กรุงเทพธุรกิจ-ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดผลสำรวจซีอีโอเดือนมิถุนายน ผู้บริหารมองศก.ขาลง กังวลกำลังซื้อลด

ข่าวทั่วไป Tuesday June 25, 2013 16:43 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 มิ.ย.--หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจร่วมกับศูนย์วิจัย กรุงเทพธุรกิจ-ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดผลสำรวจ CEO Sentiment Index เดือนมิ.ย.-ก.ค. พบหลายปัจจัยลบกระหน่ำ ส่งผลดัชนีเศรษฐกิจใกล้ติดลบ โดยลดเหลือ 1 จุด ผู้บริหารกังวลกำลังซื้อลด ขณะที่ต้นทุนพุ่ง หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจร่วมกับศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPURC) เปิดผลสำรวจความเห็นผู้บริหาร CEO Sentiment Index ประจำเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม โดยได้สำรวจความเห็นของผู้บริหารบริษัทจำนวน 433 คน ในระหว่างวันที่ 3-15 มิถุนายน 2556 เกี่ยวกับแนวโน้มทางเศรษฐกิจและธุรกิจ พบว่า ผู้บริหารต่างมองว่า แนวโน้มเศรษฐกิจยังปรับตัวลงต่อ โดยดัชนีด้านเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายนได้ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 2 จุด และคาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 1 จุดในเดือนกรกฎาคม ซึ่งถือว่าได้ปรับลดลงอย่างรวดเร็วจากช่วงไตรมาสแรกของปีที่เคยอยู่ที่ระดับ 39 จุด ทั้งนี้การที่ดัชนีเศรษฐกิจได้ปรับลดต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการที่ภาพรวมทางเศรษฐกิจของโลกยังไม่ฟื้นตัว อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นในช่วงต้นปี ตลอดจนปัจจัยภายในประเทศไม่ว่าจะเป็นค่าครองชีพที่สูงขึ้นจนกระทบกับกำลังซื้อ หนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น และการขาดทิศทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารจัดการนโยบายเศรษฐกิจในภาพรวม กังวลกำลังซื้อลด ขณะที่ปัจจัยซึ่งส่งผลต่อการทำธุรกิจในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม นั้น ผู้บริหารต่างเห็นว่า ปัจจัยสำคัญที่สุด 5 อันดับแรก คือ ความต้องการของตลาดที่ลดลง และสภาวะเศรษฐกิจของไทย ซึ่งได้ 4.1 คะแนนเท่ากัน ต้นทุนวัตถุดิบและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ได้ 3.7 คะแนนเท่ากัน ต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้น ได้ 3.4 คะแนน “การที่ผู้บริหารให้ความสำคัญกับความต้องการของตลาดที่ลดลงเป็นอันดับแรก สะท้อนถึงความกังวลใจเกี่ยวกับการชะลอตัวของกำลังซื้อ ซึ่งเป็นผลมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น และการเพิ่มขึ้นของหนี้สินของครัวเรือนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ การที่ธุรกิจต้องรับมือกับปัญหาการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของต้นทุนในช่วงเวลาที่กำลังซื้อกำลังชะลอตัวเช่นนี้ ย่อมส่งผลต่อระดับสภาพคล่อง สภาพคล่องที่ลดลงทำให้ธุรกิจมีความสามารถในการรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่าเดิม และยังเป็นข้อจำกัดให้ไม่สามารถลงทุนเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวได้มากเท่าที่ควร หากสถานการณ์ภาพรวมของเศรษฐกิจยังเป็นเช่นนี้ต่อไป ความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภาพรวมย่อมได้รับผลกระทบตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้” ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ วิเคราะห์ ดัชนีรายได้ลด ดัชนีต้นทุนพุ่งต่อ ขณะที่ดัชนีด้านการทำธุรกิจซึ่งมี 4 ด้านด้วยกัน คือ ดัชนีด้านรายได้ ดัชนีด้านต้นทุน ดัชนีด้านสภาพคล่องและดัชนีด้านการจ้างงานนั้น ดัชนีด้านรายได้ในเดือนมิถุนายนได้ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 5 จุด และคาดว่าจะลดลงเป็น 1 จุดในเดือนกรกฎาคมซึ่งสอดคล้องกับดัชนีทางเศรษฐกิจ ด้านดัชนีด้านต้นทุนในเดือนมิถุนายนได้เพิ่มขึ้นเป็น 48 จุด และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 52 จุดในเดือนกรกฎาคม ซึ่งการที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไตรมาสที่สองนี้ส่งผลให้ดัชนีสภาพคล่องยังคงมีค่าเป็นลบและมีแนวโน้มที่จะติดลบเพิ่มขึ้น โดยลดลงเป็น -3 จุดในเดือนมิถุนายนและคาดว่าจะลดลงไปเป็น -7 จุดในเดือนหน้าส่วนดัชนีการจ้างงานในเดือนมิถุนายนมีค่า 4 จุด เท่ากับเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่ผู้บริหารต่างคาดการณ์ว่า ดัชนีการจ้างงานในเดือนหน้าจะปรับลดลงมาเป็น 2 จุด กรุงเทพธุรกิจ-ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดผลสำรวจซีอีโอเดือนมิถุนายน ผู้บริหารมองศก.ขาลง กังวลกำลังซื้อลด กรุงเทพธุรกิจ-ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดผลสำรวจ CEO Sentiment Index เดือนมิ.ย.-ก.ค. พบหลายปัจจัยลบกระหน่ำ ส่งผลดัชนีเศรษฐกิจใกล้ติดลบ โดยลดเหลือ 1 จุด ผู้บริหารกังวลกำลังซื้อลด ขณะที่ต้นทุนพุ่ง หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจร่วมกับศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPURC) เปิดผลสำรวจความเห็นผู้บริหาร CEO Sentiment Index ประจำเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม โดยได้สำรวจความเห็นของผู้บริหารบริษัทจำนวน 433 คน ในระหว่างวันที่ 3-15 มิถุนายน 2556 เกี่ยวกับแนวโน้มทางเศรษฐกิจและธุรกิจ พบว่า ผู้บริหารต่างมองว่า แนวโน้มเศรษฐกิจยังปรับตัวลงต่อ โดยดัชนีด้านเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายนได้ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 2 จุด และคาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 1 จุดในเดือนกรกฎาคม ซึ่งถือว่าได้ปรับลดลงอย่างรวดเร็วจากช่วงไตรมาสแรกของปีที่เคยอยู่ที่ระดับ 39 จุด ทั้งนี้การที่ดัชนีเศรษฐกิจได้ปรับลดต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการที่ภาพรวมทางเศรษฐกิจของโลกยังไม่ฟื้นตัว อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นในช่วงต้นปี ตลอดจนปัจจัยภายในประเทศไม่ว่าจะเป็นค่าครองชีพที่สูงขึ้นจนกระทบกับกำลังซื้อ หนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น และการขาดทิศทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารจัดการนโยบายเศรษฐกิจในภาพรวม กังวลกำลังซื้อลด ขณะที่ปัจจัยซึ่งส่งผลต่อการทำธุรกิจในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม นั้น ผู้บริหารต่างเห็นว่า ปัจจัยสำคัญที่สุด 5 อันดับแรก คือ ความต้องการของตลาดที่ลดลง และสภาวะเศรษฐกิจของไทย ซึ่งได้ 4.1 คะแนนเท่ากัน ต้นทุนวัตถุดิบและความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ได้ 3.7 คะแนนเท่ากัน ต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้น ได้ 3.4 คะแนน “การที่ผู้บริหารให้ความสำคัญกับความต้องการของตลาดที่ลดลงเป็นอันดับแรก สะท้อนถึงความกังวลใจเกี่ยวกับการชะลอตัวของกำลังซื้อ ซึ่งเป็นผลมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น และการเพิ่มขึ้นของหนี้สินของครัวเรือนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ การที่ธุรกิจต้องรับมือกับปัญหาการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของต้นทุนในช่วงเวลาที่กำลังซื้อกำลังชะลอตัวเช่นนี้ ย่อมส่งผลต่อระดับสภาพคล่อง สภาพคล่องที่ลดลงทำให้ธุรกิจมีความสามารถในการรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่าเดิม และยังเป็นข้อจำกัดให้ไม่สามารถลงทุนเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวได้มากเท่าที่ควร หากสถานการณ์ภาพรวมของเศรษฐกิจยังเป็นเช่นนี้ต่อไป ความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภาพรวมย่อมได้รับผลกระทบตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้” ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ วิเคราะห์ ดัชนีรายได้ลด ดัชนีต้นทุนพุ่งต่อ ขณะที่ดัชนีด้านการทำธุรกิจซึ่งมี 4 ด้านด้วยกัน คือ ดัชนีด้านรายได้ ดัชนีด้านต้นทุน ดัชนีด้านสภาพคล่องและดัชนีด้านการจ้างงานนั้น ดัชนีด้านรายได้ในเดือนมิถุนายนได้ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 5 จุด และคาดว่าจะลดลงเป็น 1 จุดในเดือนกรกฎาคมซึ่งสอดคล้องกับดัชนีทางเศรษฐกิจ ด้านดัชนีด้านต้นทุนในเดือนมิถุนายนได้เพิ่มขึ้นเป็น 48 จุด และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 52 จุดในเดือนกรกฎาคม ซึ่งการที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไตรมาสที่สองนี้ส่งผลให้ดัชนีสภาพคล่องยังคงมีค่าเป็นลบและมีแนวโน้มที่จะติดลบเพิ่มขึ้น โดยลดลงเป็น -3 จุดในเดือนมิถุนายนและคาดว่าจะลดลงไปเป็น -7 จุดในเดือนหน้าส่วนดัชนีการจ้างงานในเดือนมิถุนายนมีค่า 4 จุด เท่ากับเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่ผู้บริหารต่างคาดการณ์ว่า ดัชนีการจ้างงานในเดือนหน้าจะปรับลดลงมาเป็น 2 จุด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ