เซลจีนเผยข้อมูลการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ระยะ I/II ประเมินผลการใช้ยา Lenalidomide

ข่าวทั่วไป Wednesday July 13, 2011 15:07 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 ก.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค เซลจีนเผยข้อมูลการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ระยะ I/IIประเมินผลการใช้ยา Lenalidomide ชนิดรับประทาน ร่วมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดขั้นพื้นฐานR-CHOP ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่แพร่กระจายในเซลล์บีซึ่งยังไม่ได้รับการรักษา ผลการศึกษาระยะ I/II พบว่ามี อัตราการตอบสนองโดยรวม 100% และมีอัตราการตอบสนองอย่างสมบูรณ์ 83% โดยมีอัตราการสงบของโรค และความปลอดภัยสูงในผู้ป่วยวัยชรา บริษัท เซลจีน อินเตอร์เนชั่นแนล ซาร์ล (Celgene International S?rl) ซึ่งใช้สัญลักษณ์หุ้นในตลาด NASDAQ: CELG) เปิดเผยข้อมูลวิจัยทางการแพทย์จากโครงการศึกษาวิจัย 2 โครงการเพื่อประเมินผลการใช้ยา Lenalidomide กับการรักษาด้วยเคมีบำบัด (chemotherapy) ขั้นพื้นฐาน R-CHOP* ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่แพร่กระจายในเซลล์บีซึ่งยังไม่ได้รับการรักษา หรือกลุ่มที่เรียกว่า ดีแอลบีซีแอล (Diffuse Large B Cell Lymphoma-DLBCL) หรือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระดับ 3 โดยได้นำเสนอผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวในการประชุมนานาชาติว่าด้วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง “International Conference on Malignant Lymphoma” ครั้งที่ 11 ซึ่งจัดขึ้น ณ เมือง ลูกาโน่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ การศึกษาในระยะ I/II ซึ่งดำเนินการโดยนักวิจัยแห่ง Mayo Clinic ได้ทดลองในผู้ป่วย 12 รายที่ได้รับยา Lenalidomide ขนาด 15 มก. 20 มก. หรือ 25 มก. ตั้งแต่วันที่ 1-10 ของทุกๆ 21 วัน (คิดเป็น 1 รอบการรักษา) พร้อมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดขั้นพื้นฐาน R-CHOP เพื่อหาระดับยาสูงสุดที่สามารถรับได้ ของยา Lenalidomide พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณยาให้กับผู้ป่วยโดยที่ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย ในระยะ II ได้ทำการทดลองในผู้ป่วย 32 ราย ซึ่งได้รับยา Lenalidomide ขนาด 25 มก. ตั้งแต่วันที่ 1-10 พร้อมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดขั้นพื้นฐาน R-CHOP (R2CHOP) เป็นระยะเวลา 6 รอบการรักษา สำหรับผู้ป่วย 28 รายที่เป็นมะเร็งชนิด ดีแอลบีซีแอล และผู้ป่วย 4 รายที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระดับ 3 ในช่วงอายุ 19 ถึง 87 ปี การตอบสนองต่อยาดังกล่าวประเมินโดยใช้ PET/CT ทั้งนี้ในผู้ป่วย 32 รายที่ทำการประเมิน พบว่า อัตราการตอบสนองโดยรวมอยู่ที่ 100% และ อัตราการตอบสนองอย่างสมบูรณ์อยู่ที่ 83% ส่วนภาวะความเป็นพิษต่อกระแสเลือด (Hematological Toxicity หรือ HT) ที่พบมากที่สุด คือ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia) ในสัดส่วน 3/4 (16%/25%) และภาวะเม็ดเลือดขาวลดลง (Neutropenia) ในสัดส่วน 3/4 (13%/75%) ในระยะที่ I ที่มีรูปแบบการศึกษาทดลองคล้ายกัน ซึ่งดำเนินการโดย Fondazione Italiana Linfomi (FIL) ในผู้ป่วยวัยชราที่มีมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด ดีแอลบีซีแอล ซึ่งยังไม่ได้รับการรักษา ด้วยการให้ยา Lenalidomide ร่วมกับการรักษาแบบเคมีบำบัดขั้นพื้นฐาน R-CHOP* (LR-CHOP21) โดยผู้ป่วย 21 รายได้รับยา Lenalidomide ขนาด 10 มก. 15 มก. หรือ 20 มก. ตั้งแต่วันที่ 1-14 ของแต่ละรอบการรักษา 21 วันที่ทำพร้อมพร้อมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดขั้นพื้นฐาน R-CHOP เพื่อหาระดับยาสูงสุดที่สามารถรับได้ของยา Lenalidomide จากการทดลองในรอบการรักษาดังกล่าว พบว่า ยา Lenalidomide ขนาด 15 มก.ให้ระดับยาสูงสุดที่สามารถรับได้ที่เหมาะสมที่สุด ในช่วงอายุตั้งแต่ 61 ถึง 77 ปี การตอบสนองต่อยาดังกล่าวประเมินโดยใช้ PET/CT และในผู้ป่วยที่ทำการประเมิน 21 รายนั้น พบว่า อัตราการตอบสนองโดยรวม อยู่ที่ 86% และ อัตราการตอบสนองอย่างสมบูรณ์ อยู่ที่ 76% หลังจากรักษาแบบ LR-CHOP21 ไปแล้ว 6 รอบการรักษา ส่วนภาวะ ภาวะความเป็นพิษต่อกระแสเลือด (HT) ในระดับ 3 หรือสูงกว่า ที่พบมากที่สุด คือ ภาวะเม็ดเลือดขาวลดลง (Neutropenia) 28% และ ภาวะเกล็ดเลืดลดลง(Thrombocytopenia) 10% ส่วนในภาวะที่ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อกระแสเลือด (non-hematologic toxicity) ระดับ grade 3 หรือสูงกว่า ที่พบมากที่สุด คือ โรคระบบประสาท (neuropathy) 14% และติดเชื้อ 14% ข้อมูลเหล่านี้ได้จากการศึกษาวิจัยแบบสอบสวนโรค (Investigational study) โดยยังไม่ได้มีการอนุญาตให้ใช้ยา Lenalidomide ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดดีแอลบีซีแอล หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระดับ 3 * cyclophosphamide, doxorubicin, vincristine, and prednisone plus rituximab ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ ปัญญ์ณัฐ ศิวะพรพันธ์ และ กุลนิษฐ์ ครุฑางคะ เวเบอร์ แชนด์วิค โทรศัพท์ 0-2343-6000 ต่อ 181 หรือ 175 อีเมล์ pannat@webershandwick.com หรือ kullanist@webershandwick.com ข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ความชุกของโรค — ลักษณะอาการ — แนวทางการรักษา โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองคืออะไร? มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (malignant lymphoma หรือ non-Hodgkin's lymphoma) เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในระบบน้ำเหลือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของคนเราที่กระจายอยู่ทั่วร่างกาย เนื่องจากมีเนื้อเยื่อน้ำเหลืองในหลายส่วนของร่างกาย มะเร็งต่อมน้ำเหลืองอาจเริ่มต้นจากอวัยวะใดของร่างกายก็ได้ ได้แก่ ท่อน้ำเหลือง ต่อมทอนซิล ต่อมอดีนอยด์ ม้าม ต่อมไทมัส และไขกระดูก ในบางกรณี มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด non-Hodgkin's lymphoma อาจเกิดที่อวัยวะภายนอกของระบบน้ำเหลืองได้เช่นกัน ในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด non-Hodgkin's lymphoma มะเร็งพัฒนาจากเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด ลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) และมักพบบ่อยกว่ามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดอื่น ซึ่งก็คือชนิด Hodgkin's lymphoma นอกจากนี้ ในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด non-Hodgkin's lymphoma ยังมีชนิดย่อยๆ อีกมากมาย ที่พบมากที่สุดคือ diffuse large B-cell lymphoma และ follicular lymphoma มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Follicular Lymphoma มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด follicular lymphoma เป็นชนิดย่อยที่พบบ่อยในกลุ่ม non-Hodgkin’s lymphoma (NHL) โดยพบถึง 1 ใน 4 ของผู้ป่วยทั้งหมด มะเร็งชนิดนี้เกิดขึ้นได้ทุกขณะในช่วงวัยผู้ใหญ่ แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วมักจะตรวจพบในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยพบทั้งในผู้ชายและในผู้หญิง จัดเป็น low-grade lymphoma กล่าวคือ แม้ดดยทั่วไปโรคจะพัฒนาไปอย่างช้าๆ แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยกือบทั้งหมดที่ตอบสนองต่อการรักษาครั้งแรกจะกลับมาเป็นใหม่ในที่สุด มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Diffuse Large B-Cell Lymphoma มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด diffuse large B-cell lymphoma (DLBCL) เป็นมะเร็งชนิดร้ายแรง และเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในวัยผู้ใหญ่ คือ พบประมาณร้อยละ 31 ของผู้ป่วยมะเร็งที่ตรวจพบใหม่ทั้งหมด ส่วนใหญ่แล้วจะกลับมาเป็นอีกในระยะ 2 ปีแรกหลังการรักษา โดยการมีชีวิตอยู่ของผู้ป่วยมะเร็งชนิด DLBCL จะสั้นมากและราวร้อยละ 40 ของผู้ป่วยจะกลัมาเป็นอีกในที่สุด มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Mantle-Cell Lymphoma มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด MCL จัดเป็นหนึ่งในหลายชนิดย่อยในกลุ่ม NHL และเกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของ B lymphocyte ใน mantle zone ซึ่งอยู่บริเวณรอบนอกของ lymph node follicle ในต่อมน้ำเหลือง การเติบโตโดยไร้การควบคุมของ lymphocyte ที่ผิดรูป หรือเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นสาเหตุของเนื้องอกที่จะเกิดขึ้นในต่อมน้ำเหลือง ซึ่งต่อไปจะขยายใหญ่ขึ้น เซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้สามารถแพร่ไปยังเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆ เช่น ไขกระดูก ตับ และระบบทางเดินอาหาร MCL ต่างจากมะเร็งชนิดย่อยอื่นๆ ในกลุ่ม B-cell lymphoma เนื่องจากมีการสำแดงบทบาทที่ผิดปกติของ cyclin D1 ซึ่งเป็นโปรตีนที่กระตุ้นการเติบโตของเซลล์ ประมาณร้อยละ 85 ของผู้ป่วยมะเร็งชนิด MCL เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของยีนที่เกี่ยวข้องกับยีน cyclin D1 บนโครโมโซมคู่ที่ 11 และคู่ที่14 อาการ สิ่งบ่งชี้และอาการของ non-Hodgkin's lymphoma ได้แก่ ? ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณคอ ใต้รักแร้ หรือขาหนีบ ? ปวดหรือบวมที่ช่องท้องส่วนบน ? ปวดไหล่ ไอ หรือหายใจลำบาก ? อ่อนเพลีย ? มีไข้ ? เหงื่อออกเวลากลางคืน ? น้ำหนักลด แนวทางการรักษาในปัจจุบัน ทางเลือกในการรักษา Error! Bookmark not defined. ได้แก่: เคมีบำบัด (Chemotherapy) เคมีบำบัดเป็นการรักษาด้วยยา โดยอาจเลือกวิธีการกลืนหรือฉีดเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง ทั้งนี้ อาจให้เคมีบำบัดตัวเดียว หลายตัวผสมกัน หรือรักษาร่วมกับวิธีอื่น การฉายแสง (Radiation therapy) การบำบัดด้วยวิธีฉายแสงทำได้ดดยการฉายแสงที่มีความเข้มสูงเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งและทำให้เนื้อร้ายฝ่อ โดยอาจใช้วิธีฉายแสงอย่างเดียวหรือร่วมกับวิธีการรักษาอื่นๆ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell transplant) เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดในปริมาณมาตรฐานทั่วไป วิธีการนี้ช่วยให้แพทย์ด้านมะเร็งวิทยา (oncologist) สามารถให้เคมีบำบัดในปริมาณที่สูงขึ้นได้เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เหลืออยู่ ทั้งนี้ โดยทั่วไปการให้เคมีบำบัดในปริมาณสูงจะทำลายเซลล์ต้นกำเนิดที่แข็งแรง ซึ่งทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดด้วย ด้วยเหตุนี้ แพทย์จะเตรียมเซลล์ต้นกำเนิดที่แข็งแรงจากผู้ป่วยเองหรือผู้บริจาคก่อนจะให้เคมีบำบัดในปริมาณสูง หลังจากผู้ป่วยได้รับเคมีบำบัดแล้ว เซลล์ต้นกำเนิดเหล่านี้จะถูกปลูกถ่ายคืนให้กับผู้ป่วย ซึ่งเซลล์เหล่านี้จะทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้ร่างกายต่อไป ชีวบำบัด (Biological therapy) ยาในกลุ่ม biological drug ช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ต่อสู้กับมะเร็ง อย่าง Rituximab ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา ให้ใช้รักษามะเร็งชนิด B cell lymphoma ทั้งนี้ยา Rituximab เป็น monoclonal antibody ชนิดหนึ่งที่จะเกาะติดกับเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันมองเห็นและกำจัดออกไป โดยเซลล์ B ที่เป็นเซลล์มะเร็งมีแนวโน้มที่จะเกิดซ้ำน้อย ขณะนี้กำลังมีการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินว่าจะใช้ยาที่ช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน (immunomodulatory agent) อย่างเช่น lenalidomide ร่วมกับยา Rituximab อย่างไรในการกำจัดเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันไปพร้อมๆ กัน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ