เนคเทค ขอเชิญร่วมงานสัมมนา Getting Ready for Next Generation Internet (IPv6) วันที่ 11 พ.ค. 47 รร.อมารี วอเตอร์เกท

ข่าวทั่วไป Friday May 7, 2004 09:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 พ.ค.--เนคเทค
เป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่าอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของคนเรามากขึ้นไม่แพ้การใช้โทรศัพท์มือถือดังจะสังเกตได้ชัดจาก email address ที่ปัจจุบันกลายเป็นฟิล์ดมาตรฐานในนามบัตรหรือในแบบฟอร์มใบสมัครทั่วไป นอกจากนี้แล้วในปัจจุบันการชำระภาษีเงินได้ก็หรือแม้แต่การอ่านหนังสือพิมพ์ก็ยังสามารถทำได้บนอินเทอร์เน็ต จึงไม่น่าแปลกใจที่ตัวเลขจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศจะเพิ่มสูงถึงกว่า 6 ล้านคนในปัจจุบันและยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าพิจารณาอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรอินเทอร์เน็ตโลกปัญหาที่จะเกิดตามมาก็คือจำนวน IP Address ที่มีอยู่อย่างจำกัดจะไม่เพียงพอต่อความต้องการในอนาคตอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม IETF ก็ได้เล็งเห็นปัญหานี้ตั้งแต่ปีค.ศ. 1992 โดยจัดตั้ง working group เพื่อที่จะออกแบบ IPng protocol หรือ IP next generation และในที่สุด ปลายปีค.ศ. 1994 IETF ได้กำหนดมาตรฐาน IPng ออกมาเป็นที่รู้จักกันในนาม IPv6 หรือ Internet Protocol version 6 ซึ่งจะมาแทนที่ IP version 4ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แม้ว่า IPv6 จะถูกออกแบบมาอย่างสมบูรณ์แบบทั้งขนาด IP Address ที่ขยายเป็น 128 บิตและ header ที่กะทัดรัดแต่มี option มากขึ้น IPv6 เองก็ยังไม่ถูกนำมาแทนที่ IP รุ่นเก่าอย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้เป็นเพราะปัญหาการขาดแคลน IP address ดูไม่รุนแรงสำหรับผู้ใช้และไม่มีกำหนดวันปรับเปลี่ยนที่ตายตัวเหมือน Y2Kอีกทั้งปัญหาการขาดแคลน IP Address ยังถูกชะลอด้วยเครื่องมือและโปรแกรมต่างๆ ที่ช่วยเอา IP Address มา reuse หรือ ทำให้ใช้ private IP address แทนได้ เช่น DHCP และ NATเป็นต้น อย่างไรก็ตามการใช้งานอินเทอร์เน็ตบางลักษณะจะต้องอาศัย IP address จริงหรือ global IP address เท่านั้น เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ Server หรือเครื่องฯที่อาศัย peer-to-peer protocol ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทมากตามกระแสการใช้บอร์ดแบนอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นเพราะผู้ใช้เหล่านี้โดยมากต้องการเครื่องที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตค้างอยู่ตลอดเวลาและต้องมองเห็นได้จากเครื่องฯอื่นทั่วโลก
นอกจากนี้เราจะพบว่าไม่เฉพาะแต่เครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้นที่ต้องการ IP Address ทุกวันนี้แม้แต่โทรศัพท์มือถือ PDA Game-console รวมทั้ง set-top-box หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภทก็ล้วนแล้วแต่ต้องการ IP Address ด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่า IPv6 ถือเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยพัฒนาและส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตในรูปแบบใหม่ๆ ปัจจุบันหลายประเทศได้ตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการปรับใช้ IPv6 ทั้งในแบบโครงการ testbed เช่น 6Bone, 6KANet ของเกาหลี 6NET ในยุโรป และการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเช่น รัฐบาลญี่ปุ่นเสนอการลดหย่อนภาษีให้แก่ทั้ง Telecommunication carriers รวมทั้ง ISP หากต่อผ่านไปยังลูกค้าด้วย IPv6 router ประเทศสิงคโปร์ก็มีการผลักดันการใช้ IPv6เนื่องจากมีการใช้การสื่อสารแบบไร้สายเป็นปริมาณที่สูงมาก สำหรับประเทศไทยโดยเนคเทคก็ได้ก่อตั้งโครงการ Thailand IPv6 Testbedมาตั้งแต่ตุลาคม 2544 เพื่อให้ทดลองเชื่อมต่อและทดสอบโปรแกรม IPv6 service ต่างๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญและประสบการณ์รวมทั้งศึกษาปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีการปรับเปลี่ยนไปใช้งานจริงในอนาคต นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานทั้งมหาวิทยาลัยและISP ที่ให้ความสำคัญของ IPv6 โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยสงขลาฯได้จัดอบรมให้ความรู้ IPv6 มาโดยตลอด ทำให้กลุ่มผู้ใช้และสนใจใน IPv6 ในประเทศเราเพิ่มสูงขึ้น สมควรที่จะมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันในงานสัมมนาครั้งนี้ โดยงานสัมมนาครั้งนี้นอกจากจะกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวและรับทราบถึงการเตรียมความพร้อมในการปรับใช้อินเทอร์เน็ตรุ่นใหม่แล้วยังชี้แนะปัญหาและทางแก้จากประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตรุ่นใหม่โดยผู้ทรงคุณวุฒิและโดยตัวแทนเจ้าของผลิตภัณฑ์ชั้นนำ
ท้ายที่สุดก็จะมีการถกกันในประเด็นของนโยบายความร่วมมือจัดตั้ง IPv6 forum ของประเทศไทยเพื่อกำหนดอนาคตการใช้งานอินเทอร์เน็ตรุ่นใหม่นี้ IPv6 ยังมีข้อได้เปรียบแฝงอยู่อีกหลายประการ หากแต่ว่าใครจะมองหาโอกาสและช่องว่างในการนำมาสร้างสรรคุณค่าและประยุกต์ใช้ได้ก่อนถ้าเราไม่เริ่มต้น ณ วันนี้ก็จะพลาดโอกาสไปได้ ท้ายนี้ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานสัมมนาครั้งนี้จะเอื้อประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา แก่หน่วยงานของท่าน และแก่ประเทศชาติอย่างที่สุด
(Draft) Seminar Agenda
“Getting Ready for Next Generation Internet (IPv6)”
Tuesday 11 May 2004
9:00 — 16:00
Watergate Ballroom (6th floor), Amari Watergate Hotel
9.00-9.30 Registration
9.30-9.45 Opening Speech By Dr. Thaweesak Koanantakool Director of
National
Electronics and Computer Technology Center
(NECTEC)
9.45-10.30 Session I: Introduction to IPv6: Network &
Applicationsท
* Dr. Passakon Prathombutr (20 min.)Researcher,
NECTEC
* Dr. Sinchai Kamolphiwong (25 min.)Associate
Professor,
Prince of Songkla University
10.30-11.00 Coffee Break
11.00-12.20 Session II: How would you prepare for IPv6?
* Mr. Robert Elz (20 min.)Senior Lecturer,
Prince of Songkla
University
*Mr. Udom Limmeechokchai (20min.)Senior Network
Consultant, Cisco Systems (Thailand)
* Mr. Vijay Valayatham (20min.)System Engineer Manager,
Juniper Networks (Singapore)
* Mr. Surachai
Chaiyarangkijrat
(20min.)Assistant Section
Manager, The Communication
Solution co. ltd.
12.20-14.00 Lunch
14.00-14.30 Session III: IPv6 Implementation Experience in Korea
IPv6 Network and Application
Status of Korea
Dr. Sang Chul Shin
Vice President of National
Computerization Agency, Korea
14.30-15.00 Coffee Break
15.00-16.30 Session IV: Panel Discussion IPv6 Implementation in
Thailand:
Problems and Issues moderated
by
Dr.Chalermpol
Charnsripinyo
* Dr. Yada Banomyong,
Advisor to the Office of
the
Prime Minister
*Dr. Chalermpol
Charnsripinyo,
Researcher, NECTEC
*Dr. Sinchai Kamolphiwong,
Associate Professor,
PSU & UNINET
* Mr. Supachai Kitwongpak,
Senior Manager
(Internet Operation
Department), Asia Infonet
Co.Ltd.
*Mr. Pornthep Nivatyakul,
Engineer, CAT Telecom PCL.
16.30 Closing--จบ--
-นท-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ