ใหม่ล่าสุด วิธีทดสอบหาเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกในสตรี

ข่าวทั่วไป Monday January 16, 2012 09:53 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ม.ค.--Spindler & Associates รายแรกและรายเดียวที่ได้รับการรับรองจาก องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา และได้รับการรับรองเครื่องหมาย CE Mark ของยุโรป ในการตรวจหา HPV สายพันธุ์ 16 และ HPV สายพันธุ์ 18 แบบเจาะจงโดยระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบเข้าสู่ยุคใหม่ของแพทย์ไทยสามารถรับมือในการดูแลรักษาที่เหมาะสมมากขึ้น วิธีทดสอบใหม่ของ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ พร้อมให้บริการแล้วในประเทศไทย สำหรับการตรวจหาเชื้อที่มีความเสี่ยงสูงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกแบบระบุสายพันธุ์ ซึ่งเป็นมะเร็งประเภทที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของสตรีในประเทศไทยi สำหรับวิธีทดสอบเพื่อตรวจหาสายพันธุ์ Human Papilomavirus (HPV) ด้วยวิธีใหม่ของ บริษัท โรช ซึ่งเป็นสาเหตุเกือบทั้งหมดของการเกิดมะเร็งปากมดลูกมากกว่าร้อยละ 99ii,iii,iv วิธีทดสอบนี้มีความพิเศษคือสามารถรายงานผลแยกเป็นผลตรวจของ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ชนิดเสี่ยงสูงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกถึงร้อยละ 70 ในกลุ่มสตรีทั่วโลก และ ร้อยละ 74 สำหรับกลุ่มสตรีไทยii ด้วยเทคนิคการตรวจคัดกรองที่ใช้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจแบบแพปเสมียร์ (Pap smear) ไม่สามารถตรวจพบถ้าผู้ป่วยติดเชื้อ HPV กลุ่มสายพันธุ์เสี่ยงสูงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก (รวมถึง HPV สายพันธุ์ 16 และ 18) และอาจจะพลาดโอกาสในการรับทราบถึงรอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูก เพื่อเป็นการลดจำนวนอัตราผู้ป่วย และอัตราการตายจากมะเร็งปากมดลูก ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำด้านสุขอนามัยของสตรีมีข้อแนะนำให้เพิ่มการตรวจหาเชื้อ HPV สำหรับโปรแกรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกขั้นตอนแรก การเพิ่มการตรวจหาเชื้อ HPV พร้อมกับตรวจแพปเสมียร์ในเวลาเดียวกัน หมายถึงผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจและติดเชื้อ HPV กลุ่มสายพันธุ์เสี่ยงสูงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก แพทย์จะสามารถดูแลรักษาผู้ป่วยตั้งแต่ขั้นตอนรอยโรคก่อนมะเร็ง และช่วยป้องกันไม่ให้พัฒนาต่อไปเป็นมะเร็งปากมดลูก การวินิจฉัยในช่วงก่อนรอยโรคมะเร็งมีความสำคัญมาก เพราะมีโอกาสรักษาโรคให้หายได้สูงถึงร้อยละ 98 อย่างไรก็ตามหากเชื้อพัฒนาไปสู่การเป็นมะเร็ง และแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นในร่างกาย กลุ่มสตรีที่มีชีวิตรอดมาหลังจาก 5 ปี จะมีโอกาสที่จะสามารถรักษาเหลือน้อยลงเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นv “โดยปกติการติดเชื้อ HPV เป็นเรื่องปกติธรรมดา สตรีร้อยละ 75 มีโอกาสสัมผัสเชื้อ HPV ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งในชีวิต ด้วยการเปิดตัววิธีทดสอบเพื่อตรวจหาสายพันธุ์ HPV ของ บริษัท โรช ทำให้ปัจจุบันเราสามารถที่จะตรวจหาเชื้อกลุ่มสายพันธุ์เสี่ยงสูงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรี และสตรีที่ติดเชื้อกลุ่มสายพันธุ์เสี่ยงสูงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกโดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และ 18 ด้วยวิธีทดสอบนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อทางการแพทย์ที่จะสามารถดูแลจัดการการรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น” นายพิเชษฐพงษ์ ศรีสุวรรณกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว ในแต่ละปีสตรีทั่วโลกเกือบ 500,000 คน ที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก และครึ่งหนึ่งของสตรีเหล่านั้น ต้องเสียชีวิตลงvi โดยส่วนใหญ่ของการเสียชีวิตนี้เกิดขึ้นในสตรีที่อยู่ในทวีปเอเชียซึ่งถือเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 52 ของสตรีทั่วโลกที่ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกvi และจากการที่ยังไม่มีการพัฒนาวิธีตรวจหาเชื้อที่มีประสิทธิภาพทำให้อัตรการเสียชีวิตของสตรีที่ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยมีแนวโน้มว่าตัวเลขขยับขึ้นสูงถึงร้อยละ 51 ในช่วงระหว่างพ.ศ. 2551-2568ii ด้าน ศ. วอร์เนอร์ เค ฮา ศาสตราจารย์จากภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา สาขามะเร็งนรีเวชวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยอะลาบามา เข้าร่วมบรรยายในงานเปิดตัววิธีทดสอบเพื่อตรวจหาสายพันธุ์ HPV เชื่อว่า การตรวจหาเชื้อ HPV กลุ่มสายพันธุ์เสี่ยงสูงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะขจัดโรคมะเร็งปากมดลูกให้หมดไป “จากผลการศึกษาที่มีชื่อว่า ATHENA เป็นการศึกษาวิจัยที่ใช้กลุ่มประชากรขนาดใหญ่ด้วยสตรีจำนวน 47,000 คน ด้วยวิธีทดสอบเพื่อตรวจหาสายพันธุ์ HPV ของบริษัท โรชพบว่า 1 ใน 10 ของสตรีที่ตรวจพบเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 เสี่ยงต่อการเป็นรอยโรคก่อนมะเร็ง แม้ว่าผลการตรวจของแพปเสมียร์เป็นปกติ ซึ่งตรงนี้แสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดของการตรวจแบบแพปเสมียร์อย่างเดียว” “การศึกษา ATHENA ยังได้พบอีกว่า สตรีที่ตรวจพบการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 มีความเสี่ยงถึง 35 เท่าที่มีความเสี่ยงต่อการพัฒนาเป็นรอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูกมากกว่ากลุ่มที่ตรวจไม่พบเชื้อ HPV vii,viii สมาคมแพทย์ American Society for Colposcopy and Cervical Pathology ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกคำแนะนำการดูแลสตรีที่มีผลตรวจ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นบวก แนะนำให้ส่งตรวจทาง Colposcopy ทันทีเพื่อติดตามการวินิจฉัยต่อไป” ศาสตราจารย์ ฮา กล่าว ในส่วนของ นายแพทย์ วิสิทธ์ สุภัครพงษ์กุล นายกสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย (TGCS) และหัวหน้าแผนกศูนย์สุขภาพหญิง และหัวหน้าแผนกมะเร็งนรีเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เชื่อว่าการตรวจแบบแพปเสมียร์ ยังไม่เพียงพอต่อการวินิจฉัยโรค ดังนั้นควรใช้วิธีตรวจหาเชื้อ HPV ร่วมกัน 2 วิธี จะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดมะเร็งปากมดลูกของสตรีไทยได้เป็นอย่างดี “วิธีทดสอบเพื่อตรวจหาสายพันธุ์ HPV เป็นยุคใหม่ในการตรวจหาและป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก ผลของเป้าหมายที่วางเอาไว้มีความคุ้มค่าสามารถช่วยเหลือในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยที่มีเชื้อที่มีความเสี่ยงสูงที่จะพัฒนาต่อไปเป็นมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตัดสินใจในการเลือกวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาผู้ป่วยซึ่งช่วยให้มั่นใจว่าได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด” นายแพทย์ วิสิทธิ์ กล่าว “จากการที่อัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยมีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นii ถือเป็นเรื่องสำคัญมากที่ควรจะต้องตรวจหาเชื้อที่มีความเสี่ยงต่อการพัฒนาต่อไปเป็นมะเร็งปากมดลูกแบบระบุสายพันธุ์ตั้งแต่เนิ่นๆ และมีผลตรวจที่แม่นยำเพื่อนำไปสู่การดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไป” โดยทั่วไปหลังจากการติดเชื้อ HPV จะยังไม่แสดงอาการออกมา ดังนั้นการตรวจหา HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ถือเป็นสิ่งสำคัญix, x ซึ่งวิธีการทดสอบนี้จะปฏิบัติโดยแพทย์ทั่วไปหรือ สูตินารีแพทย์ ซึ่งสามารถตรวจพร้อมกับการตรวจแบบแพปเสมียร์ได้ในเวลาเดียวกัน เกี่ยวกับ Roche มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองบาเซล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โรช (Roche) เป็นผู้นำทางการวิจัยที่มุ่งเน้นในการดูแลรักษาสุขภาพโดยมีการผสมผสานจุดแข็งทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ยา และด้านการวินิจฉัยเข้าด้วยกัน โรช (Roche) เป็น บริษัท Biotech ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมาพร้อมกับยาที่มีความหลากหลายในเรื่องของการรักษาเนื้องอก, โรคที่เกี่ยวกับไวรัส, การอักเสบ, การเผาผลาญอาหารและ CNS อีกทั้ง Roche ยังเป็นผู้นำของโลกในการวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ การวินิจฉัยโรคมะเร็งจากเนื้อเยื่อ และเป็นผู้บุกเบิกในการจัดการโรคเบาหวาน กลยุทธ์การดูแลสุขภาพส่วนบุคคลของ Roche มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระจายยาและเครื่องมือวินิจฉัยให้เข้าถึงทุกความต้องการเพื่อปรับปรุงสุขภาพ คุณภาพชีวิตและความอยู่รอดของผู้ป่วย ในพ.ศ 2553 Roche มีพนักงานทั่วโลกกว่า 80,000 คน และจัดสรรงบประมาณลงทุนมากกว่า 9,000 ล้านฟรังก์สวิสส์เพื่อการวิจัยและพัฒนาโดยเฉพาะ โดยมียอดรายได้จากการขายของกลุ่มบริษัทเป็นจำนวนเงินกลุ่ม 49,100 ล้านฟรังก์สวิสส์ สำหรับบริษัท Genentech ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นบริษัทในกลุ่ม Roche ที่ทาง Roche ถือหุ้นทั้งหมด อีกทั้งบริษัทยังถือหุ้นใหญ่ในบริษัท Chugai Pharmaceutical ประเทศญี่ปุ่น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม : www.roche.co.th เครื่องหมายการค้าทั้งหมดที่ใช้หรือกล่าวถึงในเอกสารข่าวชุดนี้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ข้อมูลอ้างอิง i World Health Organization, Human Papillomavirus and Related Cancers Thailand, available at http://apps.who.int/hpvcentre/statistics/dynamic/ico/country_pdf/THA.pdf, last accessed 19 December 2011 iiBurd, Eileen M. Human Papillomavirus and Cervical Cancer. Clinical Microbiology Reviews. 2003; 16:1-17 iii Walboomers, Jan M.M., Marcel V. Jacobs, M. Michele Manos, et al. Human Papillomavirus is a Necessary Cause of Invasive Cervical Cancer Worldwide. Journal of Pathology. 1999; 189:12-19 IVzur Hausen, H. Papillomavirus and Cancer: From Basic Studies to Clinical Applications. Nat Rev Cancer. 2002; 2(5): 342-50 - Cancer Research UK. Cervical cancer statistics and outlook, available at http://www.cancerhelp.org.uk/type/cervical-cancer/treatment/cervical-cancer-statistics-and-outlook, last accessed 15 June 2011 - i Ferlay J et al. GLOBOCAN 2008 Cancer Incidence and Mortality Worldwide. IARC CancerBase No10; Lyon, France 2010 - ii Stoler M, et al. cobas 4800 HPV Test Performance for ?CIN2 and ?CIN3 detection in women with ASC-US: ATHENA results. 26th International Papillomavirus Conference. Montr?al, Canada, July 3—8, 2010; P-417. - iiiWright T, et al. 26th IPV Conference. Montr?al, Canada, July 3—8, 2010. Abstract O-506. ix Centres for Disease Control and Prevention, Sexually Transmitted Diseases: Human Pappilomavirus, available at http://www.cdc.gov/std/hpv/stdfact-hpv.htm, last accessed 3 June 2011 x Centres for Disease Control and Prevention, Sexually Transmitted Disease: Common Questions about HPV and Cervical Cancer, available at http://www.cdc.gov/std/hpv/common-questions.htm, last accessed 3 June 2011

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ