สถานการณ์ราคาน้ำมันประจำสัปดาห์ และแนวโน้มในสัปดาห์นี้ ที่ 15 — 19 ส.ค. 54

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 15, 2011 14:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 ส.ค.--ปตท. ฝ่ายบริหารความเสี่ยงราคาและวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รายงานถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันว่า ราคาน้ำมันเฉลี่ยสัปดาห์ที่ 8 — 12 ส.ค. 54 ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 6.81 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 105.81 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเวสเท็กซัส (WTI) ลดลง 7.90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลอยู่ที่ 82.92 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) ลดลง 6.68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ระดับ 101.44 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาเฉลี่ยน้ำมันเบนซินลดลง 6.49 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 117.77 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดีเซลลดลง 7.35 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 119.88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคา ได้แก่ ผลกระทบต่อราคาน้ำมันในเชิงลบ - ดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ของสหรัฐฯ เฉลี่ยสัปดาห์ที่ 8-12 ส.ค. 54 ปรับตัวลดลง 708.39 จุด (W-O-W) หรือ 6.03% อยู่ที่ 11,036.38 จุด เนื่องจากนักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยงจากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก - กระแสข่าวบริษัทจัดระดับความน่าเชื่อถืออาจลดระดับความน่าเชื่อถือของประเทศฝรั่งเศส หลังบริษัทสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ จากระดับ ทริเปิลเอ (AAA) ลงมาเหลือ ดับเบิลเอพลัส (AA+) อย่างไรก็ตาม Fitch, Moody’s และ S&P ซึ่งเป็น Credit Rating Agency หลักได้ออกมายืนยันเสถียรภาพของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา - ทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency : IEA) และกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (Energy Information Administration : EIA) และ OPEC ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของอุปสงค์น้ำมันโลกในปี 2554 ลง 60,000 บาร์เรลต่อวัน, 60,000 บาร์เรลต่อวัน และ 150,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน, 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน และ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามลำดับ - National Bureau of Statistics ของจีนรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) เดือน ก.ค. 54 อยู่ที่ 6.5% มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 6.4% - European Union Statistics Agency (Eurostat) รายงานผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) ของกลุ่ม Euro Zone เดือน มิ.ย. 54ลดลง 0.7% จากเดือนก่อน สวนทางกับที่นักวิเคราะห์การณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% - The Thomson Reuters / University of Michigan รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Sentiment Index) ในเดือน ส.ค. 54 อยู่ที่ 54.9 จุด ลดลง 8.8 จุด ต่ำสุดในรอบ 30 ปี ผลกระทบต่อราคาน้ำมันในเชิงบวก - ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ประมาณ 0-0.25% ต่อไปอีกจนถึงกลางปี 2556 เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ - ผู้ค้าพันธบัตรคาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจจะต้องเข้าซื้อพันธบัตรของรัฐบาลอิตาลีและสเปน เป็นจำนวนเงินกว่า 3 แสนล้านยูโร เพื่อควบคุมวิกฤติหนี้สิน - สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (Energy Information Administration: EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเชิงพาณิชย์สัปดาห์สิ้นสุด 5 ส.ค. 54 น้ำมันดิบอยู่ที่ 349.75 ล้านบาร์เรล ลดลง 5.23 ล้านบาร์เรลจากสัปดาห์ก่อนหน้า และ Gasoline อยู่ที่ 213.59 ล้านบาร์เรล ลดลง 1.59 ล้านบาร์เรล Distillate ลดลง 0.74 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 151.52 ล้านบาร์เรล - สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนรายงานปริมาณการกลั่นน้ำมันดิบของโรงกลั่นในประเทศในเดือน ก.ค. 54 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ 6.2% อยู่ที่ 8.86 ล้านบาร์เรลต่อวัน - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 ส.ค. 54 ลดลง 7,000 ราย จากสัปดาห์ก่อน อยู่ที่ 395,000 ราย - กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ รายงานยอดขายปลีก (Retail Sales) ในเดือน ก.ค. 54 เพิ่มขึ้น 0.5% (M-O-M) อยู่ที่ระดับ 390,420 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 เดือน ในระยะสั้นราคาน้ำมันดิบ Brent และ WTI มีแนวรับแนวต้านอยู่ที่ 103 -113 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ 80-90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลตามลำดับ โดยตลาดน้ำมันมีความผันผวนและเคลื่อนไหวตามทิศทางการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะตลาดหุ้น Dow Jones และตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ทั้งนี้นักลงทุนมีความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความเสี่ยงต่อการชะลอตัวมากขึ้นหลังข่าวความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 30 ปี กอปรกับอัตราการว่างงานทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ 9.1% และอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นดังจะเห็นได้จากดัชนีบ่งชี้ภาวะเงินเฟ้อของธนาคารกลางสหรัฐฯ Price Index for Personal Consumption Expenditures ช่วง มิ.ย. 11 อยู่ที่ 1.3% เพิ่มขึ้นจากการประเมินครั้งก่อน เดือน ธ.ค. 54 ที่ 0.9% อย่างไรก็ตามปัญหาทางเศรษฐกิจข้างต้นอาจผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ใช้มาตรการ QE3 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้จับตาทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยเนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกอยู่ในระดับสูงเกินกว่าระบบเศรษฐกิจจะรองรับได้ จากรายจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงต่อ GDP ของโลก ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 5% (ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2551 อยู่ที่ 4.5%) และติดตามดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อาทิ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก จำนวนบ้านใหม่ที่กำลังก่อสร้าง และยอดขายบ้านมือสอง ที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อราคาน้ำมัน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ