ธสน. แถลงผลการดำเนินงานปี 2547

ข่าวทั่วไป Thursday February 10, 2005 15:23 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 ก.พ.--ธสน.
นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
(ธสน.) เปิดเผยว่าผลการดำเนินงานในไตรมาส 4 ปี 2547 ธสน. ยังขยายสินเชื่อได้อย่างต่อเนื่องและ
มีผลกำไรสุทธิในระดับที่น่าพอใจ โดยยอดสินเชื่อรวมดอกเบี้ยค้างรับเพิ่มขึ้น 826 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ
150 ล้านบาท ผลประกอบการทั้งปี 2547 ก่อนการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีมีกำไรสุทธิ 477 ล้านบาท
เทียบกับกำไรสุทธิที่สูงถึง 717 ล้านบาทเมื่อปี 2546 กำไรที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นเพราะรายได้รับคืนจากหนี้
ตัดจำหน่ายและหนี้สูญในปีนี้มีจำนวนที่น้อยลง โดยมีจำนวน 265 ล้านบาท เทียบกับจำนวนที่สูงถึง 516 ล้าน
บาทเมื่อปีที่แล้ว รายได้ดอกเบี้ยสุทธิก็มีจำนวนลดลงเนื่องจากดอกเบี้ยในตลาดเงินที่สูงขึ้นและการแข่งขันที่สูง
ในประเทศไทยในการอำนวยสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออกทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยลดลงในปีนี้
ธนาคารมีรายจ่ายสำรองหนี้สูญและส่วนสูญเสียจากการปรับโครงสร้างหนี้ในปีที่ผ่านมาจำนวน
1,010 ล้านบาท ต่ำลงบ้างเมื่อเทียบกับจำนวนสำรอง 1,205 ล้านบาทในปี 2546
สินทรัพย์รวม ณ สิ้นปี 2547 มีจำนวน 52,806 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 จาก 47,930
ล้านบาท ณ สิ้นปี 2546 ยอดเงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ ณ สิ้นปี 2547 มีจำนวน 49,436 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบกับ 43,129 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2546 ในด้านปริมาณธุรกิจการรับซื้อและเรียก
เก็บเงินตามตั๋วส่งออกมีมูลค่า 109,621 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.5 ส่วนปริมาณธุรกิจด้านการรับแจ้งประ
กันการส่งออกของปี 2547 มีจำนวน 30,307 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ณ สิ้นปี 2547 ธสน. มียอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) เท่ากับ 4,905 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 9.9 ของยอดเงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับจำนวน 4,834 ล้านบาท เมื่อสิ้น
ไตรมาส 3 และจำนวน 4,106 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2546 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 9.5 สำหรับอัตราเงินกองทุนต่อ
สินทรัพย์เสี่ยง ณ สิ้นปี 2547 เท่ากับร้อยละ 17.9
กรรมการผู้จัดการ ธสน. กล่าวเพิ่มเติมถึงผลการดำเนินงานในปี 2547 ว่าในปี 2547 ธสน.
มีนโยบายให้ความสำคัญในการสนับสนุนผู้ส่งออกขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 88.3
ของจำนวนลูกค้าทั้งหมดของ ธสน. โดยในปี 2547 ธสน. ได้อนุมัติสินเชื่อใหม่ให้แก่ผู้ส่งออก SMEs 736
ราย เป็นวงเงินรวม 15,741 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6,659 ล้านบาท หรือร้อยละ 73.3 เมื่อเทียบกับ
ปี 2546
ในส่วนของการสนับสนุนการลงทุนไทยในต่างประเทศ ธสน. ได้ให้วงเงินสินเชื่อและค้ำประกัน
แก่นักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนหรือให้บริการในต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2547 รวม 22,183 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
30.6 โดยมีวงเงินอนุมัติใหม่ในปี 2547 จำนวน 7,302 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงวงเงินสินเชื่อแก่ผู้ประกอบ
การร้านอาหารไทยในต่างประเทศและวงเงินกู้ระยะยาวแก่รัฐบาลพม่าเพื่อใช้ซื้อสินค้าทุน อาทิ เครื่องจักร
อุปกรณ์ วัสดุก่อสร้าง รวมไปถึงการจ้างบริการจากบริษัทของไทย
นอกจากนั้น ในปี 2547 ธสน. ได้ลงนามในความร่วมมือกับองค์กรในต่างประเทศเพื่อเอื้อประ
โยชน์ให้แก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทย ประกอบด้วยการร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจกับธนาคารการค้าต่าง
ประเทศลาวเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีด้านการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศ
การลงนามในบันทึกความเข้าใจกับสถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
(Kreditanstalt fuer Wiederaufbau: KfW) เพื่อให้ความร่วมมือในด้านการเงินและวิชาการระหว่าง
กัน รวมทั้งการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเศรษฐกิจและเครือข่าย
คมนาคมในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) การลงนามความร่วมมือ
กับธนาคารแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของบราซิล (Banco National de Desenvolvimento
Economic e Social — BNDES) ของประเทศบราซิลเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือทางธุรกิจ และ
การลงนามในความตกลงว่าด้วยการให้บริการ Revolving Trade Financing Facility กับ
Vneshtorgbank ของประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย
นอกจากนี้ ธสน. ยังได้จัดอบรมและสัมมนาเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ส่งออก นักลงทุน และผู้ที่สนใจทั่วไป
ในเรื่องการจัดทำเอกสารส่งออก การป้องกันความเสี่ยงในการส่งออก การให้ความรู้เกี่ยวกับลู่ทางการค้าและ
การลงทุนในตลาดที่มีศักยภาพ รวมถึงข้อมูลกฎระเบียบและความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศไทยกับประ
เทศคู่ค้าที่สำคัญ การสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยในต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น 50 ครั้ง โดยมีผู้เข้ารับการ
อบรมและสัมมนา จำนวน 1,700 คน
กรรมการผู้จัดการ ธสน. กล่าวถึงนโยบายการดำเนินงานของ ธสน. ปี 2548 ว่า ธสน. จะ
เน้นบทบาทเชิงรุกในการสร้างและพัฒนาผู้ส่งออกและนักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศโดยให้การสนับสนุน
ทั้งทางการเงินและไม่ใช่การเงิน โดยภารกิจที่สำคัญของ ธสน. ในปี 2548 ประกอบด้วยการสร้างผู้ประกอบ
การภายในประเทศให้เป็นผู้ส่งออกรายใหม่และช่วยเหลือผู้ส่งออกขนาดย่อมให้มีความเข้มแข็ง การส่งเสริมให้
ผู้ส่งออกขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพสามารถเพิ่มหรือขยายการส่งออกให้มากขึ้น และการผลักดันให้ผู้
ส่งออกรายใหญ่หรือนักธุรกิจไทยที่มีศักยภาพไปลงทุนหรือขยายกิจการในต่างประเทศ รวมทั้งการพัฒนาอย่างต่อ
เนื่องในฐานะเพื่อนผู้เชี่ยวชาญของผู้ส่งออก
เกี่ยวกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เป็นสถาบันการเงินของรัฐที่อยู่
ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประ
เทศไทย พ.ศ. 2536 ซึ่งกำหนดขอบเขตอำนาจให้ธนาคารสามารถทำธุรกิจทุกประเภทที่ธนาคารพาณิชย์ทำได้
ยกเว้นเพียงการรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้บริการทางการเงินเพื่อเพิ่มขีด
ความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยและนักลงทุนไทยในต่างประเทศ และสนับสนุนการได้มาซึ่งเงิน
ตราต่างประเทศของไทยหรือประหยัดเงินตราต่างประเทศ
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
ผลการดำเนินงาน
วงเงินอนุมัติ ปี 2547 ปี 2546
ณ สิ้น ธ.ค. ณ สิ้น ธ.ค.
1.สินเชื่อ 95,051.0 77,749.2
วงเงินสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออก 55,939.5 48,139.6
วงเงินสินเชื่อเพื่อขยายกำลังผลิต 8,678.3 5,852.7
ท วงเงินสินเชื่อเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร 183.3 259.5
ท วงเงินสินเชื่อธุรกิจโรงแรม 2,668.9 102.9
วงเงินสินเชื่อพาณิชย์นาวี 3,591.6 2,192.9
วงเงินสินเชื่อโครงการระหว่างประเทศ 22,104.3 16,976.1
วงเงินสินเชื่อปรับโครงสร้างหนี้ 4,737.3 4,587.9
2.บริการประกันการส่งออก 11,500.0 10,962.5
รวมวงเงินทั้งสิ้น 106,551.0 88,711.7
ปริมาณธุรกิจ ปี 2547 ปี 2546
ม.ค. - ธ.ค. ม.ค. - ธ.ค.
ท มูลค่าตั๋วส่งออกที่ผู้ส่งออกมาขายและฝากเรียกเก็บ 109,620.6 70,056.9
ท มูลค่ารับแจ้งประกันการส่งออก 30,306.9 28,264.5
รวมปริมาณธุรกิจ 139,927.5 98,321.4
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)
งบกำไรขาดทุน
สำหรับงวด
หน่วย:ล้านบาท
2547 2546
ไตรมาส 4 ม.ค. - ธ.ค. ไตรมาส 4 ม.ค. - ธ.ค.
(ก่อนตรวจสอบ) (ตรวจสอบแล้ว)
รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 338 1,264 438 1,409
รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย 342 823 449 1,034
รายได้รวม 680 2,087 887 2,443
ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย 191 600 135 521
กำไรก่อนสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญและขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ 489 1,487 752 1,922
สำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญและขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ 339 1,010 485 1,205
กำไรสุทธิ 150 477 267 717
งบดุล
หน่วย : ล้านบาท
2547 2546
ณ 30 ก.ย. ณ 31 ธ.ค. ณ 31 ธ.ค.
สินทรัพย์ (สอบทานแล้ว) (ก่อนตรวจสอบ) (ตรวจสอบแล้ว)
เงินสดและรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินสุทธิ 3,322 2,822 4,071
เงินลงทุน 2,329 2,672 1,578
เงินให้สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับ 48,610 49,436 43,129
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและค่าเผื่อการปรับมูลค่าจากการปรับโครงสร้างหนี้ 4,095 4,404 3,523
สินทรัพย์อื่นๆ 1,494 2,280 2,675
รวมสินทรัพย์ 51,660 52,806 47,930
หนี้สินและส่วนของทุน
เงินฝาก 4,956 4,860 3,287
รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน 7,313 8,681 10,129
เงินกู้ยืม 30,122 30,050 24,837
หนี้สินอื่นๆ 408 436 328
ส่วนของทุน 8,861 8,779 9,349
รวมหนี้สินและส่วนของทุน 51,660 52,806 47,930
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-performing Loans: NPLs)
หนี้ NPL ณ สิ้นปี 2546 4,106 ล้านบาท
บวก หนี้ NPL ที่เพิ่มขึ้น 1,659 ล้านบาท
หัก หนี้ NPL ที่ลดลง 860 ล้านบาท
หนี้ NPL ณ สิ้นปี 2547 4,905 ล้านบาท
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140-1146--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ