ภาคเอกชนไทย - เทศนับพัน ร่วมวงถกยุทธศาสตร์ใหม่ส่งเสริมการลงทุน กระทรวงอุตฯ - บีโอไอ พร้อมรับความเห็นไปพิจารณาเสนอบอร์ดใหญ่

ข่าวทั่วไป Monday January 14, 2013 10:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ม.ค.--บีโอไอ บีโอไอจัดสัมมนาใหญ่เพื่อรับฟังความเห็นจากภาคเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศในไทย เรื่องยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 1,500 คน โดยร่างยุทธศาสตร์ใหม่ จะส่งเสริมแบบมีเป้าหมายชัดเจน เน้น 10 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ เล็งเลิกส่งเสริมกิจการที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ ใช้แรงงานเข้มข้น มีปัญหาสิ่งแวดล้อมมาก คาดรวบรวมความเห็นภาคเอกชนทั่วประเทศเสร็จก่อนสิ้นกุมภาพันธ์นี้ เสนอบอร์ดใหญ่พิจารณาประกาศใช้ในเดือนมีนาคม และมีผลบังคับใช้เดือนมิถุนายน 2556 นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังกล่าวเปิดงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นเรื่อง “ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่: เพื่ออุตสาหกรรมไทยเติบโตอย่างยั่งยืน” ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมและบีโอไอมีความตั้งใจที่จะรับฟังข้อเสนอและความคิดเห็นจากผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างชาติ เพื่อนำข้อเสนอต่างๆ ทั้งจากการจัดสัมมนาในวันนี้ และจากงาสัมมนา ที่จะจัดขึ้นอีก 4 ครั้งในทุกภูมิภาคมาประกอบการพิจารณาจัดทำยุ ทธศาสตร์ใหม่ของการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งคาดว่าในเดือนมีนาคมจะสามารถนำเสนอต่อคณะกรรมากรส่งเสริมการลงทุน หรือบอร์ดบีโอไอ ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากระรทรวงการคลังเป็นประธาน และคาดว่านโยบายส่งเสริมการลงทุนภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน 2556 เป็นต้นไป “ ที่ผ่านมา การปรับปรุงนโยบายส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ ก็รับฟังความเห็นและข้อเสนอจากภาคเอกชน เพราะนโยบายที่จะส่งเสริมการลงทุนต้องตอบสนองความต้องการของนักลงทุน ครั้งนี้เราก็ต้องฟังเสียงจากนักลงทุนเช่นเดียวกัน แต่สถานการณ์ในปัจจุบันและในอนาคตทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมและบีโอไอต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย ซึ่งล้วนแต่เป็นเป้าหมายของยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนใหม่ ได้แก่ การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การยกระดับห่วงโซ่การผลิตของภาคอุตสาหกรรม การลดภาระทางการคลังด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การส่งเสริมให้เกิดคลัสเตอร์อุตสาหกรรมใหม่ในแต่ละภูมิภาคหรือพื้นที่ชายแดนเพื่อกระจายความเจริญ และการเพิ่มบทบาทใหม่ของบีโอไอเพื่อสามารถให้บริการและการอำนวยความสะดวกที่ดีขึ้นทั้งก่อนและหลังการลงทุน ทั้งการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ” นายประเสริฐกล่าว ด้านนายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ กล่าวว่าภายใต้ร่างยุทธศาสตร์ใหม่ บีโอไอมีแนวทางที่จะปรับเปลี่ยนจากเดิมที่ให้ส่งเสริมเกือบทุกกิจการมาเป็นส่งเสริมแบบมีเป้าหมายชัดเจน เน้น 10 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ 1. กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและ โลจิสติกส์ (เช่น เขตอุตสาหกรรม การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ น้ำประปาหรือน้ำเพื่ออุตสาหกรรม การขนส่งมวลชนและขนส่งสินค้า สนามบินพาณ ิชย์ ศูนย์บริการโลจิสติกส์) 2. กลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐาน (เช่น เหล็ก ปิโตรเคมี เยื่อกระดาษหรือกระดาษ เครื่องจักร) 3. กลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ (เช่น เครื่องมือแพทย์ ยา อาหารทางการแพทย์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์)4. กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนและบริการด้านสิ่งแวดล้อม (เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน กิจการ Recycle การบริการบำบัดน้ำเสียและกำจัดกากอุตสาหกรรม การบริการด้านจัดการพลังงาน (ESCO)) 5. กลุ่มธุรกิจบริการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม (เช่น R&D, HRD, Engineering Design, Software, บริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ บริการสอบเทียบมาตรฐ าน กิจการ ROH กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน) 6. กลุ่มเทคโนโลยีพื้นฐานขั้นสูง (เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีวัสดุขั้นสูง) 7. อุตสาหกรรมอาหารและแปรรูปสินค้าเกษตร (เช่น อาหารแปรรูป วัตถุเจือปนอาหาร สารสกัดจากสมุนไพร การปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืช ผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ เชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น เอทานอล และไบโอดีเซล) 8. อุตสาหกรรม Hospitality & Wellness (เช่น กิจการสนับสนุนการท่องเที่ยวและกีฬา การสร้างภาพยนตร์ไทยและบริการที่เกี่ยวข้อง ศูนย์ฟื ้นฟูสุขภาพ ศูนย์สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ)9. อุตสาหกรรมยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งอื่นๆ (เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถไฟ รถไฟฟ้า อากาศยาน ต่อเรือหรือซ่อมเรือ) 10. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (เช่น Electronic Design, Organics & Printed Electronics, HDD & SDD และชิ้นส่วน, เซลล์แสงอาทิตย์, White Goods ) ทั้งนี้ 10 กลุ่มอุตสาหกรรมที่บีโอไอจะมุ่งเน้นให้การส่งเสริมจะครอบคลุมกิจการประมาณ 130 ประเภท โดยแบ่งเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 100 กิจการ ซึ่งเป็นกิจการที่มีความสำคัญสูงต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและมีความจำเป็นต้องให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุน และสามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ ส่วนอีกประมาณ 30 กิจการ จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจัก วัตถุดิบ และสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษี เช่น การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน การนำเข้าช่างฝีมือและผู้ชำนาญการชาวต่างชาติ ขณะที่กิจการที่เคยให้ส่งเสริมและอยู่ในข่ายที่จะเลิกให้การส่งเสริม มีปัจจัยในการพิจารณาเลิกส่งเสริม คือ เป็นกิจการที่มีมูลค่าเพิ่มตํ่า การใช้เทคโนโลยีอยู่ในระดับตํ่า กระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน การเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต่างๆ มีน้อย ใช้แรงงานเข้มข้น และสามารถดำเนินกิจการได้เองโดยไม่จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริม นอกจากนี้ ยังมีกิจการที่บีโอไออาจเลิกส่งเสริมเพราะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาก หรือใช้พลังงานสูง รวมถึงกิจการที่เป็นกิจการสัมปทาน หรือกิจการผูกขาดที่รัฐคุ้มครองอยู่แล้ว และกิจการที่ขัดกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง นายอุดมกล่าวต่อไปด้วย ว่า ภายใต้ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนใหม่ จะให้ความสำคัญเพิ่มเติมด้านวิจัยพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยจะเพิ่มระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 1-3 ปี รวมทั้งเปลี่ยนการส่งเสริมตามเขตพื้นที่เป็นการส่งเสริมให้เกิด คลัสเตอร์อุตสาหกรรมใหม่ในภูมิภาค อาทิ คลัสเตอร์อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป คลัสเตอร์อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล คลัสเตอร์อุตสาหกรรมยางพารา คลัสเตอร์อุตสาหกรรมแฟชั่น คลัสเตอร์อุตสาหกรรมอากาศยาน คลัสเตอร์วิทยาศาส ตร์และเทคโนโลยี และคลัสเตอร์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ