ปภ. รายงานมีพื้นที่ประสบภัยหนาว 19 จังหวัด 235 อำเภอ ณ วันที่ ๑๗ ธันวาคม 2553

ข่าวทั่วไป Friday December 17, 2010 17:47 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ธ.ค.--ปภ. กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) รายงานมีพื้นที่ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยหนาว) รวม 19 จังหวัด 235 อำเภอ 1,731 ตำบล 20,044 หมู่บ้าน ได้แก่ เชียงใหม่ พะเยา แม่ฮ่องสอน น่าน ลำพูน เชียงราย เพชรบูรณ์ ตาก ลำปาง แพร่ อุดรธานี สกลนคร เลย ขอนแก่น นครพนม หนองคาย กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยหนาวปี 2553 - 2554 ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว พร้อมกำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประสบภัยหนาว เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของทางราชการ ขณะนี้แจกจ่ายเครื่องนุ่งห่มกันหนาวไปแล้ว จำนวน 280,703 ชิ้น นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์ภัยหนาวกับจังหวัดต่างๆ พบว่า ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน — 17 ธันวาคม 2553 มีจังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน(ภัยหนาว) 19 จังหวัด 235 อำเภอ 1,731 ตำบล 20,044 หมู่บ้าน แยกเป็น ภาคเหนือ 10 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดเชียงใหม่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอฝาง แม่อาย ไชยปราการ เวียงแหง อมก๋อย เชียงดาว แม่แจ่ม กัลยาณิวัฒนาดอยเต่า จอมทอง ฮอด จังหวัดพะเยา 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา เชียงคำ ดอกคำใต้ จุน เชียงม่วน ปง แม่ใจ ภูซาง ภูกามยาว จังหวัดแม่ฮ่องสอน 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน แม่สะเรียง ขุนยวม ปาย แม่ลาน้อย สบเมย ปางมะผ้า จังหวัดน่าน 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองน่าน ปัว ท่าวังผา เวียงสา นาน้อย นาหมื่น บ้านหลวง สันติสุข แม่จริม เชียงกลาง ทุ่งช้าง บ่อเกลือ เฉลิมพระเกียรติ สองแคว ภูเวียง จังหวัดลำพูน 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลำพูน บ้านธิ แม่ท่า บ้านโฮ่ง ลี้ ทุ่งหัวช้าง ป่าซาง เวียงหนองล่อง จังหวัดเชียงราย 18 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงราย แม่จัน แม่สาย แม่สรวย แม่ลาว แม่ฟ้าหลวง เชียงของ เทิง เวียงเชียงรุ้ง ดอยหลวง เวียงชัย เวียงป่าเป้า เวียงแก่น เชียงแสน พญาเม็งราย ขุนตาล พาน ป่าแดด จังหวัดเพชรบูรณ์ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอน้ำหนาว เขาค้อ จังหวัดตาก 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองตาก สามเงา แม่สอด แม่ระมาด อุ้มผาง ท่าสองยาง พบพระ บ้านตาก จังหวัดลำปาง 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภองาว เมืองปาน วังเหนือ แจ้ห่ม จังหวัดแพร่ 8 อำเภอ ได้แก่ อําเภอเมืองแพร่ สูงเม่น เด่นชัย ลอง วังชิ้น สอง ร้องกวาง และหนองม่วงไข่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 จังหวัด จังหวัดอุดรธานี 20 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุดรธานี กุมภวาปี หนองหาน เพ็ญ บ้านผือ บ้างดุง ศรีธาติ น้ำโสมหนองวัวซอ กุดจับ โนนสะอาด วังสามหมอ ไชยวาน หนองแสง สร้อยคอม ทุ่งฝน นายูง พิบูลย์รักษ์ กู่แก้ว ประจักษศิลปาคม จังหวัดสกลนคร 18 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสกลนคร กุสุมาลย์ กุดบาก พรรณนานิคม พังโคน วาริชภูมิ นิคมน้ำอูนวานรนิวาส คำตากล้า บ้านม่วง อากาศอำนวย สว่างแดนดิน ส่องดาว เต่างอย โคกศรีสุพรรณ เจริญศิลป์ โพนนาแก้ว ภูพาน จังหวัดเลย 14 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเลย วังสะพุง ท่าลี่ เชียงคาน ด่านซ้าย ภูกระดึง ปากชม ภูเรือ นาแห้ว นาด้วงภูหลวง ผาขาว เอราวัณ และหนองหิน จังหวัดขอนแก่น 26 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น บ้านไผ่ พล น้ำพอง ชุมแพ ภูเวียง มัญจาคีรี หนองเรือ กระนวน หนองสองห้อง ชนบท สีชมพู แวงน้อย อุบลรัตน์ บ้านฝาง พระยืน เขาสวนกวาง แวงใหญ่ เปือยน้อย ภูผาม่าน ซำสูงโคกโพธิ์ไทย บ้านแฮด หนองนาคำ โนนศิลา เวียงเก่า จังหวัดนครพนม 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครพนม นาแก ธาตุพนม ศรีสงคราม ท่าอุเทน เรญูนคร โพนสวรรค์ บ้านแพง นาหว้า นาทม วังยาง ปลาปาก จังหวัดหนองคาย 17 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองหนองคาย เซกา เฝ้าไร่ สระไคร โพธิ์ตาก บุ่งคล้า โพนพิสัย ปากคาดท่าบ่อ สังคม โซ่พิสัย ศรีเชียงใหม่ พรเจริญ ศรีวิไล บึงกาฬ รัตนวาปี บึงโขงหลง จังหวัดกาฬสินธุ์ 18 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ กมลาไสย กุฉินารยณ์ สามชัย ห้วยเม็ก หนองกุงศรี สมเด็จ คำม่วง สหัสขันธ์ ฆ้องชัย ร่องคำ ยางตลาด เขาวง ดอนจาน นามน ห้วยผึ่ง นาคู ท่าคันโท จังหวัดมุกดาหาร 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมุกดาหาร คำชะอี ดอนตาล ดงหลวง นิคมคำสร้อย หว้าใหญ่ หนองสูง จังหวัดมหาสารคาม 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม โกสุมพิสัย บรบือ วาปีปทุม พยัคฆภูมิพิสัย เชียงยืนนาเชือก กันทรวิชัย นาดูน ยางสีสุราช แกดำ กุดรัง ชื่นชม สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยหนาวปี 2553 - 2554 ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระดับจังหวัด (ยกเว้นภาคใต้) ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ระดับอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว สำรวจและจัดทำบัญชีผู้ประสบภัยหนาว เพื่อวางแผนแจกจ่ายเครื่องนุ่งห่มกันหนาวให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและทั่วถึง นายวิบูลย์ กล่าวต่อว่า สำหรับการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติ ให้จังหวัดใช้รายงานการคาดหมายลักษณะอากาศ 7 วัน เป็นรายจังหวัดของกรมอุตุนิยมวิทยา และมีสภาพอากาศหนาว (8.0 — 15.9 องศาเซลเซียส) ถึงหนาวจัด (ต่ำกว่า 8.0 องศาเซลเซียส) เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อให้สามารถนำงบประมาณในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดมาใช้ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว ซึ่งจะทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวมีความคล่องตัวมากขึ้น หากวงเงินจังหวัดไม่เพียงพอ สามารถขอขยายวงเงินทดรองราชการมายังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ ทั้งนี้ จากการตรวจสอบความต้องการเครื่องห่มกันหนาวในทั้ง ๑๙ จังหวัด พบว่า มีความต้องการเครื่องห่มกันหนาว จำนวน 3,569,465 ชิ้น ในเบื้องต้นกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจกจ่ายเครื่องนุ่งห่มกันหนาวไปแล้วจำนวน 280,703 ชิ้น แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ปภ. จึงได้กำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประสบภัยหนาวเร่งจัดหาเครื่องห่มกันหนาวและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของทางราชการ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถใช้เงินทดรองราชการในอำนาจจัดหาเครื่องห่มกันหนาวตามความจำเป็นและเหมาะสมในราคาผืนละไม่เกิน 180 บาท ภายในวงเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท พร้อมขอเชิญชวนประชาชนร่วมบริจาคเครื่องห่มกันหนาว ผ่านศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว ส่วนกลาง ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่วนภูมิภาค ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 18 เขต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดทั้ง 75 จังหวัด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางหมายเลขโทรศัพท์ 0-2243-2213 ท้ายนี้ ประชาชนที่ประสบภัยหนาว สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ