วาโซ่ เทรนนิ่ง จัดอบมรในหัวข้อ กลยุทธ์ชิงความได้เปรียบสิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA และกฎแหล่งกำเนิดสินค้า

ข่าวทั่วไป Thursday January 5, 2012 16:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 ม.ค.--วาโซ่ กลยุทธ์ชิงความได้เปรียบสิทธิประโยชน์ภายใต้ FTAและกฎแหล่งกำเนิดสินค้า FTA and Rules of Origin Strategies 2012 อบรมวันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2555 ณ ห้องสัมมนา คีนคอนเฟอเรนซ์ ชั้น 4 KEEN Conference ห้างสรรพสินค้าพาราไดซ์ พาร์ค (ฝั่งโฮมโปรหรือ ตลาดเสรีมาร์เก็ต) ถนนศรีนครินทร์ Rational and Significance ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐได้ทำความตกลงเขตการค้าเสรี FTA มากมาย แต่ภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจนำเข้า/ส่งออก ยังไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรอย่างเต็มที่นัก โดยเฉพาะการเลือกใช้ FTA ไหนให้ประหยัดภาษีมากที่สุด และผู้ประกอบการควรใช้ประโยชน์จาก FTA ต่าง ๆ ในการปรับโครงสร้างการผลิตให้สอดคล้องกับกฎแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละ FTA เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์สูงสุด ดังนั้นประเด็น “กฎแหล่งกำเนิดสินค้า” จึงเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายอย่างมากต่อการค้าระหว่างประเทศในช่วงเวลานี้และต่อไปในอนาคต ในสภาพการแข่งขันทางการตลาดที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรง นอกจากนี้ภาครัฐโดยกรมศุลกากรและกรมค้าต่างประเทศในปัจจุบันยังเน้นการตรวจสอบ (Post Audit) มากขึ้นในประเด็นกฎแหล่งกำเนิดสินค้าและใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O) ดังนั้นผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อมต่อการตรวจสอบที่เข้มงวดมากขึ้นในการใช้สิทธิ์ตาม Rules of Origin เหล่านี้ด้วยอย่างถูกต้องและปลอดภัย บริษัทฯ จึงทำการจัดอบรมสัมมนาหัวข้อ “กลยุทธ์ชิงความได้เปรียบสิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA และกฎแหล่งกำเนิดสินค้า 2012” ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออกในการเข้าใจถึงเขตการค้าเสรี FTA ต่าง ๆ และสามารถเลือกใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด Training Schedule 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-16.30 น - บทสรุปและการเปรียบเทียบ 10 เขตการค้าเสรีของประเทศไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ ATIGA (AFTA เดิม), ACFTA, AJCEP, AKFTA, AANZFTA, TAFTA, NZTCEPA, ITFTA, JTEPA และ ITFTA - Update การเปลี่ยนแปลงล่าสุดสำหรับ “ความตกลงการค้าเสรี ASEAN-China FTA หรือ ACFTA” - การซื้อขายผ่านประเทศที่สามภายใต้เงื่อนไข Third Party (Country) Invoicing - การส่งออกผ่าน Agent ในจีน กับ Form E ปลอม - กรณี Movement Certificate, Through Bill of Lading - กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA Rules of Origin) - การปฏิบัติพิธีการศุลกากรนำเข้า กรณี Back-to-Back Form D - ข้อยกเว้นในเรื่องเกณฑ์ขั้นต่ำ DE MINIMIS - กรณีกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้าฉบับทบทวน (Revised PSR) - การคำนวณสัดส่วนต้นทุนมูลค่าการผลิตในประเทศภาคี (Regional Value Content) - การสะสมแหล่งกำเนิดสินค้าแบบบางส่วน (Partial Cumulative) - การส่งผ่านประเทศนอกภาคีอาเซียน (สามารถทำได้หรือไม่? อย่างไร?) - Update 2011 กรอบสินค้าและกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงอื่น ๆ ได้แก่ AJCEP, AKFTA, AANZFTA, TAFTA, NZTCEP, ITFTA, JTEPA และ ITFTA - การระบุวิธีการดำเนินการเพื่อให้ศุลกากรสามารถตรวจปล่อยสินค้าได้โดยสะดวกมากขึ้นในกรณีมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เช่น พิกัดอัตราศุลกากร แต่ไม่กระทบต่อค่าอากรและกฎแหล่งกำเนิดสินค้า - Update ระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self Certification System: SC) ของผู้ส่งออกที่มีสิทธิรับรองตนเองหรือที่เรียกว่า “Certified Exporter” เป็นโอกาสและความท้าทายใหม่ของผู้ส่งออกไทยเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุค AEC (ASEAN Economic Community) ภายในปี 2015 - กลยุทธ์การเลือกใช้สิทธิประโยชน์ตามกฎแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อเชื่อมโยงกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรประเภทอื่น ๆ ได้แก่ Free Zone, BOI และBonded Warehouse - การขอสงวนสิทธิ์การขอคืนอากร กรณีไม่สามารถนำ Form เพื่อใช้สิทธิ FTA มาแสดงต่อศุลกากรได้ทันขณะที่นำเข้า - การบริหารความเสี่ยงกรณีการวางประกัน เช่น กรณีพิกัดต่างทำให้อากรแตกต่างกันภายใต้ FTA ประเภทต่าง ๆ - การใช้พิกัดอัตราศุลกากรระบบ HS 2012 และ AHTN ใน Form ประเภทต่าง ๆ - ประเด็นพิธีการศุลกากรอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบการมักกระทำผิดเกี่ยวกับกฎแหล่งกำเนิดสินค้า พร้อมแนวทางแก้ไข - การวางแผนการใช้บริการวินิจฉัยถิ่นกำเนิดสินค้าล่วงหน้า (Advanced Rules of Origin Ruling) และประเด็นความเสี่ยงที่พึงระวัง - แนวทางการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย (Customs Post Audit) - ประเด็นกฎแหล่งกำเนิดสินค้าและใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O) ของผู้ประกอบการ - ประเด็นที่ผู้ประกอบการมักปฏิบัติผิดพลาดเกี่ยวกับ Form ประเภทต่าง ๆ - ความเสี่ยงและเบี้ยปรับจากการถูก Post Audit - เทคนิคการเอาตัวรอดจากการถูกตรวจสอบ - ข้อแนะนำในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อรับการตรวจสอบ - ประเด็นสินค้าอ่อนไหว (Sensitive List) และสินค้ายกเว้น (Exclusion List) กับประเด็นการถูกตรวจสอบ Instructor ดร.สิทธิชัย พรหมสุวรรณ - ผู้ชำนาญการศุลกากร กรมศุลกากร - Partner ของ กลุ่มบริษัทสยามเคาน์ซิล - อดีตผู้จัดการ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด Registration Fee ราคา ภาษี 7% รวม ค่าอบรม 3,200.00 224.00 3,424.00 กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510 How to Apply สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2 หรือ แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231 Payment Method เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2 แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 029062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจากต่างจังหวัด) Notice of Cancellation ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วม สัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วันทำการ หากไม่แจ้งตามกำหนด ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน Remark การส่งพนักงานเข้าอบรมสัมมนากับWASO Training Center นอกจากจะนำความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรไปประยุกต์ใช้แล้ว สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 200% ตามพระราชกฤษฏีกา ที่ 437

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ