โครงการสัมมนาเรื่อง วิกฤติทรัพยากรธรรมชาติแหล่งท่องเที่ยว : สิทธิและทางออกเพื่อความยั่งยืน

ข่าวทั่วไป Tuesday January 18, 2011 11:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ม.ค.--สิทธิมนุษยชนด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ด้วยคณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมจัดให้มีโครงการสัมมนาเรื่อง "วิกฤติทรัพยากรธรรมชาติแหล่งท่องเที่ยว : สิทธิและทางออกเพื่อความยั่งยืน" โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนของสังคมมาร่วมกันระดมความเห็นในการหาทางออกในการแก้ไขปัญหาและสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ด้านการบริหารทรัพยากรธรรมชาติแหล่งท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืนและเคารพในหลักสิทธิมนุษยชน การสัมมนาครั้งนี้กำหนดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม 2554 ณ ห้องรัชวิภา โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร ตามรายละเอียดโครงการดังนี้ หลักการและเหตุผล รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไว้ประการหนึ่งว่า มีอำนาจตรวจสอบและรายงาน การกระทำหรือการละเลยการกระทำ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ และสามารถเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำหรือ ละเว้นการกระทำดังกล่าว อีกทั้งมีอำนาจ ในการเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎต่อรัฐสภา หรือคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ตลอดระยะเวลากว่าทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยได้กำหนดนโยบาย การส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นนโยบายสำคัญที่อาจนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมได้ ทั้งในทางตรงและทางอ้อมก่อให้เกิดเงินตราที่ใช้หมุนเวียนภายในท้องถิ่นตั้งแต่ต้นน้ำยันถึงปลายน้ำได้ ในบางปีข้อสรุปของรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถือว่าเป็นรายได้อันดับหนึ่งของประเทศติดต่อกันหลายปีเลยทีเดียว แม้นโยบายดังกล่าวจะเป็นนโยบายที่สังคมไทยควรที่จะให้การสนับสนุนและส่งเสริมอย่างยิ่ง แต่ผลจากการดำเนินนโยบายดังกล่าวก่อให้เกิดผลสะท้อนในทางลบต่อแหล่งหรือสถานที่ท่องเที่ยวอย่างรุนแรง ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๕๐มาตรา ๖๖ และ ๖๗ ได้ จนรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐ อาจไม่สามารถตั้งรับต่อสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาจากผลของนโยบายดังกล่าวได้ เช่น มีการบุกรุกแผ้วถางตัดไม้ทำลายป่าเพื่อก่อสร้างรีสอร์ท รองรับนักท่องเที่ยว การบุกรุกอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และหรือเขตอนุรักษ์ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งการปล่อยให้มีสถานที่พัก หรือสถา นที่รองรับนักท่องเที่ยวแบบค้างคืนในอุทยานหรือสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นเขตอนุรักษ์หรือเขตห้วงห้ามต่างๆ เช่น แพพักเอกชนในเขตอุทยานแห่งชาติเขาสก การอนุญาตให้นักท่องเที่ยวกางเต้นท์นอนได้ในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง และอีกหลาย ๆ อุทยาน การปล่อยให้มีแพดิสโก้เธคเสียงดังบริการนักท่องเที่ยวเต็มพื้นที่แม่น้ำแควที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น โดยไม่มีการเตรียมการรองรับสถานการณ์ที่เหมาะสม ก่อให้เกิดมลพิษจากการท่องเที่ยวตามมามากมาย เช่น การเกิดขยะในแหล่งท่องเที่ยว ในภูเขา แม่น้ำ ลำธาร ในทะเล มหาสมุทร โดยจากกฎ ระเบียบการรองรับ หรือมาตรการที่เหมาะสม การเปิดหรืออนุญาตให้มีนักท่องเที่ยวเข้าไปใช้บริการในแหล่งท่องเที่ยวจนเกินศักยภาพของสถานที่ท่องเที่ยวจะรองรับได้ (Over Carrying Capacity) การเข้าไปรบกวนวิถีชีวิตของสัตว์ป่า การให้อาหารสัตว์ป่า จนสัตว์ป่ เปลี่ยนแปลงสัญชาตญาณไปเสียสิ้น นอกจากนั้นยังมีความพยายามพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวโดยขาดบริบทของเอกลักษณ์ที่สำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวไปสิ้น เช่น ความพยายามให้เอกชนเข้าไปเช่าใช้พื้นที่อุทยานแห่งชาติเพื่อพัฒนาขึ้นรองรับนักท่องเที่ยวในปริมาณที่มากเกินกว่าที่ธรรมชาติจะรองรับได้ ความพยายามขยายไฟฟ้า ประปา ในเกาะปันหยี จังหวัดพังงา ความพยายามสร้างกระเช้าขึ้นภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นต้น การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่ขาดการวางแผน ขาดกฎระเบียบที่ชัดเจน รัดกุม หรือขาดการมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเป็นที่ยอมรับกันของทุกภาคส่วนในการควบคุม ดูและและจัดการ รังแต่จะสร้างปัญหาและความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่แหล่งท่องเที่ยวในอนาคตอันใกล้ ด้วยเหตุดังกล่าว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เห็นว่าหากปล่อยให้นโยบายการส่งเสริม การท่องเที่ยว ของภาครัฐ ที่มีผลต่อการทำลายแหล่งท่องเที่ยวดำเนินการไปตามนโยบายของรัฐบาล โดยขาดการตรวจสอบการกระทำที่อาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนและชุมชนด้าน การท่องเที่ยวและการประกอบอาชีพต่อเนื่องที่เกี่ยวพันกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของภาครัฐได้ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมต่อชาวบ้านโดยรอบพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวและคนไทยโดยรวม ไปโดยไม่ได้มีการทบทวน หรือถอดบทเรียนของนโยบายดังกล่าว ก็อาจจะนำไปสู่ความล่มสลายของแหล่งท่องเที่ยวของประเทศโดยรวมได้ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ สังค ม และวัฒนธรรมโดยรวมของชุมชนและชนในชาติได้ คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จึงได้จัดสัมมนาขึ้นเพื่อระดมความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน และหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ทุกภาคส่วนในการร่วมกันหาทางออก และตกผลึกทางความคิดร่วมกันในการผลักดันการป้องกัน และแก้ไขปัญหาด้านการบริหารทรัพยากรธรรมชาติแหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืนต่อไปได้ภายใต้ การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว และการบริการการท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน และเป็นที่ยอมรับกันของทุกภาคส่วนสืบไป วัตถุประสงค์ ๑)เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการหาทางออก และข้อเสนอแนะที่เป็นไปได้ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติแหล่งท่องเที่ยว ๒)เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหาที่เป็นรูปธรรมต่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติแหล่งท่องเที่ยว ที่ล้มเหลวตามนโยบายภาครัฐที่ผ่านมาที่มีผลต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาวบ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ ๓)เพื่อสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ของการบริหารทรัพยากรธรรมชาติแหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืน วัน เวลา และสถานที่ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๔ เวลา ๘.๓๐-๑๖.๓๐น. ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน ๗๐ คน ประกอบด้วย ๑. ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ ๑. เครือธุรกิจโรงแรม ๒. บริษัทท่องเที่ยว ๓. ผู้นำชุมชนท่องเที่ยว ๔. สมาคมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ฯลฯ ๒. ภาคประชาสังคม ๑. เครือข่ายพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ๒. ชมรมอุทยานและป่าไม้ กรุงเทพฯ ๓. ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ๔. มูลนิธิเกาะสีเขียว จ.สุราษฎร์ธานี ๕. กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรุงเทพฯ ๖. ชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อมและเกษตรยังยืนล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ๗. ชมรมพิทักษ์สิ่งแวดล้อมหลังสวน จังหวัดชุมพร ๘. สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม อำเภอบ้านฉาง — มาบตาพุด จังหวัดระยอง ๙. สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี ๑๐. เครือข่ายพิทักษ์มรดกโลก ๑๑. สมาคมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เกาะยาวน้อย จ.พังงา ๑๒. มูลนิธิGreen Leaf ฯลฯ ๓. ภาครัฐ ๑. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน) ๒. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๓. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ๔. กรุงเทพมหานคร ๕. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๖. นักวิชาการและสถาบันการศึกษา ๗. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ๘. คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ๙. เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฯลฯ ๔. ประชาชนผู้สนใจ ๕. สื่อมวลชนที่สนใจ งบประมาณ จากสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจำนวน ๑๔๕,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่น ห้าพันบาทถ้วน) ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑) ได้ความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการหาทางออก และข้อเสนอแนะที่เป็นไปได้ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติแหล่งท่องเที่ยว ๒) ได้ทราบปัญหาที่เป็นรูปธรรมต่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติแหล่งท่องเที่ยว ที่ล้มเหลวตามนโยบายภาครัฐที่ผ่านมาที่มีผลต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาวบ้านเจ้าในพื้นถิ่นต่าง ๆ ๓)ได้ข้อสรุปของกระบวนทัศน์ใหม่ของการบริหารทรัพยากรธรรมชาติแหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืน ๔)คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาล ในการกำหนดมาตรการ หรือระเบียบ หรือกฎ ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติแหล่งท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนได้ทั่วประเทศ กำหนดการสัมมนา ๐๘.๓๐ — ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน ๐๙.๐๐ — ๐๙.๑๐ น . ชมวีดีทัศน์ ๐๙.๑๐ — ๐๙.๓๐ น. กล่าวรายงานการจัดสัมมนา โดย นายปริญญา ศิริสารการ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานอนุกรรมการฯ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กล่าวเปิดการสัมมนา โดย ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ๐๙.๓๐— ๑๐.๔๕ น. การเสวนาเรื่อง"การปกป้องทรัพยากรธรรมชาติในภาวะที่อุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยวของไทยขยายตัวอย่างไร้ทิศทาง" ประเด็นเสวนา ๑) ภัยคุกคามทรัพยากรธรรมชาติ ๒) มาตรการการป้องกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ๓) แหล่งทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทยที่ประสบภัยรุนแรงมากที่สุด ๔) บทบาทในการแก้ปัญหาวิกฤติทรัพยากรธรรมชาติแหล่งท่องเที่ยว ดำเนินการอภิปรายโดย ดร.วงษ์ภูมิ วนาสิน อนุกรรมการฯ ๑๐.๔๕ — ๑๑.๐๐ น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๑๑.๐๐ — ๑๓.๐๐ น. การอภิปราย “วิกฤติทรัพยากรธรรมชาติแหล่งท่องเที่ยว : สิทธิและ ทางออกเพื่อ ความยั่งยืน” โดย ๑) อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชหรือผู้แทน ๒) รศ.สุภาพร สุกสีเหลือง ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ๓) นายพงศ์พันธุ์ จันทร์สุกรี นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ๔) นายกฤษณะ ฉายากุล ชมรมรักษ์แม่น้ำหลังสวน จ.ชุมพร ดำเนินการอภิปรายโดย นายศรีสุวรรณ จรรยา อนุกรรมการฯ และนายกสมาคมการจัดการสิ่งแวดล้อมนิด้า ๑๓.๐๐ น. ปิดการสัมมนา/รับประทานอาหารกลางวัน หมายเหตุ : กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ