ความคลาดเคลื่อนที่ของ Exit Poll

ข่าวทั่วไป Thursday July 7, 2011 16:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 ก.ค.--มหาวิทยาลัยศรีปทุม ฉับพลันที่ปิดหีบเลือกตั้งในเวลา 15.00 น. การนำเสนอผลการทำโพลล์หน้าหน่วยเลือกตั้ง หรือที่เรียกกันว่า เอ็กซิทโพลล์ ของ สำนักโพลล์ต่างๆก็ปรากฏขึ้นหน้าจอทีวีแต่ละช่อง ทำให้กองเชียร์ของพรรคการเมือง 2 ข้าง มีอาการที่แตกต่างกันราวกับฟ้าดิน ฝ่ายหนึ่งโห่ร้องกึกก้องเมื่อรู้ว่าพรรคที่ตนสนับสนุนได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น อีกฝ่ายหนึ่งช็อค งุนงงสงสัย ถึงความพ่ายแพ้อย่างหมดรูป พร้อมภาวนาไม่ให้ผลของเอ็กซิทโพลล์เป็นจริง ภาวนาให้การวิจัยมีความคลาดเคลื่อน ไม่สมบูรณ์ หวังว่าผลการเลือกตั้งจริงจะเป็นตรงกันข้าม สำนักโพลล์ อย่างน้อย 3 แห่ง คือ สวนดุสิตโพลล์ เอแบ็คโพลล์ และ น้องใหม่ ศรีปทุม โพลล์ นำเสนอผลการเลือกตั้งด้วยจำนวน สส. ที่แตกต่างกันในตัวเลข โดย สวนดุสิตโพลล์ เสนอตัวเลข พรรคเพื่อไทย สูงลิ่วถึง 313 คน ในขณะที่ศรีปทุมโพลล์ เสนอตัวเลขต่ำสุดที่ 290 คน และ ABAC นำเสนอตัวเลขกลางๆที่ 299 คน รวมถึงการนำเสนอตัวเลขของ ส.ส. พรรคอื่นๆที่แตกต่างกัน และหลังจากนั้นไม่นานผลการเลือกตั้งจริงค่อยๆปรากฏ ทำให้แต่ละสำนักต้องแอบลุ้นว่าของใครใกล้เคียงข้อเท็จจริงมากที่สุด ผลการทำนายและการเปรียบเทียบ และความคลาดเคลื่อนปรากฏตามตารางที่ 1 ดังนี้ ตารางที่ 1 : เปรียบเทียบ ผลโพลล์ กับ ผลการเลือกตั้ง ในภาพรวมทั้งประเทศ พรรค จำนวนสส.ที่ได้ สวนดุสิต ABAC ศรีปทุม ผลโพลล์ คลาดเคลื่อน ผลโพลล์ คลาดเคลื่อน ผลโพลล์ คลาดเคลื่อน เพื่อไทย 265 313 48 299 34 290 25 ประชาธิปัตย์ 159 152 7 132 27 140 19 ภูมิใจไทย 34 13 21 28 6 31 3 ชาติไทยพัฒนา 19 10 9 12 7 15 4 ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 7 2 5 14 7 11 4 มาตุภูมิ 2 1 1 3 1 5 3 รักประเทศไทย 4 3 1 4 0 4 0 พลังชล 7 5 2 6 1 3 4 รักษ์สันติ 1 1 0 1 0 1 0 กิจสังคม 0 0 0 1 1 0 0 มหาชน 1 0 1 0 1 0 1 ประชาธิปไตยใหม่ 1 0 1 0 1 0 1 รวม 500 500 96 500 86 500 64 ร้อยละความคลาดเคลื่อน 19.2% 17.2% 12.8% แม้ผลการเปรียบเทียบจะเห็นว่า ทั้ง 3 สำนักโพลล์ มีร้อยละของความคลาดเคลื่อนแตกต่างกันอยู่ โดย แม้ว่า ศรีปทุมโพลล์ มีร้อยละความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุด คือ ร้อยละ 12.8 ตามด้วย ABAC ที่คลาดเคลื่อนร้อยละ 17.2 และ สวนดุสิตมีความคลาดเคลื่อนสูงสุด ร้อยละ 19.2 ก็ตาม แต่ความคลาดเคลื่อนที่เกินร้อยละ 10 ของทั้ง 3 สำนัก เป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้ยากในแวดวงการวิจัย ที่หวังผลการคาดการณ์ที่ไม่ควรคลาดเคลื่อนเกินร้อยละ 5 จึงเป็นเครื่องหมายคำถามใหญ่ว่า อะไรคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้แต่ละโพลล์มีปัญหาในการทำนายเช่นนี้ วิเคราะห์เฉพาะ สส. บัญชีรายชื่อ ไม่พบความคลาดเคลื่อนมากนัก เมื่อแยกส่วนการวิเคราะห์เฉพาะ สส.บัญชีรายชื่อ การทำนายผลในส่วน สส.บัญชีรายชื่อ จะพบว่า การทำนายผลของแต่ละสำนักมีความใกล้เคียงกับผลการเลือกตั้งจริงมากขึ้น โดยแสดงให้เห็นในตารางที่ 2 ตารางที่ 2 : เปรียบเทียบ ผลโพลล์ กับ ผลการเลือกตั้ง เฉพาะ สส. บัญชีรายชื่อ พรรค จำนวน สวนดุสิต ABAC ศรีปทุม สส. บัญชีรายชื่อ ผลโพลล์ คลาด ผลโพลล์ คลาด ผลโพลล์ คลาด เคลื่อน เคลื่อน เคลื่อน เพื่อไทย 61 66 5 65 4 64 3 ประชาธิปัตย์ 44 45 1 40 4 43 1 ภูมิใจไทย 5 4 1 6 1 6 1 ชาติไทยพัฒนา 4 2 2 3 1 3 1 ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 2 2 0 3 1 2 0 มาตุภูมิ 1 1 0 1 0 1 0 รักประเทศไทย 4 3 1 4 0 4 0 พลังชล 1 1 0 1 0 1 0 รักษ์สันติ 1 1 0 1 0 1 0 กิจสังคม 0 0 0 1 1 0 0 มหาชน 1 0 1 0 1 0 1 ประชาธิปไตยใหม่ 1 0 1 0 1 0 1 รวม 125 125 12 14 125 8 ร้อยละความคลาดเคลื่อน 9.6% 11.2% 6.4% จะเห็นว่าสำนักโพลล์ต่างๆมีความแม่นตรงในการทำนายมากขึ้น โดยศรีปทุมโพลล์ยังคงความแม่นตรงมากที่สุด โดยมีความคลาดเคลื่อนในการทำนาย ร้อยละ 6.4 รองลงมาเป็น สวนดุสิตโพลล์ ที่สามารถทำนายได้คลาดเคลื่อนน้อยรองลงมาเป็นอันดับสอง ร้อยละ 9.6 และ ABAC โพลล์ มีความคลาดเคลื่อนเกินร้อยละ 10 อยู่รายเดียว คืออยู่ที่ ร้อยละ 11.2 ซึ่งน่าจะแปลผลว่า การที่สวนดุสิตโพลล์ทำนายในภาพรวมผิดพลาดมากสุด น่าจะมาจากสาเหตุการทำนาย สส.เขตที่ผิดพลาดสูง จนเป็นเหตุให้ดึงร้อยละความคลาดเคลื่อนให้สูงขึ้นมากทั้งที่ทำนายปาร์ตี้ลิสต์ผิดไม่มากนัก กรุงเทพมหานคร พื้นที่ปราบเซียน ตัวเลข สส. ที่สำนักโพลล์ต่างๆนำเสนอ และสร้างความตื่นตระหนกให้แก่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นแชมป์เก่าเจ้าของพื้นที่ คือ ผลการทำนายในกรุงเทพมหานคร ซึ่งค่อนข้างต่างในทิศทางตรงกันข้ามกับผลการเลือกตั้งจริง โดยทั้ง 3 สำนักโพลล์ มีผลการทำนาย เทียบกับ จำนวน สส. จริง ของ 2 พรรค ตามตารางที่ 3 ดังนี้ ตารางที่ 3 : เปรียบเทียบ ผลโพลล์ กับ ผลการเลือกตั้ง เฉพาะ สส. เขต ใน กรุงเทพมหานคร พรรค จำนวน สวนดุสิต ABAC ศรีปทุม สส.กทม. ผล คลาด ผลโพลล์ คลาด ผลโพลล์ คลาด โพลล์ เคลื่อน เคลื่อน เคลื่อน เพื่อไทย 10 28 18 24 14 27 17 ประชาธิปัตย์ 23 5 18 9 14 6 17 รวม 33 33 36 33 28 33 34 ร้อยละความคลาดเคลื่อน 109.09% 84.85% 103.03% นอกเหนือจาก 3 สำนักโพลล์ที่ทำการสำรวจทั่วประเทศซึ่งรวม กทม. แล้ว ยัง มีสำนักโพลล์อื่นๆที่ทำการสำรวจเฉพาะในพื้นที่ กทม. เท่านั้น เช่น ธุรกิจบัณฑิตโพลล์ ที่ให้ เพื่อไทยได้ 28 ที่ ประชาธิปัตย์ 5 ที่ และ บ้านสมเด็จโพลล์ ที่ให้เพื่อไทย ได้ 21 ที่ และ ประชาธิปัตย์ 12 ที่ เป็นต้น ซึ่งแปลผลว่า ทุกสำนักโพลล์ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าเก่า หรือใหม่ ล้วนทายว่า ประชาธิปัตย์ จะได้ สส. กทม. ระหว่าง 5-12 ที่ และพรรคเพื่อไทย จะชนะใน กทม. ด้วยจำนวน สส. ตั้งแต่ 21-28 ที่ ใกล้เคียงกันหมดทุกโพลล์ เป็นการชี้ชัดว่า การทำนายผลใน กทม. เป็นปัจจัยสำคัญในการดึงให้ผลการทำนาย Exit Poll ในระดับประเทศ ให้เพิ่มร้อยละของความผิดพลาดให้สูงขึ้นอย่างน่าใจหาย 3 สมมติฐานที่รอการพิสูจน์ในด้านวิชาการ คำถามที่คาใจบรรดานักทำโพลล์ทั้งหลายคือ ทำไม การทำเอ็กซิทโพลล์ใน กทม. จึงนัดกันพร้อมใจกันผิด และ มีผลการทำนายในจำนวนที่ไล่เลี่ยกัน แน่นอนว่าสำนักโพลล์เหล่านี้ไม่ได้ลอกข้อสอบกัน เพราะต่างคนต่างทำคนละที่ และไม่เห็นข้อสรุปของกัน จนมาเปิดโพยพร้อมกันในเวลา 15.00 น. ดังนั้น ข้อสมมติฐานเหล่านี้ จึงอาจเป็นเรื่องที่ต้องรอคอยการพิสูจน์ กรณีที่ 1 คนเลือกตั้งรอบเช้า คือคนหาเช้ากินค่ำ ส่วนมนุษย์เงินเดือนทำงานออฟฟิซ จะไปเลือกตั้งรอบบ่ายมากกว่า กรณีที่ 2 คน กทม. ไม่ให้ความร่วมมือในการตอบ คนเลือกพรรคกระแสแรงกล้าตอบ แต่พรรคเสียงอ่อน จะเดินเลี่ยง กรณีที่ 3 เป็นไปได้ไหมที่ ผลการเลือกตั้งใน กทม. สามารถสั่งได้ ข้ออภิปรายในกรณีแรก เรียกชื่อว่า “ทฤษฎีคนเมืองกรุงตื่นสาย อยากสบายในวันหยุด” เกิดขึ้นจากธรรมชาติของการทำ เอ็กซิทโพลล์ ที่สามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 8.00 น. และต้องเก็บเสร็จสิ้นไม่เกิน 13.00 น. เพื่อจะต้องมีเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ถึง ชั่วโมงครึ่งในการประมวลผล ตรวจสอบความถูกต้อง และเขียนรายงานเพื่อให้ทันเวลาในการนำเสนอสื่อในเวลา 15.00 น. ดังนั้น สำหรับหน่วยเลือกตั้งในต่างจังหวัด ที่ประชาชนผู้มีสิทธิ์ส่วนใหญ่มักจะใช้สิทธิ์เลือกตั้งในช่วงเช้า จะได้ผลการสำรวจที่มีความเป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด แต่สำหรับคนกรุงที่ทำงานประจำสำนักงานในวันธรรมดา วันเสาร์อาทิตย์คือวันหยุดพักผ่อน วันเลือกตั้งจึงไม่เร่งรีบ อาจไปใช้สิทธิ์มากในช่วงสองชั่วโมงสุดท้ายที่โพลล์ไม่มีการสำรวจ แต่ในขณะที่คนกรุงที่เป็นคนหาเช้ากินค่ำ พ่อค้าแม่ค้า คนจนเมือง ที่ต้องทำงานทุกวัน วันเลือกตั้งก็ต้องกระตือรือล้นไปเลือกในช่วงเช้าเพื่อไปทำมาหากินต่อในช่วงสาย ทำให้ผลการสำรวจเอ็กซิทโพลล์ในกรุงเทพสะท้อนความเป็นตัวแทน (representativeness) ของคนรากหญ้า มากกว่า คนชั้นกลาง ซึ่งคงไม่ต้องอธิบายเพิ่มว่า คนกลุ่มนี้นิยมในพรรคใด ข้ออภิปรายในกรณีที่สอง เรียกว่า “ทฤษฎี พรรคดัง กระแสดี คนอยากแสดงตัว” ใครๆก็อยากแสดงตัวว่าเป็นฝ่ายชนะ ยิ่งใครต่อใครพูดกันทั่วเมืองว่าเพื่อไทยมาแน่ กระแสการแสดงตัวว่าตัวเองเป็นฝ่ายพรรคที่ชนะจะแรงขึ้น ในทางวิชาการเรียกว่า Bandwagon Effect หรืออุปทานของของคนหมู่มาก ทำนองพวกมากลากไป ดังนั้น เวลา อาสาสมัครไปถามว่าเลือกใคร ฝ่ายที่คิดว่าชนะจะกล้าตอบ เพราะเป็นความภาคภูมิใจ แต่ฝ่ายที่คิดว่าแพ้ ก็จะเดินเลี่ยง ไม่ให้ความเห็น และอุปนิสัยของคนเมืองสองกลุ่มอาจแตกต่างกัน คือ คนจนเมือง พ่อค้าแม่ค้า จะกล้าตอบตรงๆว่าเลือกใคร ไม่เกรงกลัวผลกระทบใดๆ ส่วนคนชั้นกลางมักถือเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคลในการเลือกตั้งไม่ค่อยยอมเปิดเผย แม้คนในบ้านเดียวกันถามบางทีก็ยังไม่บอก จึงอาจเป็นเหตุให้โพลล์ กทม. หน้าแตกเป็นหลายเสี่ยง ข้ออภิปรายในกรณีที่สาม เรียกว่า “ทฤษฎี อะไรๆก็เป็นไปได้” ข้อนี้ไม่ใช่ขี้แพ้ชวนตี แต่มีหลายคนตั้งข้อสังเกตุว่า การทุจริตการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศไทย เมื่อกรรมการประจำหน่วยเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะมีข้อยกเว้นในกรุงเทพมหานคร หรือไม่ ทราบว่าฝ่ายที่แพ้เลือกตั้งใน กทม. กำลังเสาะหาคำตอบอยู่ โดยมีหลายกรณีที่น่าสนใจ เช่น การเก็บหีบบัตรเลือกตั้งล่วงหน้า การนับคะแนนในส่วนที่เป็นบัตรเสีย ซึ่งมีบัตรเสียทั่วประเทศกว่า 2 ล้านใบ และในจำนวนนี้เป็นของ กทม.ไม่ใช่น้อย โดยมีรายงานว่าในบางเขตเลือกตั้งของ กทม. มีบัตรเสียมากถึง 3-4 พันใบ โดยมีคะแนนแพ้ชนะแค่หลักร้อย ไปจนถึงวิชาขั้นสุดยอดอีกมากมายที่เราไม่อาจรับรู้ได้ แต่การพิสูจน์ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทุกอย่างได้ถูกปิดหีบไปแล้ว แต่ก็เป็นเรื่องน่าคิด บทสรุป เอ็กซิทโพลล์วันนี้กำลังถูกท้าทายอย่างยิ่งว่า จะเป็นศาสตร์การวิจัยที่น่าเชื่อถือ หรือเป็นเพียงวิชาโมเม อาศัยความสนใจของสื่อมวลชนและประชาชนเป็นเครื่องมือทำมาหากินของนักวิจัยบางคน ความถูกต้องแม่นยำกอปรกับการเป็นนักวิชาการที่เป็นมืออาชีพ จะช่วยให้เอ็กซิทโพลล์มีชีวิตอยู่ต่อไป การแสวงหาผลประโยชน์ การใช้วิชาการอย่างฉ้อฉล จะทำให้ผู้ทำเอ็กซิทโพลล์ไม่มีที่ยืนในสังคม นี่คือสัจธรรม สำนักงานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม โทร 02-579-1111 ต่อ 1125-6,1185,1107 โทรสาร 02-579-4666 e-mail : pr_spu@spu.ac.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ