การประกาศผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย โดยบริษัท Standard and Poor’s

ข่าวทั่วไป Wednesday December 12, 2012 13:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 ธ.ค.--สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธรผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้แถลงข่าวเกี่ยวกับผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยโดยบริษัท Standard & Poor’s (S&P’s) ว่า บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือS&P’sได้ยืนยันระดับอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวและระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศ (Long-term / Short-term Foreign Currency Rating) ที่ระดับ BBB+/A-2 และระดับอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวและระยะสั้นสกุลเงินบาท (Long - term/Short - term Local Currency Rating) ที่ระดับ A-/A-2และได้ยืนยันแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของไทยที่ระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) นอกจากนี้ยังยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยบน ASEAN Regional Scale ระยะยาวที่axAA และระยะสั้นที่ axA-1 ตามลำดับ ดังสรุปตามตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยโดย S&P’s ณ วันที่ 10 ธันวาคม 2555 อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยโดยS&P’s สถานะ Outlook อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศของรัฐบาล ระยะยาว (Long-term Foreign Currency Rating) BBB+ Stable ระยะสั้น (Short-term Foreign Currency Rating) A-2 - อันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้สกุลเงินบาทของรัฐบาล ระยะยาว (Long - termLocal Currency Rating) A- Stable ระยะสั้น(Short -term Local Currency Rating) A-2 - อันดับความน่าเชื่อถือตามASEAN Regional Scale axAA axA-1 หลักการและเหตุผล สถานะดุลต่างประเทศสุทธิที่เหมาะสม ภาระหนี้สุทธิของรัฐบาลที่อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำและความน่าเชื่อถือของนโยบายการเงินเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย จุดแข็งดังกล่าวช่วยสร้างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจที่มีรายได้ต่ำและความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดย S&P’s ได้คาดการณ์การระดับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย ณ สิ้นปี 2554 ว่าจะอยู่ที่ 190,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (คำนวณจากตัวเลขบัญชีดุลสะพัด 8 เดือน) ประเทศไทยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเล็กน้อยตั้งแต่ปี 2549 และ S&P’s คาดว่าแนวโน้มจะเป็นเช่นนี้อย่างน้อยที่สุดจนถึงปี 2558 ด้วยเหตุนี้ S&P’s คาดการณ์ว่าภาระหนี้ต่างประเทศสุทธิจะอยู่ที่ร้อยละ 14 ของรายรับดุลบัญชีเดินสะพัด ณสิ้นปี 2555 และคาดว่าสินทรัพย์สภาพคล่องต่างประเทศของรัฐบาลและภาคการเงินจะเป็น 2 เท่าของหนี้ต่างประเทศของประเทศ ในทางเดียวกัน รัฐบาลกลางได้ดำเนินนโยบายสมดุลหรือขาดดุลเพียงเล็กน้อยตั้งแต่ประเทศฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียในปี 2540 หลังจากหนี้รัฐบาลสุทธิได้ลดลงอย่างต่อเนื่องจนอยู่ที่ร้อยละ 17 ของ GDP ณ สิ้นปีงบประมาณ 2551หนี้รัฐบาลสุทธิได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 24 ของ GDP ณ สิ้นปีงบประมาณ 2554 ซึ่ง S&P’s คาดว่า สัดส่วนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นอย่างพอประมาณจนถึงปี 2558 ภาระดอกเบี้ยของรัฐบาลยังคงอยู่ในระดับที่ไม่น่าเป็นกังวลที่ร้อยละ 5.5 ของรายได้ อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยที่แสดงโดยดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่ต่ำกว่าร้อยละ 5.5 ต่อปีตั้งแต่ปี 2542 การเติบโตของสินเชื่อเป็นไปในทางเดียวกับการเติบโตของ GDP S&P’s จัดอันดับระบบธนาคารของประเทศไทยไว้ที่ระดับ 5 จาก 10 (รายละเอียดปรากฏตามการประเมินความเสี่ยงของอุตสาหกรรมธนาคารของประเทศไทย - Banking Industry Country Risk Assessment: Thailand วันที่ 16 พฤศจิกายน 2555) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (Per capita GDP) ของประเทศไทยที่ 5,350 เหรียญสหรัฐในปี 2555 เป็นข้อจำกัดของความน่าเชื่อถือของประเทศ โดยตัวชี้วัดทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณสุข และการศึกษาของประเทศไทยอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลลบต่อความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหลายครั้งซึ่งส่งผลให้การปฏิรูปโครงสร้างของประเทศมีความล่าช้า ขัดขวางการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล และกดดันการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การประท้วงพรรคผู้นำรัฐบาลบนท้องถนนที่ผ่านมาทำให้เกิดการขัดขวางทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดทางการเมืองดังกล่าวได้เริ่มลดลงตั้งแต่รัฐบาลใหม่เข้ามาเริ่มดำเนินงาน แนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือ แนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือที่มีเสถียรภาพสะท้อนถึงการคาดการณ์ว่าจะไม่เกิดความไม่สมดุลระหว่างภาคต่างประเทศ การคลัง และการเงินของประเทศ รวมถึงเศรษฐกิจการเมืองของประเทศไทยจะยังคงอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพอย่างไรก็ดี S&P’sอาจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยลงหากฐานะการคลังและตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจลดลงอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากนโยบายประชานิยมของรัฐบาล S&P’s เชื่อว่า โอกาสในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจะปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น หากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองลดลง ซึ่งจะเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่สถานะอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 02 265 8050 ต่อ 5505

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ