู่บ้าน ขณะนี้ยังคงมีน้ำท่วมขัง ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านแหลม และบ้านลาด ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว สำหรับสถานการณ์อุทกภัยครั้งที่ ๕ ช่วงระหว่างวันที่ ๑๐ กันยายน — ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นสถานการณ์อุทกภัยครั้งล่าสุดที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก และถือว่าวิกฤติที่สุดในรอบหลายปี มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม ๑๓ จังหวัด ๖๗ อำเภอ ๓๘๑ ตำบล ผู้เสียชีวิต ๗ ราย ได้แก่ ระยอง น้ำท่วมในพื้นที่ ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองระยอง และวังจันทร์ ตราด เกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มในพื้นที่ ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเกาะช้าง และแหลมงอบ สระแก้ว น้ำท่วมในพื้นที่ ๔ อำเภอ ๑๐ ตำบล ๑ เทศบาล ได้แก่ อำเภออรัญประเทศวังน้ำเย็น ตาพญา และโคกสูง นครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ ๒๑ อำเภอ ๑๓๑ ตำบล ๑,๑๒๗ หมู่บ้าน ผู้เสียชีวิต ๓ ราย สูญหาย ๑ ราย ได้แก่ อำเภอเมืองนครราชสีมา สูงเนิน ขามทะเลสอ โนนแดง เสิงสาง คง หนองบุญมาก จักรราช เทพารักษ์ ด่านขุนทด บ้านเหลือม โนนสูงโชคชัย พิมาย โนนไทย ห้วยแถลง ปากช่อง สีคิ้ว ปักธงชัย ขามสะแกแสง และเฉลิมพระเกียรติ ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ ๒ อำเภอ ๓ ตำบล ได้แก่ อำเภอนาดี และกบินทร์บุรี ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ ลพบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ ๑๑ อำเภอ ๑๒๐ ตำบล ๑,๐๑๒ หมู่บ้าน ผู้เสียชีวิต ๒ ราย ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี โคกสำโรง ชัยบาดาล พัฒนานิคม ลำสนธิ ท่าหลวง หนองม่วง สระโบสถ์ โคกเจริญ บ้านหมี่ และท่าวุ้ง นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ ๕ อำเภอ ๒๕ ตำบล ได้แก่ อำเภอตาคลี ลาดยาว หนองบัว ท่าตะโก และไพศาลี ชัยภูมิ น้ำท่วมในพื้นที่ ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอบำเหน็จณรงค์ และจัตุรัส ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ สระบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ ๘ อำเภอ ๓๙ ตำบล ได้แก่ อำเภอเมืองสระบุรี บ้านหม้อ พระพุทธบาท มวกเหล็ก แก่งคอย วังม่วง เสาไห้ และเฉลิมพระเกียรติ เพชรบูรณ์ น้ำท่วมในพื้นที่ ๕ อำเภอ ๔๙ ตำบล ได้แก่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ หนองไผ่ ศรีเทพ บึงสามพัน และวิเชียรบุรี นครนายก น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอบ้านนา ๒ ตำบล ราษฎรเดือดร้อน ๕๐๐ ครัวเรือน ๑,๕๐๐ คน สุพรรณบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ ๓ อำเภอ ๙ ตำบล ได้แก่ อำเภอสามชุก หนองหญ้าไทร และเดิมบางนางบวช ศรีสะเกษ น้ำล้นสปริงเวย์เข้าท่วมในพื้นที่ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ นอกจากนี้ ภาวะฝนตกหนัก ทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมเส้นทางสายต่างๆ รวม ๑๕ สาย ดังนี้ จังหวัดนครราชสีมา ๙ สาย ได้แก่ สาย ๒ ปากช่อง-ชัยภูมิ อำเภอปากช่อง กม.๗๓-๙๕ สาย ๒๐๑ สีคิ้ว-ด่านขุนทด-ชัยภูมิ อำเภอสี่คิ้ว ด่านขุดทด กม.๑๒-๕๕ สาย ๒๐๔ เลี่ยงเมืองนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา กท.๔-๑๐ สาย ๒๒๔ ตอนหัวทะเล-โชคชัย-ครบุรี อำเภอเมืองนครราชสีมา กม.๐-๓๔ สาย ๒๒๖ นครราชสีมา-จักราช อำเภอจักรราช กม.๓-๓๔ สาย ๒๐๖๘ ทางเข้าอำเภอขามทะเลสอ อำเภอทะเลสอ กม.๑-๓ สาย ๓๐๔ บ้านตะขบ-ปักธงชัย อำเภอปักธงชัยและอำเภอเมืองนครราชสีมา กม.๑๐๒-๑๓๓ สาย ๒๙๐ วงแหวนรอบนอกเมืองนครราชสีมาตอนใต้ อำเภอสูงเนิน กม.๐ สาย ๒๒๓๕ ตอนหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง กม.๐-๑จังหวัดสระแก้ว ๑ สาย ได้แก่ ถนนสาย ๓๓๖๖ ท่าข้าม-หนองเอี่ยน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดนครสวรรค์ ๑ สาย ได้แก่ สาย ๑๑ ตากฟ้า-ไพศาลี อำเภอไพศาลีจังหวัดลพบุรี ๔ สาย ได้แก่ สาย ๒๐๕ ฉลุงเหล็ก-โคกสำโรง-ลำนารายณ์-ลำสนธิ อำเภอโคกสำโรง กม.๑๙๐-๒๕๘ สาย ๒๐๕ บ้านหมี่-โคกสำโรง อำเภอโคกสำโรง กม.๑๕-๑๖ สาย ๒๒๗๒ หนองยายโต๊ะ-ชัยบาดาล อำเภอชัยบาดาล กม.๐-๑๓ สาย ๒๒๕๖ ชัยบาดาล-ด่านขุนทด อำเภอชัยบาดาล กม.๐-๑๓๒ รวมถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ประกาศเปิดเส้นทางรถไฟสายเหนือสถานีช่องแค — สถานีจันเสน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานีโคกกรวด -สถานีกุดจิก ใช้ได้ตามปกติแล้ว สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานความร่วมมือกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ประสบภัย จัดส่งเรือท้องแบน ๙๙ ลำ รถผลิตน้ำ ๘ คัน รถบรรทุกน้ำ ๗ คัน รถบรรทุกขวดน้ำ ๑ คัน รถแบ๊คโฮ ๔ คัน รถส่องไฟฟ้า ๓ คัน รถเครน ๓ คัน รถบรรทุก ๗ คัน รถบรรทุกติดปั่นจั่น ๒ คัน รถบรรทุกเทท้าย ๔ คัน รถกู้ภัย/ตรวจการณ์ ๒ คัน เต็นท์พักอาศัยชั่วคราว ๔๕ หลัง เครื่องสูบน้ำ ๓ เครื่อง กำลังพล ๑๑๓ นาย ยาสามัญประจำบ้าน ๑๙๐ ชุด และถุงยังชีพ ๓,๔๐๐ ถุง สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว ตลอดจนเร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือทางสายด่วนนิรภัย ๑๗๘๔ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อประสานและให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ