ดัชนีวัดสุขภาพและคุณภาพชีวิตของฟิลิปส์ระบุ คนไทยพึงพอใจ กับสุขภาพและความเป็นอยู่ของตนตรงข้ามกันกับผู้สูงอายุ

ข่าวทั่วไป Tuesday March 13, 2012 16:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ - ความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ครอบครัว และเพื่อนร่วมงานมีผลอย่างมากกับความรู้สึกโดยรวมด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคนไทย - คนไทยที่มีอายุเกินกว่า 65 ปี เชื่อว่าสุขภาพเป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้ - ฟิลิปส์เริ่มโปรเจ็ค เดอะ พลัส ในประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนและชุมชมได้มีโอกาสแบ่งปันไอเดียกับฟิลิปส์ในการจัดการกับปัญหาด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ประชาชน บริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด แถลงผลการสำรวจมุมมองและพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทย (อายุ 18 ขึ้นไป) ที่มีต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต ดัชนีวัดสุขภาพและคุณภาพชีวิตของไทยจากฟิลิปส์ประจำปี 2554 (Philips Index: Thailand’s Health & Well-Being Report 2011) แสดงให้เห็นว่าคนไทยโดยทั่วไปรู้สึกพอใจกับภาพรวมด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ของตน โดยคนไทยกว่า 60% ให้คะแนนภาพรวมของสุขภาพและความเป็นอยู่ของตนในขั้นดีและดีมาก แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกในเชิงบวกนี้จะลดลงในประชากรที่อยู่ในวัยกลางคนและสำหรับประชากรผู้สูงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีความเชื่อว่าสุขภาพเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก คะแนนความพึงพอใจในสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนไทยโดยรวมเมื่อนำปัจจัยอื่นๆมาพิจารณาด้วย อาทิ ความพึงพอใจในอาชีพ ระดับความเครียดและความสัมพันธ์ที่มีต่อคนรอบข้าง จะมีคะแนนที่อยู่ที่ 66 คะแนน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัจจัยต่างๆเหล่านี้มีอิทธิพลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมาก นอกจากนี้รายงานยังชี้ให้เห็นว่า ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความรู้สึกว่าตนเองมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีเช่น ปัจจัยด้านการเงิน ความเครียด และน้ำหนัก คนไทยมองว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ตนเองอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสายตาเสื่อม โรคไขข้อ การสูญเสียความทรงจำ ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง เบาหวานและคอเลสเตอรอลสูง จากผลสำรวจ คนไทยในบางช่วงอายุจำนวนกว่าครึ่งมีการตรวจสุขภาพประจำปี กล่าวคือหนึ่งในสามของคนที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี มีการตรวจสุขภาพปีละครั้ง ส่วนผู้มีอายุระหว่าง 55-64 ปีมีการตรวจสุขภาพมากกว่าคนที่อายุ 18-24 ปีถึงสองเท่า ดัชนีวัดสุขภาพและคุณภาพชีวิตของไทยจากฟิลิปส์ประจำปี 2554 (Philips Index: Thailand’s Health & Well-Being Report 2011) ยังสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงของคนไทยในสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะแรงผลักดันของความเจริญในสังคมเมืองและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผลจากการสำรวจทำให้ฟิลิปส์ได้จัดทำโครงการ เดอะ พลัส โปรเจ็ค สร้างสรรค์สิ่งดีจากฟิลิปส์ เพื่อหาแนวทางที่จะสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่คนไทยเผชิญอยู่ทุกวันนี้ ด้วยการส่งไอเดียสร้างสรรค์ในสามหัวข้อ คือ เมืองน่าอยู่, อยู่อย่างมีคุณภาพ และเส้นทางสุขภาพดี โดยสามไอเดียที่ดีที่สุดจะถูกนำมาสร้างเป็นโครงการจริงโดยฟิลิปส์จะสนับสนุนงบประมาณการดำเนินการและจะเข้าไปร่วมมือกับองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แน่ใจว่าไอเดียนั้นจะถูกนำมาทำให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยตลอดการแข่งขัน ผู้เชี่ยวชาญของฟิลิปส์จะเลือกผู้ชนะ 3 แนวคิดประจำรอบการแข่งขัน 8 รอบ จนได้ 24 ผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย โดยผู้ที่สนใจสามารถส่งแนวคิดมาได้ที่ www.philips.co.th / plus ตั้งแต่วันนี้จนถึง 20 พฤษภาคม "ดัชนีวัดสุขภาพและคุณภาพชีวิตของไทยจากฟิลิปส์ ช่วยสร้างความเข้าใจให้กับฟิลิปส์ในเรื่องมุมมองและความรู้สึกที่ผู้บริโภคมีต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของตน ซึ่งจะทำให้เราสามารถที่จะเข้าไปมีส่วนช่วยนำเสนอโซลูชั่นเพื่อ ตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตเหล่านั้นให้แก่ผู้บริโภคได้” คุณวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์, ผู้จัดการทั่วไปกลุ่มธุรกิจเพื่อการแพทย์และการดูแลสุขภาพ บริษัทฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว "ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงได้จัดทำโครงการ “เดอะ พลัส” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการเข้าไปมีส่วนร่วมพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนไทย โดยส่งเสริมให้คนไทยทุกๆ คนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างเมืองที่น่าอยู่มากขึ้น ช่วยผู้คนให้มีสุขภาพที่ดี และช่วยให้การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่สามารถเข้าถึงได้ ด้วยนวัตกรรมและโซลูชั่นจากฟิลิปส์ โครงการของเรามีงบประมาณสนับสนุนประมาณ 50, 000 เหรียญสหรัฐ (หรือประมาณ1.5 ล้าน ถึง 2 ล้านบาท) " คุณวิโรจน์กล่าวเพิ่มเติม จากผลสำรวจพบว่า: ความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย เพื่อความเข้าใจถึงมุมมองและพฤติกรรมที่จะสร้างสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีคนไทย ฟิลิปส์ ได้ตั้งคำถามว่าปัจจัยใดที่มีความสำคัญต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตและผู้บริโภคมีความพึงพอใจอย่างไรต่อปัจจัยเหล่านั้น ความแตกต่างในด้านลบระหว่างความสำคัญกับความพึงพอใจแสดงให้เห็นว่าสุขภาพและคุณภาพชีวิตของบุคคลนั้นๆมีผลมาจากปัจจัยต่างๆรอบตัว ในขณะเดียวกัน ความแตกต่างในด้านบวกคือตัวช่วยชี้แนะให้เห็นว่าปัจจัยใดที่จะช่วยสร้างสุขภาพและคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ จากการสำรวจพบว่าเรื่องการเงิน ความเครียดและน้ำหนักตัว เป็นปัจจัยที่ส่งผลอย่างมากต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต และคนไทยเพียง 6 จาก 10 เท่านั้นที่มีควาพอใจในหัวข้อดังกล่าว นอกจากนี้ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อครอบครัว เพื่อนสนิทและเพื่อนร่วมงาน โดยระดับความพึงพอใจในความสัมพันธ์ที่มีต่อคนรอบตัวมีปริมาณที่ใกล้เคียงกับระดับความสำคัญที่พวกเขาเหล่านั้นมีต่อคนรอบตัวเช่นกัน โรคอ้วนทำให้เกิดความกังวลเรื่องสุขภาพ น้ำหนักตัวเป็นเรื่องที่สร้างความกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิงไทย 1 ใน 4 ของผู้หญิงเห็นว่าในอีกห้าปีข้างหน้า ความอ้วนจะเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของพวกเขา ในขณะที่เพียง 14% ของผู้ชายมีความกังวลในแบบเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่ามีจำนวนผู้หญิงที่ไม่พอใจกับน้ำหนักของตนเองมากกว่าผู้ชายถึง 4 เท่า ทั้งนี้ความไม่พอใจอาจเกิดจากความจริงที่ว่าผู้หญิงในประเทศไทยมีโอกาสที่จะเป็นโรคอ้วนได้มากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า[1] สุขภาพชีวิตที่ดีเริ่มต้นที่บ้าน คนไทยส่วนใหญ่มองว่าสุขภาพเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล และสุขภาพดีสร้างได้ด้วยตัวเอง ซึ่งผู้หญิงจะตระหนักถึงความสำคัญถึงเรื่องการดูแลสุขภาพมากกว่าผู้ชาย จากผลการสำรวจพบว่า คนไทยจำนวนน้อยกว่า 1 ใน 10 รู้สึกว่าพวกเขาไม่สามารถควบคุมสุขภาพของตนเองได้ และความเชื่อดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าเมื่อสอบถามกลุ่มคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุไปพบแพทย์บ่อยครั้งมากที่สุดเมื่อเทียบกับคนช่วงอายุอื่น และกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปมีการตรวจสุขภาพประจำปี ขณะที่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปีมีการพบแพทย์ประจำปี และเกือบ 6 ใน 10 ไม่เคยไปพบแพทย์เลย องค์การอนามัยโลก กล่าวว่าประเทศไทยมี ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในความสำเร็จของการพัฒนาด้านสุขภาพ แม้จะมีโรคติดเชื้อ อย่าง เอดส์และวัณโรค ที่ยังคงเป็นปัญหาที่ร้ายแรง รวมถึงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและอัตราการตาย[2] จากรายงานเศรษฐกิจล่าสุดเกี่ยวกับเมืองน่าอยู่ที่มีการจัดอันดับเมืองน่าอยู่โดยพิจารณาถึงปัจจัยเรื่องความมั่นคง การดูแลสุขภาพ วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อม การศึกษา และระบบสาธารณูปโภค ได้จัดอันดับให้กรุงเทพมหานครอยู่อันดับที่ 101 จาก 140 เมืองที่สำรวจ[3] ดัชนีวัดสุขภาพและคุณภาพชีวิตของไทยจากฟิลิปส์สะท้อนให้เห็นว่า คะแนนความพึงพอใจของผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและบริเวณโดยรอบมีต่ำกว่าคนที่อาศัยอยู่ในภาคอื่นๆ คนในกรุงเทพฯ มีความพึงพอใจในชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่ค่อนข้างน้อยและการอยู่ในเมืองยังมีผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่เนื่องจากการปริมาณพื้นที่สีเขียวในเมืองมีอยู่น้อย, การทำลายระบบนิเวศในท้องถิ่น, มลพิษทางเสียง ทิวทัศน์และกลิ่น ลิงค์เว็บไซต์ ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมและทดลองตรวจสอบความพึงพอใจในสุขภาพและคุณภาพชีวิตของตัวเองเพื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นๆได้ที่ http://www.yourhealthandwellbeing.asia/health-and-well-being-in-asia/health-well-being-index และสามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆที่ฟิลิปส์จัดทำขึ้นเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ http://www.philips-thecenter.org/. สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ โปรเจ็ค เดอะ พลัส กรุณาเข้าไปที่ The ‘+’ Project website (www.philips.co.th/plus). ท่านสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของฟิลิปส์ประเทศไทย ผ่านทาง Facebook (www.Facebook.com/philipsthailand) และ Twitter (www.Twitter.com/philips_th ) [1] ข้อมูลจาก World Health Organisation, Thailand: Health Profile, 2008 [2] ข้อมูลจาก World Health Organization - "Thailand - Country cooperation strategy: At a glance", May 2010 [3] ข้อมูลจาก http://www.economist.com/node/21016172
แท็ก ครอบครัว  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ