เจโทร เผยธุรกิจญี่ปุ่นรุกคืบนวัตกรรมดีไซน์ ผนึก 20 SMEs ไทยสุดเจ๋ง ร่วมผลักดันสินค้าสู่ตลาดโลก

ข่าวทั่วไป Monday September 3, 2012 16:54 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ก.ย.--เจโทร ใช้นวัตกรรมดีไซน์ของชาวญี่ปุ่นในการพัฒนาสินค้าเพื่อส่งออกไปยังทั่วโลก ความร่วมมือภายใต้โครงการ DARUMA Project ซึ่งดำเนินงานโดยกรมส่งเสริมการส่งออก และเจโทร โดยมีกว่า 100 เอสเอ็มอีจาก 22 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเข้าร่วม วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่า พัฒนาความสามารถในการผลิต และส่งเสริมการส่งออกโดยธุรกิจไทยและญี่ปุ่นเป็นคู่ธุรกิจที่เท่าเทียมกัน ธุรกิจญี่ปุ่นสนใจร่วมธุรกิจ (Joint-venture) กับเอสเอ็มอีไทย 20 ราย ที่ได้รับการคัดเลือกโดยผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น จากทั้งหมดกว่า 100 ราย ให้เข้าร่วมงานTokyo International Gift Show ซึ่งเป็นสินค้าของขวัญของชำร่วยระดับนานาชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-7กันยายน 2555 นี้ สินค้าที่เข้าร่วมงานแสดงเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Products) อาทิ สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ และสินค้าประดับตกแต่ง โดยธุรกิจญี่ปุ่นที่สนใจการร่วมทุน จะนำนวัตกรรมดีไซน์จากประสบการณ์ด้านงานศิลป์ของชาวญี่ปุ่น (Innovative Japanese craftsmanship) มาช่วยในการพัฒนาดีไซน์ การใช้งาน และคุณภาพของสินค้า ก่อนที่จะร่วมกันส่งออกไปยังตลาดโลกเพื่อนำรายได้เข้าทั้งสองประเทศ นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า “สินค้าไลฟ์สไตล์ของไทยนั้นได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดต่างประเทศ เพราะมีรูปแบบและคุณภาพที่ดีเป็นที่รู้จักและยอมรับของชาวต่างชาติ และเราเชื่อมั่นว่า การส่งออกสินค้าไลฟ์สไตล์จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ในขณะนี้เราได้เร่งดำเนินกลยุทธ์หลายด้านที่จะช่วยเหลือผู้ส่งออกไทย ทั้งการมองหาตลาดใหม่ การพัฒนาผู้ประกอบการและนักออกแบบ การส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้าไทย และเรายังได้ดำเนินงานร่วมกับเจโทร กรุงเทพฯ อย่างแข็งขัน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยอีกทางหนึ่งด้วย” มร. เท็ตซิโอะชิบาตะผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือทางการค้าองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ) กล่าวว่า “ความร่วมมือดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ DARUMA Projectซึ่งริเริ่มโดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ประเทศญี่ปุ่น (METI) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการชาวไทยที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเมื่อปีที่แล้วให้สามารถฟื้นตัว โดยรูปแบบของความร่วมมือระหว่างไทยและญี่ปุ่นได้แก่ การเพิ่มมูลค่าและพัฒนาความสามารถในการผลิตผ่านนวัตกรรมดีไซน์จากประสบการณ์ด้านงานศิลป์ของชาวญี่ปุ่น และการส่งเสริมการส่งออกผ่านการเข้าร่วมเทรดแฟร์และงานจับคู่ธุรกิจ ในการนี้ ผลการสำรวจของเราเผยว่า 39% ของเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการ DARUMA Project ต้องการความช่วยเหลือทางด้านการดีไซน์, 35% ต้องการความช่วยเหลือด้านการผลิต และ54% ต้องการความช่วยเหลือด้านการทำตลาด [ผู้เข้าร่วมการสำรวจตอบได้หลายข้อ]. “สินค้านั้นจะได้รับการผลิตและส่งออกจากไทยและญี่ปุ่น โดยภายใต้กรอบความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจะมีโอกาสในการเข้าสู่ตลาดใหม่โดยมีธุรกิจไทยเป็นคู่ธุรกิจที่เท่าเทียมกัน อาทิ ดีไซเนอร์ชาวไทยนั้นมีข้อได้เปรียบสำหรับตลาด EU ในปัจจุบัน ซึ่งความร่วมมือทางธุรกิจดังกล่าวจะส่งผลให้ไทยและญี่ปุ่นได้ประโยชน์ร่วมกันในการก้าวพัฒนาหลังจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่ผ่านมา” มร. ชิบาตะ สรุป เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา ผู้แทนรัฐบาลไทยและญี่ปุ่นได้ลงนามเพื่อดำเนินงานร่วมกันในการฟื้นฟูธุรกิจไทยและญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเมื่อปี 2554 โดยมีรูปแบบของความช่วยเหลือ อาทิ การให้คำปรึกษา การสนับสนุนทางการเงิน และการจ้างงาน เป็นต้น โครงการ DARUMA Projectซึ่งอยู่ภายใต้กรอบข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในธุรกิจอาหาร สินค้าไลฟ์สไตล์ และอุตสาหกรรมการให้บริการ โดยที่ธุรกิจอาหารได้รับการประชาสัมพันธ์ในงาน ThaiFexเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาส่วนสินค้าไลฟ์สไตล์จะได้รับการจัดแสดงในงานTokyo International Gift Showในเดือนกันยายน และงานBIG & BIHในเดือนตุลาคม ตลอดจนงานเทรดแฟร์อื่นๆ เช่น Maisonในต่างประเทศต่อไป และอุตสาหกรรมการให้บริการจะได้รับการสนับสนุนในงาน World Spa & Well-being Convention 2012ในเดือนกันยายน และงานThailand Health & Beauty Showที่จะจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคมปีหน้าทั้งนี้ มีธุรกิจเอสเอ็มอีกว่า 100 รายจาก 22 จังหวัดเข้าร่วมโครงการ โดยเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นเป็นผู้คัดเลือกจากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการและการสัมภาษณ์ สื่อมวลชน โปรดติดต่อคุณชุติมา ดวงพาณิช ฝ่ายประชาสัมพันธ์ เจโทร กรุงเทพฯโทร 0 2253 6441 ต่อ 147

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ