ส.ส.ร.: คณะกรรมาธิการยกร่างฯ สรุป "กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง"

ข่าวทั่วไป Thursday February 27, 1997 19:55 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--27 ก.พ.--ศูนย์ข่าว ส.ส.ร.
นายคณิน บุญสุวรรณ โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงข่าว ร่วมกับ ดร.โกเมศ ขวัญเมือง ถึงผลประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยว กับกรอบ "สถาบันการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง" ว่า วันนี้ (27 ก.พ. 2540) ได้มีการพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นรัฐสภาและกระบวนการเข้าสู่ ตำแหน่งทางการเมือง โดยรัฐสภานั้นประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซึ่งที่ ประชุมได้กำหนดหลักการสรรหาไว้โดย
- สภาผู้แทนราษฎร จะมาจากการเลือกตั้งแบบผสมจำนวน 400 คน ทั้ง นี้ให้ ส.ส. 300 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงแบบเขตเดียวเบอร์เดียว ส่วนอีก 100 คน ให้เลือกจากระบบสัดส่วนตามบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง
- วุฒิสภา มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม 200 คน เพื่อทำหน้าที่กลั่นกรอง กฎหมาย รวมทั้งเริ่มและร่วมพิจารณาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้า หน้าที่ของรัฐ
สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) มีการกำหนด 5 มาตรการเพื่อป้องกันปัญหาเบื้องต้นไว้ดังนี้
1. กำหนดให้การไปเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของพลเมือง โดยให้รัฐเข้าไป อำนวยความสะดวกทุกด้านเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และที่สำคัญการไปลงคะแนนจะเปิด โอกาสให้บุคคลที่อยู่นอกภูมิลำเนาสามารถลงคะแนนเสียงได้ ในการเลือกตั้งระบบ สัดส่วนตามบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองเท่านั้น
2. ให้เปลี่ยนระบบเลือกตั้งเป็นแบบผสม ระหว่างบัญชีรายชื่อที่พรรคการ เมืองเสนอ 100 คน โดยใช้เขตของประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง (อยู่นอกภูมิลำเนาก็ สามารถเลือกได้) และระบบเสียงข้างมาก 300 คน ใช้วิธีเลือกแบบเขตเดียวเบอร์ เดียว โดยกำหนดประชากร 200,000 คนต่อส.ส. 1 คน (เลือกแบบเดิมแต่เปลี่ยน จากแบ่งเขตเรียงเบอร์เป็นเขตเดียวเบอร์เดียว)
หมายเหตุ : ผู้มิสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งจะได้รับบัตร 2 ใบ หรือสามารถ ลงคะแนนเสียงได้ 2 คะแนนเสียง โดยใบแรกให้เลือกเฉพาะบัญชีรายชื่อที่พรรคการ เมืองเสนอ และใบที่สองลงคะแนนในเขตเลือกตั้งเลือกส.ส. ที่สมัครตามเขต
3. จะมีการกำหนดการเลือกตั้งทั่วไปให้เร็วขึ้น โดยเมื่อสภาฯ หมด วาระหรือหลังการยุบสภาฯ ให้กระทำการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วัน และที่สำคัญใน ระหว่างนั้นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีรักษาการห้ามใช้อำนาจสั่งการทางนโยบาย และห้ามดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกตั้ง รวมทั้งห้ามโยกย้ายข้าราชการ เว้นแต่คณะ กรรมการการเลือกตั้งจะเห็นชอบ
4. กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการเลือกตั้ง โดย คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้ง โดยเชื่อมโยงกับรัฐสภาและมีอิสระพร้อมได้อำนาจ ตามกฎหมายอย่างเต็มที่ซึ่งให้ดำรงตำแหน่งนาน 9 ปี แต่อยู่ได้วาระเดียว ส่วนการ พ้นจากอำนาจต้องผ่านกระบวนการถอนถอนที่กลั่นกรองโดยป.ป.ป.ใหม่
5. เพื่อเป็นการบรรเทาและลดภาระค่าใช้จ่ายในการหาเสียง จะกำหนด ให้รัฐต้องจัดการหาเสียงบางประเภทให้พรรคการเมือง เช่น จัดเวลาให้ทางวิทยุ และโทรทัศน์, ปิดโปสเตอร์หาเสียงให้ผู้สมัครและพรรคการเมือง ฯลฯ และห้ามทำ การสำรวจความคิดเห็นประชาชนก่อนวันลงคะแนนเสียง 2 สัปดาห์
ส่วนการเลือกสรรวุฒิสภานั้นมีการกำหนดให้เลือกตั้งทางอ้อม 200 คน และเพื่อให้เกิดความชอบธรรมจึงจะเลิกระบบการให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้คัดเลือก แต่ จะกำหนดวิธีคัดเลือกเป็น 2 แนวทางโดย
1. ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรแต่ละจังหวัด สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ จังหวัดละ 10 คน รวม 760 คน ในที่นี้ผู้ได้รับเลือกอาจมาจากการเลือกตั้งโดยสภา ท้องถิ่น เช่นสมาชิกสภาจังหวัด, กรรมการสุขาภิบาล, สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ฯลฯ
2. ให้อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรและอดีตวุฒิสภาทั้งหมด (เท่าที่มีชีวิต อยู่) เป็นผู้ร่วมกันกำหนดเกี่ยวกับองค์กรที่มีสิทธิ์เสนอผู้ทรงคุณวุฒิเช่นสมาคม, สหภาพ หรือสหกรณ์ ฯลฯ โดยแต่ละองค์กรเสนอชื่อได้องค์กรละ 10 คน แต่ต้องไม่เกิน 760 คน
และให้ผู้ได้รับเลือกเข้ามาไม่เกิน 1,520 คน มาเลือกกันเอง โดยออก เสียงได้คนละ 3 เสียง เพื่อเลือกให้เหลือ 200 คน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการบล๊อกโหวต นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดด้วยว่าในแต่ละจังหวัดหลังเลือกทางอ้อมแล้ว ต้องมีวุฒิสมาชิก มาจากแต่ละจังหวัดอย่างน้อย 1 คน และหากผู้สมัครเป็นข้าราชการประจำหรือเจ้า หน้าที่รัฐ ให้แสดงเจตนารมณ์เป็นลายลักษณ์อักษรด้วยว่าถ้าได้ รับคัดเลือกเป็นวุฒิ สมาชิกจะลาออกจากตำแหน่งทางราชการทันที ส่วนคุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัครใน ตำแหน่งวุฒิสมาชิกต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี และมีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
สำหรับผลการสรุปที่ผ่านการพิจารณาวันนี้ยังไม่ถือเป็นข้อยุติ เพราะต้อง ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนด้วย--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ