สศอ. เกาะติดภาคอุตสาหกรรม ใช้สิทธิ์ FTA ปี 2553 ประหยัดภาษีศุลกากร ได้กว่า 1.60 แสนล้านบาท

ข่าวทั่วไป Friday August 19, 2011 16:07 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ส.ค.--สศอ. นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยผลการใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีศุลกากรจากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ของภาคอุตสาหกรรมไทยในปี 2553 จากความตกลงการค้าเสรีฉบับต่างๆ ได้แก่ สมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย และ ออสเตรเลีย โดยพบว่า ในภาพรวม ผู้ส่งออกไทยมีอัตราการใช้ประโยชน์จาก FTA ในระดับปานกลางที่ร้อยละ 50.27 ทำให้สินค้าส่งออกของไทย มีราคาลดลงจากการประหยัดภาษีศุลกากรคิดเป็นมูลค่า 1.01 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.09 เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกทั้งหมดไปยังประเทศในภาคี ในขณะที่ผู้นำเข้าไทย มีอัตราการใช้ประโยชน์จาก FTA ในระดับปานกลางเช่นกัน ที่ร้อยละ 40.67 ทำให้สินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศคู่ภาคีได้ประโยชน์จากการประหยัดภาษีศุลกากรคิดเป็นมูลค่า 5.92 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.74 เมื่อเทียบกับมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดจากประเทศในภาคี โดยจะเห็นได้ว่า การที่ภาคนำเข้าไทยได้รับประโยชน์จาก FTA น้อยกว่าภาคส่งออกไทย เนื่องจากมีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์ต่ำกว่าอย่างชัดเจน และความตกลง AFTA ยังเป็นความตกลง FTA ที่ผู้ประกอบการไทยใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด สะท้อนให้เห็นถึงแบบแผนการค้าระหว่างประเทศของไทยที่มีการพึ่งพาอาเซียนสูง เมื่อพิจารณาในรายสาขาอุตสาหกรรม พบว่า ผู้นำเข้าไทยส่วนใหญ่ยังมีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA หลายฉบับในระดับค่อนข้างระดับต่ำจนถึงปานกลาง ยกเว้นอุตสาหกรรมยานยนต์ อาหาร สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ เซรามิก และ ยาง ที่มีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลง AFTA ACFTA TAFTA และ JTEPA ในระดับสูง ตัวอย่างสาขาอุตสาหกรรมที่มีอัตราการใช้ประโยชน์ในระดับต่ำ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องจักรกล ภายใต้ JTEPA AKFTA เครื่องหนัง ภายใต้ JTEPA TAFTA พลาสติกและเคมีภัณฑ์ ภายใต้ JTEPA เป็นต้น ในด้านภาคส่งออกไทย ผู้ประกอบการไทยหลายสาขามีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA หลายฉบับในระดับปานกลางจนถึงสูง อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ประกอบการอีกบางสาขาที่ยังใช้ประโยชน์จาก FTA ไม่เต็มที่ เช่น อิเล็กทรอนิกส์และสิ่งทอ ภายใต้ AFTA และ ACFTA เครื่องใช้ไฟฟ้า ภายใต้ JTEPA ACFTA AKFTA เครื่องจักรกล ภายใต้ ACFTA และ JTEPA เครื่องหนัง ภายใต้ AFTA ACFTA เป็นต้น และเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่า สินค้าส่งออกและนำเข้าของไทยบางรายการยังไม่สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จาก FTA ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากปัญหาและอุปสรรคต่างๆ อย่างน้อย 3 ด้านหลัก คือ ข้อหนึ่ง สินค้าอยู่นอกรายการลดภาษีหรืออยู่ในรายการสินค้าที่มีความอ่อนไหว ข้อสอง สินค้าไม่ผ่านกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า และ ข้อสาม ผู้ส่งออกเห็นว่า การตรวจโครงสร้างต้นทุนและกระบวนการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้ายังใช้เวลานาน จากการประมาณการพบว่า หากปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ได้รับการแก้ไข ผลประโยชน์ที่ภาคเอกชนไทยจะได้รับจาก FTA จะเพิ่มสูงขึ้นได้อีกมาก โดยหากเร่งส่งเสริมทำให้อัตราการใช้สิทธิประโยชน์สูงขึ้นเต็มร้อยละ 100 โดยที่ยังไม่ได้เจรจาเพื่อขยายความครอบคลุมเพิ่มเติม ประโยชน์ที่สินค้าส่งออกไทยจะได้รับจากการประหยัดภาษีศุลกากรจะเพิ่มจากประมาณ 101,787 ล้านบาท เป็นประมาณ 188,175 ล้านบาท ในขณะที่ประโยชน์ที่ ผู้นำเข้าไทยจะได้รับจะเพิ่มจากประมาณ 59,159 ล้านบาท เป็นประมาณ 98,304 ล้านบาท ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจึงควรร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรค เพื่อส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมไทยได้รับประโยชน์จาก FTA ที่มีผลบังคับใช้ไปแล้วได้อย่างสูงสุด รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โทร 0 2202 4330-1 โทรสาร 0 2202 4308 www.oie.go.th ตารางที่ 1 การใช้ประโยชน์ด้านภาษีศุลกากรจาก FTA โดยผู้ส่งออกไทยในปี 2553 ความตกลง ผู้นำเข้าในประเทศภาคีประหยัดได้ (ล้านบาท) มูลค่าสินค้าในความตกลง (ร้อยละ) แต้มต่อภาษีเฉลี่ย (ร้อยละ) อัตราการใช้สิทธิ(ร้อยละ) อาเซียน(AFTA) 68,290 53.4 16.9 42.0 จีน(ACFTA) 15,220 48.6 8.5 58.1 ออสเตรเลีย(TAFTA) 9,074 74.1 6.1 67.5 ญี่ปุ่น(JTEPA) 5,331 32.2 5.0 58.6 เกาหลีใต้(AKFTA) 1,958 46.0 9.3 38.3 อินเดีย(TIFTA) 1,915 79.2 3.8 38.0 รวม 101,787 50.9 11.2 50.3 ตารางที่ 2 การใช้ประโยชน์ด้านภาษีศุลกากรจาก FTA โดยผู้นำเข้าไทยในปี 2553 ความตกลง ผู้นำเข้าในไทยประหยัดได้ (ล้านบาท) มูลค่าสินค้าในความตกลง (ร้อยละ) แต้มต่อภาษีเฉลี่ย(ร้อยละ) อัตราการใช้สิทธิ(ร้อยละ) อาเซียน(AFTA) 30,302 59.6 9.6 48.3 จีน(ACFTA) 15,652 48.9 10.1 52.7 ออสเตรเลีย(TAFTA) 10,476 69.9 6.2 27.6 ญี่ปุ่น(JTEPA) 1,676 21.8 10.2 55.9 เกาหลีใต้(AKFTA) 895 35.6 5.3 31.4 อินเดีย(TIFTA) 159 24.3 4.1 14.4 รวม 59,159 55.5 8.2 40.7

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ