ส.อ.ท. ผนึกกำลัง ม.ศรีปทุม จัดสัมมนา “บริหารค่าจ้างอย่างไรให้ได้งาน ในสถานการณ์ปัจจุบัน” พร้อมรายงานผลการสำรวจค่าจ้างปี 2555/2556

ข่าวทั่วไป Friday March 22, 2013 16:40 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 มี.ค.--ส.อ.ท. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดงานสัมมนา“บริหารค่าจ้างอย่างไรให้ได้งานในสถานการณ์ปัจจุบัน” เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2556 เวลา 12.30 — 17.00 น. ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 14 อาคาร 40 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน โดยได้รับเกียรติจาก วิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจากภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา รวมถึงการรายงานผลการสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการ ปี 2555/2556 โดยการรวบรวมข้อมูลจากผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 300 บริษัท ซึ่งครอบคลุมกว่า 23 กลุ่มอุตสาหกรรม ข้อมูลด้านค่าจ้างผลตอบแทน นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ต้องการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย รวมถึงมีความสำคัญในการวางแผนด้านค่าตอบแทนของสถานประกอบการ ข้อมูลด้านการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญยิ่งต่อการบริหารต้นทุนของกิจการ โดยเฉพาะในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีความผันผวนยิ่งในปัจจุบัน สถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ สภาอุตสาหกรรมฯ และ วิทยาลัยบัณทิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดให้มีการสัมมนาเพื่อให้เป็นฐานข้อมูลด้านการจ่ายค่าจ้าง สวัสดิการ และนโยบายด้านการจ้างงานของผู้ประกอบการ ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือโดยแสดงผลข้อมูลบนเว็บไซต์ http://www.hcbi.org/salarysurvey ซึ่งข้อมูลด้านการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม นับเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจของนักลงทุนทั้งในประเทศและนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยมีข้อมูลที่รวบรวมวิเคราะห์เผยแพร่ อาทิ ข้อมูลค่าจ้างขั้นต้น สำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์ ข้อมูลค่าจ้างสำหรับผู้มีประสบการณ์ ข้อมูลการจัดสวัสดิการ ข้อมูลอัตราการจ่ายโบนัส ข้อมูลนโยบายการจ้างงาน ตลอดถึงการเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์และวิเคราะห์ในหลากหลายมุมมอง เช่น วิเคราะห์เป็นรายกลุ่มอุตสาหกรรม รายพื้นที่ และกลุ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นต้น ปัจจุบันการสำรวจค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการในกลุ่มธุรกิจได้มีสมาคมวิชาชีพและบริษัท ที่ปรึกษาต่างๆ ได้ดำเนินการจัดทำการสำรวจอย่างกว้างขวาง หากแต่กลุ่มและจำนวนผู้เข้าร่วมทำการสำรวจนั้นอาจมีจำนวนไม่มากพอหรือจำกัดอยู่ในกลุ่มธุรกิจบางประเภทเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อถือที่มีต่อข้อมูลในการสำรวจโดยรวม ประกอบกับทางสภาอุตสาหกรรมฯ มีสมาชิกเป็นจำนวนมากที่ครอบคลุมในทุกกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม จึงเห็นควรว่าหากจัดให้มีการสำรวจค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการในกลุ่มสมาชิก ของสภาอุตสาหกรรมฯ แล้ว ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจนั้นจะสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ในระดับมาตรฐานของประเทศไทย รวมถึงประโยชน์ต่อการบริหารค่าตอบแทนสำหรับประเทศไทยในภาพรวมอีกด้วย ทั้งนี้ จากความร่วมือของ ส.อ.ท. และคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่เป็นพันธมิตรสำคัญได้ทุ่มเทเอาใจใส่ในฐานะผู้รับผิดชอบด้านการวิเคราะห์และจัดทำรายงานผลการสำรวจโครงการดังกล่าวนี้จะสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่องด้วยความร่วมมือและเสียสละของสถานประกอบการผู้ให้ข้อมูลและการทุ่มเททำงานร่วมกันของคณะทำงานทุกท่าน เพื่อให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีโอกาสเป็นผู้นำเสนอข้อมูลด้านค่าจ้างและสวัสดิการที่น่าเชื่อถือของประเทศต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ