กองทุนฯ หนุนนักวิจัยไทยพัฒนา โครงการต้นแบบการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี Vanadium Redox Flow

ข่าวทั่วไป Thursday December 16, 2004 14:43 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ธ.ค.--กระทรวงพลังงาน
ซึ่งเป็นแบตเตอรี่เก็บสำรองพลังงานไฟฟ้าด้วยเซลล์ไฟฟ้าเคมีประสิทธิภาพสูงและสามารถปรับเปลี่ยนพลังงานเคมีในน้ำตาลให้เป็นไฟฟ้าได้ หวังพัฒนาใช้เชิงพาณิชย์ ในอนาคต
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานมีนโยบายส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานร่วมกับภาคเอกชนที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่มีศักยภาพ
เพื่อเป็นรากฐานสำหรับส่งเสริมกลุ่มเทคโนโลยีพลังงานชั้นสูงแบบใหม่ๆ รวมถึงการพัฒนา สู่เชิงพาณิชย์ต่อไปในอนาคต
ดังนั้น กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้อนุมัติงบประมาณ เพื่อการวิจัยพัฒนาต้นแบบ และการติดตามตรวจสอบประเมินผลรวม 205 ล้านบาท ให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ดำเนิน
โครงการต้นแบบการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี Vanadium Redox Flow ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถประยุกต์ใช้งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยใช้เป็นอุปกรณ์เก็บสำรองไฟฟ้าในอาคารที่มีการใช้ไฟฟ้าในช่วง Peak รวมถึงใช้เก็บสำรองไฟฟ้าเพื่อเพิ่มเสถียรภาพให้กับระบบผลิตไฟฟ้าผสมผสานขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ และสามารถใช้ร่วมกับกระบวนการผลิตไฟฟ้าโดยตรงจากน้ำตาลและแป้ง นอกจากนี้สามารถนเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์โดยสารเพื่อลดการใช้น้ำมัน
ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวประสบความสำเร็จในการศึกษาวิจัยและพัฒนาในห้องปฏิบัติการแล้ว จึงต้องได้รับการสนับสนุนให้ศึกษาวิจัยพัฒนาการผลิตและการทดลองนำไปประยุกต์ใช้งานจริง เพื่อให้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคด้านเทคนิค ต้นทุนการผลิต และแนวทางการปรับปรุงเพื่อสร้างความมั่นใจสำหรับการพัฒนาในเชิงพาณิชย์และการผลิตในระบบอุตสาหกรรมต่อไป
ด้านนางสิริพร ไศละศูล อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) เปิดเผยว่า เทคโนโลยี Vanadium Redox Flow Battery เป็นเทคโนโลยีการเก็บสำรองพลังงานไฟฟ้าด้วยเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่มีประสิทธิภาพสูง จ่ายกระแสไฟฟ้าได้รวดเร็ว มีแรงดันวงจรไฟฟ้าสูง สามารถรับกำลังไฟฟ้าเกินกว่ากำลังติดตั้ง สามารถแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ และกระแสสลับเป็นกระแสตรงได้ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบทางด้านเทคโนโลยีสูงกว่าแบตเตอรี่ที่มีจำหน่ายและใช้ในปัจจุบัน โดยบริษัทเซลเลนเนียม (ประเทศไทย) จำกัด เป็นเจ้าของสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาเทคโนโลยี จึงเป็นเทคโนโลยีด้านพลังงานที่ภาครัฐต้องเข้ามาสนับสนุนเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ
ทั้งนี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ศูนย์เทคโนโลยี โลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ผู้ชำนาญการจากสถาบันการศึกษาในประเทศ และบริษัท เซลเลนเนียม (ประเทศไทย) จำกัด จะร่วมกันดำเนินงาน โดยแบ่งเป็น 4 โครงการย่อย คือ การวิจัยพัฒนาเพื่อลดภาระกำลังไฟฟ้าสูงสุด ซึ่งกองทุนฯสนับสนุนค่าใช้จ่าย 60 ล้านบาท การวิจัยพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงคาร์โบไฮเดรท กองทุนฯสนับสนุนค่าใช้จ่าย 65 ล้านบาท การวิจัยพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานขนาดเล็ก กองทุนฯสนับสนุนค่าใช้จ่าย 20 ล้านบาท การวิจัยพัฒนาและปรับปรุงระบบการทำงานของรถไฟฟ้าเพื่อใช้ร่วมกับแบตเตอรี่ที่พัฒนาขึ้น กองทุนฯสนับสนุนค่าใช้จ่าย 30 ล้านบาท โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินงานรวม 1 ปี 8 เดือน--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ