“เกร็ดความรู้จากเชฟวี่” แนะวิธีดูแลรักษารถระหว่างน้ำท่วม และหลังน้ำลด โดยผู้เชี่ยวชาญจากเชฟโรเลต

ข่าวยานยนต์ Wednesday December 7, 2011 14:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 ธ.ค.--เวเบอร์ แชนวิค บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้จัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบเพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ นับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2554 ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการส่งมอบรถกระบะพันธุ์แกร่ง เชฟวี่ โคโลราโด ใหม่ 15 คัน สำหรับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และการร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรอื่นๆ รวมถึงการจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนี้ เชฟโรเลต ประเทศไทย ยังได้เปิดตัวแคมเปญพิเศษสำหรับลูกค้าเชฟโรเลต ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม อาทิ การเปิดพื้นที่ภายในศูนย์การผลิตยานยนต์ จังหวัดระยอง ให้ลูกค้าเชฟโรเลต ผู้ประสบภัยน้ำท่วมสามารถนำรถมาจอดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และการมอบส่วนลดค่าอะไหล่ 30% ให้แก่ลูกค้าที่นำรถที่ประสบภัยน้ำท่วมเข้าศูนย์บริการทั่วประเทศ ไปจนถึงสิ้นเดือนธันวาคมนี้ ในช่วงวิกฤตน้ำท่วม เจ้าของรถส่วนใหญ่จะดูแลเอาในใส่รถยนต์ของตนเองเป็นอันดับแรกๆ รวมถึงการดูแลบ้านและทรัพย์สินมีค่าอื่นๆให้อยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีเคล็ดลับ เตรียมความพร้อมสำหรับป้องกันน้ำท่วมมากมาย แต่ยังไม่มีวิธีที่ถูกต้องแน่นอน ในฐานะที่เชฟโรเลตเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือสังคมมาโดยตลอด จึงแนะนำวิธีดูแลรักษารถยนต์หลังผ่านช่วงวิกฤติน้ำท่วม อย่างถูกต้องให้แก่เจ้าของรถทั่วไป คุณกุญญาวัฒน์ รวยอารีย์ ผู้จัดการศูนย์ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค ฝ่ายบริการหลังการขาย บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เจ้าของรถยนต์หลายคนไม่มั่นใจกับวิธีการดูแลรักษารถยนต์ในช่วงระหว่างน้ำท่วมและหลังน้ำลด เราจึงเสนอเคล็ดลับวิธีดูแลรถยนต์เบื้องต้นแก่ผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคน เพื่อให้เจ้าของรถยนต์สามารถดูแลรักษารถของตนเองขณะน้ำท่วมได้อย่างปลอดภัย” “สำหรับการดูแลรถยนต์ในเบื้องต้น เราขอแนะนำให้ท่านนำรถไปตรวจสอบที่ศูนย์บริการใกล้บ้านคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ไม่แน่ใจเกี่ยวกับวิธีการตรวจเช็คสภาพรถด้วยตัวเอง” คุณกุญญาวัฒน์ กล่าว “ในสถานการณ์ที่คุณไม่แน่ใจว่าควรขับรถออกมาหรือไม่ การขับขี่รถยนต์ที่สภาพไม่พร้อมออกมานั้น นอกจากจะทำให้รถยนต์เสียหายแล้ว ยังจะเป็นอันตรายอย่างมากซึ่งเจ้าของรถยนต์ทุกคนควรพิจารณา” คุณกุญญาวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติม และนี่คือเคล็ดลับง่ายๆที่จะช่วยให้คุณสามารถดูแลรถยนต์ในช่วงวิกฤตน้ำท่วม ในกรณีที่รถของคุณถูกน้ำท่วม ? ห้ามสตาร์ทเครื่องยนต์ในทันที ? ถอดขั้วแบตเตอร์รี่ออก และตรวจเช็คให้มั่นใจว่าอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบไฟฟ้าทั้งหมดแห้ง ? ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีน้ำอยู่ในท่อร่วมไอดีและห้องเครื่องซึ่งสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้ที่บริเวณกรองอากาศเครื่องยนต์ โดยถ้าพบว่ามีน้ำในห้องกรองอากาศเครื่องยนต์หรือกรองอากาศเครื่องยนต์เปียกชื้น ให้สันนิษฐานว่าอาจมีน้ำเข้าภายในเครื่องยนต์ได้ ห้ามสตาร์ทเครื่องยนต์โดยเด็ดขาดและควรลากรถของคุณไปศูนย์บริการที่ใกล้ที่สุด วิธีการนำน้ำออกจากเครื่องยนต์ด้วยตนเอง ? ถอดหัวเทียน (สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน) หรือหัวเผาและหัวฉีด (สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล) ? ใช้เครื่องเป่าลมแรงดันสูง เป่าน้ำที่อยู่ในห้องเผาไหม้ให้แห้ง ? หยอดน้ำมันเครื่องลงในห้องเครื่องหรือลูกสูบ ? หมุนเพลาข้อเหวี่ยงด้วยประแจ เพื่อหล่อลื่นด้านในกระบอกสูบ ? ตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่มีน้ำผสมกับของเหลวอื่นๆ เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก และน้ำมันคลัทช์ (สำหรับรถเกียร์ธรรมดา) ฯลฯ ? ลองเชื่อมต่อขั้วแบตเตอร์รี่ เพื่อตรวจสอบว่าแบตเตอร์รี่มีไฟฟ้าเพียงพอหรือไม่ ? สตาร์ทเครื่องยนต์และขับรถไปยังศูนย์บริการที่ใกล้ที่สุด เพื่อการตรวจสอบและทำความสะอาดอย่างละเอียด และเติมน้ำมันต่างๆให้เต็ม ? ?การพยายามสตาร์ทเครื่องยนต์ที่ถูกน้ำท่วมจะส่งผลให้เครื่องยนต์เสียหายถาวร ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ ? ความสะอาดภายในห้องโดยสารนับเป็นสิ่งสำคัญที่ควรปฏิบัติ เนื่องจากน้ำจากน้ำท่วมมักจะมีแบคทีเรียและสิ่งสกปรกอื่นๆปะปนมาด้วย หากคุณได้จอดรถไว้โดยที่ไม่ได้สตารท์เป็นระยะเวลานาน ในช่วงเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา มีหลายๆคนที่ นำรถไปจอดบนที่สูง ซึ่งหมายความว่ารถอาจจะไม่ได้ถูกสตาร์ทเลยเป็นเวลานาน ซึ่งอาจจะนานหลายอาทิตย์หรือเป็นเดือน โดยปกติแล้วรถจะสามารถจอดไว้ได้นานที่สุดไม่เกิน 6 สัปดาห์ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและสภาพของรถด้วยเช่นกัน หากคุณได้จอดรถไว้เป็นระยะเวลานาน (มากกว่าสองสัปดาห์) ให้ปฏิบัติตามนี้ ? ตรวจสอบระดับของเหลวต่างๆของรถว่าอยู่ในระดับเต็มหรือไม่ ถ้าขาดให้เติมยู่ในระดับมาตรฐาน ? ตรวจสอบรอยรั่วซึมของน้ำมันหล่อลื่นหรือของเหลวต่างๆ ? ตรวจวัดความดันลมยางว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่คู่มือของรถแนะนำ ? ต่อขั้วแบตเตอรี่ ? ลองสตารท์เครื่องยนต์และขับช้าๆ ตรวจดูว่าระบบทุกอย่างทำงานได้ตามปกติหรือไม่ โดยเฉพาะระบบเบรก ? หากคุณรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนจากล้อ นั่นหมายความว่าล้ออาจจะมีบางจุดที่ยางเสียรูปจากการกดทับเป็นเวลานาน แนะนำให้เติมลมยางเพิ่มจากมาตรฐาน 5 ปอนด์ ซึ่งอาจจะต้องขับขี่เป็นระยะทางมากกว่า 100 กม. กว่าที่ยางจะคืนรูปกลับเป็นปกติ ซึ่งการขับในภาวะเช่นนี้จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะบนถนนที่ลื่น ? ขับรถไปที่ศูนย์บริการรถยนต์ที่ใกล้ที่สุด เพื่อตรวจเช็คและเปลี่ยนถ่ายของเหลว หากจำเป็น ? เช็ดล้างและทำความสะอาดรถ โดยให้ลงแว๊กซ์เคลือบเพื่อที่จะลบรอยและสิ่งสกปรกต่างที่เกิดขึ้น การขับรถลุยน้ำท่วม แม้ว่าน้ำในหลายพื้นที่จะลดระดับลงแล้ว แต่ในบางพื้นที่ระดับน้ำก็ยังท่วมสูงอยู่และในบางกรณี คุณอาจจะต้องขับรถลุยน้ำเช่นกัน กฎเหล็กในการใช้รถก็คืออย่าขับรถลุยน้ำหากไม่จำเป็น ประกันรถอาจจะไม่ครอบคลุมในกรณีที่รถเกิดความเสียหายจากการลุยน้ำ แต่หากไม่มีทางเลือก ให้ปฎิบัติตามนี้ ประเมินระดับน้ำว่าอยู่ในระดับไม่เกินครึ่งล้อรถหากระดับน้ำอยู่เลยกึ่งกลางล้อรถ ให้ปิดเครื่องปรับอากาศ เพราะใบพัดอาจจะหักได้หากกระทบโดนน้ำด้วยความเร็วสูง ซึ่งอาจจะเกิดแรงสั่นสะเทือนและเศษจากใบพัดก็อาจจะบาด สร้างความเสียหายกับท่อและระบบเชื่อมต่อขับด้วยความเร็วคงที่ (ไม่เกิน 20 กม./ชม.) การขับแบบนี้จะสร้างคลื่นที่ต่อเนื่องช่วยแหวกน้ำด้านหน้ารถ ซึ่งจะช่วยดันน้ำออกจากตัวรถ และจะช่วยลดระดับน้ำที่อยู่รอบรถด้วยเช่นกัน การเร่งความเร็วจะส่งผลให้น้ำเข้าใต้ท้องรถได้ โดยจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเครื่องยนต์ และอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งจะสร้างความเสียหายกับเครื่องยนต์และระบบไฟฟ้าอย่างมากคุณอาจเลือกที่จะใช้แผ่นพลาสติกคลุมกระจังหน้ารถไปจนถึงกันชนเพื่อกันน้ำที่อาจจะเข้าเครื่องยนต์ได้ แต่เมื่อผ่านพ้นระดับน้ำแล้ว ให้รีบเอาแผ่นคลุมออกทันที เพราะการขับรถโดยคลุมกระจังหน้า จะทำให้ความร้อนขึ้นสูงได้ และในบางกรณีก็อาจจะสร้างความเสียหายต่อเครื่องยนต์เช่นกันอย่าถอนคันเร่ง และอย่าหยุดรถอย่างทันทีทันใด เพราะการกระทำดังกล่าว จะทำให้เกิดแรงดูดในท่อไอเสียขึ้นและดูดน้ำเข้าไปในท่อไอเสียและจะเข้าเครื่องยนต์ได้ ในกรณีที่รถคันเล็ก จะยิ่งรุนแรงกว่า เพราะท่อไอเสียจะสั้นกว่ามาก ก่อนที่จะออกรถให้แน่ใจก่อนว่า ไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆทั้งสิ้นหลังจากที่ขับผ่านน้ำท่วมมาแล้ว ให้ตรวจเช็คระบบเบรก ด้วยการเบรกรถถี่ๆ และให้ทำอย่างนี้เรื่อยๆจนกว่าจะมั่นใจว่าระบบเบรกใช้งานได้ตามปกติ และแห้งสนิท สำหรับผู้ที่ชำนาญการขับรถสามารถใช้เท้าซ้ายเหยียบเบรก ขณะใช้เท้าขวาเหยียบคันเร่งไปพร้อมๆกัน ซึ่งเทคนิคนี้จะอันตรายมาก หากผู้ขับไม่ได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดีในทุกครั้งที่ขับขี่รถยนต์ผ่านบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ผู้ขับขี่จะต้องตรวจสอบระบบเบรกให้อยู่ในสภาพการใช้งานได้ตามปกติ โดยค่อยๆเหยียบเบรกเพื่อลดความเร็ว แล้วทำการเหยียบคันเร่งอย่างช้าๆ ก่อนจะทำการเหยีบเบรกอีกครั้ง โดยให้ทำซ้ำๆ ไปจนกว่าจะแน่ใจว่าระบบเบรกมีการทำงานได้ตามปกติ ให้ขับรถยนต์ของท่านต่อไปประมาณ 20 นาที เพื่อให้น้ำหรือความชื้นที่อยู่ในเครื่องยนต์หรือส่วนต่างๆ ของรถระเหยออกไป หากจำเป็นต้องหยุดรถ ให้สตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งไว้เป็นเวลาประมาณ 20 นาที รวมถึงเปิดเครื่องปรับอากาศไว้ เพราะความร้อนจากระบบปรับอากาศจะช่วยทำให้เครื่องยนต์แห้งเร็วขึ้น ห้ามดึงเบรกมือไว้เด็ดขาด เพราะน้ำที่เข้าไปในระบบทำให้เกิดการติดขัดได้ หากพบความผิดปกติในรถยนต์ เช่น ความสั่นสะเทือน หรือเสียงรบกวนผิดปกติ หลังจากที่ขับรถฝ่าบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ให้นำรถยนต์ของท่านเข้ารับบริการตรวจสภาพรถที่ศูนย์บริการที่ใกล้ที่สุด “ในบางกรณี เราอาจไม่ต้องการปรับเปลี่ยนสภาพรถยนต์เพราะอาจส่งผลต่อเงื่อนไขการรับประกัน และอาจผิดกฏหมายในการเปลี่ยนสภาพรถให้สูงขึ้น จึงมีทางเลือกอื่น นั่นคือการต่อท่อไอดีให้สูงขึ้น หรือที่เรียกว่า สน็อร์กเกิล และเคล็ดลับนี้เหมาะแก่การขับรถฝ่าบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง เพราะการที่รถมีท่อไอดีสูงนั้นจะทำให้น้ำเข้าสู่ท่อร่วมไอดีได้ยาก” คุณกุญญาวัฒน์ กล่าว “อุปกรณ์บางอย่างในรถยนต์ เช่น ระบบเฟืองท้าย หรือชุดเกียร์ มีระบบท่อหายใจ ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้น้ำท่วมเข้าระบบได้ดังนั้นควรมีการปรับปรุงต่อท่อหายใจต่างๆ ให้อยู่ในระดังที่สูงขึ้น หากจำเป็นจะต้องขับรถในบริเวณที่มีน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ เพราะถ้าน้ำเข้าไปในอุปกรณ์เหล่านี้ จะมีการผสมกับน้ำมันต่างๆ ซึ่งจะส่งผลทำให้ระบบนั้นๆ ขัดข้องได้” คุณกุญญาวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติม ตามที่คุณกุญญาวัฒน์ ได้กล่าวมานั้น นอกเหนือจากการติดตั้งท่อไอดีรถให้อยู่ในระดับสูงแล้ว รถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล รวมถึงรถเก๋งที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล จะได้เปรียบกว่ารถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซิน หากมีการขับขี่ในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง “รถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล จะมีอัตราส่วนกำลังอัดที่สูงและมีแรงดันที่มากกว่าในระบบไอเสีย จึงทำให้โอกาสที่น้ำจะเข้าสู่ท่อไอเสียนั้นมีน้อยกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ขับรถโดยที่ปลายท่อไอเสียจมน้ำ อย่างไรก็ตามการบีบอัดสูงยังส่งผลให้การทำงานของท่อไอดีลดลง ผู้ขับขี่จึงต้องระมัดระวังไม่ให้น้ำเข้าไปในเครื่องยนต์เด็ดขาด” คุณกุญญาวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติม เครื่องยนต์ดีเซลนั้นไม่มีระบบหัวเทียน จึงทำให้โอกาสในการที่น้ำเข้าไปรบกวนระบบจุดระเบิดของเครื่องยนต์มีน้อยลง ซึ่งต่างกับรถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซิน นอกจากนั้น รถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลมีแรงบิดที่สูงกว่าในรอบเครื่องยนต์ที่ต่ำ จึงเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งานในถนนที่มีน้ำท่วมขัง คุณกุญญาวัฒน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า “เคล็ดลับเหล่านี้จะเป็นประโชยน์ต่อผู้ขับขี่รถยนต์ ซึ่งหากมีการขับรถในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ผู้ขับขี่ควรนำรถไปตรวจสอบสภาพของรถยนต์ ณ ศูนย์บริการฯ หากไม่แน่ใจว่ารถยนต์ของท่านอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ สำหรับลูกค้ารถยนต์เชฟโรเลต สามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับบริการตรวจสอบสภาพรถยนต์ได้ที่หมายเลข 1734” สำหรับข้อมูลหรือรูปภาพเพิ่มเติม www.media.gm.com หรือ www.chevrolet.co.th พันธมาศ กรีกุล กฤษณา วิทยานนท์ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด โทร.+662 791 3400 โทร.+662 791 3400 อีเมล์: pantamas.krikul@gm.com อีเมล์: krisna.witayanonta@gm.com ปภาดา ตวงหิรัญวิมล สถาปนา กาญจนประกร เวเบอร์ แชนวิค เวเบอร์ แชนวิค แมคแคน เวิลด์กรุ๊ป แมคแคน เวิลด์กรุ๊ป โทร. +662 343 6057, โทร. +662 343 6178, อีเมล์: paphada@webershandwick.com อีเมล์: satapana@webershandwick.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ