“แค้นสังคม” ปมมรณะสังหารหมู่ชี้ไทยติดกลุ่มเสี่ยง

ข่าวทั่วไป Monday December 17, 2012 12:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ธ.ค.--ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ “แค้นสังคม” ปมมรณะสังหารหมู่ที่น่าจับตา หมอชี้เหตุเกิดจากจิตป่วยจึงเลือกฆ่าคนเป็นการกลบแผลในใจ เตือนคนไทยอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหตุเครียดภาวะแวดล้อมมาก หวั่นเป็นภัยร้ายรู้ในยุคหน้าแนะทางออก ต้องเริ่มที่ครอบครัว สอนด้วยการกระทำ เป็นตัวอย่างที่ดี ทบทวนสิ่งผิดพลาดในอดีต โดยใช้ความรักความเมตตาเป็นฐาน จากกรณีเกิดเหตุอันน่าเศร้าสลด เมื่อหนุ่มวัยรุ่นอเมริกันก่อเหตุกระหน่ำยิงเด็กนักเรียนชั้นประถม รวมถึงผู้ใหญ่ ตายไปถึง 27 ราย ในรัฐคอนเนคทิคัต ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้หลายฝ่ายหวั่นจะเป็นพฤติกรรมเลียนแบบ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ห่วงใยถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีคำแนะนำดี ๆ ตลอดจนวิธีการสังเกตพฤติกรรมคนใกล้ตัว เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันตัวและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในอนาคต นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า อีกไม่กี่วันก็จะสิ้นปีกันแล้ว จึงอยากฝากข้อคิดไว้ว่า ในโลกนี้มีคนอยู่ 2 กลุ่มที่รู้สึกถึงปีที่ผ่านไป โดยกลุ่มแรกคือคนที่รู้สึกเหมือนคนทั่วๆไปมียินดีมีเฉยๆบ้าง ส่วนอีกกลุ่มคือคนที่ อยากให้ผ่านไปเร็วๆ เพราะรู้สึกชีวิตสิ้นหวังเหลือเกินแล้วจะอยู่หรือตายก็ใกล้ๆกัน คนกลุ่มหลังน่าห่วงเพราะมันเป็นอาการหนึ่งของ “ซึมเศร้าแฝง” ที่อาจกระตุ้นให้คนคนนั้นทำร้ายตัวเองหรือดึงคนอื่นไปเป็นอันตรายด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ในบ้านเมืองเราก็มีผู้ที่เครียดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวมาก ถ้าเป็นมากเข้าก็จะมีอาการจิตป่วยซึมเศร้า,หดหู่ไปจนถึงก้าวร้าวได้ เรียกว่าป่วยด้วยปมแค้นสังคม แล้วก็อยากแก้แค้นให้สาสมใจทำร้ายใครไม่ได้ก็ทำร้ายตัวเ องเช่น การอดอาหาร ไม่กินยา ไม่ดูแลตัวเอง ไม่ไปทำงาน ฯลฯ แต่ถ้ามีความก้าวร้าวและชอบรุนแรงอยู่ในดวงจิตด้วยแล้วก็อาจไม่หยุดแค่นั้นคนกลุ่มนี้มีแรงขับสูงเป็นพลังก้าวร้าวที่อยู่ในตัวก็จะลามไปถึงขั้นฆ่าคนอื่นที่ไม่รู้จักแม้แต่ชื่อได้เพื่อให้สะใจในการแก้แค้นสังคม นายแพทย์กฤษดา กล่าวและว่า ในฐานะนักค้นคว้าประวัติศาสตร์คนหนึ่ง รู้ดีว่าเหตุการณ์สะเทือนใจสามารถกลับมาซ้ำรอยเดิมอีกได้ จึงอยากให้เข้าใจและรู้ทันไว้ก่อนเป็นการไม่ประมาท ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ กล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า เรื่องเศร้า ข่าวร้ายและความรุนแรงเป็นของชอบของหลายคน เพราะมันสนองสัญชาตญาณดิบส่วนลึกของเรา มนุษย์ทุกคนมีสัญชาตญาณดิบอยู่ในสมอง โดยสมองส่วนเถื่อนถ้ำนี้อยู่ลึกและถูกกดไว้โดยเปลือกสมองที่ศิวิไลซ์กว่า ดังนั้นเรื่องประเภทข่าวร้ายหน้าหนึ่งจึงเป็นเรื่องที่เตะสมองคนได้มากกว่าอย่างไม่น่าแปลกใจ ไม่ใช่ความผิดปกติแต่หากชอบจนติดหรือถึงขั้นใฝ่ฝันอยากเป็นผู้ร้ายเสียเองนั่นจึงจะเยกว่าร้ายของจริง “แม้คนเราจะแอบมีจิต “ซาดิสม์” อยู่ลึกๆบ้างแต่ในวิญญูชนมันจะถูกเก็บกวาดออกไปหมดครับด้วยสมองส่วนเหตุและผลที่เบื้องบนท่านประทานมา ดังนั้นจะว่าความโหดร้ายเป็นเรื่องธรรมดาก็คงไม่ใช่แน่นอน คนที่มีสิทธิ์จะทำเรื่องเลวร้ายที่สุดจาก “จิตสั่ง” อาจเป็นคนบุคลิกเรียบร้อย ไม่มีปากเสียง หน้านิ่ง แต่วันหนึ่งก็กระโดดโผงขึ้นมาฆ่าคนอย่างเป็นผักปลาไปก็ได้” นพ.กฤษดา กล่าว นพ.กฤษดา แนะถึงเทคนิคสังเกตคนที่เข้าข่ายสุ่มเสี่ยงไว้คือ 1.2.เก็บกด เมื่อมีปมไปแล้วถ้ายังคลายปมไม่ได้ก็กลายเป็นเก็บกด เข้าสู่กระบวนการปกป้องจิตใจตัวเอง ซึ่งเป็นกลไกทางจิตที่ช่วยเยียวยารักษาหัวใจให้ไม่ทุกข์กับโลกแห่งความจริงมากนัก มีตั้งแต่การระบายด้วยคำพูด ทำร้ายสัตว์หรือเด็กที่อ่อนแอกว่าและคิดรุนแรงสร้างภาพในหัวอยู่อย่างเดียวว่าถ้าแก้แค้นสังคมได้ก็คงดี เรื่องนี้มีทางแก้ง่าย ๆ คือใช้การระบายอย่างสร้างสรรค์เช่นการออกกำลังกาย หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงช่วยดูแลอาบน้ำให้ ก็จะช่วยล้างพลังลบที่ถูกกลบอยู่ในใจได้ 3. ครอบครัวหดหู่และแตกแยก คำว่าครอบครัวหดหู่คือมีแต่เรื่องราวให้หนักหัว เช่นทะเลาะกันไม่เว้นวัน มีคนติดเหล้าติดยาเสพติดในบ้าน มีการนอกใจกันหรือมีปัญหาเศรษฐกิจมีชีวิตลำบากทั้งการอยู่การกิน ส่งผลทำร้ายจิตใจสมาชิกในครอบครัวแบบซึมลึกเก็บกดไปเรื่อยๆ นั่งกินข้าวก็เครียด คุยกันก็ไม่แคล้วทะเลาะกลายเป็นอยู่นอกบ้านสบายใจกว่า ถ้าเป็นเช่นนี้บ่อยเข้าแล้วก็จะทำให สมาชิกบางคนที่มีความเสี่ยงป่วยจิตอยู่แล้วเกิดอาการซึมเศร้า ก้าวร้าวไปจนถึงอารมณ์รุนแรงอยากแกล้งสังคมเพื่อเป็นการระบายเพราะมองอะไรก็เห็นแย่ไปหมด ถ้าเป็นเด็กอาจแกล้งเพื่อน แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่แล้วก็อาจเข้าขั้นฆาตกรสังหารหมู่ได้ 4.แรงกดดันมหาศาล เราทุกคนมีแรงดันกันทั้งสิ้น อย่างน้อยก็ต้องมีจากภายในตัวเราที่ทำให้ลุกขึ้นมาทำงานและสู้โลกได้ แต่ในคนที่มีแนวโน้มจะก้าวร้าวนั้นเขามักมีแรงดันอันเป็นพลังดิบข้างในที่มากกว่าคนทั่วไปซึ่งอาจเป็นได้จากพันธุกรรมหรือพูดง่ายว่าดิบจากในดีเอ็นเอมาแล้ว แต่นั่นก็ไม่ใช่ข้อแก้ตัวว่าจะพ้นจากภาวะนั้นไม่ได้ เพราะต้นทุนอีกครึ่งหนึ่งเรายังมีอยู่คือสิ่งแวดล้อมรอบตัว ถ้าคนรอบตัวมัวแต่เติมแรงกดดันให้กันเช่นทะเลาะกัน เอาแต่ใจ บังคับ แกล้งกัน การบังคับหัวใจเช่นนี้จะเป็นปุ๋ยเร่งแรงดันชั้นดีให้ระเบิด ทะลุการควบคุมออกมา สำหรับการแก้ไขความหยาบกระด้างนั้น นพ.กฤษดา แนะว่านอกจากจะใช้ความรักและเมตตาแล้วยังมีสิ่งภายนอกที่จะช่วยได้ง่ายๆและทุกคนช่วยกันทำได้ ใช้หนังสือเป็นเพื่อน เปลี่ยนบ้านให้เป็นที่พักใจ ใช้เราเป็นตัวอย่าง สอนด้วยการกระทำ ทำเพื่อคนอื่นก่อน ดูตัวอย่างที่ผิดพลาดในอดีต ติดต่อ: www.tcels.or.th, 02-6445499
แท็ก ครอบครัว  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ