ประชาชนหน่ายข่าวการเมือง-ขัดแย้งแบ่งสีระบุอยากให้เพิ่มข่าวสังคมวัฒนธรรมและท่องเที่ยว

ข่าวทั่วไป Thursday September 1, 2011 08:28 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 ก.ย.--นิด้าโพลล์ นิด้าโพลสำรวจความรู้สึกของประชาชนทั่วประเทศที่มีต่อข่าวสาร พบส่วนใหญ่รู้สึกเบื่อหน่ายข่าวการเมืองมากเป็นอันดับหนึ่ง ร้อยละ 40.86 รองลงมาเบื่อหน่ายข่าวความขัดแย้งแบ่งสีของคนในชาติ ร้อยละ 18.21 ในขณะที่ร้อยละ 11.83 ระบุไม่เบื่อข่าวใดเลย ส่วนข่าวที่ประชาชนอยากให้นำเสนอเพิ่มมากขึ้น อันดับหนึ่งได้แก่ ข่าวสังคมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว รองลงมาเป็นข่าวเศรษฐกิจ/ความเคลื่อนไหวราคาสินค้า ตามด้วยข่าวด้านสิ่งแวดล้อม/เตือนภัยธรรมชาติ ศูนย์สำรวจความคิดเห็นของประชาชน “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความรู้สึกของประชาชนต่อการบริโภคข่าวสาร” ระหว่างวันที่ 15-17 สิงหาคม 2554 จากประชาชนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ทุกระดับการศึกษาและกลุ่มอาชีพ จำนวน 1,285 หน่วยตัวอย่าง โดยมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานไม่เกินร้อยละ 3.76 ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้ 1. ข่าวสารที่ประชาชนรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากรับรู้ หรือไม่อยากติดตามมากที่สุด (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ) ข่าวสารที่ประชาชนต้องการ ภูมิภาค รวม ให้นำเสนอเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม กทม.และ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ ปริมณฑล เฉียงเหนือ ข่าวสังคมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว 20.41 14.94 8.37 13.64 14.37 13.97 ข่าวเศรษฐกิจ/ความเคลื่อนไหวราคาสินค้า 10.71 17.42 6.99 17.89 9.77 13.41 ข่าวสิ่งแวดล้อม/เตือนภัยธรรมชาติ 7.14 12.03 18.83 7.29 13.79 11.15 ข่าวการเมือง 10.71 8.30 13.39 25.82 9.77 10.92 ข่าวพระราชสำนัก 9.18 3.73 19.25 4.71 10.34 8.66 ข่าวกีฬา 5.10 2.49 4.18 21.34 8.05 5.54 ข่าวแวดวงเกษตร 1.53 4.15 3.77 7.06 5.75 4.84 ข่าวการศึกษา 6.12 4.56 1.67 18.29 8.05 4.60 ข่าวบันเทิง 2.04 7.47 2.51 19.93 2.87 4.52 ข่าววิทยาศาสตร์เทคโนโลยี 2.55 1.66 1.26 15.70 0.57 1.56 อื่นๆ เช่น ข่าวต่างประเทศ /ข่าวพ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร 2.55 3.31 2.52 2.32 4.02 2.81 ไม่มี/ไม่ต้องการ 1.02 1.24 4.60 0.00 1.72 1.48 ไม่ทราบ ไม่แน่ใจ 20.92 18.67 12.97 45.98 10.92 16.54 2. ข่าวสารที่ประชาชนต้องการให้นำเสนอเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ข่าวสารที่ประชาชนต้องการ ภูมิภาค รวม ให้นำเสนอเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม กทม.และ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ ปริมณฑล เฉียงเหนือ ข่าวสังคมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว 20.41 14.94 8.37 13.64 14.37 13.97 ข่าวเศรษฐกิจ/ความเคลื่อนไหวราคาสินค้า 10.71 17.42 6.99 17.89 9.77 13.41 ข่าวสิ่งแวดล้อม/เตือนภัยธรรมชาติ 7.14 12.03 18.83 7.29 13.79 11.15 ข่าวการเมือง 10.71 8.30 13.39 25.82 9.77 10.92 ข่าวพระราชสำนัก 9.18 3.73 19.25 4.71 10.34 8.66 ข่าวกีฬา 5.10 2.49 4.18 21.34 8.05 5.54 ข่าวแวดวงเกษตร 1.53 4.15 3.77 7.06 5.75 4.84 ข่าวการศึกษา 6.12 4.56 1.67 18.29 8.05 4.60 ข่าวบันเทิง 2.04 7.47 2.51 19.93 2.87 4.52 ข่าววิทยาศาสตร์เทคโนโลยี 2.55 1.66 1.26 15.70 0.57 1.56 อื่นๆ เช่น ข่าวต่างประเทศ /ข่าวพ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร 2.55 3.31 2.52 2.32 4.02 2.81 ไม่มี/ไม่ต้องการ 1.02 1.24 4.60 0.00 1.72 1.48 ไม่ทราบไม่แน่ใจ 20.92 18.67 12.97 45.98 10.92 16.54 บทวิเคราะห์การสำรวจความรู้สึกของประชาชนต่อการบริโภคข่าว ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่องความรู้สึกต่อการบริโภคข่าวสารระหว่างวันที่ 15 — 17 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา ดูจะไม่ค่อยน่าแปลกใจเท่าใดนักกับผลที่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่คนส่วนใหญ่ถึง 40% บอกว่ารู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากรับรู้และติดตามข่าวการเมือง มีความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากการเมืองไทยนั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลง มีแต่เรื่องการต่อสู้ แย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ และความพยายามในการเอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง หรือนักการเมืองคนใดก็ตามจะมีพฤติกรรมที่เหมือนกันหมด หรืออีกนัยหนึ่งข่าวการเมืองมีแต่เรื่องไม่ดี ไม่สร้างสรรค์ และทำให้ปวดเศียรเวียนเกล้า ระทมทุกข์กับสิ่งที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง แต่อย่างไรก็ตาม หากมาดูที่ประเด็นข่าวสารที่ประชาชนต้องการให้นำเสนอเพิ่มขึ้น กลับพบว่า คนไทยประมาณ 10.92% ต้องการให้มีการนำเสนอข่าวด้านการเมืองเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับข่าวที่คนต้องการให้นำเสนอสูงสุดคือ ข่าวสังคม วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ซึ่งอยู่ที่ 13.97% จากตรงนี้อาจสรุปได้ว่า มีคนไทยที่เป็น hard core ทางการเมืองอยู่กลุ่มหนึ่ง แต่หากดูรายภาคจะค้นพบว่าอีสานเป็นภาคที่มีความต้องการให้มีการนำเสนอข่าวการเมืองสูงสุด อยู่ที่ 25.82% เมื่อเทียบกับข่าวอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าพรรคการเมืองที่ชนะในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา คือ พรรคเพื่อไทย ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากคนอีสาน โดยสามารถชนะการเลือกตั้งในภาคอีสานถึง 100 ที่นั่ง และนี่อาจเป็นเหตุผลทำให้คนอีสานต้องการติดตามข่าวคราว และการทำงานของนักการเมืองและพรรคการเมืองที่พวกเขาได้เลือกขึ้นมา แต่มีข้อที่น่าสังเกตประการหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบความรู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากรับรู้ข่าวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กลับค้นพบว่า คนภาคเหนือ ซึ่งเป็นภูมิภาคเกิดของพ.ต.ท. ทักษิณ เอง (จังหวัดเชียงใหม่) เป็นกลุ่มคนที่เบื่อหน่ายข่าวของพ.ต.ท. ทักษิณ มากที่สุด เมื่อเทียบกับคนภาคอีสาน อาจเป็นเพราะว่าคนภาคเหนือกลุ่มหนึ่งอาจมีความรู้สึกว่า พ.ต.ท. ทักษิณ เคยทำอะไรเพื่อบ้านเกิดเมืองนอนจริงๆ บ้างหรือไม่? จึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ในการติดตามข่าวของพ.ต.ท. ทักษิณ เมื่อย้อนกลับไปดูข่าวอื่นที่คนเบื่อหน่าย พบว่า ข่าวความขัดแย้ง ไม่สามัคคีของคนไทย เป็นข่าวที่คนไทยเริ่มไม่ให้ความสำคัญ เนื่องจากความขัดแย้งของแต่ละกลุ่ม เริ่มมีลักษณะที่ไม่มีเหตุผลในความเคลื่อนไหวและไร้สาระ โดยแต่ละกลุ่มดูเหมือนจะทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องใกล้ชิดมากกว่าทำเพื่อประเทศชาติ จนต้องยืมคำพูดของหนังสารคดี เรื่อง “ขุนรองปลัดชู” ที่กล่าวว่า “ในยุคนี้มีใครรักชาติจริงบ้างไหม?” ด้วยเหตุนี้เองอาจเป็นเหตุผลทำให้ข่าวสังคม วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เป็นข่าวที่คนต้องการให้นำเสนอสูงสุด ซึ่งตรงกับนิสัยคนไทยที่รักสนุก ไม่ชอบความเครียด อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญที่ได้จากการสำรวจในครั้งนี้ คือ คนภาคเหนือและคนภาคใต้ให้ความสนใจข่าวสิ่งแวดล้อมและเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติอยู่ในระดับสูง นั่นเป็นเพราะว่าทั้งสองภูมิภาคนี้ได้รับผลกระทบจากสภาพการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรือแม้กระทั่งการเกิดซึนามิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสำรวจพบว่า ไม่มีคนภาคใต้คนใดเลยที่ไม่ต้องการรับรู้ข่าวภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยสรุปแล้วอาจกล่าวได้ว่า คนไทยส่วนใหญ่ไม่ชอบรับฟังข่าวที่ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตนเองหรือในทันทีทันใด แต่กลับให้ความสนใจกับข่าวที่ให้ผลกระทบโดยตรง เช่น ข่าวเศรษฐกิจ/ ความเคลื่อนไหวราคาสินค้า และให้ความสนใจกับข่าวที่เมื่อรับฟัง หรือได้ดูแล้วเกิดความสุขและสบายใจ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ