สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ จัดงานสัมมนา “2010 Thailand Pharmaceutical Summit ก้าวสู่ทศวรรษใหม่ด้วยยาคุณภาพเพื่อสังคมไทย”

ข่าวทั่วไป Tuesday October 26, 2010 15:51 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ต.ค.--TQPR สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ หรือ พรีม่าจะได้จัดงานสัมมนา “2010 Thailand Pharmaceutical Summit ก้าวสู่ทศวรรษใหม่ด้วยยาคุณภาพเพื่อสังคมไทย” ในวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 9.00 — 16.30 ณ แกรนด์ บอลรูม โรงแรมเชอร์ราตัน แกรนด์ สุขุมวิท สถานีรถไฟฟ้าอโศก การสัมมนา 2010 Thailand Pharmaceutical Summit เป็นอีกหนึ่งวาระสำคัญในการเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 4 ทศวรรษของพรีม่าในปี 2553 ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากทุกฝ่ายทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน โดยที่กิจกรรมหลักๆ ในงาน ประกอบไปด้วย การสัมมนาเชิงวิชาการ การบรรยายให้ความรู้ การเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งกิจกรรมเพื่อประชาชนในรูปแบบต่างๆ โดยมีกำหนดการอย่างย่อ ดังที่ได้แนบมา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ : ธนาพร ธูปพุทรา (ฝ้าย) ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด โทร.0-2260-5820 ต่อ117 หรืออีเมล์ fai@tqpr.com กำหนดการ *หมายเหตุ การบรรยายทั้งหมดมีผู้แปลไทย-อังกฤษพร้อมอุปกรณ์หูฟัง 08:30 — 09:00 น. ลงทะเบียน 09:00 — 09:30 น. พิธีเฉลิมฉลองครอบรอบ 40 ปีของสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ หรือพรีม่า 09:30 — 11:30 น. “ความหมายของ Brand (ยา)” วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ : คุณปรีชา เชาวโชติช่วง อดีตนายกสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย “ทำไม Brand จึงมีความสำคัญต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค” Mr. Seiji Miyazawa ผู้อำนวยการ Japan Pharmaceutical Manufacturers Association (JPMA) “คุณภาพคือกุญแจไขสู่ความสำเร็จ อุตสาหกรรมยาตอบสนองความต้องการด้านคุณภาพให้ผู้บริโภคได้อย่างไร” Dr. Peter Jager นายกสมาคม Korean Research-based Pharmaceutical Industry Association (KRPIA) “ทำไมเกาหลีจึงหันมาสร้าง Brand และพยายามมุ่งสู่ชื่อเสียงด้านยาและ Biotechnology ยา Original Brand อยู่ได้อย่างไรในภาวะการแข่งขันที่เข้มข้น” Mr. Mitsutaka Isobe ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมคุณภาพยาจากญี่ปุ่น “ขั้นตอนและวิธีการที่จำเป็นในการควบคุมคุณภาพยาตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงมือผู้ใช้” ภก. ธีระ ฉกาจนโรดม นายกสมาคมผู้วิจัยและและผลิตเภสัชภัณฑ์ “ความสำคัญของคุณภาพยาต่อผู้ป่วย : ยามี Brand และยา Generic” ***ผู้ดำเนินรายการ พญ. กิติมา ยุทธวงศ์, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ 11:30 — 14:00 น. “ทางเลือกประเทศไทย....ในระบบการคลังสาธารณสุข” ผู้ร่วมเสวนา : Mr. Richard Bergstr?m ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, สมาคม The Swedish Association of the Pharmaceutical Industry Dr. Brendan Shaw ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, สมาคม Medicines Australia ประเทศออสเตรเลีย ดร. นริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ดร. อัมมาร์ สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ***ผู้ดำเนินรายการ นายแพทย์ทวิราป ตันติวงษ์, ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือในระบบสาธารณสุข สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ 14:00 — 16:00 น. เสวนาโต๊ะกลม ในหัวข้อ “จริยธรรมในสังคมพลวัต” ช่วงที่หนึ่ง: - ความรับรู้และความคาดหวังของสาธาณชนต่อแนวทางปฏิบัติด้านจริยธรรมของผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงสุขภาพ - การแบ่งปันประสบการณ์และแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในสังคม ช่วงที่สอง: - ก้าวต่อไปเพื่อความเชื่อถือและความโปร่งใสที่เพิ่มขึ้น - ความร่วมมือเพื่อก่อให้เกิดกรอบการปฏิบัติด้านจริยธรรมที่สอดคล้องในทุกภาคส่วน ผู้เข้าร่วมเสวนา Mr. Richard Bergstr?m ประธานเครือข่ายด้านจริยธรรมของสหพันธ์สมาคมผู้ผลิตยานานาชาติ (IFPMA) Dr. Peter Jager นายกสมาคม Korean Research-based Pharmaceutical Industry Association (KRPIA) ผู้ร่วมอภิปราย เป็นตัวแทนจาก แพทยสภา ราชวิทยาลัยแพทย์ โรงพยาบาล สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ องค์การเภสัชกรรม ดำเนินการเสวนาโดย พล.ต.ต. นพ. ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์, ที่ปรึกษาอาวุโส สถาบันนิติ วิทยาศาสตร์ ประธานคณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการกระทำผิดหลักเกณฑ์ทางการขายและการตลาด (คพผต.) กิจกรรมอื่นๆเพื่อประชาชน 10:00 — 12:00 น. สัมมนา “การใช้ยาในโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง” โดย สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) และสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ 10:00 — 12:00 น. การให้คำปรึกษาด้านการใช้ยา โดยเภสัชกรอาสา จากสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) และสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ 14:00 — 16:00 น. การประชุมประจำปี ของชมรมสายใยความหวังผู้ป่วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ