สถาบันเอไอทีเป็นศูนย์กลางความพยายามของนานาชาติในการทำแผนที่น้ำท่วมของประเทศฟิลิปปินส์จากอวกาศ

ข่าวทั่วไป Tuesday August 21, 2012 14:26 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--สถาบันเอไอที ขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์กำลังต่อสู้กับภัยน้ำท่วมที่กำลังทวีความรุนแรงอยู่ในขณะนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที)ได้กลายเป็นจุดศูนย์กลางความพยายามของนานาชาติในการผลิตภาพถ่ายดาวเทียมและแผนที่ที่มีความละเอียดสูงเพื่อช่วยในการปฏิบัติการบรรเทาภัยพิบัติ ดร.มาซาฮิโกะ นากาอิ รองผู้อำนวยการของศูนย์ภูมิสารสนเทศ ของสถาบันเอไอทีกำลังเป็นผู้นำในความพยายามต่างๆที่จะทำแผนที่ซึ่งผลิตจากข้อมูลดาวเทียมที่ทันสมัยสำหรับนักวิทยาศาสตร์ของสถานีอุตุนิยมวิทยาแห่งมะนิลาและสถาบันวิทยาศาสตร์ธรณีวิทยาแห่งชาติ มหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ ด้วยความร่วมมือกับองค์กรทางด้านอวกาศจำนวนมากมายจากทั่วโลก ดร.นากาอิได้วิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมของเมืองมะนิลาและเกาะลูซอนซึ่งถ่ายไว้ในช่วงก่อนน้ำท่วมและในช่วงที่น้ำท่วมสูงสุดทีมงานของเขาได้ผลิตแผนที่ประกอบภาพสีความละเอียดสูงของพื้นที่ที่มีน้ำท่วมระดับสูง "แผนที่ควรจะช่วยในการปฏิบัติการตอบสนองแบบฉุกเฉินจากการที่เจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูลซึ่งมีความแม่นยำว่าน้ำท่วมกำลังเกิดขึ้นที่ใด"ดร.นากาอิ กล่าว สถาบันเอไอทีเป็นสมาชิกของ Sentinel Asiaซึ่งเป็นเครือข่ายระดับภูมิภาคในการสนับสนุนกิจกรรมการจัดการภัยพิบัติต่างๆในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ เช่นข้อมูลจากระบบสำรวจพื้นผิวโลกโดยใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายจากดาวเทียม เมื่อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับขนาดของภัยพิบัติ ดร.นากาอิก็ได้รับมอบหมายจาก Sentinel Asia's International Charter Space and Major Disastersให้เป็นผู้จัดการโครงการเพื่อความพยายามของนานาชาติในการทำแผนที่น้ำท่วม ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นได้รับภาพถ่ายดาวเทียมจาก Canadian Space Agency(CSA) และ German Aerospace Center (DLR)นอกจากนี้ยังได้รับภาพถ่ายดาวเทียมที่มีความละเอียดสูงจาก United States Geological Survey (USGS)ซึ่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตของน้ำท่วมในเมืองมะนิลา ในขณะที่Centre National d'Etudes Spatiales (CNES)ของฝรั่งเศสช่วยทำแผนที่บริเวณต่างๆทางเหนือของภูมิภาคเมืองหลวง ดร. นากาอิ ยังได้รับข้อมูลจาก Indian Space Research Organisation (ISRO), DMC International Imaging Ltd (DMCii), UK, Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA) และ Taiwan's National Space Organization(NSPO) อีกด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ