เนคเทค จัดเสวนา "การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยใช้หุ่นยนต์และเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน: Physical Rehabilitation with Robotics and Virtual Reality Technology"

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday September 5, 2012 10:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 ก.ย.--เนคเทค การประชุมวิชาการและนิทรรศการของเนคเทค ประจำปี 2555 : NECTEC ACE 2012 การเสวนา "การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยใช้หุ่นยนต์และเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน:Physical Rehabilitation with Robotics and Virtual Reality Technology" วันอังคารที่ 18 กันยายน 2555 เวลา 08.30 - 12.00 น. ห้อง Jamjuree โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด ถนนรัชดาภิเษก ณ ขณะนี้ สภาวะการณ์หนึ่งที่ทั่วโลกต่างตื่นตัวคือ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุที่มีมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทย จากข้อมูลของรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุเมื่อปีพ.ศ. 2551 นั้น อีกห้าปีข้างหน้า ผู้สูงอายุในประเทศไทยจะมีมากถึงเก้าล้านคน นอกจากนี้จำนวนผู้พิการในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากผลสำรวจคนพิการ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อ ปี พ.ศ. 2550 นั้น ประเทศไทยมีผู้พิการประมาณ 1.9 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 2.9 ของประชาการทั้งหมด สำหรับผู้พิการด้านร่างกาย ได้แก่ แขนขาอ่อนแรง อัมพาต มีประมาณ 3.5 แสนคน โดยปัญหาแขนขาอ่อนแรง ไม่สามารถควบคุมการทำงานของแขนขาได้จะพบมากในผู้สูงอายุและผู้พิการด้านแขนขา ดังนั้น การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านร่างกายเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อทำให้บุคคลเหล่านี้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ ในปัจจุบันการฟื้นฟูสมรรถภาพดังกล่าวต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ซึ่งการฟื้นฟูแต่ละครั้งต้องใช้เวลามาก นอกจากนั้นจำนวนผู้มารับบริการที่มีมากกว่าจำนวนนักฟื้นฟูทำให้ไม่สามารถบริการได้อย่างทั่วถึง ถึงแม้ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพและโรงพยาบาลหลายแห่งจะมีเครื่องมือช่วยต่างๆ เช่น เครื่องช่วยการเคลื่อนที่แบบต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่าเครื่อง CPM (Continuous Passive Motion) เพื่อช่วยในการฟื้นฟูร่างกาย อย่างไรก็ดี เครื่องมือเหล่านี้ยังมีข้อเสียหลายประการ เช่น การเคลื่อนไหวที่ทำได้เฉพาะบางจุดและจำกัด มีราคาที่ค่อนข้างสูง ต้องมีนักฟื้นฟูที่มีความชำนาญดูแลตลอดเวลาขณะทำการใช้เครื่อง และอาจสร้างความเบื่อหน่ายต่อการใช้งานสำหรับผู้ใช้งาน เป็นต้น จากแนวโน้มของจำนวนผู้สูงอายุและคนพิการแขนขา รวมถึงปัญหาที่พบจากการฟื้นฟูด้วยเครื่องมือต่างๆ ปัจจุบันจึงได้มีการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ร่วมกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนมาพัฒนาระบบหุ่นยนต์ที่มีประสิทธิภาพและเสริมสร้างประโยชน์ในการฟื้นฟูขั้นสูง ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญที่สร้างเครื่องมือที่เสริมให้บุคลากรทางการแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูสามารถช่วยเหลือผู้ที่ต้องการใช้บริการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) โดย สถาบันวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (REAT) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องการร่วมพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว จึงได้จัดการสัมมนาครั้งนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันประสบการณ์จากการให้บริการ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยใช้หุ่นยนต์และเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนที่เกิดจากความร่วมมือหลายฝ่ายในลักษณะ co-creation โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงหลัก ได้แก่ 1. ประสบการณ์จากสิงคโปร์ในการให้บริการการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง และการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย 2. การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพในประเทศไทย และทิศทางการให้บริการการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงในอนาคตของประเทศไทย 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 — 09.10 น. กล่าวเปิดการเสวนา โดย ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ 09.10 — 10.30 น. การเสวนา "เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย: ประสบการณ์จากสิงคโปร์" - การให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced Rehabilitation Therapeutics): ประสบการณ์จากสิงคโปร์ โดยDr. Chan Kay Fei, Senior ConsultantDepartment of Rehabilitation Medicine, Tan Tock Seng Hospital, Singapore - การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย: ประสบการณ์จากสิงคโปร์โดยDr. Ronny Tham Quin Fai (รอการยืนยัน)Deputy Director, School of Mechanical & Aeronautical Engineering Singapore Polytechnic, Singapore ดำเนินการเสวนา โดย คุณวันทนีย์ พันธชาติศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 10.30 — 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.45 — 11.30 น. การเสวนา "การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพในประเทศไทย" ผู้ร่วมเสวนา โดย 1. ดร. เซง เลิศมโนรัตน์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2. รศ.ดร. ระดม พงษ์วุฒิธรรมภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3. ดร. ถวิดา มณีวรรณ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนามมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 4. ดร. วินัย ชนปรมัตถ์สถาบันวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติดำเนินการเสวนา โดย ดร.พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยาศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 11.30 — 12.00 น. การเสวนา "ทิศทางการให้บริการการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงในอนาคต ของประเทศไทย" ผู้ร่วมเสวนา โดย 1. นายแพทย์ภาริส วงศ์แพทย์ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย 2. นายแพทย์ปิยวิทย์ สรไชยเมธาศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ 3. นายแพทย์วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุลศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทยดำเนินการเสวนา โดย ดร.พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ในนาม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือเนคเทค สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณภาวินี ชนะพลชัย โทร 02-946-8470-2

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ