บทความ เรื่อง การลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดกลาง โดย คุณวินัย วารัญญานนท์

ข่าวทั่วไป Tuesday January 20, 2004 14:40 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 ม.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง
การลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดกลาง
ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สามารถทำงานร่วมกันบนแพลตฟอร์มทุกรุ่น ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการและฝึกอบรม
โดย คุณวินัย วารัญญานนท์
ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อีเอ็มซี อินฟอร์เมชั่น ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ในปัจจุบัน หลายๆ บริษัทกำลังมองหาโซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลขนาดกลางที่สามารถพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจ ซึ่งบริษัทเหล่านี้มีความต้องการโซลูชั่นฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะเป็นพื้นฐานอันแข็งแกร่งสำหรับการเติบโตในอนาคต โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านไอที รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านการบริหารจัดการและการฝึกอบรม และที่สำคัญที่สุดก็คือองค์กรเหล่านี้ต้องการโซลูชั่นที่คุ้มค่าการลงทุนในระยะยาว
ดูเหมือนว่าผู้ผลิตสตอเรจทุกรายจะยืนยันว่าฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่นำเสนอสามารถทำงานร่วมกันภายในกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยครอบคลุมรุ่นต่างๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ผลิตบางรายกลับไม่สามารถทำได้ตามที่ยืนยัน ผลลัพธ์ก็คือ องค์กรธุรกิจจำเป็นต้อง
- จำกัดการขยายโซลูชั่นระดับเวิร์กกรุ๊ปทั่วทั้งองค์กร
- ลงทุนในฮาร์ดแวร์ใหม่ แต่กลับพบว่ามีส่วนประกอบและ/หรือซอฟต์แวร์บางอย่างที่ไม่สามารถทำงานร่วมกับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่
- พัฒนาซอฟต์แวร์เฉพาะ หรือรอให้ผู้ผลิตนำเสนอฟังก์ชันซอฟต์แวร์ที่ต้องการ
- เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับการฝึกอบรมเกี่ยวกับซอฟต์แวร์การจัดการรุ่นใหม่ และ
- ระงับการดำเนินงานเพื่อติดตั้งระบบใหม่
ปัญหาแต่ละข้อที่กล่าวมาอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัท ยิ่งกว่านั้น ดิสก์อาร์เรย์ขนาดกลางและซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาหลายๆ อย่างพร้อมกัน ทั้งนี้ บริษัทต่างๆ จึงได้ใช้วิธีการประเมินผลโซลูชั่น โดยพิจารณาความสามารถในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่เดิมเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
ปัจจัยหลัก 4 ประการ
เพื่อให้การพัฒนาระบบสามารถสอดรับกับความจำเป็นทางธุรกิจได้อย่างทันท่วงที โซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลระดับกลางควรจะมุ่งเน้นการปกป้องเงินลงทุน รวมทั้งความสามารถในการทำงานอย่างต่อเนื่องและราบรื่นในช่วงที่ธุรกิจกำลังขยายตัวหรือเปลี่ยนแปลง นั่นหมายความว่าองค์กรจำเป็นที่จะต้องพิจารณาปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์การจัดการ การฝึกอบรม และกระบวนการทำงาน
ประการแรก ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่สามารถนำกลับมาใช้ และแพ็กเกจแบบแยกเป็นโมดูล-สถาปัตยกรรมโมดูลาร์ (Modular) จะให้ทางเลือกที่หลากหลายในการออกแบบระบบ ทั้งในแง่ของความสามารถในการเชื่อมต่อ ประสิทธิภาพ และความจุ ด้วยส่วนประกอบทั่วไปที่สามารถนำกลับมาใช้ (เช่น โครงเครื่อง ดิสก์ไดรฟ์ และแหล่งจ่ายไฟ) ผู้จัดการไอทีจะสามารถขยายจากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่ง โดยยังคงรักษาอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ส่วนใหญ่ที่ได้ลงทุนไปก่อนหน้านี้
ส่วนประกอบของอาร์เรย์ขนาดกลางควรจะเหมือนกับที่ใช้ในระบบไฮ-เอ็นด์ เพื่อลดผลกระทบในด้านการดำเนินงาน เมื่อองค์กรมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น ยังช่วยให้สามารถขยายกิจการ โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับการฝึกอบรมการใช้งานผลิตภัณฑ์
ประการต่อมา ซอฟต์แวร์การจัดการ-ซอฟต์แวร์การจัดการทำหน้าที่เป็นพื้นฐานสำหรับเครือข่ายการจัดเก็บข้อมูล ช่วยให้องค์กรด้านไอทีสามารถเชื่อมโยงทรัพยากรทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งยังสามารถตรวจสอบและควบคุมผ่านศูนย์การจัดการ นอกจากนั้น ด้วยความสามารถในการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์แต่ละรุ่น ทำให้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสคริปต์และเครื่องมือการจัดการ ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถปรับปรุงแพลตฟอร์มได้อย่างต่อเนื่อง โดยยังคงรูปแบบการใช้งานเช่นเดิม ปัจจัยดังกล่าวนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในกรณีที่มีการใช้งานฟีเจอร์ซอฟต์แวร์จำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนย้ายไปสู่แพลตฟอร์มใหม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก และบางครั้งอาจไม่มีฟีเจอร์ที่ต้องการ
เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่าย จึงจำเป็นต้องอาศัยอินเทอร์เฟซผู้ใช้แบบกราฟฟิก (GUI) ที่ใช้งานง่ายและมีลักษณะรวมศูนย์ สำหรับการกำหนดค่า วิเคราะห์ และควบคุมระบบ และจะต้องสามารถเข้าถึงในแบบรีโมตได้อย่างปลอดภัยทุกที่ทุกเวลา
แอพพลิเคชั่นการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลนอกจากจะต้องสามารถทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์ขนาดกลางหลายๆ รุ่นแล้ว ยังจะต้องรองรับการขยายไปสู่อาร์เรย์ระดับไฮ-เอ็นด์ ฟังก์ชั่นต่างๆ ของซอฟต์แวร์ เช่น การจัดการพาธ (path management) และการเคลื่อนย้ายข้อมูล (data movement) ควรจะสามารถใช้งานในแพลตฟอร์มทุกระดับ เพื่อปกป้องเงินลงทุนในระยะยาว เมื่อมีการขยายขนาดโครงสร้างพื้นฐาน
นอกจากนี้ ยังสามารถรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ เพราะผู้ใช้จะสามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์รุ่นต่างๆ ตัวอย่างเช่น จะสามารถนำระบบรุ่นเก่าไปติดตั้งที่สถานที่สำรองไว้สำหรับการกู้คืนข้อมูล ส่วนระบบรุ่นใหม่ก็สามารถนำมาติดตั้งที่สถานที่หลัก ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อนในการดำเนินงานด้านไอที ทั้งยังสามารถเพิ่มเติมฟีเจอร์ใหม่ๆ ด้านการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูล ทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยฝ่ายไอทีจะสามารถรองรับปริมาณงานได้มากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องว่าจ้างพนักงานเพิ่มเติม
ประการที่ 3 การฝึกอบรม-ด้วยความต่อเนื่องในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลขนาดกลางจะช่วยลดภาระในการฝึกอบรมพนักงานไอทีเพิ่มเติมเมื่อมีการติดตั้งผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ ผู้ดูแลระบบที่คุ้นเคยกับสคริปต์, เครื่องมือ, GUI และส่วนประกอบฮาร์ดแวร์ที่ใช้อยู่ ก็ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากศูนย์ แต่จะสามารถมุ่งเน้นการเรียนรู้ชุดฟีเจอร์ใหม่ล่าสุด ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรม
ประการสุดท้าย กระบวนการทำงาน-เนื่องจากไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์การจัดการพื้นฐาน ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานเช่นเดียวกัน ยิ่งกว่านั้น ความต่อเนื่องในด้านกระบวนการทำงานของระบบยังช่วยป้องกันการหยุดชะงักของธุรกิจ แม้กระทั่งในขณะที่ดำเนินการปรับปรุงระบบ เช่น ขยายแอพพลิเคชั่นจากระดับเวิร์กกรุ๊ปให้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร เป็นต้น
บริษัทต่างๆ จะสามารถเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ได้ลงทุนไปก่อนหน้านี้ ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การฝึกอบรม และกระบวนการทำงาน โซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลระดับกลางที่ให้ความคุ้มค่าสำหรับการลงทุนเช่นนี้ จะช่วยให้เกิดแพลตฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลที่สามารถรองรับการเติบโตของธุรกิจและโครงการใหม่ๆ ในอนาคต
ข้อมูลเกี่ยวกับ อีเอ็มซี
อีเอ็มซี คือผู้นำแห่งโลกธุรกิจระบบสตอเรจ ที่คิดค้นทั้งระบบ, ซอฟต์แวร์, ระบบเครือข่าย และ การให้บริการต่างๆ ทั้งยังพัฒนาโซลูชั่นระบบเครือข่ายสตอเรจ แบบอัตโนมัติ เพื่อช่วยให้หน่วยงานต่างๆทั่วโลกสามารถดึงและใช้ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ได้ในระดับสูงสุดและใช้ต้นทุนทั้งหมดขั้นต่ำสุด ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอีเอ็มซี สามารถรับได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.EMC.com
สำหรับสื่อมวลชน : สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ :
Khoo Yin
Senior Marcom Specialist
EMC South Asia Tel: +65-6427-1741 Fax: +65-6333-6878
Email: khoo_yin@emc.com
Local PR agency contact
สุดานาฏ อิ๋วสกุล บริษัท พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง จำกัด
โทร : 0-2971-3711 โทรสาร : 0-2521-9030 Email : sudanart@pc-a.co.th--จบ--
-รก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ