กรมพินิจฯ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับบเอเซียแปซิคฟิค เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายงานด้านกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน

ข่าวทั่วไป Friday June 8, 2012 10:59 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 มิ.ย.--โฟร์ฮันเดรท ครั้งแรกของประวัติศาสตร์ยุติธรรมเด็กฯ กระทรวงยุติธรรม โดยกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นเจ้าภาพจัดประชุมสภากระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนระดับภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิค โชว์ศักยภาพไทยพร้อมเป็นผู้นำภูมิภาค ชูเครื่องมือคัดกรองเด็กดื้อ อวดนักวิชาการจากกว่า 20 ประเทศ เห็นประโยชน์ช่วยแก้ได้ตรงจุด กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับ สถาบันกำกับดูแลกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนระหว่างประเทศ International Juvenile Justice Observatory หรือ IJJO กำหนดจัดการประชุมสำคัญ 2 งานคือ การประชุมวิชาการระดับภูมิภาค ในหัวข้อการพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศในกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนไทย และประเทศในแถบภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค และการประชุมสภากระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนระดับภาคพื้น เอเชีย-แปซิฟิค ครั้งที่ 1 ( The first Asia-Pacific Council for Juvenile Justice หรือ APCJJ ) ระหว่างวันที่ 12-14 มิถุนายน 2555 ณ โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน ถนนพระรามเก้า กรุงเทพมหานคร กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีภารกิจในการดูแล บำบัด แก้ไข ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่ต้องหาว่าการทำผิด พิทักษ์คุ้มครอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและให้การช่วยเหลือสนับสนุนตลอดจนติดตามผลและประเมินผลการบำบัดแก้ไขฟื้นเด็กและเยาชน นับเป็นเวลากว่า 60 ปีมาแล้วโดยมีการพัฒนามาตรฐานการดูแลเด็กและเยาวชนและกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง อย่างครอบคลุมและเป็นระบบ ในระหว่างปี 2551-2555 กรมพินิจฯ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำการศึกษาวิจัยในโครงการพัฒนาระบบการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อพัฒนาระบบการประเมิน และจำแนกเด็กและเยาวชน การบำบัดแก้ไขฟื้นฟูและเยาวชน และการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยและติดตามหลังปล่อยโดยเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนเพื่อเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เชื่อมโยงความรู้ระดับนานาชาติเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม ในโอกาสนี้กรมพินิจฯ จึงจะจัดการประชุมนานาชาติขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันกำกับดูแลกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนระหว่างประเทศ ( International Juvenile Justice Observatory : IJJO ) ซึ้งเป็นองค์กรที่สร้างและสนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูลองค์ความรู้ขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนที่มีความเสี่ยง โดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน ทั้งจากสหวิชาชีพและผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาต่าง ๆ ในระดับนานาชาติ รวบรวมข้อมูลการดำเนินงานและวิธีการต่าง ๆ แบบองค์รวม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนานโยบาย กฎหมายข้อบังคับและกระบวนการดำเนินงานในระดับนานาชาติภายใต้กรอบการเชื่อมโยงอย่างไร้พรมแดน การประชุมนี้เป็นการประชุมด้านกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนครั้งแรกในระดับภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิคซึ่งจะมีการจัดการประชุม 2 ส่วน คื อ 1. การะประชุมวิชาการระดับภูมิภาค : การพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศในกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนไทยและประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค ในวันที่ 12-13 มิถุนายน 2555 2. การประชุมก่อตั้งสภากระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนระดับภาคพื้นเอเซีย-แปซิฟิค ครั้งที่ 1 ในวันที่ 14 มิถุนายน 2555 ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาและยกระดับมาตราฐานในการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมต่อไปการจัดประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานด้านกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน โดยมีผู้เชี่ยวชาญนานาชาติจากองค์กรภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษา ทั้งไทยและต่างประเทศในระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค เข้าร่วมในการเสนอข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเพื่อสร้างเครือข่ายในการพัฒนาระบบการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนในแถบภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิค ให้มีมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งนี้ในการประชุมดังกล่าว มีหัวข้อการเสวนา ที่น่าสนใจหลายหัวข้อ เช่น “กระบวนการยุติธรรม แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมและข้อท้าทาย” โดยนายจิรนิติ หะวานนท์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และนายธวัชชัย ไทยเขียว อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน “ กระบวนการยุติธรรมที่เป็นมิตรต่อเด็กและการดำเนินการอาญา การหันเหคดี และมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา ” โดยนายวันชัย รุจวงศ์ อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศสำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมกับวิทยากรของไทยและต่างประเทศอีกหลายท่าน สำหรับประเทศที่เข้าร่วมในครั้งนี้ ได้แก่ ออสเตเลีย บังคลาเทศ กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกีนี ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร เกาหลีใต้ เวียดนาม แคนนาดา และสเปน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ