“ภาพลักษณ์ประเทศไทย ในมุมมองของ นักธุรกิจ นักลงทุน และสื่อมวลชนต่างประเทศ”

ข่าวทั่วไป Monday June 18, 2012 17:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 มิ.ย.-- เนื่องด้วยนโยบายของรัฐบาลได้มีการผลกดันให้เกิดการสร้างแบรนด์ประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “Connectivity” ซึ่งประกอบไปด้วย ระบบการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพ (Infrastructure) ศูนย์กลางการค้าขาย(Trade) แหล่งการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมของโลก (Manufacturing) และการบริการระดับโลก (hospitality) ในอนาคตจะมีการนำแนวคิด “Connectivity” มาใช้ในทุกหน่วยงานราชการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากแต่เดิมที่ต่างคนต่างดำเนินการ อาจารย์มานา คุณธาราภรณ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและวิจัยตราสินค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ทำการศึกษาวิจัย “ภาพลักษณ์ประเทศไทย ในมุมมองของนักธุรกิจ นักลงทุน และสื่อมวลชนต่างประเทศ” โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับกลุ่มตัวอย่างชาวต่างประเทศ จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ สื่อมวลชนต่างชาติ รัฐบาลต่างประเทศ นักลงทุนรายย่อย SMEs และนักลงทุนชาวต่างชาติรายใหญ่ (Big FDI) จำนวน 20 ราย เกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “Connectivity” พบว่า Top of mind การรับรู้เกี่ยวกับประเทศไทยของชาวต่างประเทศ มี 2 เรื่อง คือ 1. ประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าดึงดูด ทิวทัศน์สวยงาม เช่น ชายหาด และมีอาหารรสชาติเผ็ด 2. การบริการและความยืดหยุ่นของคนไทย ที่มีความเป็นมิตร (friendly) มีน้ำใจ (generosity) มีความกรุณา (kindness) มีรอยยิ้มและคำพูด สวัสดี ขอบคุณ สบายๆ ไม่เป็นไร ทั้งนี้ด้านลบในประเทศไทยในสายตาชาวต่างชาติ พบว่า ชาวต่างชาติมีความกังวลถึงความไม่แน่นอน ความขัดแย้ง ความวุ่นวายทางการเมือง และการทุจริตการให้สินบน ส่วนด้านการใช้ธีม “Connectivity” ในการสื่อสารตราสินค้า พบว่า มีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในการใช้ธีม “Connectivity” ในการสื่อสารตราสินค้า โดยผู้ที่เห็นด้วยเห็นว่า “Connectivity” เป็นรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการสร้างแบรนด์ประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความหมายของ “Connectivity” ก็คือ ศูนย์กลาง ASEAN ซึ่งจะมีความสำคัญสำหรับการติดต่อทางธุรกิจ ในขณะที่ผู้ไม่เห็นด้วยซึ่งเป็นกลุ่มนักลงทุนชาวต่างชาติ มองว่าประเทศไทยสามารถที่จะใช้แคมเปญ “Connectivity” ได้ในอนาคต หากมีการปรับปรุงเรื่องทักษะด้านภาษาอังกฤษ และมองว่า “Connectivity” น่าจะสื่อความหมายได้ดีขึ้น ความคิดเห็นที่มีต่อ ระบบการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพ (Infrastructure) ของชาวต่างชาติ มีดังนี้ - ตำแหน่งของประเทศไทยเป็นการเชื่อมต่อที่สำคัญระหว่างจีนและอินเดีย - การลงทุนระบบการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ในประเทศไทยคือการลงทุนในเอเชีย เช่น การพัฒนาในประเทศไทยจะทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค - “We’re moving forward. Come with us” - ทำประชาธิปไตยให้มีความสมบูรณ์โดยเริ่มจากกรุงเทพฯ ไปยังท้องถิ่น ความคิดเห็นที่มีต่อศูนย์กลางการค้าขาย (Trade) ของชาวต่างชาติ มีดังนี้ - สถานที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง - ช่วงของการส่งออก - ภาษีต่ำ การทุจริตให้สินบนน้อยลง ความคิดเห็นที่มีต่อแหล่งการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมของโลก (Manufacturing) ของชาวต่างชาติ มีดังนี้ - ขนาดของกำลังแรงงานในประเทศไทย - ความยืดหยุ่นและความขยันหมั่นเพียรของคนไทย - การมีทักษะความสามารถในการเข้าถึงทั้งในและต่างประเทศ - สภาพแวดล้อมทางการเมืองมีความเสถียรภาพ ความคิดเห็นที่มีต่อการบริการระดับโลก (hospitality) ของชาวต่างชาติ มีดังนี้ - เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมเกี่ยวกับการบริการของไทย มีความเป็นมิตรและอบอุ่น - สะอาด - ได้รับการปฏิบัติ เฉกเช่น VIP เท่าเทียมกันตั้งแต่เข้ามาอยู่ อาจารย์มานา คุณธาราภรณ์ กล่าวว่า การสร้างแบรนด์ให้กับประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน ก่อนที่จะเปิดเสรีทางการค้า ASEAN เพราะต้องสร้างจุดแข็งให้กับประเทศไทย ให้แตกต่างและโดดเด่นจากประเทศอื่น ทำให้นักลงทุนมีความสนใจและเลือกที่จะมาลงทุนในเมืองไทย ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงมากขึ้นในปัจจุบัน การใช้แนวคิดในการสื่อสารกับชางต่างชาติว่า connectivity จะส่งผลดีต่อการค้าและการลงทุนของประเทศไทย โดยเฉพาะต่อการเปิดเสรีทางการค้า ASEAN ในอีกไม่ถึง 3 ปีข้างหน้า ภาครัฐยังคงต้องพัฒนาและลงทุนกับการคมนาคมขนส่งและสาธารณูปโภคที่จำเป็น และลบภาพลักษณ์เชิงลบ อาทิ ความไม่แน่นอนและความขัดแย้งทางการเมือง รวมถึงการคอรัปชั่น เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น อาจารย์มานา กล่าวเพิ่มเติมว่า ไม่ควรทิ้งเอกลักษณ์ที่ดีที่ทำให้ชาวต่างชาติรู้สึกประทับใจกับประเทศไทย เช่น ความเป็นมิตร รอยยิ้ม และวัฒนธรรมที่ดี และในส่วนของภาครัฐทุกภาคส่วน ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ควรใช้แนวคิดในการสื่อสารแบรนด์เดียวกัน คือ ภายใต้กรอบแนวคิด connectivity โดยประยุกต์ใช้ sub-theme ได้แก่ infrastructure, trade, manufacture, hospitality ให้เข้ากับแต่ละส่วนงาน สำหรับศูนย์ศึกษาและวิจัยตราสินค้า เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับตราสินค้าหรือแบรนด์ให้กับผู้สนใจทั่วไป โดยทำวิจัยที่ประโยชน์เกี่ยวกับผู้ประกอบการ และที่ผ่านมาได้เสนอผลงานวิจัยให้กับหน่วยงานภายนอกมาแล้วหลายหน่วยงานในหลายธุรกิจ เช่น โครงการเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมอาหารของไทย (สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม) และล่าสุดคือการจัดกิจกรรมกิจกรรมการสร้างแบรนด์เพื่อเจาะหาตลาดเป้าหมาย Top secrets for SMEs branding: ลับเฉพาะ! สร้างความสำเร็จแบรนด์ไทยสู่แบรนด์โลก ภายใต้ โครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (Industrial Cluster Development) ประจำปี 2555 ให้กับกระทรวงอุตสาหกรรม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ