ม.หอการค้าไทยหวังรถไฟความเร็วสูง ยกระดับไทยหลุดจากกลุ่ม Middle Income

ข่าวทั่วไป Tuesday May 14, 2013 11:25 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 พ.ค.--เอ๊ซ ม.หอการค้าไทย หนุนระบบรถไฟความเร็วสูงให้เกิดโดยเร็ว ชี้ช่วยลดต้นทุนค่าโสวหุ้ยประเทศ นำมาใช้เป็นกลยุทธ์เพื่อวางแผนการจัดการและบริหารทางธุรกิจได้ชัดเจนอย่างถูกต้อง เพิ่มความสามารถและสร้างโอกาสการลงทุนไทยก้าวขึ้นบันไดขั้นใหม่สู่การผลิตสินค้าไฮเอ็นได้สูงขึ้นก่อนเปิดเสรี AEC ยกระดับไทยหลุดจากกลุ่มประเทศ Middle Income Gape แนะเลือกใช้วิธีการTargeted Subsidy บริหารระบบขนส่งไทย คงรักษาผลประโยชน์ให้กับคนจนได้ ระบุความ น่าลงทุนของประเทศไทยขณะนี้แพ้ประเทศอินโดนิเซียแล้ว เตรียมถกเนื้อหาในสัมมนาวาระดิจิทัล 8 วันที่ 23 พ.ค.ศกนี้ รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานสถาบันวิชาการนโยบายสาธารณะกับธุรกิจและการกำกับดูแล (APaR) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกล่าวถึงอนาคตประเทศไทยในยุคการขยายตัวทางด้านการขนส่ง คมนาคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีด้านข้อมูลและการสื่อสาร ไร้ขีดจำกัดว่า แผนการพัฒนาระบบโครงสร้างอินฟาสตรัคเจอร์ 2 ล้านล้านบาทของประเทศไทยด้วยการลงทุนสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาล มีผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในเรื่องของเส้นทาง Trade Zone เรื่องเส้นทางสายส่งพลังงาน และด้านความต้องการจัดจ้างบุคลากรทั้งระดับผีมือและมืออาชีพ ที่จะส่งผลเกี่ยวเนื่องไปถึงการวางแผนการจัดการและบริหารธุรกิจอย่างถูกต้องก่อนที่จะมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างเต็มตัวในอนาคตอันใกล้นี้ “การลงทุนระบบรถไฟความเร็วสูง นับว่าเป็นการยกระดับและพัฒนาระบบโครงสร้างอินฟาสตรัคเจอร์ให้ดีขึ้นเพื่ออนาคต ที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและค่าโสวหุ้ยในด้านการขนส่งลงได้ ในขณะที่ปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบค่าขนส่งในการขนส่งผัก หากมุ่งขนส่งผักด้วยการใช้น้ำมัน จะเป็นการลงทุนขนส่งด้านโลจิสติคที่แพงเกินไป เนื่องจากระบบการผลิตสินค้าโดยรวมของไทยยังเป็นการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ เป็นสินค้าเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ไม่ใช่สินค้ามูลเพิ่มสูง เช่น สินค้าไฮเอ็น ไฮเทค ไอที เหล่านี้ ประเทศไทยเองก็มีสัดส่วนใช้น้ำมันของประเทศเพื่อการขนส่งถึง 70 เปอร์เซ็นต์ซึ่งถือว่าแพงมาก” รศ. สุธรรม กล่าวแสดงความคิดเห็น รศ.สุธรรม กล่าวเสริมอีกว่า การเปลี่ยนเป็นรถไฟความเร็วสูง ยังส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อมดีขึ้น ไม่มีการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และควันพิษ และไม่เกิดการสูญเสียโดยเผาน้ำมันทิ้งอย่างไร้ประโยชน์ ยังสามารถขนส่งได้เป็นจำนวนมาก และเป็นระบบที่พัฒนาให้มีการใช้ไฟในอัตราที่ต่ำแต่ให้ประสิทธิภาพสูง ช่วยลดต้นทุนเพิ่มมาร์จินให้กับสินค้าที่ราคาต่ำ เท่ากับเป็นเพิ่มความสามารถในการผลิตและการขยับประเทศให้ก้าวบันไดการผลิตขึ้นไปสู่ Higher value chain สินค้าที่มีมาร์จินสูงมากขึ้น เป็นประโยชน์ต่อประเทศ ความเห็นว่าเมื่อมีการพัฒนาระบบขนส่งของไทยใหม่แล้ว จะมีผลให้คนจนไม่ได้รับประโยชน์ เรื่องนี้ รศ.สุธรรมกล่าวความเห็นว่าไม่จริงเลย เพราะว่าเราสามารถเลือกใช้ได้หลายวิธีการที่จะให้คนจนได้ประโยชน์จากการพัฒนาระบบขนส่งแบบใหม่ได้ โดยไม่ต้องเป็นระบบ General Subsidyเหมือนแบบเดิมที่ใช้อยู่ในขณะนี้ และคนจนที่ไม่มีเงินที่ควรจะได้รับการสนับสนุนก็ยังคงได้รับการสนับสนุนได้อยู่ต่อไป แต่ไม่ใช่การที่รัฐบาลต้องนำเงินทั้งหมดมาสนับสนุน วิธีการที่เป็นแนวโน้มใหม่น่าสนใจที่นำมาใช้ได้คือ วิธีการ Targeted Subsidy โดยรัฐบาลจะให้การสนับสนุนเป็นเฉพาะกลุ่ม กลุ่มที่มีความสามารถในการจ่าย ก็จะมีระบบขนส่งที่ใช้อีกรูปแบบหนึ่งกับกลุ่มคนที่ไม่มีความสามารถจ่าย “ประเทศของเราขณะนี้ถูกล็อกอยู่ในระดับกลุ่มประเทศ Middle Structure จะก้าวไปข้างหน้าก็ลำบาก เนื่องจากมีระบบเก่าไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลง ขณะที่มีความต้องการให้เกิดระบบใหม่และมีคนรุ่นใหม่เข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องหลุดออกกลุ่มMiddle Income Gape ด้วยการยกระดับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ครั้งนี้เท่ากับเป็นเพียงแค่การยกระดับขั้นแรกเท่านั้น ยังมีอีกหลายๆเรื่องที่ต้องยกระดับการพัฒนาตามไปด้วย ทั้ง Human ระบบเศรษฐกิจ การแข่งขัน แม้แต่เรื่องการเมือง เราจะต้องหมุนไปข้างหน้าและเตรียมความพร้อมในเรื่องอนาคตระยะยาวอีก 10 ปีข้างหน้า ขณะที่การลงทุนทั่วโลกก้าวล้ำหน้าไปกว่าไทยแล้วแม้แต่ประเทศจีน ” รศ. สุธรรมกล่าว ประธานสถาบัน APaRกล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็ต้องก้าวพัฒนาตามให้ทันในระดับโลก เพราะประเทศไทยเองกำลังก้าวสู่การเปิดประเทศและเปิดการค้าโลก ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยนำหน้าอาเซียนแทบในทุกๆด้าน บัดนี้ไทยเราตกอันดับไปอยู่ในระดับกลางล่างของอาเซียน ในขณะที่อาเซียนมีการขยายตัวก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง อันดับความน่าลงทุนของไทยขณะนี้ก็ต่ำกว่าอินโดนิเซียแล้ว ประเทศอินโดนิเซียกลายเป็นประเทศที่มีการปรับตัวเร็วและแก้ไขเร็ว เมื่อดูถึง corperate in performanceด้านเศรษฐกิจและเรตติ้งของอินโดนิเซียและฟิลิปินส์แล้ว สูงมาก และไทยสู้เขาไม่ได้ ไม่เหมือนกับประเทศที่คนไทยเคยรู้จักเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เมื่อเทียบกับเวียดนาม พม่า เขมร และลาว ประเทศไทยดีกว่าเพียงแค่ในด้านบรรยายกาศน่าลงทุน หากเมื่อเปิดเป็นอาเซียน จะยิ่งเกิดการแย่งทุนจากไทยไป ทั้งหมดนี้จึงเป็นเรื่องราวประเด็นต่างๆที่จะหยิบยกขึ้นการพูดถึงในการสัมมนาภายใต้โครงการ “วาระดิจิทัล รู้ทันโลก ร่วมเปิดไทย ครั้งที่ 8” ในหัวข้อเรื่อง“Logistics and Transportation in time of Expansion” หรือ “การเตรียมความพร้อมสำหรับประเทศไทย...เพื่อการขยายตัวด้านการขนส่งและโลจิสติกส์” จัดขึ้นใน วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 12.30 — 17.15 ณ ห้องโลตัส ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์info.acethailand@gmail.com โดยความร่วมมือของ สถาบันวิชาการนโยบายสาธารณะกับธุรกิจและการกำกับดูแล (APaR) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยสถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ (ISEP) และ เอ๊ซ ซึ่งผู้สนใจสามารถสำรองที่นั่งสัมมนาได้ที่ โทร 02-254-8282 — 3หรือ info.acethailand@gmail.com “การร่วมถกวาระดังกล่าวนี้ ยังเป็นการถ่ายทอดแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการขนส่ง คมนาคม เศรษฐกิจ พลังงานและเทคโนโลยีทางด้านข้อมูลและการสื่อสารของรัฐบาลไทยไปยังกลุ่มเป้าหมายให้เข้าใจอย่างถูกต้อง เป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ จากภาครัฐและภาคเอกชนถึงปัจจัยสู่ความสำเร็จและโอกาสของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง กับทางด้านการขนส่งหรือมีค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานเป็นต้นทุนหลักให้เกิดความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคลากรที่ควรมีการจัดเตรียมหรือพัฒนาไว้รองรับการขยายตัวดังกล่าวอย่างจริงจัง” รศ. สุธรรม กล่าวในที่สุด ติดต่อ: บริษัท เอ๊ซ จำกัด โทร 02-254-8282 — 3หรือ info.acethailand@gmail.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ