Expert View ฉบับเดือนพ.ย. 54 จาก TISCO Wealth

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 8, 2011 13:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 พ.ย.--ธนาคารทิสโก้ Expert’s View ? เศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐฯยังคงเป็นปัจจัยที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ขณะที่เศรษฐกิจเอเซียยังคงมีความแข็งแกร่งสูง ส่วนเศรษฐกิจไทย คาดว่าได้รับผลกระทบต่อ GDP จากน้ำท่วมประมาณ 1-2% ? คาดดอกเบี้ยนโยบายสิ้นปี 2011 อยู่ที่ 3.50% แนะนำ ขยับลงทุนในตราสารหนี้และเงินฝากอายุยาวขึ้น ? ตลาดหุ้น แนะนำ ซื้อ จีน (H-Shares) เอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) และหุ้นไทย ? สินค้าโภคภัณฑ์ แนะนำ ซื้อ ทองคำ จากแนวโน้มความต้องการการกระจายการลงทุนจากสกุลยูโรและดอลลาร์สหรัฐฯ เศรษฐกิจ 1 ปัญหาน้ำท่วมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ปรับเป้า GDP ปีนี้เหลือเติบโต 2.0-2.9% 2 เศรษฐกิจจีนไตรมาส 3/2011 ขยายตัวที่ 9.1% y-y คาดแนวโน้มเศรษฐกิจจีนชะลอตัวแบบ Soft landing 3 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ระยะสั้นดูดีขึ้น แต่ระยะยาวยังคงน่ากังวล 4 เศรษฐกิจยุโรป คาดว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี ในการเยียวยา ปัญหาน้ำท่วมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรุนแรง : จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น ถือเป็นอุทกภัยขั้นรุนแรง โดยมีจังหวัดที่น้ำเข้าท่วมแล้ว 31 จังหวัด นอกจากพื้นที่เกษตรที่ได้รับผลเสียหาย ครั้งนี้น้ำยังได้เข้าท่วมเขตนิคมอุตสหกรรมที่สำคัญหลายแห่งในจังหวัดอยุธยาและปทุมธานี อย่างนิคมโรจนะ และ นวนคร ซึ่งภาคอุตสหกรรมใน 2 จังหวัดคิดเป็นสัดส่วน 17.2% ของอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย จากการประเมินมูลค่าเสียหายเบื้องต้นคาดว่าน่าจะอยู่ที่ระดับเจ็ดหมื่นถึงแสนล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 1-2% ของ GDP โดยตัวเลขดังกล่าวประเมินว่าสถานการณ์น่าจะคลี่คลายในอีกช่วง 2 เดือนข้างหน้า แต่ถ้าไม่เป็นไปตามคาดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจอาจมีตัวเลขสูงกว่านี้ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อ GDP ในไตรมาส 4/2011 เป็นหลัก การส่งออกไตรมาส 4/2011 คาดเติบโตชะลอตัว จากปัญหาน้ำท่วมส่งผลให้อุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์และยานยนต์ต้องหยุดผลิต : ทั้งนี้เขตนิคมอุตสหการรมที่สำคัญของไทยหลายแห่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยเฉพาะที่จังหวัดอยุธยา ปทุมธานี ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมที่สำคัญในการผลิตสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนรถยนต์ รวมถึงเป็นสินค้าต้นน้ำเพื่อนำไปผลิตสินค้าอื่น จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลต่อภาคการผลิต การขาดแคลนชิ้นส่วนวัตถุดิบในการผลิต วงจร Supply chain ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะทำให้ภาคการส่งออกได้รับผลกระทบไปด้วย สำหรับตัวเลขการส่งออกล่าสุดในเดือนก.ย. ที่ประกาศออกมายังขยายตัวในเกณฑ์ดี หรือเติบโต 19.1% y-y โดยสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเติบโตเพิ่ม 51.9% y-y และสินค้าหมวดอุตสหกรรมที่สำคัญเติบโต 9.7% y-y แต่จากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดกระทรวงพาณิชย์คาดว่าจะทำให้การส่งออกในไตรมาส 4/2011 อาจขยายตัวเพียงแค่ 13% y-y และตัวเลขทั้งปีขยายตัวอยู่ที่ 15% y-y ลดลงจากก่อนหน้าที่คาดว่าจะเติบโตที่ระดับ 20% ปรับเป้า GDP ปีนี้ลงเหลือขยายตัว 2.9% แต่กรณีเลวร้าย GDP อาจจะขยายตัวเพียง 2.0% : จากการประเมินตัวเลขเบื้องต้นคาดว่าความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมน่าจะอยู่ที่ระดับเจ็ดหมื่นถึงแสนล้านบาท โดยเป็นภาคเกษตรและอุตสาหกรรมที่ได้รับผลเสียหายหนัก ในส่วนของภาคบริการได้รับผลกระทบแต่ไม่มากเท่า สำหรับการบริโภคในประเทศมีแนวโน้มหดตัว แต่จากการที่ประชาชนเร่งซื้อสินค้าเพื่อตุนไว้ใช้อุปโภคบริโภคในอนาคตรวมถึงรัฐบาลมีการกระตุ้นการใช้จ่ายน่าจะทำให้การบริโภคไม่หดตัวรุนแรงมาก ทั้งนี้ TISCO WEALTH ประเมินว่ากรณีถ้าสถานการณ์น้ำท่วมสามารถจัดการได้เร็วในระยะเวลา 2-3 เดือน และน้ำไม่ได้เข้าท่วมในเขตกรุงเทพฯชั้นในอย่างมีนัยสำคัญ GDP ในไตรมาส 4/2011 น่าจะขยายตัวเหลือเพียง 2.6% y-y เท่ากับเหตุการณ์ในช่วงไตรมาส 2/2011 ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิที่ญี่ปุ่น ส่งผลให้ GDP ทั้งปีขยายตัวอยู่ที่ 2.9% แต่หากผลกระทบรุนแรงมากจน GDP ไตรมาส 4/2011 ขยายตัวเพียง 1.3% y-y จะทำให้ GDP ทั้งปีขยายตัวเหลือ 2.9% y-y และกรณี GDP ไตรมาส 4/2011 ไม่เติบโต GDP ทั้งปีจะขยายตัวเหลือเพียง 2.6% y-y ส่วนถ้ากรณีเลวร้าย คือ GDP ไตรมาส 4/2011 ติดลบ จะทำให้ GDP ทั้งปีขยายตัวเพียง 2.0% สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในปีหน้าต้องรอประเมินสถานการณ์ความเสียหายอีกครั้ง ถ้าหากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลเสียหายต่อเครื่องจักรมาก เชื่อว่าภาคการผลิตและการบริโภคจะมีการฟื้นตัวที่ค่อนข้างเร็ว พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม การขยายตัวของสินค้าส่งออกในหมวดต่างๆ ที่มา: MOC,TISCO ที่มา: ศูนย์จัยกสิกรไทย,กระทรวงพาณิชย์ เศรษฐกิจจีน GDP จีนไตรมาส 3/2011 ยังขยายตัวในเกณฑ์ดีแม้เผชิญกับความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่หดตัว : จีนประกาศตัวเลข GDP ในไตรมาส 3/2011 ขยายตัว 9.1% y-y เติบโตชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนที่ 9.5% y-y เป็นผลจากการใช้มาตราการเข้มงวดทางการเงินของรัฐบาลเพื่อคุมเงินเฟ้อ และภาคการส่งออกที่ชะลอตัวลงตามทิศทางเศรษฐกิจโลกจากปัญหาเศรษฐกิจในยุโรป และอเมริกา อย่างไรก็ตาม การเติบโตของ GDP ราว 9% TISCO WEALTH ประเมินว่ายังไม่ใช่สัญญาณว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวแบบ Hard landing ทั้งนี้หากดูตัวเลขเศรษฐกิจอื่นที่ประกาศออกมา ตัวเลขยอดค้าปลีกเดือน ก.ย. ขยายตัวที่ 17.7% y-y เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 17% y-y ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนก.ย. อยู่ที่ 13.8% y-y เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 13.5% y-y ตัวเลข Fixed asset investment ยังรักษาระดับการเติบโตได้ในเกณฑ์ที่ดีขยายตัว 24.9% y-y สำหรับงวด 9 เดือนแรกของปีใกล้เคียงกับช่วงตั้งแต่เดือน ม.ค.-ส.ค. ที่ขยายตัว 25% ในส่วนของดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ ดัชนี PMI ที่ประกาศออกมาในเดือนก.ย. อยู่ที่ระดับ 51.2 (ตัวเลขที่ยืนเหนือ 50 แสดงว่าภาคการผลิตยังขยายตัว) ตัวเลขทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนยังรักษาการเติบโตได้ดี และแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจพึ่งพาจากการบริโภคการลงทุนในประเทศมากขึ้น ปัญหาหนี้นอกระบบเป็นความเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังแต่เชื่อว่ายังจัดการได้ : ปัญหาหนี้นอกระบบของจีนถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นที่กล่าวถึงมากในช่วงนี้ว่าอาจเป็นระเบิดลูกใหญ่ที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ซึ่งตัวเลขที่นักวิเคราะห์ได้ประเมินไว้พบว่าหนี้ดังกล่าวมีจำนวนสูงถึง 4 ล้านล้านหยวน คิดเป็นประมาณ 8% ของหนี้ทั้งหมดที่อยู่ในระบบ โดย 60% ของหนี้นอกระบบทั้งหมดเป็นการปล่อยกู้ให้กับธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ รายเล็กที่เข้าถึงเงินทุนลำบาก โดยมีบริษัทรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่หรือบริษัทเอกชนมีส่วนร่วมธุรกรรมดังกล่าวในฐานะเป็นผู้ปล่อยกู้หรือค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งถ้าหากบริษัทพัฒนาอสังหาฯดังกล่าวเกิดล้มย่อมจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อภาคสถาบันการเงินและบริษัทต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาตลาดอสังหาฯของจีน พบว่าปริมาณการซื้อขายบ้านเติบโตชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา แต่เป็นการชะลอตัวในเขตเมืองที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอย่าง ปักกิ่ง เซียงไฮ้ ซึ่งเป็นเขตที่อสังหาฯมีราคาสูง สำหรับพื้นที่นอกเขตเมืองหลัก พบว่ายอดขายของอสังหาฯยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี ราคาบ้านยังต่ำว่าพื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจถึง 70%ในด้านตัวเลขการปล่อยสินเชื่อ ผู้ซื้อบ้านต้องจ่ายเงินดาวน์สูงถึง 44% และ 23% ของผู้ซื้อบ้านหลังแรกซื้อเป็นเงินสดทั้งจำนวน จากภาพรวมนักวิเคราะห์มองว่าความเสี่ยงปัญหาฟองสบู่ในตลาดอสังหาฯของจีนมีโอกาสเกิดขึ้นแต่เพียงบางส่วนบางพื้นที่ไม่ใช่ภาคตลาดอสังหาฯทั้งหมดของจีน สำหรับการจัดการความเสี่ยงดังกล่าวรัฐบาลได้เร่งแก้ไขปัญหา โดยจำกัดการปล่อยสินเชื่ออสังหสริมทรัพย์ในบางพื้นที่ เพิ่มการเข้าถึงแหล่งสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจขนาดเล็กเพื่อลดปัญหาการกู้ยืมนอกระบบ รวมถึงการเพิ่มทุนให้กับธนาคารขนาดใหญ่ ยังคงเป้าการเติบโตของเศรษฐกิจจีนปีนี้น่าจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 9% : ยังประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจจีนในปีนี้ขยายตัวไม่ต่ำกว่า 9% ในปีนี้ แม้ภาคการส่งออกของจีนมีแนวโน้มเติบโตชะลอตัวในครึ่งปีหลังเนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่เติบโตชะลอตัว แต่ภาคการบริโภคในประเทศที่ยังขยายตัวได้ดี รายได้ประชาชนยังเติบโต และมีเงินออมในระดับสูง ภาครัฐยังมีความสามารถในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบกับแนวโน้มเงินเฟ้อที่เริ่มผ่อนคลายลงน่าจะช่วยหนุนเศรษฐกิจให้รักษาระดับการเติบโตได้ตามเป้า รายได้ของประชากรที่เติบโตช่วยหนุนการบริโภคในประเทศ จีนมีฐานะความมั่นคงสูงมีหนี้ในระดับต่ำ เศรษฐกิจสหรัฐฯ เศรษฐกิจสหรัฐฯในเดือนตุลาคม. 2011 มีทิศทางการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นดังที่ได้คาดการณ์ไว้ โดยเริ่มมีการฟื้นตัวในบางภาคส่วน ในช่วงเดือนที่ผ่านมามีการประกาศตัวเลขต่างๆ และมีการให้ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ดังนี้ โดยเฉพาะการคาดการณ์ GDP ที่สำรวจโดย CNN Money พบว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มีมุมมองต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจดีขึ้น โดยเดือนต.ค.ค่าเฉลี่ยการคาดการณ์ของ GDP Growth อยู่ที่ระดับ 2.5% สูงขึ้นจากเดือนก.ย. ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตเพียง 1.9% เนื่องจากดัชนีเศรษฐกิจต่างๆ ระหว่างเดือนที่ประกาศออกมา มีแนวโน้มดีกว่าที่คิด ปัจจัยที่นักเศรษฐศาสตร์มีมุมมองเป็นบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯมากขึ้น เนื่องจาก 1. Retail sales ของสหรัฐฯ แสดงถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระดับประชาชน ปรับตัวสูงขึ้นโดย ยอดค้าปลีกเดือน ก.ย. ปรับตัวสูงขึ้น 1.1% จากที่คาดการณ์ไว้ที่ 0.7% (มากกว่าเดือน ส.ค.) ที่ขยายตัวเพียง 0.3% นำโดยการขายรถที่เพิ่มขึ้น 3.6% สูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2. การลงทุนภาคธุรกิจ เริ่มต้นจาก ISM ภาคการผลิตของสหรัฐฯในเดือน ก.ย. ปรับตัวสูงขึ้นสวนความคาดหมายที่ระดับ 51.6 จุด สูงขึ้นกว่าส.ค.ที่ 50.6 จุด และดีกว่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาด สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวอย่างชัดเจนมากขึ้นในด้านการผลิต เป็นผลจากดัชนีภาวการณ์ผลิต ดัชนีราคาผู้ผลิต และดัชนีการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 3. การส่งออกที่ดีขึ้นกว่าคาด การขาดดุลการค้าของสหรัฐในเดือน ส.ค. อยู่ในระดับที่ต่ำสุดในรอบ 4 เดือน ที่ระดับ USD45.6 พันล้าน ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ USD45.8 พันล้าน โดยยอดการส่งออก ใกล้เคียงกับสถิติสูงสุดที่ระดับ USD177.6 พันล้าน ในเดือน ส.ค. นำโดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม เวชภัณฑ์และทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนยอดการนำเข้าคงที่ในระดับเดิมที่ USD223.2 พันล้าน ซึ่งสินค้าหลักคืออาหารและปิโตรเคมี อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวปัจจัยที่นักเศรษฐศาสตร์ยังคงกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะ 1.การว่างงาน : ปัจจุบันทรงตัวอยู่ที่ 9.1% แม้ด้านการจ้างงานจะปรับตัวดีขึ้นจาก การจ้างงานภาคเอกชนในเดือน ก.ย. ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 91,000 ราย จากเดือน ส.ค. ที่ 89,000 ราย เทียบกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 75,000 ราย สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีในด้านการจ้างงานมากขึ้น ทั้งในภาคบริการและภาคการผลิต หลังจากที่ตัวเลข Non-farm Payroll เดือน ก.ย. พบว่าการจ้างงานภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 137,000 ตำแหน่ง แต่การจ้างงานภาครัฐฯหดตัว 34,000 ตำแหน่ง แต่อัตราการปลดพนักงานก็สูงขึ้นเช่นกันที่ระดับ115,730 ตำแหน่ง นำโดยการปรับลดการจ้างงานของภาครัฐฯตามการปรับลดการขาดดุลและการปลดพนักงานของสถาบันการเงินเช่น Bank of America เป็นต้น อีกทั้งภาครัฐยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจนกับปัญหาการจ้างงานที่ชัดเจนโดยเมื่อกลางเดือน ต.ค. วุฒิสมาชิก ไม่ผ่านการเห็นชอบแผนการกระตุ้นการจ้างงานของประธานาธิบดี โอบามา ทำให้ความกังวลเกี่ยวกับการปัญหาการจ้างงานเพิ่มขึ้น 2.รายได้และการบริโภค : ดัชนีการบริโภคเดือน ก.ย. เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์และอยู่ใกล้เคียงระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี ส่วนด้านผู้บริโภคยังคงกังวลต่อแนวโน้มของรายได้ การจ้างงานและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และรายได้ผู้บริโภคในเดือน ส.ค. ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ที่ระดับ -0.1% m-m สวนทางการความเห็นของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นที่ระดับ 0.1% ซึ่งเป็นผลจากจากภาวะตลาดแรงงานที่ยังคงซบเซา และค่าจ้างตึงตัว 3.ภาคอสังหาริมทรัพย์ : ยอดอนุมัติก่อสร้างบ้านใหม่เดือน ก.ย. ทำสถิติต่ำสุดในรอบ 5 เดือนที่ระดับ 5% เนื่องจากปริมาณบ้านมือสองที่รอการจำหน่ายมีจำนวนมาก อีกทั้งราคาบ้านที่ต่ำกดดันการฟื้นตัวในตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยยอดขายบ้านมือสอง ในเดือน ก.ย. หดตัวลง 3% m-m สู่ระดับ 491,000 ยูนิต เท่ากับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ เนื่องจากยังคงมีมุมมองเชิงลบเกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินต่อภาคอสังหริมทรัพย์ แต่ทั้งนี้ ยอดก่อสร้างบ้านใหม่เดือน ก.ย. ขยายตัวกว่า 15% เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค. โดยมียอดรวม 658,000 ยูนิต สูงกว่าตลาดตลาดคาดค่อนข้างมากที่ 590,000 ยูนิต นำโดยการก่อสร้างอพาร์ทเมนท์และคอนโดมีเนียม ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญที่ 51.3% m-m หลังคนสหรัฐฯเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการซื้อบ้านมาเน้นการเช่าบ้านเพื่อพักอาศัยมากขึ้น ส่งผลให้การขายบ้านมีแนวโน้มซบเซาลงเนื่องจากผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภค แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ รายงานของ Federal reserve เปิดเผยใน Beige Book Survey เปรียบเสมือนบนสรุปของ Economic outlook จาก Governor ของ Federal reserve ทั้ง 12 เขต ซึ่งผู้ว่าการฯในเขตต่าง ๆ ได้ชี้ให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่เป็นไปช้าและค่อยเป็นค่อยไป แต่ไม่มีสัญญาณของการเกิด Recession โดย Beige Book ได้ให้ข้อมูลโดยสรุปดังนี้ 1. ภาคการผลิต มีการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมที่สูงขึ้นและคำสั่งซื้อใหม่ในอุตสาหกรรมต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้นมีเพียงเขต Richmond และ Philadelphia ที่มีการชะลอตัวเพียงเล็กน้อยโดยมีการ ภาคอุตสาหกรรมน้ำมันใน Dallas และ San Francisco มีการชะลอตัวลงเล็กน้อย 2. ภาคบริการ พบว่า ความต้องการภาคบริการ IT ยังเป็นที่ต้องการซึ่ง ในเขต San Francisco พบการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ภาคขนส่งมีแนวโน้มคงที่และชะลอตัวลงในบางเขต 3. การใช้จ่ายภาคประชาชนขยายตัวอย่างโดดเด่นโดยเฉพาะยอดขายรถยนต์ใหม่ที่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ตามด้วย ภาคธุรกิจ 4. ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังน่าจับตามอง เพราะตลาดบ้านยังซบเซา โดยทั้งยอดขายบ้านมือสอง บ้านที่ปลูกเสร็จรอจำหน่ายอยู่ในระดับสูง การขออนุญาตสร้างบ้านเดี่ยวใหม่อยู่ในระดับต่ำ 5. กิจกรรมทางเศรษฐกิจภาคสถาบันการเงินเพราะว่า ปริมาณการให้สินเชื่อยังอยู่ในระดับต่ำอย่างคงที่และลดลงในบางเขต ประกอบกับการลงทุนภาคธุรกิจที่ลดลง 6. การเกษตรและเหมืองแร่ มีแนวโน้มที่ดี โดยมีการเติบโตและผลผลิตต่อไร่มีมากกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต ในเกือบทุกเขต ในขณะที่การผลิตถ่านหินขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ ในบางเขตแสดงเช่น Cleveland และ Kansas 7. การว่างงาน มีแนวโน้มจะไม่ขยายตัวต่อเนื่องแล้ว แต่แนวโน้มเงินเฟ้ออาจปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้เพราะระดับราคาผู้ผลิตปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ทำให้เพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้อ เศรษฐกิจยุโรป ในทวีปยุโรป พบสัญญาณการชะลอตัวลงของกลุ่ม EU ท่ามกลางเศรษฐกิจที่บางส่วนเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ จาก Global Recession ในปี 2008 — 2009 และบางส่วนที่ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน ปัญหาหนี้สาธารณะได้เข้ามาซ้ำเติบภูมิภาคนี้ จนนำมาสู่การปรับลดงบประมาณประจำปี และการจัดทำแผนลดการขาดดุลระยะยาว (Austerity Plan) ทำให้เครื่องมือในการแก้ปัญหาเหลือน้อยลง จนนำมาสู่การใช้นโยบายการเงินต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ กลุ่มยูโร ยังถูกวิจารณ์ว่าแก้ปัญหาหนี้อย่างเชื่องช้า เนื่องจากมีขั้นตอนในการตัดสินใจมาก และกินเวลานานในแต่ละขั้น ซึ่งความไม่แน่นอนยิ่งกินเวลานานเท่าใด ยิ่งบันทอนเศรษฐกิจ ซึ่งเห็นผลได้ชัดเจนในไตรมาสจากการทำสำรวจของ Goldman Sachs นักวิเคราะห์คาดว่า GDP ในไตรมาส 3/2011 ของกลุ่ม Eurozone จะขยายตัว 0.2% q-q และ มีความเสี่ยงที่จะเกิดการหดตัวในปี 2012 โดยการคาดการณ์มากจากข้อมูลดังนี้ รายได้ : การว่างงานและการบริโภค ในเดือนก.ย. ที่ผ่านมา พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของ ประเทศในกลุ่ม EU หดตัวมากกว่าที่คาด โดยปรับตัวลดลงจาก 98.4 จุด เหลือ 95 จุด ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 96 จุด และต่ำที่สุดในรอบสองปีหลังจาก Global recession โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงจาก -16.5 จุด สู่ระดับ -19.01 จุด อีกทั้งอัตราการว่างงานของ EU ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 10% อัตราเงินเฟ้อ : เงินเฟ้อ EU ในเดือนก.ย. อยู่ที่ระดับ 3% ปรับตัวสูงขึ้นจาก 2.5% ในเดือน ส.ค. และดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน ก.ย. ของอังกฤษปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.3% m-m มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 0.2% เป็นผลจากต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และหากเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้วพบว่า ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 6.0% y-y เป็น 6.3% y-y ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในอังกฤษในเดือน ก.ย. ก็ปรับตัวสูงขึ้นจากระดับ 4.5% y-y เป็น 5.2% y-y มากกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่คาดไว้เพียง 4.9% y-y ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ดัชนี PMI ของยุโรป เดือน ต.ค. นี้ หดตัวอย่างมีนัยสำคัญโดยปรับตัวลดลงจากที่ขยายตัวที่ 49.1 ลงมาเป็นหดตัวที่ระดับ 47.2 จุด ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะอยู่ในระดับ 48.8 จุด นับว่าเป็นตัวเลขการหดตัวของ PMI ในรอบ 2 ปี โดยมีส่วนสำคัญจากปัญหาหนี้สาธารณะ ที่เข้ากดดันตลาดฯ หากแยกเป็น ภาคการผลิตของยุโรปถดถอยเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันโดยปรับตัวลดลงจาก 48.5 จุดในเดือน ส.ค. สู่ระดับ 47.3 จุด ในเดือน ต.ค. ใกล้เคียงกับ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดไว้ที่ 48.4 จุด สะท้อนให้เห็นถึงการถดถอยที่เด่นชัดขึ้นในอนาคตและภาคบริการที่หดตัวอย่างชัดเจนที่ 48.8 จุด ลงมาที่ระดับ 47.2 จุด ดอกเบี้ยและนโยบายการเงิน ธนาคารกลางยุโรป ขยายวงเงินเข้าซื้อพันธบัตรอีก 4 หมื่นล้านยูโร ตามโปรแกรม Securities Market Programme (SMP) จากการเก็บข้อมูลวันที่ 18 ต.ค. ที่ผ่านมาพบกว่า ECB มีการถือครองพันธบัตรของชาติที่เป็นกลุ่มเสี่ยง (PIIGS) ทั้งสิ้น เกือบ 6 แสนล้านยูโร ธนาคารกลางอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.5% และเพิ่มวงเงินในการทำ QE ในรอบสองอีก 7.5 หมื่นล้านปอนด์ ทำให้ ขณะนี้ธนาคารกลางอังกฤษมีการอัดฉีดเข้าไปในตลาดพันธบัตรทั้งสิ้น 2.75 แสนล้านปอนด์ นอกจากการช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในการให้เงินกู้แล้ว ภาระหน้าที่อีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ การเพิ่มทุนธนาคาร โดยธนาคารในกลุ่มประเทศ EU จำเป็นต้องมีการเพิ่มทุนเพื่อรองรับการปรับลดหนี้ (Haircut) ตราสารหนี้ประเทศที่มีปัญหาการชำระเงิน เพื่อทำการปรับโครงสร้างทางการเงิน การคลังใหม่ จากการจำลองสถานการณ์ (Scenario) ของ Financial Times พบว่า ธนาคารในประเทศกลุ่ม EU จะต้องเพิ่มทุนทั้งสิ้น 8.5 หมื่นล้านยูโร บนสมมุติฐานดังนี้ 1. ธนาคารชาติต่างๆ ต้องมีเงินกองทุนขั้นที่ 1 ไม่ต่ำกว่า 9% 2. การลดหนี้ Haircut ของตราสารหนี้ที่อายุนานกว่า 1 ปี มีดังนี้ กรีซจำนวน 50% โปรตุเกส จำนวน30% ไอร์แลนด์และอิตาลี 20% สเปน 15% โดยเงินกองทุนจำนวน 85 พันล้านยูโรที่ต้องปรับเพิ่มเติมนั้น กระจายเป็นประเทศต่างๆ ดังนี้ กรีซ 24% สเปน 34% อิตาลี 13% ฝรั่งเศส 11% และเยอรมนี 6% โดยมีโครงสร้างการจัดหาเงินเพิ่มทุนที่ได้จัดหาไปแล้วและจำเป็นต้องจัดหาเพิ่มดังตารางต่อไปนี้ ตลาดตราสารหนี้และเงินฝาก ? คาดกนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 3.50% ถึงสิ้นปี 2011 จากปัญหาน้ำท่วมและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ? หากการขึ้นดอกเบี้ยมีทิศทางของ กนง. ในอนาคตมีแนวโน้มชะลอตัวลง คาดว่าการแข่งขันเรื่องเงินฝากก็จะเบาบางลง ? กลยุทธ์การลงทุน : ขยับเพิ่มอายุการลงทุนในตราสารหนี้หรือฝากเงิน เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การประชุม กนง. ในวันที่ 19 ต.ค.ที่ผ่านมา กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 ให้ คงอัตราดอกเบี้ยที่ 3.50% เนื่องจากผลการประชุมได้สรุปอยู่ได้ 4 ประเด็น คือ 1. เศรษฐกิจโลก จากเดิมที่ กนง. “ในภาวะมีความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้การส่งออกไปประเทศอุตสาหกรรมหลักของโลกชะลอตัวลง แต่โครงสร้างการส่งออกของไทยที่กระจายตัวไปยังภูมิภาคต่างๆ กว้างขึ้นทำให้ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในบางภูมิภาคอยู่ในวงจำกัด” แต่ในครั้งนี้ กนง. เล็งเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของสหรัฐฯที่ชัดเจนขึ้น และการพึ่งพาการส่งออกในทวีปเอเชียของไทยมากขึ้น ทำให้มีมุมมองที่ดีขึ้น 2. กนง. เล็งเห็นถึงความเสียหายจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ ทำลายการผลิตทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เป็นวงกว้างก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาล และทำให้ภาคการผลิตอื่นๆ ที่ไม่ได้เสียหายก็ตาม ต้องสะดุด ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจได้รับผลกระทบ 3. จากเดิมที่ กนง. ด้านการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าพลังงานและโภคภัณฑ์พื้นฐานมีแนวโน้มชะลอ ตัวลง แต่ปัจจัยภายในประเทศเองยังเป็นแรงเอื้อต่อเงินเฟ้อ นอกจากระดับการจ้างงานที่สูง และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นแล้ว การกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้เงินเฟ้อคาดการณ์ (Inflation Expectation) สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ก่อนเกิดเหตุการณ์อุทกภัย กนง. มองว่า แนวโน้มเงินเฟ้อเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น และเมื่อเกิดอุทกภัยซึ่งทำลายโรงงานและผลผลิต กนง.จะจับตาดูแนวโน้มเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิดต่อไป 4. กนง. เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในภาวะเหมาะสมและผลกระทบของอุทกภัยยังไม่สามารถติดตามได้เสร็จสิ้น จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.50% ทางสำนักวิจัยทิสโก้ คาดว่าจากอุทกภัยครั้งใหญ่ที่อาจส่งผลต่อ GDP มากกว่า 1% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 4.1% ได้นั้น อาจทำให้กนง. คงอัตราดอกเบี้ย ที่ระดับ 3.5% จนถึงสิ้นปี 2011 ท่ามกลางแนวโน้มราคาพลังงานที่ทรงตัวหลังจากเหตุการณ์ในตะวันออกกลางเริ่มคลี่คลาย อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของ TISCO WEALTH มองว่ามีความเป็นไปได้สูงที่แนวโน้มดอกเบี้ยจะเปลี่ยนไปจากขาขึ้น-ทรงตัว เป็นทิศทางขาลง เพราะกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ ตลาดตราสารหนี้ ในช่วงที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 23 ต.ค. 2011 ตลาดพันธบัตรไทยยังปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากเกิดความกังวลของนักลงทุนต่อสถานการณ์อุทกภัยที่จะส่งผลถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หากมองตั้งแต่ 1 ต.ค. 2011 ถึง 23 ต.ค. 2011พบว่าตัวเลขการซื้อขายของต่างชาติมียอดซื้อสุทธิ 1.5 หมื่นล้านบาท เบาบางกว่าเดือน ก.ค. ที่มียอดซื้อสุทธิสูงถึง 4.5 หมื่นล้านบาท และหากมองตั้งแต่ต้นปี 2011 ถึงวันที่ 23 ก.ย. มีสถานะซื้อสุทธิ 6.75 แสนล้านบาท ปัจจัยที่สำคัญคือส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯและภูมิภาค เอเชียรวมถึงไทยที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับการคาดหมายการแข็งค่าของค่าเงินสกุลเอเซีย ทำให้เงินลงทุนไหลเข้ามาตลาดตราสารหนี้เอเชียเพิ่มขึ้น โดยพบว่าลักษณะการเข้าซื้อของต่างชาติเปลี่ยนไปจากเดิมที่ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น เปลี่ยนเป็นตราสารหนี้ที่อายุระยะกลางๆ มากกว่า ส่งผลให้ ความต้องการตราสารหนี้ที่ถึงกำหนดชำระในระยะกลางสูงขึ้น ผลตอบแทนปรับตัวลดลง ทำให้ yield curve แบนราบขึ้นกว่าเดิม โดยมีเงินเฟ้อเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อีกประเด็นที่น่าจับตาคือ ส่วนต่างของผลตอบแทนระยะสั้นกับระยะยาวลดลงของไทย โดยเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยกับสหรัฐฯช่วงก่อนวิกฤตการณ์ตราสารหนี้ยุโรป โดยช่วงต้นปี 2010 ที่มีผลต่างของดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐระยะเวลาไถ่ถอนสิบปี มากกว่าสองปีประมาณ 1.98% แต่ปัจจุบันผลต่างของดอกเบี้ยพันธบัตรไทยนั้นอยู่เพียง 0.08% ตลาดเงินฝาก คาดว่าในไตรมาสนี้การแข่งขันของ ธนาคารพาณิชย์ ในด้านการแข่งขันด้านอัตราดอกเบี้ยจะเบาบางลง เนื่องจากแนวโน้มการคงอัตราดอกเบี้ยที่ 3.5% ต่อเนื่อง อาจเป็นสัญญาณให้ผู้ฝากเงินเริ่มมองหาเงินฝากหรือตั๋วแลกเงินที่มีระยะเวลายาวขึ้นเพื่อเป็นการให้ไม่พลาดโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนในระดับที่ยังสูงอยู่ เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.50% ในปัจจุบันทั้งนี้ หากการขึ้นดอกเบี้ยของ กนง. ในอนาคตมีแนวโน้มชะลอตัวลง คาดว่าการแข่งขันเรื่องเงินฝากก็จะเบาบางลงเช่นกัน ตลาดหุ้นไทย ? TISCO WEALTH ปรับลด SET Target ปี 2011 มาอยู่ที่ระดับ 1,000 — 1,080 จุด จากการปรับลด Market EPS ที่สะท้อนการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และผลจากปัญหาอุทกภัยรุนแรงของไทย ซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสที่ 4/2011 ? กลยุทธ์การลงทุน : ทยอยเข้าลงทุน เมื่อดัชนีฯ ปรับฐานลงระดับประมาณ 900 จุด เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวนอย่างมาก จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับลดลงต่ำกว่า 900 จุด ในสัปดาห์แรกของเดือน จากแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติที่กังวลต่อปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปที่ยังคงลุกลามและไม่มีแนวทางแก้ไขที่ชัดเจน รวมถึงแรงเทขายของนักลงทุนรายย่อยในประเทศ จากการทำ Short selling เพื่อเก็งกำไรในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 — 3 นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาซื้อสุทธิในตลาดเอเชียอย่างต่อเนื่อง เมื่อเริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป จากเยอรมันและฝรั่งเศสที่อนุมัติเงินช่วยเหลือเข้ากองทุน ESFS และด้วยปัจจัยสนับสนุนด้านมูลค่าพื้นฐานของตลาดหุ้นเอเชียที่ถูกมาก รวมถึงแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียที่แข็งแกร่ง ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน มีแรงเทขายจากนักลงทุนต่างชาติอีกครั้ง เมื่อสถานการณ์ของยุโรปกลับมาดูคลุมเครือ รวมถึงปริมาณการลงทุนภายในประเทศที่เบาบาง จากปัญหาอุทกภัยขั้นรุงแรงทำให้ ดัชนีฯ แกว่งตัวในกรอบ 910 — 950 จุด สำหรับมุมมองของ TISCO WEALTH ต่อสถานการณ์โดยรวมในช่วงนี้ เห็นว่ายังอยู่ในภาวะความวิตกกังวลของนักลงทุน ดัชนีฯ แกว่งตัวขึ้นลงตามสถานการณ์รายวัน สาเหตุหลักมาจากแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปที่ยังไม่แล้วเสร็จ และปัญหาอุทกภัยรุนแรงภายในประเทศ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงจากสหรัฐฯ เกี่ยวกับแผนดำเนินนโยบายการคลัง (Fiscal Plan) ในเดือนธันวาคม TISCO WEALTH ปรับลด SET Target ปี 2011 มาอยู่ที่ระดับ 1,000 — 1,080 จุด จากการปรับลด Market EPS ที่สะท้อนการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และผลจากปัญหาอุทกภัยรุนแรงของไทย ซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสที่ 4/2011 อย่างไรก็ตาม TISCO WEALTH ยังคงมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทย ด้วยปัจจัยสนับสนุนด้านมูลค่าพื้นฐานที่ถูก การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่แข็งแกร่ง รวมถึงอัตราการเติบโตของธุรกิจที่ยังคงขยายตัวได้ดีในปีหน้า หลังน้ำลด แนะนำทยอยเข้าลงทุน เมื่อดัชนีฯ ปรับฐานลงระดับประมาณ 900 จุด ปัจจัยสนับสนุนการลงทุนในตลาดหุ้นไทย คือ 1. เศรษฐกิจของไทยที่ยังคงขยายตัวได้ดี : แม้จะมีปัญหาอุทกภัยรุนแรงเกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ แต่ TISCO WEALTH มองว่าผลกระทบเชิงลบจะจำกัดอยู่ในไตรมาสที่ 4/2011 เท่านั้น โดยผลจากการเกิดอุทกภัยจะกระทบโดยตรงต่อการลงทุนภาคเอกชน การนำเข้า และการส่งออก ซึ่งคิดเป็นประมาณ 40% ของ GDP แต่ในส่วนการบริโภคของภาคเอกชนที่คิดเป็น 60% ของ GDP นั้น ยังคงมีอยู่ จากการที่ประชาชนยังคงต้องบริโภคแม้อยู่ในภาวะน้ำท่วม รวมถึงการบริโภคเพิ่มเติมจากการกักตุนเสบียง และเพื่อการบริจาค สำนักวิจัยทิสโก้ ได้ประเมินผลของอุทกภัยในเบื้องต้นต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ แม้กำหนดให้ GDP ในไตรมาสที่ 4/2011 หดตัว GDP ปี 2011 จะยังเติบโตอยู่ที่ 2.6% 2. การกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนจากนโยบายรัฐ ที่จะเห็นผลเต็มที่ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1/2012 เป็นต้นไป รวมถึงการซ่อมแซมและการฟื้นฟูหลังจากปัญหาอุทกภัยผ่านพ้นไป โดยกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่จะได้รับผลบวก ยังคงเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคภายในประเทศ (Domestic sector) เช่น ค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้าง ธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น ทั้งนี้ สำนักวิจัยทิสโก้ ได้ประเมินกลุ่มธุรกิจที่จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นฟูภายหลังจากเหตุการณ์อุทกภัย ตามรายละเอียด ดังภาพดังล่างนี้ 3. การขยายตัวของกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนของไทย : แม้จะมีการปรับลดการขยายตัวของกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนในทวีป Asia Pacific ex Japan ลง ตามแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก แต่การขยายตัวของกำไรสุทธิของธุรกิจยังคงอยู่ในระดับสูง โดย EPS growth 2011 คาดการณ์ของไทยอยู่ที่ระดับ 18% (ปรับลดลงจาก 21%) ตลาดหุ้นต่างประเทศ การลงทุนระยะ 12 เดือน โดยเน้นการลงทุนในประเทศ/ภูมิภาคที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง หนี้ต่ำ ราคาถูก คือ เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) และตลาดหุ้นจีน (HSCEI) หลีกเลี่ยงการลงทุนในตลาดหุ้นยุโรป จนกว่าจะมีสัญญาณชัดเจนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ TISCO WEALTH ไม่มีมุมมองว่าจะเกิด Global Recession อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกประเทศที่กระทบต่อการลงทุนในช่วงนี้ คือ 1. ปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะของยุโรป ที่ยังไม่สามารถข้อสรุปสำหรับแนวทางการแก้ไขที่ชัดเจนได้ แต่ TISCO WEALTH คาดสุดท้ายแล้ว EU จะต้องมีมาตรการรับมือกับปัญหา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลาม หากสุดท้ายแล้วกรีซจะต้องผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งแนวทางที่ทางกลุ่มประเทศยุโรปกำลังพยายามอยู่ในปัจจุบัน คือการให้สถาบันการเงินต่าง ๆ เพิ่มเงินทุนสำรองของตัวเองให้เพียงพอ (Recapitalization) เพื่อรองรับการปรับลดหนี้ของกรีซ และการด้อยค่าของพันธบัตรของประเทศในกลุ่มยูโร 2. แนวทางการดำเนินนโยบายการคลังของสหรัฐฯ ที่รัฐบาลจะต้องทำแผนลดงบประมาณการใช้จ่ายให้ได้ USD 1.5 แสนล้าน ภายในเดือนธันวาคมนี้ ไม่เช่นนั้นงบประมาณ USD1.2แสนล้าน จะถูกตัดออกโดยอัตโนมัติ โดยครึ่งหนึ่งจะเป็นงบประมาณทางด้านทหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยรวม อย่างไรก็ตาม สำหรับภาพการลงทุนในตลาดหุ้นระยะ 1 ปี TISCO WEALTH ยังคงมีมุมมองเป็นบวกเนื่องจากนักลงทุนถือเงินสดรอเข้าลงทุนปริมาณมาก จากการสำรวจสัดส่วนการถือเงินสดของผู้จัดการกองทุนทั่วโลกในเดือนตุลาคม พบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้น คิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยประมาณ 5% ของมูลค่าสินทรัพย์โดยรวม จากความกังวลต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง อย่างไรก็ตาม 35% ของผู้จัดการกองทุน ระบุว่าเงินสดที่ถือไว้นั้น เตรียมพร้อมที่จะเข้าลงทุน (Buy territory) เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย และยังคงสถานะลงทุน (Overweight) ในตลาดโซน Emerging market เป็นหลัก ซึ่งรวมถึง Asia Pacific ex Japan ด้วย สำหรับจุดเด่นของตลาดหุ้น APxJ คือ 1. แม้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในภูมิภาคเอเชียจะยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง หรือขยายตัว 10% และ 12% ในปี 2011-2012 ตามลำดับ 2. ราคาหุ้นถูก : ราคาหุ้นปรับตัวลดลงต่ำใกล้เคียงกับช่วง Global Crisis (ทั้ง ๆ คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2011-2012 ยังคงเติบโตได้ที่ระดับประมาณ 3-4%) ปัจจุบัน P/E , P/BV ที่ 9.8x , 1.5x เทียบกับช่วง Global Crisis ที่ 8.9x, 1.3x ตามลำดับ 3. ปัจจัยพื้นฐานที่ดีของหุ้นตลาดเอเชีย : ด้วยเศรษฐกิจที่ยังแข็งแกร่ง เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจของประเทศ Developed markets ที่มีแนวโน้มชะลอตัว และมูลค่าหุ้นที่ถูกของหุ้นตลาดเอเชีย โดยปกติค่าเฉลี่ย P/E ratio ของภูมิภาคเท่ากับ 14 เท่า แต่ในปัจจุบัน P/E ratio ของตลาด Asia Pacific ex Japan อยู่ที่ 9.8x 4. เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียเป็นภูมิภาคที่แข็งแรงสุดในโลก : โดยคาดว่าในปี 2011-2012 มี GDP Growth เฉลี่ยที่ 8% รวมทั้ง มีฐานะทางการเงินที่แข็ง โดยมีสัดส่วนหนี้ต่อ GDP ต่ำ โดยเฉลี่ยไม่ถึง 50% ของ GDP ส่วนตลาดหุ้นที่น่าสนใจในการลงทุนมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย คือ ตลาดหุ้นจีน (HSCEI) เนื่องจาก 1. อัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง : ลดลงจาก 6.2% ในเดือนส.ค. 2011 เป็น 6.1% ในเดือนก.ย. 2011 ซึ่งเป็นระดับที่ผ่านพ้นจุดสูงสุดไปแล้ว (สูงสุดที่ 6.5% ในเดือนก.ค.2011) เป็นผลจากหมวดราคาอาหารที่ทรงตัวและหมวดไม่ไม่ใช่อาหารปรับตัวลดลง ส่งผลให้ความกังวลต่อปัญหาเงินเฟ้อของจีนเริ่มบรรเทาลง นอกจากนี้ จากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ทำให้คาดว่าความเป็นไปได้ที่จีนจะออกมาตรการเพื่อควบคุมความร้อนแรงทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้น้อย 2. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ และไม่เกิด Hard Landing : GDP ไตรมาสที่ 3/2011 +9.1% y-y ลดจากไตรมาสที่ 2/2011 ที่ +9.5% y-y แม้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลง แต่ส่วนประกอบของการเติบโตของ GDP จะพบว่า การส่งออกของจีนลดลง ขณะที่การบริโภคและการค้าในประเทศขยายตัวดีขึ้น เป็นไปตามที่ทางการจีนต้องการที่ต้องการให้เน้นการพึ่งพึงในประเทศแทนการพึ่งพิงต่างประเทศ นอกจากนี้ คาดว่าเศรษฐกิจของจีนในปี 2011-2012 จะขยายตัวได้ที่ 9.1% และ 8.6% ตามลำดับ ดังนั้น คาดว่าเศรษฐกิจของจีนจะชะลอตัวแบบ Soft Landing ไม่ใช่ Hard Landing อย่างที่หลายฝ่ายกังวล 3. ราคาถูก : พิจารณาจากระดับ P/E และ P/BV ของจีน พบว่า ณ ระดับปัจจุบันราคาหุ้นจีนอยู่ในระดับต่ำสุด ในรอบ 5 ปี หรือ มีระดับ P/E และ P/BV ที่ 7.9x และ 1.3x ตามลำดับ 4. ปัญหาหนี้ท้องถิ่น คาดเป็นปัญหาที่ทางการจีนสามารถจัดการได้และไม่กระทบต่อฐานะทางการเงินของประเทศ เนื่องจาก ผลสำรวจล่าสุดของธนาคารกลางจีนพบว่า การปล่อยสินเชื่อนอกระบบในจีนอยู่ที่ 3.38 ล้านล้านหยวน (USD5.30 แสนล้าน) ณ สิ้นเดือนพ.ค. ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 6.7% ของสินเชื่อทั้งหมดในช่วงเวลาดังกล่าว ส่วนตลาดหุ้นในภูมิภาคอื่น ๆ นั้น TISCO WEALTH มองว่า ประเทศที่ปลอดภัยในการลงทุนรองจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย คือ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เนื่องจาก 1. กำไรบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ 3Q11 ออกมาดีกว่าคาด โดยล่าสุด (25 ต.ค. 2011) บริษัทจดทะเบียนจำนวน 133 บริษัท หรือคิดเป็น 26% ของทั้งหมด พบว่าบริษัทที่กำไรดีกว่าที่คาดมี 68%, ตามคาด 13% และมีเพียง 19% ที่ต่ำกว่าคาด โดยมีอัตรากำไรเติบโตขึ้น 13.1% y-y 2. นักลงทุนเริ่มคลายความกังวลหลังจากตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เช่น ISM , PMI ดีขึ้น ส่งผลให้ดัชนีชี้วัดผันผวน (VIX INDEX) ของตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 3. องค์ประกอบของดัชนี S&P500 มีสัดส่วนของบริษัทที่อิงกับธุรกิจนอกสหรัฐฯและการใช้จ่ายภาคธุรกิจ เช่น กลุ่มเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมมากถึง 32% มากกว่ากลุ่มที่อิงกับการบริโภคในสหรัฐฯ ที่น้ำหนักเพียง 20% เท่านั้น ส่วนตลาดหุ้นที่ยังคงแนะนำ หลีกเลี่ยงการลงทุน คือ ตลาดหุ้นยุโรป เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงหลักยังหนีไม่พ้นปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศยูโรโซน ที่ยังต้องแสวงหามาตรการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม ทั้งปัญหาหนี้สาธารณะที่ลุกลามของกรีซ การเพิ่มเงินทุนสำรองของสถาบันการเงินในประเทศต่าง ๆ และการระดมทุนเพิ่มเติมเข้ากองทุน ESFS เพื่อให้เพียงพอหากสเปนและอิตาลีต้องเผชิญกับปัญหาผิดนัดชำระหนี้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลการประชุม European Council summit ที่จะแล้วเสร็จในช่วงต้นเดือน พ.ย. คาดที่ประชุมน่าจะมีแนวทางชัดเจนที่จะเพิ่มเงินทุนสำรองของสถาบันการเงิน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของสถาบันการเงินต่าง ๆ ในยุโรป ว่าจะไม่เกิดภาวะสถาบันการเงินล้ม หากประเทศใดประเทศหนึ่งต้องผิดนัดชำระหนี้ โดยวงเงินสำรองที่นักวิเคราะห์คาดว่าควรจะได้รับอนุมัติ อยู่ที่ประมาณ 1 แสนล้านยูโร รวมถึงผลการขยายวงเงินกองทุนช่วยเหลือ ESFS ซึ่งหากได้รับการอนุมัติ จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบการเงินของยุโรป และสร้างความมั่นใจว่าสุดท้ายแล้ว ECB จะเป็นแหล่งพึ่งพิงของประเทศในยูโรโซนที่ประสบปัญหาทางการเงินได้ อีกปัจจัยเสี่ยงของยุโรป คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น เห็นได้จากตัวเลขดัชนี PMI ของเดือน ต.ค. 2554 ที่ระดับ 47.2 จุด (ลดลงจากเดือน ก.ย. ที่ 49.1 จุด) ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด และถือเป็นตัวเลขต่ำสุดในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการปรับลดลงทั้งในส่วนภาคการผลิตและการบริการ ในส่วนของตลาดหุ้น จากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะที่ยังไม่คลี่คลาย และสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ดัชนี STOXX 600 ลดลง 12.25% YTD และนักวิเคราะห์ได้ปรับลดอัตราการเติบโตของ EPS คาดการณ์ของบริษัทจดทะเบียนใน STOXX 600 ลง ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค โดย EPS growth สำหรับปี 2011 ปรับลดลงเหลือ 6% จาก 16% และสำหรับปี 2012 ปรับลดลงเหลือ 11% จาก 14% คาด Target STOXX 600 Index ปี 2011 อยู่ที่ระดับ 250 จุด สินค้าโภคภัณฑ์ ? การสังหาร Muammar Gaddafi อดีตผู้นำลิเบีย ถือเป็นการประกาศชัยชนะของฝ่ายต่อต้านอย่างสมบูรณ์แบบ คาดว่าอุปทานน้ำมันจากลิเบียจะกลับสู่ตลาดโลกได้เร็วขึ้นกว่าที่คาด ? TISCO WEALTH ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อราคาน้ำมันในระยะยาวจากปริมาณ Stock น้ำมันนอกสหรัฐฯ ที่ต่ำสุดในรอบ 9 ปีและกำลังผลิตสำรองของ OPEC ที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2011 ? แต่คาดว่าในระยะสั้นราคาน้ำมันจะเคลื่อนไหวผันผวนไปตามข่าวจากยุโรป จึงแนะนำขายกองทุน TISCO OIL FUND เนื่องจาก Upside เหลือน้อย ไม่คุ้มกับความเสี่ยง ? ทองคำปรับตัวขึ้นเล็กน้อย (2%) มาอยู่ที่ระดับประมาณ USD1,650/oz ในช่วงปลายเดือน ต.ค. ? ดอกเบี้ยของสหรัฐและยุโรปที่คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำไปตลอดปีหน้า และ Demand การลงทุนในทองคำจากธนาคารกลางทั่วโลกที่ต้องการกระจายการลงทุนจากสกุลเงินยูโรและดอลล่าร์สหรัฐ จะเป็นปัจจัย support ราคาทองในระยะยาว จึงแนะนำซื้อกองทุน TISCO GOLD Fund ตลาดน้ำมัน ราคาน้ำมัน WTI ปรับตัวขึ้นแรงตลอดช่วงเดือนตุลาคม (+15%) จากความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้ในยุโรป ขึ้นมายืนเหนือระดับ USD90/bbl และทำให้เหลือ Upside จากเป้าหมายของ TISCO WEALTH ที่ USD100/bbl อยู่ประมาณ 10% TISCO WEALTH ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อราคาน้ำมันในระยะยาว จากปริมาณกำลังการผลิตสำรองของกลุ่ม OPEC ที่เหลืออยู่น้อย และปริมาณน้ำมันใน Stock น้ำมันดิบของโลกที่พร่องลงจนอยู่ในระดับต่ำ การเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันของซาอุดิอาระเบียเพื่อชดเชยอุปทานที่หายไปจากลิเบียทำให้กำลังการผลิตสำรองของกลุ่ม OPEC ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องในปี 2011 การนำ Stock น้ำมันดิบของ IEA ออกสู่ตลาดโลกในช่วงปลายเดือนมิถุนายน เพื่อควบคุมราคาน้ำมันไม่ให้ปรับตัวขึ้นสูงจนเป็นอุปสรรคในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทำให้ปริมาณน้ำมันใน Stock น้ำมันดิบของโลกที่พร่องลงจนอยู่ในระดับต่ำ การสังหาร Muammar Gaddafi อดีตผู้นำลิเบีย ถือเป็นการประกาศชัยชนะของฝ่ายต่อต้านอย่างสมบูรณ์แบบ เราคาดว่าอุปทานน้ำมันจากลิเบียจะกลับสู่ตลาดโลกได้เร็วขึ้นกว่าที่คาด : ก่อนเกิดเหตุความขัดแย้งในประเทศ ลิเบียผลิตน้ำมันประมาณ 1. 7 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 2% ของปริมาณการผลิตน้ำมันทั้งหมดของโลก เราคาดว่าอุปทานน้ำมันจากลิเบียจะเริ่มทยอยกลับสู่ตลาดโลก ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อกำลังการผลิตสำรองของกลุ่ม OPEC และช่วยเติมปริมาณน้ำมันใน Stock น้ำมันดิบของโลกที่พร่องลง คาดว่าในระยะสั้นราคาน้ำมันจะเคลื่อนไหวผันผวนไปตามข่าวจากยุโรป จึงแนะนำขายกองทุน TISCO OIL FUND เนื่องจาก Upside เหลือน้อย ไม่คุ้มกับความเสี่ยง ตลาดทองคำ ราคาทองคำปรับตัวขึ้นเล็กน้อย (2%) มาอยู่ที่ระดับประมาณ USD1,650/oz ในช่วงปลายเดือนตุลาคม ราคาทองคำปรับตัวขึ้นเล็กน้อย (2%) มาอยู่ที่ระดับประมาณ USD1,650/oz ในช่วงปลายเดือน ต.ค. ดอกเบี้ยของสหรัฐและยุโรปที่คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำไปตลอดปีหน้า และ Demand การลงทุนในทองคำจากธนาคารกลางทั่วโลกที่ต้องการกระจายการลงทุนจากสกุลเงินยูโรและดอลล่าร์สหรัฐ จะเป็นปัจจัย support ราคาทองในระยะยาว จึงแนะนำซื้อกองทุน TISCO GOLD Fund

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ