นอร์ตันชี้ความเสียหายอาชญากรรมออนไลน์ พุ่ง 1.1 แสนล้านเหรียญต่อปี

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday November 13, 2012 14:01 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 พ.ย.--เพนเนอร์-แมดสัน ผลการศึกษาของนอร์ตันปี 2555 ระบุ มูลค่าความเสียหายต่อผู้บริโภคลดลง ขณะการโจมตีผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์และอุปกรณ์เคลื่อนที่พุ่งสูง นอร์ตัน โดยไซแมนเทค (Nasdaq: SYMC) เปิดเผยผลการศึกษาอาชญากรรมออนไลน์ประจำปีใน “รายงานอาชญากรรมออนไลน์ของนอร์ตัน” (Norton Cybercrime Report) ระบุว่า มูลค่าความเสียหายโดยตรง (Direct Cost) ที่เกิดจากอาชญากรรมออนไลน์ในระดับผู้บริโภคทั่วโลก สูงถึง 1.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา จากการศึกษาผู้ใช้ที่มีประสบการณ์โดยตรงกว่า 13,000 คน ใน 24 ประเทศ ซึ่งพบว่าในทุกๆ วินาทีจะมี 18 ราย ที่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมออนไลน์ ซึ่งคิดเป็นถึง 1.5 ล้านรายทั่วโลก พร้อมกันนั้น ผลการสำรวจพบว่า ตลอดช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ผู้ใช้ถึง 556 ล้านคนทั่วโลก ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมออนไลน์ โดยจำนวนผู้ได้รับผลกระทบมีมากกว่าจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union) รวมกัน ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าว คิดเป็น 46 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มผู้ใช้ที่เคยตกเป็นเหยื่อก่อนหน้าและกลับมาตกเป็นเหยื่ออีกครั้งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากขึ้นจากปี 2554 ที่มีประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ พลิกโฉมอาชญากรรมออนไลน์ จากการสำรวจปัจจุบัน พบว่า อาชญากรมีการปรับโฉมการก่ออาชญกรรมออนไลน์ โดยเน้นการโจมตีผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ ซึ่งบ่งชี้ได้ว่า สังคมออนไลน์ในปัจจุบันจะกลายเป็นเป้าหมายหลักในการก่ออาชญากรรมออนไลน์ ซึ่งผู้ที่ใช้งานสังคมออนไลน์ 1 ใน 5 ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีและอาชญากรรมผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การปลอมแปลงข้อมูลของโปรไฟล์ ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ใช้งานไม่มีการกำหนดสิทธิการเข้าถึง (Privacy Setting) หรือระบุว่าตกเป็นเหยื่อการโจมตีผ่านอินเทอร์เน็ต (Scam) และลิงค์ปลอมบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งในบางครั้งอาจจะเป็นการส่งลิงค์ปลอมมาเพื่อให้ผู้ใช้งานทำการกดลิงก์นั้นๆ นายเจสัน ม็อก ผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศไทยของ นอร์ตัน โดยไซแมนเทค กล่าวว่า อาชญากรรมออนไลน์กำลังเปลี่ยนไป ซึ่งจะเน้นไปสู่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์และอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้น ซึ่งผู้ใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้ ยังไม่ตระหนักถึงความเสี่ยงของภัยที่จะเกิดขึ้นและรวมไปถึงการรักษาความปลอดภัยในการใช้งาน “ภาพสะท้อนเหล่านี้ คือ สิ่งที่เราพบในรายงานภัยคุกคามผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของไซแมนเทค ซึ่งระบุว่า อุปกรณ์เคลื่อนที่มีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในปี 2554 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า” นายเจสัน กล่าว รายงานอาชญากรรมออนไลน์ของนอร์ตัน ปี 2555 ยังเปิดเผยอีกว่า ผู้ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ ยังคงใช้วิธีการพื้นฐานในการปกป้องตนเองและข้อมูลส่วนตัว เช่น การลบอีเมล์ที่น่าสงสัย และการระมัดระวังการใส่รายละเอียดของข้อมูลส่วนบุคคลบนโลกออนไลน์ แต่กระนั้น ข้อควรระวังสำคัญอื่นๆ กลับถูกละเลย ซึ่งพบว่าผู้ใช้ มักมองข้ามการใช้รหัสผ่าน (Password) ที่ซับซ้อน หรือไม่มีการเปลี่ยนรหัสผ่านอย่างสม่ำเสมอ และมากกว่า 1 ใน 3 ไม่ตรวจสอบสัญลักษณ์กุญแจ (Padlock Symbol) ในโปรแกรมบราวเซอร์ก่อนออนไลน์เข้าสู่ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ และ ผู้ใช้เครือข่ายออนไลน์บางหลายอาจจะไม่รู้จักอาชญกรรมออนไลน์ด้วยซ้ำ จึงเป็นเรื่องยากที่จะรับรู้ว่าซอฟท์แวร์ที่เป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ (Malware) เช่น ไวรัส จะส่งผลและเป็นอันตรายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างไร และเกือบครึ่งของผู้ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เชื่อว่า ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เกิดปัญหาหรือทำงานผิดพลาด พวกเขายังไม่มั่นใจเต็มร้อยว่า ตนเองตกเป็นเหยื่อของการโจมตีการใช้งานเครือข่ายออนไลน์ รหัสผ่านที่แข็งแกร่ง คือ กุญแจสำคัญ นายเจสัน กล่าวว่า “บัญชีอีเมล์ส่วนตัว เป็นกุญแจสู่อาณาจักรออนไลน์ของแต่ละบุคคล การเจาะเข้าสู่ระบบได้ จะทำให้อาชญากรไม่เพียงเข้าถึงทุกสิ่งทุกอย่างในกล่องจดหมาย หากยังสามารถเปลี่ยนและตั้งรหัสผ่านใหม่สำหรับการเข้าเว็บไซต์อื่นๆ เพียงแค่คลิก “ลืมรหัสผ่าน” เพื่อสกัดกั้นไม่ให้ผู้เป็นเจ้าของเข้าสู่บัญชีของตนเองได้ ฉะนั้น ปกป้องอีเมล์ ด้วยการใช้รหัสผ่านที่มีความซับซ้อน และเปลี่ยนรหัสผ่านอย่างสม่ำเสมอ” บัญชีอีเมล์เหล่านี้จึงเป็นประตูสำคัญที่อาชญากรมักพุ่งเป้ามาเพื่อเจาะเข้าสู่ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลขององค์กร เกี่ยวกับนอร์ตัน นอร์ตัน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยรักษาความปลอดภัยและปกป้องข้อมูลและสิ่งต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อผู้บริโภคในทุกด้านของการใช้ชีวิตบนโลกดิจิตอล โดยได้นำเสนอหลากหลายโซลูชั่นด้านความปลอดภัย ทั้งเทคโนโลยีสำหรับเครื่องพีซี และอุปกรณ์เคลื่อนที่ พร้อมด้วยบริการด้านเทคนิค และการสำรองข้อมูลออนไลน์ ร่วมติดตามความเคลื่อนไหวของนอร์ตันผ่านเฟสบุ๊ค www.facebook.com/norton ติดต่อ: www.facebook.com/norton

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ