วีนิไทย มอบกล้องดูดาวดาวพีวีซีขนาดใหญ่ ผ่านโครงการค่ายกล้องดูดาวพีวีซีเฉลิมพระเกียติฯ ๘๔ พรรษา

ข่าวทั่วไป Monday April 11, 2011 16:23 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 เม.ย.--เกรทคอม วีนิไทย จับมือ สวทช. ส่งเสริมเยาวชนไทยสู่วงการดาราศาสตร์ มอบกล้องดูดาวดาวพีวีซีขนาดใหญ่ ใช้งานได้จริงในโครงการค่ายกล้องดูดาวพีวีซีเฉลิมพระเกียติฯ ๘๔ พรรษา ความลี้ลับของดวงดาวและปรากฏการณ์บนท้องฟ้า ยังคงเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจให้ได้เรียนรู้อีกมากมาย ซึ่งอุปกรณ์ในการดูดาวจึงเป็นสิ่งจำเป็นในกาศึกษาเรียนรู้เรื่องดาวดาว แต่ด้วยราคาอุปกรณ์ที่แพง ทำเยาวชนไทย ขาดโอกาสที่จะได้สัมผัสและศึกษาเกี่ยวกับดาราศาสตร์อย่างแท้จริง บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกพีวีซีและโซดาไฟ จึงร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดโครงการค่ายวิศวกรรม “กล้องดูดาวพีวีซีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” นวัตกรรมใหม่ล่าสุด ฝีมือคนไทย เพื่อเด็กไทย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและยกย่องในอัจฉริยภาพการทรงเป็นนักประดิษฐ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โครงการนี้จะเป็นมอบกล้องดูดาวพีวีซี ขนาด ๒๐๐ มิลลิเมตร จำนวน ๘๔ ตัว มอบให้โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ๘๔ โรง และสร้างกล้องดูดาวขนาด ๓๐๐ มิลลิเมตร จำนวน ๑๕ ตัว มอบให้ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จำนวน ๑๕ ศูนย์ และเปิดโอกาสให้เยาวชนเข้ามาเรียนรู้การสร้างกล้องดูดาว ด้วยขบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ตั้งแต่การออกแบบ ประดิษฐ์ รวมถึงทดสอบการใช้งานจริง และเมื่อกล้องเสียก็สามารถที่จะซ่อมเองได้ รวมถึงสามารถนำกระบวนการดังกล่าวไปต่อยอด ดัดแปลง สร้างสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ เยาวชนสามรถต่อยอดนำไปถ่ายทอดความรู้และสร้างโอกาสให้กับเด็กไทยในท้องถิ่นต่างได้ได้อีกด้วย!!!. ทั้งนี้กล้องดูดาวพีวีซีที่ประดิษฐ์ได้นี้ถือเป็นกล้องที่มีคุณภาพสูงสามารถใช้ดูดาว กาแล็กซี และดูดวงอาทิตย์ได้ โดยระยะการมองเห็นนั้นสามารถมองเห็นวงแหวนของดาวเสาร์ได้แน่นอนและอาจเห็นดวงจันทร์ทั้งสี่ดวงของดาวเสาร์ได้ด้วย ซึ่งงบประมาณในการสร้างกล้องขนาด 300 มม. อยู่ที่ประมาณ 5 หมื่นบาทต่อตัว ส่วนขนาด 200 มม. อยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นบาทต่อตัว ราคายังสูงเพราะต้องซื้อเลนส์จากต่างประเทศ สำหรับการจัดกิจกรรมค่ายฯ ครั้งที่ 1 ณ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา จังหวัดชลบุรี ครั้งนี้มีโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๑๓ โรง ซึ่งเป็นโรงเรียนในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยองจำนวน ๗ โรง และโรงเรียนจาก ๖ จังหวัดในเขตพื้นที่การดูแลของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสระแก้ว คือ จ.สระแก้ว จ.นครนายก จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี จ.ตราด และ จ.จันทรบุรี มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น ๑๕๐ คน” นายกุนเธอร์ นาโดนี่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวเพิ่มเติมว่า “บริษัท วีนิไทยฯ เป็น บริษัทผลิตเม็ดพลาสติกพีวีซีและโซดาไฟเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ซึ่งปัจจุบันยังมีการขาดแคลนอยู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคลโดยเริ่มตั้งแต่ระดับเยาวชนจึงถือเป็นเรื่องสำคัญบริษัทวีนิไทยฯ จึงได้ร่วมมือกับ สวทช.ดำเนินโครงการ”กล้องดูดาวพีวีซีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔” ขึ้น ทางบริษัท ฯ มีความภาคภูมิใจแลมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ไดมีส่วนร่วมในโครงการที่ช่วยในการพัฒนาทรัพยากรทางวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงด้านดาราศาสตร์ของประเทศไทยในอนาคต วีนิไทยหวังว่าโครงการนี้จะสร้างแรงจูงใจและปลูกฝังเจตคติเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และดาราศาสตร์แก่เยาวชนระดับมัธยมศึกษา ด้าน ดร. สวัสดิ์ ตันติพันธุ์วดี หัวหน้าโครงการฯ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า “การดำเนินงานโครงการกล้องดูดาวพีวีซีเฉลิมพระเกียรติฯ ๘๔ พรรษา เป็นความร่วมร่วมมือระหว่าง สวทช. กับบริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) โดย สวทช. จะเป็นผู้วางแผนการดำเนินกิจกรรม รวมถึงรับผิดชอบกิจกรรมด้านวิชาการ และ บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณทั้งหมดในการดำเนินโครงการฯ นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาทั่วประเทศในการคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมและบริหารจัดการเรื่องสถานที่ในการจัดค่ายฯ โครงการฯ มีแผนดำเนินงานเป็นเวลา ๓ ปี เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ — ๒๕๕๖ โดยจัดกิจกรรมค่ายฯ รวม ๘ ครั้ง สร้างกล้องดูดาวขนาด ๒๐๐ มิลลิเมตร จำนวน ๘๔ ตัวมอบให้โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ๘๔ โรง และสร้างกล้องดูดาวขนาด ๓๐๐ มิลลิเมตร จำนวน ๑๕ ตัว มอบให้ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จำนวน ๑๕ ศูนย์ รวมงบประมาณทั้งสิ้น ๔.๘ ล้านบาท

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ