ไขข้อสงสัย ป้องกันโรค จากน้ำท่วม

ข่าวทั่วไป Monday October 31, 2011 12:37 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 ต.ค.--โรงพยาบาลมิชชั่น ช่วงนี้พายุฝนกระหน่ำหนักหลายพื้นที่จนเกิดสถานการณ์น้ำท่วมขังหลายจังหวัด และปัญหาน้ำท่วมขังนี่แหละที่ดูจะเป็นสาเหตุของโรคภัยสารพัดซึ่งกับพฤติกรรมหรือโรคต่างๆที่มากับน้ำท่วมมีข้อสงสัยอยู่มากมาย นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ รักษาการอธิบดีกรมควบคุมโรค ได้ช่วยตอบปัญหาเรื่องน้ำท่วม สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากอาหารเป็นพิษ ดื่มน้ำไม่สะอาด แต่เราสามารถป้องกันตัวเองในเบื้องต้นได้ โดยเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่จะเกิดโรคซึ่งมีความเชื่อที่ต้องระวัง ดังนี้ โรคตาแดงมักแพร่ระบาดมากช่วงน้ำท่วม-จริง ช่วงน้ำท่วมจะพบผู้ป่วยโรคตาแดงและติดต่อจากคนสู่คนมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กๆ จะลุกลามได้ง่ายและเร็วมาก ซึ่งสาเหตุอย่างหนึ่งมาจากการเอามือสกปรกไปขยี้ตาหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย การเคลื่อนย้ายประชาชนหรือแหล่งน้ำจะทำให้เกิดโรคระบาด-ไม่จริง แต่กรณีที่มีการอยยพผู้ป่วยโรคติดต่อไปร่วมกับคนอื่นๆจำนวนมากจะทำให้โรคบางโรคติดต่อกันง่ายขึ้น แต่จุดที่มีคนอยู่จำนวนมาก ทางกรมควบคุมโรคก็ส่งหน่วยแพทย์เข้าไปดูแลอยู่แล้ว ไม่น่าเป็นห่วง เชื้อฉี่หนู-เติมสารคลอรีนลงในน้ำช่วยลดอันตรายจากเชื้อโรค-จริง แต่ในทางปฏิบัติจะไม่นำสารคลอรีนมาใช้ เนื่องจากหายากและมีราคาแพง ถ้ามีน้ำเน่าขังจำนวนมากส่วนใหญ่จะใช้สารอีเอ็ม(Effect Micro-organisms)ฉีดพ่นลงในน้ำแทน ส่วนสารคลอรีนจะนำมาใช้กับกรณีน้ำดื่มมากกว่า สวมรองเท้าบู๊ตป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย-จริง กรณีที่ไม่แน่ใจว่าบริเวณที่จะเดินไปมีน้ำเน่าเหม็น หรือมีเชื้อแบคทีเรียมากขนาดไหน มีเชื้อโรคฉี่หนูหรือมีของมีคมอยู่หรือไม่ เราจำเป็นต้องใส่รองเท้าบู๊ตทุกครั้ง ซึ่งจะทำให้ลดความเสี่ยงและป้องกันโรคเท้าเปื่อย ถ้าหากไม่มีรองเท้าบู๊ต ให้สวมถุงดำและมัดขึ้นมาสูงๆ เหมือนสวมถุงเท้า และสวมรองเท้าอีกครั้งหรือใช้น้ำสะอาดล้างเท้าและรีบเช็ดให้แห้งทันทีหลังจากอาบน้ำ เด็กสามารถเล่น้ำที่ท่วมได้-ไม่จริง สาเหตุการเสียชีวิตจากน้ำ ส่วนมากเกิดจากความประมาท เด็กบางคนว่ายน้ำไม่แข็งก็เสี่ยงที่จะจมน้ำ ไฟช๊อต หรือเสี่ยงติดเชื้อโรค หากสำลักน้ำเข้าสู่โพรงจมูกอาจติดเชื้อลามลงสู่สมองและเสียชีวิตได้ พ่อ-แม่ต้องช่วยดูแล โรงพยาบาลมิชชั่น 430 ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 Call Center 0-2282-1100

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ