“ฟอร์ติการ์ดแล็ปส์พบภัยคุกคามในประเทศไทย 3 อันดับสูงสุด”

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday July 16, 2013 10:58 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ก.ค.--คอมมิวนิเคชั่น อาร์ต “ฟอร์ติการ์ดแล็ปส์พบภัยคุกคามในประเทศไทย 3 อันดับสูงสุด” พร้อมช่วยป้องกันภัยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ Fortinet (NASDAQ: FTNT) — ในโอกาสที่มร. เดอริค มันคี ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธความปลอดภัย (Global Security Specialist) จากฟอร์ติการ์ดแล็ปส์ ซึ่งเป็นศูนย์วิเคราะห์ภัยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ของฟอร์ติเน็ตจากประเทศสหรัฐอเมริกาได้เดินทางมาในประเทศไทย จึงได้เผยถึงการค้นพบภัยคุกคามที่เกิดในประเทศไทยระหว่างเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนที่ผ่านมา สูงสุด 3 ประเภท ได้แก่ ภัยทางโมบาย (Mobile threats) ภัยที่มาจากช่องโหว๋ (Vulnerabilities) และบอทเน็ท (Botnets) เดอริคได้แจ้งว่า ได้ภัยคุกคามประเภทภัยทางโมบายที่พบมากที่สุดเกิดบนแพลทฟอร์มแอนดรอยด์ ได้แก่ Android/NewyearLB ซึ่งเป็นบอทเน็ททางโมบายใหม่และจะขโมยข้อความสั้นของเหยื่อ ตามด้วยภัย Android/Plankton.B!tr ที่พัฒนาตัวมาจากบอทเน็ทบนพีซีและจะแอบดาว์นโหลดโค้ด และ Android/SMSSend.G49 ซึ่งจะแอบส่งข้อความสั้นไปยังเบอร์มือถือลูกค้าคนสำคัญ การรุกรานที่เกิดจากปัญหามีช่องโหว๋ อันดับสูงสุดที่พบในช่วงดังกล่าวคือ พวก ZmEu.Vulnerability.Scanner และ Vmware.Server.Directory.Traversal ที่แฮกเกอร์ใช้เป็นช่องทางแอบเข้ามาขโมยข้อมูลที่สำคัญของเหยื่อ และตามด้วย Joomla.JCE.Extension.Remote.File.Upload49 ที่คุกคามระบบจัดการเนื้อหา (Content management system) และเปิดการทำงาน Arbitrary script นอกจากนี้ ยังพบบอทเน็ทที่เกิดขึ้นมากสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ Vundo.Botnet ซึ่งพบตั้งแต่ปีค.ศ. 2004 และทำงานให้กับภัยประเภทแอนตี้ไวรัสปลอม (Fake AV - Scareware) ตามด้วย Zeroaccess.Botnet และ Jeefo.Botnet ซึ่งพบตั้งแต่ปีค.ศ. 2008 ฟอร์ติการ์ดแล็ปส์ของฟอร์ติเน็ต มีนักวิเคราะห์ภัย วิศวกร ผู้เชี่ยวชาญทางศาสตร์ด้านคุกคามโดยเฉพาะมากถึง 200 ท่านทั่วโลก ทำงานดักตรวจภัยที่ผ่านอุปกรณ์ฟอร์ติเกทที่องค์กรทั้งหลายใช้อยู่ทั่วโลก ติดตามพฤติกรรมน่าสงสัยต่างๆ ประมวลผลการวิเคราะห์ และกระทำการป้องกัน เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าของฟอร์ติเน็ตปลอดภัยจากภัยคุกคามใหม่ๆ ทุกประเภท ทั้งนี้ ฟอร์ติเน็ตเป็นผู้ค้าผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยเครือข่ายเพียงรายเดียวที่มีทีมวิจัยและพัฒนาอยู่ทั่วโลกเป็นของตนเอง และสามารถสรุปสถานการณ์ด้านภัยคุกคามได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ